royal jelly

นมผึ้ง (Royal jelly)

นมผึ้ง (Royal jelly) คือ สารคัดหลั่งขุ่นข้นที่ผลิตโดยผึ้งงาน ประกอบด้วย น้ำประมาณ 60-70% โปรตีน 12-15% น้ำตาล 10-12% ไขมัน 3-7% วิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโนอีก 2-3% โดยองค์ประกอบของนมผึ้งจะแตกต่างกันออกไปตามภูมิประเทศ คำว่า Royal jelly มาจากการที่นมผึ้งถูกใช้เป็นอาหารสำหรับพัฒนา และเลี้ยงดูผึ้งราชินี

มีคำถามเกี่ยวกับ นมผึ้ง? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ประโยชน์ของนมผึ้ง

นมผึ้งมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ตามสรรพคุณสารอาหารในนมผึ้ง

  • โรคหอบหืด (Asthma)
  • ไข้ละอองฟาง (Hay fever)
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • เบาหวานชนิดที่ 2 และแผลที่เท้าจากเบาหวาน
  • ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)
  • ความเหนื่อยล้า
  • มะเร็งชนิดทุติยภูมิ
  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome: PMS)
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • อาการหมดประจำเดือน
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคไต
  • กระดูกเปราะ
  • ภาวะผิวหนังผิดปกติ
  • คอเลสเตอรอลสูง

นอกจากนี้ ยังมีการใช้นมผึ้งเพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง ต่อสู้กับผลจากการแก่ตัว กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือนำมาทาบนผิวหนังเพื่อเป็นยาบำรุง หรือทาบนหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเส้นผมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นมผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้แก่ร่างกาย ไม่ใช่ยารักษาโรคโดยตรง หากต้องการรักษาโรคบางอย่างหรือต้องทานยาประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานนมผึ้ง

นมผึ้งออกฤทธิ์อย่างไร

ปัจจุบัน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลของนมผึ้งยังมีอยู่จำกัด แต่สำหรับสัตว์ทั่วไปแล้ว นมผึ้งอาจช่วยกระตุ้นการเติบโตของเนื้องอก และลดการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้

ประสิทธิภาพของการใช้นมผึ้งรักษาภาวะต่างๆ 

1. ภาวะหมดประจำเดือน (Menopausal symptoms)

งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานนมผึ้งและเกสรดอกไม้นาน 3 เดือนขึ้นไป ช่วยลดอาการจากภาวะหมดประจำเดือน และเพิ่มความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

และยังสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) รวมทั้งลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (low-density lipoprotein: LDL) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้

นอกจากนี้ การรับประทานน้ำผึ้งที่มีส่วนผสมของน้ำมันดอกพริมโรส แดมเมียนา (Damiana) และโสม ก็สามารถช่วยลดอาการจากวัยหมดประจำเดือนได้เช่นกัน

การทานมผึ้งในช่องคลอด อาจช่วยลดปัญหาทางเพศ และช่วยลดอาการอักเสบในช่องคลอดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ คล้ายกับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เข้าช่องคลอด

อย่างไรก็ตาม การทาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่องคลอดสามารถลดการอักเสบของช่องคลอดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ดีกว่าการใช้นมผึ้ง

2. กลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome: PMS)

กลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน เช่น อาการปวดท้องน้อย ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน

มีคำถามเกี่ยวกับ นมผึ้ง? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน

กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรงได้

โดยจากการวิจัยพบว่าผู้รับประทานนมผึ้งมีความรุนแรงของกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือนที่ลดลง

3. เบาหวานประเภทที่ 2

ผลจากงานวิจัย พบว่าการรับประทานนมผึ้งอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ในผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ที่รับประทานนมผึ้ง 8 สัปดาห์

อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

4. การรักษาบาดแผล

นมผึ้งช่วยในการเร่งกระบวนการสมานแผลได้ โดยอาจช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblasts) ไปสู่แผล ซึ่งมีบทบาทมากในการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อสมานแผล

ภาวะที่นมผึ้งไม่สามารถรักษาได้

ไข้ละอองฟาง (Hay fever) เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อละอองเกสรหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น น้ำหอม เชื้อรา ขนสัตว์ เป็นต้น

จากการวิจัย พบว่าการรับประทานนมผึ้ง (Bidro) เป็นระยะเวลา 3-6 สัปดาห์ อาจไม่ได้ผลในการรักษาไข้ละอองฟาง

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของนมผึ้ง

นมผึ้งถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนมากที่บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม แต่อาจพบการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองไวเกินหรือปฎิกิริยาแพ้รุนแรง อาการแพ้ ได้แก่ อาการหืด อาการหลอดลมหดเกร็ง หลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นคัน

นมผึ้งยังถูกใช้ทาบนผิวหนังได้อย่างปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ เช่น ทำให้หนังศีรษะอักเสบ และผื่นภูมิแพ้ได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

  • เด็ก นมผึ้งถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานนาน 6 เดือน
  • สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้นมผึ้งในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตร หรือมีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงการใช้นมผึ้งเพื่อความปลอดภัย
  • หอบหืดหรือภูมิแพ้ หากคุณเป็นโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้ ไม่ควรใช้นมผึ้งเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้
  • ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) นมผึ้งอาจทำให้อาการของโรคผิวหนังอักเสบทรุดลงได้
  • ความดันโลหิตต่ำ หากคุณมีความดันโลหิตต่ำ การรับประทานนมผึ้งอาจทำให้ความดันตกลงกว่าเดิมได้

การใช้นมผึ้งร่วมกับยาชนิดอื่น

ไม่ควรรับประทานยาต้านการแข็งตัวตัวของเลือด หรือยา Warfarin (Coumadin) ร่วมกับนมผึ้ง เพราะนมผึ้งอาจเพิ่มฤทธิ์ของยา โดยจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟกช้ำหรือเลือดออกได้มากขึ้น

หากต้องการรับประทานนมผึ้ง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา โดยเฉพาะในเด็ก ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคความดันโลหิตต่ำ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้

มีคำถามเกี่ยวกับ นมผึ้ง? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ