Colchicine (โคลชิซีน) อยู่ในกลุ่มยารักษาภาวะยูริกในเลือดสูง ใช้รักษาและป้องกันโรคเกาต์ รวมถึงภาวะอักเสบเฉียบพลันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคเกาต์
สารบัญ
Colchicine ใช้รักษาโรคอะไร
- รักษาโรคเกาต์เฉียบพลัน: ใช้บรรเทาอาการปวดและการอักเสบที่เกิดจากโรคเกาต์เฉียบพลัน โดยจะช่วยลดการสะสมของกรดยูริกในข้อและเนื้อเยื่อ
- ป้องกันการเป็นโรคเกาต์ซ้ำ: โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติโรคเกาต์กำเริบบ่อยครั้ง
- รักษาโรคพิวรีโดซิส: ใช้ป้องกันและบรรเทาอาการของโรคพิวรีโดซิส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง ช่องอก และข้อ
กลไกการออกฤทธิ์ของ Colchicine
Colchicine จะยับยั้งการเคลื่อนย้ายของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูล (Granulocyte) ไปยังบริเวณที่เกิดการอักเสบ ทำให้ช่วยลดการอักเสบที่เกิดเนื่องมาจากการตกผลึกของกรดยูริกได้
นอกจากนี้ ยานี้ยังขัดขวางปฏิกิริยาโพลิเมอไรเซชัน (Polymerization) ของเบต้า–ทูบูลิน (Beta-tubulin) ในการเปลี่ยนแปลงเป็นไมโครทิวบูล (Microtubule) ที่จะยับยั้งการสลายแกรนูล และการเคลื่อนย้ายเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (Neutrophil) ทำให้เกิดการอักเสบน้อยลง
รูปแบบและปริมาณการใช้ยา Colchicine
รูปแบบยา: ยาเม็ดสำหรับรับประทาน ประกอบด้วย Colchicine ขนาด 0.6 มิลลิกรัม
รักษาโรคเกาต์เฉียบพลัน
- ผู้ใหญ่: ขนาดยาเริ่มต้น 1.2 มิลลิกรัม (2 เม็ด) ตามด้วย 0.6 มิลลิกรัม (1 เม็ด) ทุก 1–2 ชั่วโมง จนอาการปวดดีขึ้น ปริมาณสูงสุดรวมไม่เกิน 1.8 มิลลิกรัม ภายใน 1 ชั่วโมง และขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อวัน
ป้องกันโรคเกาต์กำเริบ
- ผู้ใหญ่: ขนาดยาเริ่มต้น 0.6 มิลลิกรัม (1 เม็ด) วันละ 1–2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน (2 เม็ด)
ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยแพทย์ต้องดูระดับกรดยูริคในเลือดของผู้ป่วย โรคประจำตัว การทำงานของไต ตับ ยาอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ยา Colchicine
ไม่ใช้ยาในกลุ่มคนต่อไปนี้
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือดแบบ Blood dyscrasia
- ผู้ป่วยโรคไตรุนแรง ผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือด และผู้ป่วยโรคตับ
ไม่ควรใช้ร่วมกับยากลุ่มเหล่านี้
- ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 เช่น Itraconazole, Ketoconazole, Clarithromycin
- ยาในกลุ่ม HIV protease inhibitor เช่น Gemfibrozil, Ciclosporin, Danazol
- ยากลุ่ม P–glycoprotein inhibitor
ระวังการใช้ยาในกลุ่มคนต่อไปนี้
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร
- ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคตับที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
- ผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร
การใช้ยา Colchicine ในผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร
ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้มีครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตร
ถ้าลืมกินยา Colchicine ต้องทำอย่างไร
ถ้าลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้ตามจำนวนปกติ (เช่น ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ก็รับประทานเท่าเดิม ไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เม็ด)
กรณีที่เพิ่งนึกได้ตอนใกล้รับประทานมื้อใหม่ ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรอรับประทานมื้อถัดไปได้เลย ในจำนวนปกติเช่นกัน ไม่ต้องเพิ่มขนาดยา
ผลข้างเคียงจากยา Colchicine
Colchicine อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ไม่สบายท้อง กดไขกระดูก ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ภาวะกล้ามเนื้อปกติ (Myopathy) กล้ามเนื้อสลายตัว
ผลข้างเคียงหายาก
บางรายอาจเกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นคัน ลมพิษ หน้าบวม คอบวม หรือแพ้รุนแรง
ผลข้างเคียงรุนแรง
ได้แก่ ภาวะโลหิตจางชนิด (Aplastic anemia หรือภาวะไขกระดูกฝ่อ) เม็ดเลือดแดงต่ำ ภาวะกล้ามเนื้อเสื่อม
ประเภทของยา Colchicine ตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย
Colchicine จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น