astaxanthin scaled

Astaxanthin (แอสต้าแซนธิน)

Astaxanthin (แอสต้าแซนธิน) สารอาหารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้จากอาหารตามธรรมชาติเท่านั้น ถือเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แต่มีในปริมาณสัดส่วนที่น้อยมาก อาจต้องกินอาหารทะเลเป็นกิโลกรัมถึงจะได้สารที่เพียงพอ หากต้องการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำ ควรทานแบบสำเร็จรูปจะควบคุมปริมาณสารอาหารชนิดนี้ได้

มีคำถามเกี่ยวกับ แอสต้าแซนธิน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

แอสต้าแซนธิน คืออะไร

แอสต้าแซนธินเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) พบ ในปลาแซลมอน เปลือกกุ้งปู และ Microalgae Haematococcus Pluvialis ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับสารชนิดนี้จากอาหารชนิดอื่น

แต่ปริมาณที่ได้จากธรรมชาติจะน้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสต้าแซนธินเพียง 1 มิลลิกรัม เท่านั้น

แอสต้าแซนธินจากธรรมชาติ มีจากหลายแหล่ง เช่น สาหร่ายสีแดง Microalgae Haematococcus Pluvialis จากประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการสกัด ด้วยระบบปิด ปราศจากการปนเปื้อน ไม่ใช้สารเคมี ทำให้ได้แอสต้าแซนธินธรรมชาติบริสุทธิ์ 100% มีคุณภาพสูง มีปริมาณความเข้มข้นคงที่

ข้อดีของแอสต้าแซนธิน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว ชะลอความชรา ลดริ้วรอย
  • ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ
  • ช่วยบำรุงสายตาลดอาการเมื่อยล้าของสายตา
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร

โรคที่นิยมบำรุงด้วยแอสต้าแซนธิน

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • โรคพากินสัน (Parkinson’s disease)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง
  • โรคตับ
  • โรคทางตา ได้แก่ ต้อกระจก (Cataract) และจุดภาพตาเสื่อมตามวัย (Macular degeneration) โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกับเบาหวานสูง
  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)
  • โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (Rheumatoid arthritis)

ผู้ที่ควรทานแอสต้าแซนธิน

  • ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
  • ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
  • ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่น
  • ความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  • ผู้ที่ทำงานหนัก
  • ผู้ที่ต้องทํางานใช้สายตากับคอมพิวเตอร์นาน
  • นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีภาวะความเครียด
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารอักเสบ

ปริมาณของแอสต้าแซนธิน ต่อวัน

มีรายงานการวิจัยระบุว่า แนะนำให้รับประทานแอสต้าแซนธิน วันละ 2-12 มก. เป็นประจํา

หากมีข้อสงสัยด้านปริมาณที่ควรรับประทาน ควรสอบถามเภสัชกรที่ร้านขายยาหรือแพทย์ในโรงพยาบาล

ประโยชน์ของแอสต้าแซนธิน

สารต้านอนุมูลอิสระ

แอสต้าแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แอสต้าแซนธินมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งแตกต่างกับ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ที่แค่ช่วยปกป้องภายในหรือภายนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น ดังนั้นแอสต้าแซนตินสามารถปกป้องเซลล์ได้ครอบคลุมมากกว่านั่นเอง

มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทําการศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ พบว่า แอสต้าแซนธินมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้แรงกว่าสารชนิดอื่น ดังนี้

  • วิตามิน ซี 6,000 เท่า
  • CoQ10 800 เท่า
  • วิตามิน อี 550 เท่า
  • Green tea catechins 550 เท่า
  • Alpha lipoic acid 75 เท่า
  • เบต้าแคโรทีน 40 เท่า
  • สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า

ชะลอความชรา ลดริ้วรอย

ริ้วรอยที่ปรากฏ เป็นผลสืบเนื่องจาก ผิวหนังชั้นในสุดถูกทําลาย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความชรา ผิวหนังจะใช้เวลาในการสร้างเซลล์ผิวใหม่เพื่อทดแทนเซลล์ผิวที่ตายแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ส่งผลให้ผิวหนังหม่นหมอง ไม่สดใส เกิดริ้วรอย แอสต้าแซนตินจะดักจับอนุมูลอิสระที่ผลิตออกมา จึงทำให้ผิวหนังสามารถเกิดกระบวนการสร้างใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้น ยืดหยุ่น ริ้วรอยลดลง และเกิดความสมดุลของเกราะกำบังผิว

มีคำถามเกี่ยวกับ แอสต้าแซนธิน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน

คนที่เป็นเบาหวานจะมีการสร้างอนุมูลอิสระปริมาณมาก เมื่ออนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น เชลล์ตับอ่อนที่สร้างอินซูลินถูกทําลายได้ง่าย ทําให้อินซูลินทำงานผิดปกติ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการศึกษาพบว่าแอสต้าแซนธินธรรมชาติ สามารถลดอนุมูลอิสระในเซลล์ตับอ่อนได้ จึงช่วยชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความไวต่อการทำงานของอินซูลินกับเซลล์ภายในร่างกายอีกด้วย

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อนุมูลอิสระสามารถทำลายเซลล์ของผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ ซึ่งแอสต้าแซนธินสามารถกำจัดและป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทําลายผนังหลอดเลือด จึงช่วยยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า แอสต้าแซนธินธรรมชาติ สามารถลดการเกิดออกซิเดชันของ LDL Cholesterol ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันรวม และช่วยเพิ่ม HDL Cholesterol (ไขมันชนิดดีต่อสุขภาพ) ได้อีกด้วย

ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร

แอสต้าแซนธินธรรมชาติจะช่วย ลดการเกิดการอักเสบในทางเดินอาหาร อันเนื่องมาจากเชื้อ H.pyroli อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร และกระเพาะอาหารอักเสบ

ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดวงตา

แอสต้าแซนตินจะต่อต้านการทำลายของอนุมูลอิสระ ที่ซึมผ่านเยื่อหุ้มเชลล์ที่กล้ามเนื้อตา ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงจอตา ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ปรับย่อขยายเลนส์ตาแข็งแรงมากขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดความเมื่อยล้าจากการหดตัวของกล้ามเนื้อดวงตา

ช่วยเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ

จากผลการศึกษาโดยให้รับประทานแอสต้าแซนธิน ธรรมชาติ ขนาด 2-4 มก./วัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า แอสต้าแซนธินธรรมชาติช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ช่วยเพิ่มระดับ ความทนทานของร่างกาย ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้นและอ่อนเพลียน้อยลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้แอสตาแซนธินรักษาได้หรือไม่

  • ภาวะสูญเสียการมองเห็นตามอายุ (age-related macular degeneration (AMD)) AMD เกิดจากเรตินาได้เสียหายไปบางส่วน โดยงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน ลูทีน ซีอาแซนทีน วิตามินอี วิตามินซี สังกะสี และทองแดงจะช่วยลดความเสียหายที่ศูนย์กลางของเรตินาในผู้ป่วย AMD ได้ แต่จะไม่ช่วยหากความเสียหายนั้นเกิดขึ้นโดยรอบพื้นที่ของเรตินา
  • ภาวะการกดรัดเส้นประสาทมีเดียน (carpal tunnel syndrome) งานวิจัยกล่าวว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน ลูทีน บีตา-แคโรทีนและวิตามินเอ ไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือแต่อย่างใด
  • อาหารไม่ย่อย (dyspepsia) งานวิจัยพบว่าการกินแอสตาแซนธิน 40 mg ทุกวันจะลดอาการกรดไหลย้อนของผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยได้ อีกทั้งยังสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างดีในผู้ป่วยภาวะอาหารไม่ย่อยจากการติดเชื้อ H. pylori แต่หากเป็นการกินขนาดต่ำ 16 mg ทุกวันจะไม่ช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น รวมถึงไม่ลดอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย หรือลดปริมาณแบคทีเรีย H. pylori ในกระเพาะอาหาร
  • กล้ามเนื้อเสียหายจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกินแอสตาแซนธินต่อเนื่องนาน 90 วันไม่ได้ช่วยลดความเสียหายของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย (กลุ่มที่สังเกตคือนักฟุตบอลชาย)
  • ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน ลูทีน และน้ำมันดอกคำฝอย ไม่ได้ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย 4 วันแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับการกินน้ำมันดอกคำฝอยเพียงอย่างเดียว
  • ประสิทธิภาพการออกกำลังกาย งานวิจัยที่กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้แอสตาแซนธินกับศักยภาพการออกกำลังกายนั้นยังคงขัดแย้งกัน บางชิ้นกล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะลดเวลาที่นักกีฬาชายใช้ในการออกกำลังกายในแต่ละรอบลง แต่งานวิจัยชิ้นอื่นๆ กลับแสดงให้เห็นว่าแอสตาแซนธินไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการออกกำลังกายของนักกีฬาลงแต่อย่างใด
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยกล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) และเพิ่มไขมันดี (HDL) งานวิจัยชิ้นอื่นๆ ได้กล่าวอีกว่าการกินแอสตาแซนธิน, เบอร์แบร์ริน (Berberine), โพลีโคซานอล (Policosanol), ข้าวยีสต์แดง, โคเอนไซม์คิว10 (coenzyme Q10) และกรดโฟลิก จะเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) และลดปริมาณคอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันไม่ดี (LDL) และลดไตรกลีเซอไรด์ของผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติลง
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย งานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยเพิ่มอัตราการมีบุตรของผู้ชายที่มีปัญหามีบุตรยาก
  • อาการจากภาวะหมดประจำเดือน (Menopausal symptoms) งานวิจัยกล่าวว่าการกินผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน วิตามินดี3 ไลโคปีน (lycopene) และซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ (citrus bioflavonoids) ทุกวันจะช่วยลดอาการต่างๆ จากการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ปวดข้อต่อ อารมณ์แปรปรวน และปัญหาการขับถ่าย
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) งานวิจัยพบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน ลูทีน วิตามินเอ วิตามินอี และน้ำมันดอกคำฝอยจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์รู้สึกดีขึ้น
  • แดดเผา แอสตาแซนธินอาจช่วยลดความเสียหายบนผิวหนังจากแสงอาทิตย์ได้ โดยแอสตาแซนธินชนิดรับประทานจะใช้เวลา 9 สัปดาห์ในการลดอาการแดงและสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนังที่เกิดจากรังสียูวี
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น งานวิจัยพบว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยดึงให้ผิวหนังเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดริ้วรอยบนผิวหนังของทั้งชายและหญิงวัยกลางคน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในผิวหนังอีกด้วย งานวิจัยอื่นๆ ยังได้แสดงให้เห็นว่าการกินแอสตาแซนธินพร้อมกับการทาครีมแอสตาแซนธินบนใบหน้า 2 ครั้งต่อวันจะช่วยลดริ้วรอยได้จริง
  • ภาวะอื่นๆ

ผลข้างเคียงของแอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธินค่อนข้างปลอดภัยเพราะเป็นสารที่พบได้ในอาหาร เมื่อใช้เป็นอาหารเสริมในปริมาณ 4-40 mg ต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ หรือ 12 mg ทุกวันเป็นเวลา 6 เดือน

แอสตาแซนธินสามารถใช้ร่วมกับคาโรทีนอยด์ วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ อย่างปลอดภัยที่ 4 mg ต่อวันเป็นเวลานาน 12 เดือน ส่วนผลข้างเคียงจากแอสตาแซนธินอาจมีทั้งทำให้ลำไส้ทำงานมากขึ้นและทำให้อุจจาระมีสีแดง อีกทั้งแอสตาแซนธินขนาดสูง ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แอสตาแซนธินในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้แอสตาแซนธินเพื่อความปลอดภัย

การใช้แอสตาแซนธินร่วมกับยาชนิดอื่น ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มยาที่มีปฏิกิริยากับแอสตาแซนธิน

มีคำถามเกี่ยวกับ แอสต้าแซนธิน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ