heart checkup program 1

ตรวจหัวใจคืออะไร ตรวจอย่างไรบ้าง?

โรคหัวใจ เป็นโรคที่อาจทำอันตรายถึงชีวิตได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และในหลายกรณีโรคหัวใจก็เกิดจากการสะสมปัจจัยต่างๆ มานานกว่า 10 ปี

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจหัวใจ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association: AHA) จึงแนะนำว่า การตรวจโรคหัวใจบางรายการควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี จากนั้นค่อยๆ เพิ่มรายการตรวจที่เหมาะสมไปตามแต่ละช่วงอายุ

ในบทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจโรคหัวใจว่าควรตรวจอะไรบ้าง ใครควรไปตรวจ แล้วสัญญาณแบบไหนที่อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ตรวจโรคหัวใจคืออะไร ทำไมต้องตรวจ?

การตรวจโรคหัวใจ คือการตรวจประเมินความเสี่ยงใดๆ ก็ตามที่อาจส่งผลให้หัวใจผิดปกติในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

โดยแพทย์จะประเมินจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • ความดันโลหิต
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ระดับน้ำตาลในเลือด
  • ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI)
  • โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
  • การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การออกำลังกาย การสูบบุหรี่
  • ประวัติการเป็นโรคหัวใจของคนในครอบครัว

อย่างที่เห็นว่าเราสามารถหาความเป็นไปได้ก่อนที่จะเป็นจริงๆ ดังนั้นควรตรวจคัดกรองอย่างน้อยทุก 2 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

ตรวจหัวใจมีวิธีไหนบ้าง?

โรคหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงจากหลายอย่าง ตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงโรคประจำตัว ดังนั้นการตรวจหัวใจมักทำในภาพกว้างก่อน จากนั้นค่อยๆ โฟกัสแคบตรงส่วนที่พบสิ่งผิดปกติลงมาเรื่อยๆ

วิธีการตรวจจึงมีหลากหลายวิธี ดังนี้

1. ตรวจโรคหัวใจจากเลือด

การตรวจเลือดสามารถบอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจได้มากมาย เช่น ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจวาย (Heart Attack)

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างค่าต่างๆ ของการตรวจเลือด ที่อาจมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ

  • ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือหลายคนอาจเรียกว่า “ระดับไขมันในเลือด” ช่วยประกอบการวินิจฉัยความเสี่ยงของภาวะหัวใจวาย และโรคหัวใจอื่นๆ โดยในการตรวจคอเลสเตอรอลก็จะแยกออกเป็นหลายชนิด เช่น คอเลสเตอรอล LDL หรือคอเลสเตอรอลไม่ดีที่อาจทำให้หลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ (ไม่ควรเกิน 130 mg/dL) คอเลสเตอรอล HDL บางครั้งก็ถูกเรียกว่าคอเลสเตอรอลตัวดี เพราะมีส่วนช่วยกำจัด LDL (ผู้ชายควรมีมากกว่า 40 mg/dL และผู้หญิงควรมีมากกว่า 50 mg/dL) และอีกหนึ่งตัวสำคัญก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นอีกหนึ่งค่าบ่งชี้ว่าคุณอาจกินอาหารและได้รับแคลอรี่มากเกินไปเป็นประจำ (ไม่ควรเกิน 150 mg/dL)
  • ระดับซีรีแอคทีฟโปรตีน (High-sensitivity C-reactive protein: CRP) เป็นโปรตีนที่ตับสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บและการติดเชื้อ ค่านี้มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจค่า CRP จึงมีส่วนช่วยตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจได้ตั้งแต่ก่อนที่เริ่มมีอาการ
  • ไลโปโปรตีน หรือ Lipoprotein (a) เป็นหนึ่งในประเภทของ LDL และมักจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม โดย LP(a) ที่สูงเกินไปก็เป็นอีกสัญญาณของโรคหัวใจเช่นกัน แพทย์อาจใช้ค่านี้ร่วมวินิจฉัยหากคุณมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • พลาสม่าเซราไมด์ (Plasma Ceramides) เป็นการตรวจระดับเซราไมด์ในเลือด ที่สร้างจากเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย มีส่วนช่วยเรื่องการเจริญเติบโต การทำงานและกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วในร่างกาย โดยเซราไมด์จะเคลื่อนผ่านทางเลือดโดยอาศัยไลโปโปรตีน ซึ่งทั้ง 2 อย่างมีความสัมพันธ์กับหลอดเลือดเช่นกัน ระดับเซราไมค์ที่สูงเกินไป อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • B-type Natriuretic peptides หรือ BNP เป็นโปรตีนที่หัวใจและหลอดเลือดสร้างขึ้น ช่วยให้ร่างกายกำจัดของเหลว ช่วยการทำงานของหลอดเลือด และช่วยขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ แต่หากหัวใจเกิดความเสียหาย ร่างกายจะหลั่ง BNP เข้าสู่กระแสเลือดจำนวนมาก แต่ระดับ BNP ก็ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และน้ำหนักด้วยเช่นกัน
  • โทรโปนิน ที (Troponin T) เป็นโปรตีนที่พบได้ในกล้ามเนื้อหัวใจ การวัดระดับโทรโปนิน ที ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะหัวใจวายและประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจได้ แม้จะยังไม่มีอาการใดๆ

อย่างไรก็ตาม การตรวจโรคหัวใจจากเลือดเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้อย่างแม่นยำ เพราะโรคหัวใจยังเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆ มากมายประกอบกัน เช่น ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ เป็นต้น

2. ตรวจโรคหัวใจจากความดันโลหิต

ความดันโลหิตเป็นหนึ่งในการตรวจสำคัญ เพราะไม่ว่าจะความดันเลือดต่ำหรือสูง ก็สังเกตอาการตนเองได้ยากมาก หรืออาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่ระดับความดันเลือดอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มาก จึงควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป

3. ตรวจคลื่นหัวใจ (Electrocardiography: ECG)

เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ โดยแพทย์จะมีแผ่นติดบริเวณหน้าอก จากนั้นเครื่องจะทำการวัดกิจกรรมไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหัวใจ เพื่อประเมินเป็นคลื่นหัวใจว่ามีความผิดปกติใดๆ หรือไม่

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจหัวใจ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

4. ตรวจหัวใจด้วยวิธีวิ่งสายพาน (Exercise Cardiac Stress Test: EST)

การทดสอบนี้จะตรวจคลื่นหัวใจเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันที่แพทย์จะให้คุณเดินหรือวิ่งเหยาะๆ บนลู่วิ่ง เพื่อดูการทำงานของหัวใจขณะเคลื่อนไหวว่ามีความผิดปกติหรือไม่

5. ตรวจหัวใจด้วยการถ่ายภาพหัวใจแบบ 3 มิติ (Echocardiography: ECHO)

แพทย์จะใช้คลื่นเสียงสะท้อนอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อดูภาพการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือไม่ มีรอยรั่วไหม

โดยขั้นตอนนี้แพทย์อาจทำทั้งก่อนและหลังการวิ่งสายพาน เพื่อให้เห็นผลชัดเจนที่สุด หรืออาจทำร่วมกับการฉีดสีด้วยก็ได้

6. ตรวจหัวใจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized tomography scan: CT scan)

เป็นการฉายภาพเช่นเดียวกับ ECHO แต่จะมีความแม่นยำสูงกว่า โดยส่วนมากหากใช้ ECHO แล้วพบความผิดปกติที่เป็นไปได้ แพทย์จะใช้การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันผล

สามารถเห็นการไหลเวียนของเลือด ตำแหน่งรั่ว ได้ชัดกว่า แต่รังสีของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อาจมีผลกระทบกับร่างกาย ดังนั้นแพทย์จะใช้เพื่อยืนยันผลตอนท้ายเท่านั้น จะไม่นิยมใช้ในการคัดกรองเบื้องต้น

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการตรวจหัวใจมักเป็นหนึ่งในรายการตรวจของโปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐาน ดังนั้นหากใครที่พบว่าผลตรวจคัดกรองมีความเสี่ยง ควรรับการตรวจเชิงลึกขึ้นเพื่อยืนยันผล

สามารถดูแพ็กเกจตรวจหัวใจเชิงลึกขึ้นจากหลายโรงพยาบาลได้ผ่าน HDmall ศูนย์รวมแพ็กเกจสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

การตรวจโรคหัวใจเหมาะกับใคร?

การตรวจโรคหัวใจ ควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยเลือกรายการตรวจสุขภาพที่มีการเช็กความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้หากคุณมีเงื่อนไขตรงกับข้อใดต่อไปนี้ อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจโรคหัวใจอย่างเฉพาะเจาะจงขึ้น หรือบ่อยขึ้นกว่าเดิม

  • มีระดับความดันโลหิตสูง
  • มีระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจอยู่แล้ว
  • มีน้ำหนักมาก หรือเป็นโรคอ้วน
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น สูบบุหรี่
  • มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

สัญญาณที่บอกว่าควรตรวจแล้ว

หากมีอาการหรือเข้าเงื่อนไขใดๆ ต่อไปนี้แม้เพียงบางครั้งบางคราว ก็ควรหาโอกาสตรวจหัวใจเพื่อประเมินความเสี่ยงไว้บ้าง

  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเร็วไปหรือช้าไป
  • หายใจหอบถี่ หรือหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย
  • เวียนศีรษะ
  • ท้องบวม หรือเท้าบวม
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน ควรไปตรวจอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลตัวเองหลังตรวจโรคหัวใจ

สำหรับผู้ที่ตรวจโรคหัวใจมาแล้ว แพทย์จะพิจารณาผลตรวจก่อนให้คำแนะนำถ้าจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม หรืออาจกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมให้

แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่พบความผิดปกติใดร้ายแรง แพทย์อาจแนะนำให้ดูแลตัวเองและลดความเสี่ยงโรคหัวใจด้วยการปรับการใช้ชีวิต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • เลือกกินอาหารที่หลากหลาย เช่น ผลไม้ ผัก และธัญพืช
  • จำกัดปริมาณไขมัน และน้ำตาลในอาหาร
  • เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

โดยสรุปแล้ว การตรวจโรคหัวใจเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะสามารถช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจที่อาจมีความรุนแรงถึงชีวิตได้ หากตรวจพบสัญญาณตั้งแต่แรกๆ อาจใช้วิธีการปรับวิถีชีวิตประจำวันเพื่อบรรเทาอาการได้ ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณา

มีคำถามเกี่ยวกับ ตรวจหัวใจ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ