โรคบางโรคที่ขึ้นกับอวัยวะภายในของผู้หญิงยากที่จะรู้เองจากการสังเกต ยิ่งบางคนไม่มีอาการผิดปกติก็แทบไม่รู้เลย การตรวจภายใน (Pelvic Exam) เป็นวิธีที่ช่วยค้นหาความผิดปกติก่อนเกิดโรคร้ายในผู้หญิง และยังช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ของแพทย์ได้ แต่สาว ๆ อาจจะกลัวการไปตรวจภายใน บ้างก็กลัวเจ็บ บ้างก็ไม่รู้การตรวจมันมีขั้นตอนน่ากลัวไหม วันนี้ HDmall มาแชร์เรื่องราวของการตรวจภายใน ไปอ่านกันเลย!
สารบัญ
การตรวจภายใน คืออะไร
การตรวจภายใน คือ การตรวจดูความผิดปกติในอวัยะภายในอุ้งเชิงกราน ประกอบไปด้วยช่องคลอด มดลูก ปากมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะ และบริเวณโดยรอบ ซึ่งมีประโยชน์กับผู้หญิงอย่างมาก เพราะจะช่วยค้นหาความผิดปกติ หรือโรคภายในที่อาจเกิดขึ้น แต่ไม่มีอาการบ่งบอกได้ชัด หากตรวจเจอความผิดปกติ ทำให้รักษาได้ทันก่อนโรคลุกลาม
การตรวจภายในสามารถช่วยตรวจเช็กสุขภาพของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โรคหรือปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตราย เช่น มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอื่นในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง การติดเชื้อในช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ถุงน้ำในรังไข่ เนื้องอกมดลูกและรังไข่ ภาวะมดลูกหย่อน รวมถึงเป็นตรวจก่อนการคุมกำเนิด เพื่อดูความเหมาะสมของอุปกรณ์คุมกำเนิด และตรวจก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินความพร้อมของตัวคุณแม่ และความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์
ผู้หญิงควรเริ่มตรวจภายในเมื่อไร บ่อยแค่ไหน
- อายุ 30 ปีขึ้นไป หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกวัย
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือโรคทางนรีเวช
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน และอวัยวะเพศ เช่น ตกขาวผิดปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ ปวดท้องน้อยเป็นประจำหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย
- สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- กำลังตั้งครรภ์
ปกติจะแนะนำให้ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกวัย เข้ารับการตรวจภายในทุกปี และตรวจร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีอื่นทุก 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับวิธีใช้ ยกเว้นมีปัญหาสุขภาพหรือความเสี่ยงที่ต้องติดตาม แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเร็วขึ้นก่อนอายุ 30 ปี
ไม่อยากเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกและโรคภายใน ตรวจก่อน ไม่เสี่ยงชัวร์! จองแพ็กเกจตรวจภายใน แพ็กเกจคัดกรองมะเร็งในผู้หญิง ราคาโปรโมชั่นเฉพาะที่ HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดเพิ่มทันทีที่จอง
ก่อนตรวจภายใน เตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การตรวจภายในแนะนำให้ตรวจหลังประจำเดือนหมดสนิทแล้ว หรือเลือกตรวจก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย ก่อนการตรวจ 2 วันหรือประมาณ 48 ชั่วโมง ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช้ยารักษาภาวะช่องคลอดแห้งหรือยาเหน็บ และไม่สวนล้างช่องคลอด เพื่อไม่ให้ผลการตรวจคาดเคลื่อน
ขั้นตอนการตรวจภายใน ทำอะไรบ้าง
- ก่อนเริ่มการตรวจ ผู้เข้ารับการตรวจปัสสาวะให้เรียบร้อยแล้ว ถอดกางเกงชั้นในออก และเปลี่ยนเป็นชุดกางเกงสำหรับตรวจภายใน นอนหงายลงบนเตียงตรวจ เลื่อนตัวลงมาให้วางขาทั้ง 2 ข้างบนขาหยั่งได้ แพทย์จะพูดคุยขั้นตอนการตรวจคร่าว ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
- การตรวจด้วยสายตา แพทย์ดูลักษณะและผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศภายนอกด้วยสายตา เพื่อดูร่องรอยของโรคหรือความผิดปกติ เช่น รอยแดง บวม หรืออาการระคายเคือง
- การตรวจภายใน แพทย์จะสอดเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายปากเป็ดเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งจะเลือกขนาดเครื่องมือให้เหมาะกับช่องคลอดของแต่ละคน เพื่อดูความผิดปกติและแผลในช่องคลอดและปากมดลูก และจะคลำภายในช่องคลอด โดยสวมถุงมือยาง และสอดนิ้วที่ทาสารหล่อลื่นเข้าไปในช่องคลอด 1-2 นิ้ว ขณะที่อีกมือจะกดเบา ๆ ที่หน้าท้องส่วนล่าง เพื่อดูขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง และความผิดปกติมดลูก หลังจบขั้นตอนนี้ สามารถเปลี่ยนชุดกลับบ้านได้เลย ยกเว้นมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะมีการเก็บตัวอย่างเซลล์ในขั้นถัดไปก่อน
- การตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear) และเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) เป็นขั้นตอนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการเก็บตัวอย่างเซลล์มดลูก เพื่อนำไปส่งตรวจหาเซลล์มะเร็งในปฏิบัติการ
ในระหว่างการตรวจ ควรทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลายด้วยการหายใจลึก ๆ ไม่ควรเกร็งหน้าท้อง ช่องคลอด หรือขา โดยทั่วไปการตรวจภายในจะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 15-30 นาที และไม่ได้ทำให้เจ็บปวด หากมีอาการเจ็บควรรีบแจ้งแพทย์ทันที
หลังการตรวจภายใน รู้ผลการตรวจเลยหรือเปล่า
หลังการตรวจเสร็จ แพทย์จะพูดคุยและอธิบายผลการตรวจ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันที ส่วนผลการตรวจแปปเสมียร์และเชื้อไวรัสเอชพีวี จะใช้เวลา 2-3 วัน หรือราว 1 สัปดาห์ แพทย์จะนัดให้มาฟังผลอีกครั้งในภายหลัง
ตรวจภายในมีความเสี่ยงไหม เจ็บหรือเปล่า
การตรวจภายในเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่อันตราย ไม่ทำให้เกิดเลือดออก หรือเจ็บปวดระหว่างตรวจ แต่ผู้เข้ารับการตรวจอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยหรือรู้สึกตึง ๆ เล็กน้อย ปกติจะหายไปเองหลังตรวจเสร็จหรือภายใน 24 ชั่วโมง
ตรวจภายในไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ตรวจก่อน สบายใจก่อน หาแพ็กเกจตรวจภายใน และตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง ราคาโปรโมชั่นผ่าน HDmall.co.th คลิกดูโปร หรือไม่แน่ใจเลือกแพ็กเกจไหน มีแอดมินให้คำแนะนำทางไลน์ทุกวัน ที่นี่