แนวทางหลักในการรักษา ภาวะไส้เลื่อน คือ การผ่าตัด โดยมีเทคนิคแยกย่อยออกไป ได้แก่ ผ่าตัดแบบเปิด ผ่าตัดแบบส่องกล้อง และเทคนิคล่าสุดคือ การผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียว
แพทย์จะพิจารณาขนาดไส้เลื่อน ตำแหน่งที่เป็นไส้เลื่อน ความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดแต่ละวิธี ร่วมกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน ว่าเหมาะสมกับเทคนิคการผ่าตัดใด เพื่อให้แน่ใจว่าการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนเทคนิคนั้นๆ จะให้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่สุด
สารบัญ
- 3 เทคนิคผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน
- 1. การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดแบบเปิด (Open Hernia Repair)
- 2. การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
- 3. การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
- ผลลัพธ์ของการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนทั้งสามเทคนิค
3 เทคนิคผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน
1. การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดแบบเปิด (Open Hernia Repair)
การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดแบบเปิด เป็นการผ่าไส้เลื่อนแบบดั้งเดิม โดยใช้วิธีระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะที่ หรือยาสลบ ขั้นตอนสำคัญคือการกรีดเปิดแผลกว้าง จำนวน 1 แผล ขนาดประมาณ 6-8 เซนติเมตร เพื่อเข้าถึงบริเวณที่เป็นไส้เลื่อน
จากนั้นแพทย์จะนำอวัยวะที่เลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งเดิม กลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ แล้วเย็บซ่อมแซมรูผนังช่องท้องของผู้ป่วยที่เป็นจุดทำให้เกิดไส้เลื่อน รวมถึงอาจเสริมความแข็งแรงของอวัยวะช่องท้องด้วยตาข่ายทางการแพทย์ ก่อนเย็บปิดแผล
ข้อดีของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด
- เป็นการผ่าตัดมาตรฐาน สามารถแก้ไขความผิดปกติได้ทุกรูปแบบ
- ค่าใช้จ่ายไม่สูง ประหยัดที่สุด
ข้อจำกัดของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด
- แผลมีขนาดใหญ่เป็นแนวยาวประมาณ 6-8 ซม.
- ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดค่อนข้างนาน โดยต้องนอนพักที่ รพ. 3-5 วัน และ พักฟื้นต่อที่บ้าน 2-3 สัปดาห์
- เจ็บแผลมากกว่า ดูแลรักษาแผลยากกว่า
- มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า
2. การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้วิธีระงับความรู้สึกด้วยยาสลบ โดยแพทย์จะใช้วิธีเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนัง ขนาด 0.5-1 ซม. จำนวน 3-5 รู เพื่อเป็นช่องทางสำหรับใส่อุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องกำลังขยายสูงเข้าไปในช่องท้องผู้ป่วย
แม้พื้นที่ผ่าตัดจะเล็ก แต่แพทย์สามารถมองเห็นภาพอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจนจากจอภาพขนาดใหญ่ในห้องผ่าตัด
เมื่อเข้าถึงบริเวณที่เป็นไส้เลื่อนได้แล้ว แพทย์จะนำอวัยวะที่เลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งเดิม กลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ แล้วเย็บซ่อมแซมรูผนังช่องท้องของผู้ป่วยที่เป็นจุดทำให้เกิดไส้เลื่อน รวมถึงอาจเสริมความแข็งแรงของอวัยวะช่องท้องด้วยตาข่ายทางการแพทย์ ก่อนเย็บปิดแผล
ข้อดีของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง
- แผลมีขนาดเล็กเพียง 0.5-1 ซม. 3-5 แผล
- ระยะเวลาพักฟื้นสั้น โดยพักฟื้นใน รพ. 1-2 วัน พักฟื้นต่อประมาณ 1 สัปดาห์ และสามารถเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้ภายใน 2-4 สัปดาห์
- เจ็บแผลน้อยกว่า ดูแลรักษาค่อนข้างง่าย
- โอกาสแผลติดเชื้อน้อยกกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อจำกัดของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง
- ไส้เลื่อนบางชนิดอาจผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ไม่ได้ เช่น ไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่ เป็นมานาน ภาวะไส้เลื่อนมีความซับซ้อน
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
3. การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
การรักษาไส้เลื่อนด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียว เป็นเทคนิคการผ่าตัดไส้เลื่อนใหม่ที่สุดและหลงเหลือแผลหลังผ่าตัดเล็กที่สุดในขณะนี้
วิธีการคือ แพทย์จะกรีดเปิดแผลเล็กๆ เพียงแผลเดียว ขนาด 2 ซม. บริเวณรูสะดือของผู้ป่วย แล้วติดตั้งอุปกรณ์ลักษณะคล้ายท่อเข้าไป เพื่อเป็นช่องทางใส่อุปกรณ์ผ่าตัด รวมถึงกล้องกำลังขยายสูง
จากนั้นจึงทำการผ่าตัดนำอวัยวะที่เลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งเดิม กลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติ แล้วเย็บซ่อมแซมรูผนังช่องท้องของผู้ป่วยที่เป็นจุดทำให้เกิดไส้เลื่อน รวมถึงอาจเสริมความแข็งแรงของอวัยวะช่องท้องด้วยตาข่ายทางการแพทย์ ก่อนเย็บปิดแผล
ข้อดีของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องแผลเดียว
- แผลมีขนาดเล็กเพียง 2 ซม. จำนวน 1 แผล
- ระยะเวลาพักฟื้นสั้น โดยพักฟื้นใน รพ. 1-2 วัน พักฟื้นต่อประมาณ 1 สัปดาห์ และสามารถเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้ภายใน 2-4 สัปดาห์
- เจ็บแผลน้อยกว่า ดูแลรักษาค่อนข้างง่าย
- โอกาสแผลติดเชื้อน้อยกกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อจำกัดของการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องแผลเดียว
- ไส้เลื่อนบางชนิดอาจผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ไม่ได้ เช่น ไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่ เป็นมานาน ภาวะไส้เลื่อนมีความซับซ้อน
- เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน แพทย์ผู้ผ่าตัดจึงต้องมีความชำนาญการสูง
- ค่าใช้จ่ายสูงที่สุด
ผ่าตัดไส้เลื่อนวิธีไหนเหมาะที่สุดสำหรับเรา? อยากขอความเห็นที่สอง จากคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะกับเรามากที่สุด ติดต่อทีม HDcare ช่วยทำนัดเข้าปรึกษาคุณหมอ ดูแลกันตั้งแต่ต้นจบ ทำให้การผ่าตัดไม่ยุ่งยากและไม่น่ากลัวอย่างที่คิด คลิกเลย
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนทั้งสามเทคนิค
แม้ขั้นตอนหลักของการผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัด และระยะเวลาพักฟื้นจะแตกต่าง แต่มีการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ของการรักษาไส้เลื่อนทั้งแบบเปิดและแบบส่องกล้อง ให้ผลในระยะยาวไม่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ แม้ว่าจะผ่าตัดสำเร็จ แต่ผู้ป่วยก็มีโอกาสกลับมาเป็นไส้เลื่อนซ้ำได้ ดังนั้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น
- เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย ช่วยให้ขับถ่ายง่าย ไม่ต้องเบ่งถ่ายบ่อยๆ
- เลิกสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายให้ถูกท่า ไม่ลงน้ำหนักในส่วนที่ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ควบคุมน้ำหนัก
ไส้เลื่อน ไม่ใช่โรคน่ากลัว และสามารถรักษาให้หาย ถ้ามีอาการชวนให้สงสัยว่าอาจเป็นไส้เลื่อน เช่น พบก้อนปูดนูนออกจากสะดือ หน้าท้อง ขาหนีบ ปวดท้อง รู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะเวลายกของหนักหรือเบ่งถ่าย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ยิ่งไส้เลื่อนยังมีขนาดเล็ก อาการไม่รุนแรง ทางเลือกในการผ่าตัดรักษายิ่งมีมากขึ้น
ป่วยเป็นไส้เลื่อน จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ไม่รู้จะเลือกวิธีไหนดี? ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรค จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย