รีเทนเนอร์ มีทั้งหมดกี่ประเภท แบบไหนถึงเหมาะกับเรา


รีเทนเนอร์ มีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนที่คิดจะจัดฟัน หรือกำลังจัดฟันอยู่ คงพอทราบว่า หลังจากกระบวนการจัดฟันเสร็จสิ้น ขั้นตอนต่อไปก็คือ การใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือที่เรียกว่า "รีเทนเนอร์ (Retainer)" 

รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ฟันที่จัดใหม่ยังคงเรียงตัวได้ตามระเบียบ ป้องกันฟันล้ม หรือฟันเคลื่อนตัวภายหลังการจัดฟัน ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบทั้งชนิดถอดได้อย่างแบบใส แบบลวด และรีเทนเนอร์ชนิดติดแน่นที่ไม่ต้องถอดเข้าถอดออกทุกวัน 

รีเทนเนอร์แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป 

รีเทนเนอร์คืออะไร?

รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่หลังจัดฟันเพื่อคงสภาพฟัน ไม่ให้ฟันที่ผ่านการจัดแล้วเคลื่อนจากตำแหน่ง ผู้ที่ถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้วจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของทันตแพทย์ 

หากไม่ปฏิบัติตามก็มีโอกาสฟันล้ม ฟันเก หรือฟันห่างได้ซึ่งเท่ากับว่าการจัดฟันที่ผ่านมานั้นสูญเปล่า เจ็บตัวฟรี เสียเงินฟรี และต้องกลับไปจัดฟันใหม่อีกรอบนั่นเอง

รีเทนเนอร์มีกี่แบบควรเลือกแบบไหนดี

ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ด้วยกัน 3 แบบ คือ 

1. รีเทนเนอร์ถอดได้แบบใส 

รีเทนเนอร์ถอดได้แบบใส

2. รีเทนเนอร์ถอดได้แบบลวด 

รีเทนเนอร์ถอดได้แบบลวด

3. รีเทนเนอร์แบบติดแน่น 

รีเทนเนอร์แบบติดแน่น


รีเทนเนอร์แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?

รีเทนเนอร์แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสีย วิธีการใช้งาน และการดูแลรักษาแตกต่างกันไป ดังนี้

1. รีเทนเนอร์แบบใส

ทำจากพลาสติกใส ลักษณะเป็นแผงใช้ใส่ครอบฟัน ขนาดและรูปร่างขึ้นรูปมาพอดีกับฟันคนไข้ โดยใน 6 เดือนแรก หลังถอดเหล็กดัดฟันควรใส่ไว้ตลอด ยกเว้นขณะกินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มร้อน และขณะแปรงฟัน

หลังพ้น 6 เดือนแล้ว สามารถใส่เฉพาะตอนนอนได้ หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ รีเทนเนอร์แบบใสมีอายุการใช้งานประมาณ 1–2 ปี

  • ข้อดี ใส่สบาย ไม่เห็นเหล็กในปาก ทำให้ดูสวยงามกว่าการใส่รีเทนเนอร์แบบลวด
  • ข้อเสีย วัสดุที่ใช้ไม่ทนทานเท่าแบบลวด อาจแตกหักเสียหายได้ง่าย ใช้ไปนานๆ อาจหลวม ต้องทำใหม่ เวลาพูดอาจมีน้ำลายไปขังอยู่ข้างในรีเทนเนอร์ ทำให้รู้สึกรำคาญได้
  • ราคา รีเทนเนอร์แบบใสมีราคาอยู่ที่ประมาณ 2,000-3,000 บาท ต่อชิ้น
  • เหมาะกับ ผู้ที่เน้นความสวยความงาม เวลายิ้มจะเห็นฟันชัดเจน
  • การทำความสะอาด ทำความสะอาดทันทีที่ถอดออก ล้างด้วยสบู่ และใช้แปรงขนนุ่มแปรงเบาๆ เพื่อขจัดคราบต่างๆ จากนั้นล้างน้ำเปล่า แช่ในน้ำสะอาด หรือเช็ดให้แห้ง เก็บใส่กล่องพลาสติกที่พกพาได้ง่าย 

ไม่ควรห่อใส่ทิชชู่เพราะอาจลืมและทำหาย หากไม่ใส่กล่องอาจทำให้ถูกของหนักทับ เสียหายได้ หากแพทย์แนะนำให้แช่รีเทนเนอร์ ควรแช่ด้วยเม็ดฟู่สำหรับแช่รีเทนเนอร์ ใช้น้ำผสมน้ำอุ่นเล็กน้อย ห้ามใช้น้ำร้อน

2. รีเทนเนอร์แบบลวด

ฐานทำจากอะครีลิกขนาดพอดีกับเพดานปาก ด้านหน้าเป็นลวดโลหะสำหรับครอบซี่ฟัน เพื่อป้องกันฟันเคลื่อนตัวควรใส่ไว้ตลอด ถอดออกเฉพาะตอนรับประทานอาหาร ทันตแพทย์จะกำหนดระยะเวลาการใส่ให้ตามความเหมาะสม รีเทนเนอร์แบบลวดมีอายุการใช้งานประมาณ 5–10 ปี

  • ข้อดี วัสดุที่ใช้ทำมีความทนทาน ไม่เสียหายง่าย ขณะใส่ไม่ค่อยมีน้ำลายขังภายใน หลายคนจึงรู้สึกว่าใส่สบายกว่าแบบใส
  • ข้อเสีย เวลาใส่จะเห็นลวดอยู่ในปาก ทำให้บางคนรู้สึกไม่มั่นใจ รวมถึงลวดโลหะอาจระคายเคืองเหงือกและกระพุ้งแก้มได้
  • ราคา รีเทนเนอร์แบบลวดราคาประมาณ 1,500-3,000 บาท ต่อชิ้น
  • เหมาะกับ ทุกคนที่จัดฟัน ที่ต้องการรีเทนเนอร์ที่แข็งแรง ไม่มีปัญหากับการมองเห็นลวดในปาก
  • การทำความสะอาด ทำได้โดยล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ทันทีที่ถอดออก และใช้แปรงสีฟันขนนุ่มแปรงเบาๆ บางครั้งทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำยาพิเศษสำหรับแช่ทำความสะอาดและกำจัดคราบที่รีเทนเนอร์ด้วย

3. รีเทนเนอร์แบบติดแน่น

มีลักษณะเป็นลวดที่ติดไว้บริเวณด้านในของฟันหน้าล่างเพื่อยึดให้ฟันคงสภาพ ป้องกันฟันเคลื่อนตัวห่างจากกัน ไม่สามารถถอดออกด้วยตนเองได้ ต้องให้ทันตแพทย์ถอดให้เท่านั้น 

รีเทนเนอร์แบบติดแน่นมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบอื่น คงทน ไม่เสียหายง่าย 

ส่วนใหญ่แล้วจะทำได้หลังจากใส่รีเทนเนอร์แบบธรรมดามาแล้วระยะหนึ่ง โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าคนไข้รายใดสามารถใช้รีเทนเนอร์แบบนี้ได้

  • ข้อดี หมดปัญหาเรื่องการลืมใส่ หรือทำรีเทนเนอร์หาย คนอื่นมองไม่เห็นลวดเพราะอยู่ด้านหลังฟัน ไม่ส่งผลต่อการพูด มีความคงทน ใช้งานได้นาน
  • ข้อเสีย ทำความสะอาดยาก เสี่ยงทำให้คราบหินปูนสะสมจนเกิดเป็นโรคเหงือก เศษอาหารอาจไปติดทำให้ฟันผุ ลวดอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองที่ลิ้นได้
  • ราคา รีเทนเนอร์แบบติดแน่น ราคาประมาณชุดละ 5,000 บาท
  • เหมาะกับ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันหน้าล่างล้มหลังจากถอดเหล็กจัดฟัน โดยเฉพาะเด็กๆ และผู้ที่มักลืมใส่รีเทนเนอร์บ่อยๆ
  • การทำความสะอาด เนื่องจากรีเทนเนอร์ยึดติดกับฟันจึงทำความสะอาดได้ยาก ควรใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ โดยอาจใช้ที่ดึงไหมขัดฟันเพื่อสอดไหมเข้าไปในซอกฟันได้ง่ายขึ้น จากนั้นขยับไหมขัดฟันขึ้นลงไปตามซอกฟันทีละซี่

ทั้งนี้ทันตแพทย์จะแนะนำว่า คุณเหมาะกับการใส่รีเทนเนอร์แบบไหนโดยพิจารณาจากสภาพฟันและสาเหตุที่คุณเริ่มจัดฟัน ประกอบกับความความพึงพอใจของคุณเองว่า รีเทนเนอร์แบบไหนตอบโจทย์การใช้งานที่สุด 

โดยคุณอาจใช้แบบใสในตอนกลางวันเพื่อความสวยงาม สลับกับการใส่แบบลวดในตอนนอนก็ได้

รีเทนเนอร์ Vivera คืออะไร?

นอกจากรีเทนเนอร์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในปัจจุบันยังมีรีเทนเนอร์ถอดได้แบบใส เรียกว่า "Vivera" ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้

จุดเด่นของ Vivera คือ ผลิตจากเทคโนโลยีเดียวกันกับเครื่องมือจัดฟันแบบใส อินวิสไลน์ (Invisalign) จึงมั่นใจได้ว่า ผลิตจากพลาสติกคุณภาพสูง ได้มาตรฐาน ทุกชิ้นมีความใส ปลอดภัย และไม่ระคายเคืองในช่องปากอย่างแน่นอน

นอกจากนี้การทำรีเทนเนอร์ Vivera 1 ครั้งยังได้รีเทนเนอร์ถึง 3 คู่ 6 ชิ้น แต่ราคาของรีเทนเนอร์ Vivera ก็มีราคาสูงสุดในท้องตลาด

ข้อควรปฏิบัติในการใส่รีเทนเนอร์

เพื่อฟันที่คงสภาพและเรียงตัวสวยงาม คุณควรปฏิบัติตามแนวทางการใช้ดังต่อไปนี้

  • ควรใส่รีเทนเนอร์ตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดเพราะหากละเลยอาจทำให้ฟันเคลื่อนจนต้องจัดฟันใหม่อีกครั้งได้ ส่วนระยะเวลาที่ฟันเคลื่อนั้นแล้วแต่กรณี บางกรณีเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ ก็กลับมาใส่รีเทนเนอร์ไม่ได้แล้วเพราะฟันมีการเคลื่อนที่ไปมาก

    แต่บางกรณี ทันตแพทย์อาจอนุโลมได้ อย่างไรก็ดี หากไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์ตั้งแต่ในช่วง 3 เดือนแรกที่ถอดชุดเครื่องมือออก หรือ รีเทนเนอร์คับมาก หรือใส่ไม่ได้แล้วแนะนำให้พบทันตแพทย์

  • เมื่อถอดรีเทนเนอร์ควรล้างทำความสะอาดทันทีและแช่ไว้ในน้ำสะอาด หรือเช็ดให้แห้งและเก็บไว้ในกล่องให้มิดชิด โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อนและสารเคมี การไม่ล้างทำความสะอาดรีเทนเนอร์อาจทำให้แบคทีเรียและคราบหินปูนสะสมจนเกิดปัญหากลิ่นปากและฟันผุได้

  • หากรีเทนเนอร์เกิดความเสียหาย หรือผิดรูป ให้ไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อเปลี่ยนอันใหม่

เปรียบเทียบราคารีเทนเนอร์แต่ละคลินิก

ดูแพ็กเกจทำรีเทนเนอร์ ลดสูงสุด 50% ได้ที่นี่ หรือสอบถามได้ที่ไลน์ @hdcoth

Dental de Bear

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 1,500 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 1,500 บาท

คลินิกทันตกรรมหมอโอ๋

  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 2,000 บาท

All Day Smile Dental Clinic

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 ชิ้น (บนหรือล่าง)

Deezy Dental Home

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 2,500 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 2,500 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 4,000 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 4,000 บาท

The Smile Studio dental

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 2,500 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 2,500 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 4,000 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 4,000 บาท

LDC Dental**

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 ชิ้น (บนหรือล่าง) 3,000 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 6,000 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 7,000 บาท

Smile Season Dental Clinic

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 2,999 บาท

About tooth dental clinic

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 3,500 บาท

คลินิกทันตกรรมมายเดนท์

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 3,500 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 3,500 บาท

Tooth Box Dental Clinic

  • รีเทนเนอร์แบบลวด 1 คู่ (บนและล่าง) 3,590 บาท
  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 2,590 บาท

Smile Society Dental

  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 2,990 บาท

The S Dental

  • รีเทนเนอร์แบบใส 1 คู่ (บนและล่าง) 7,000 บาท

*ราคาข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือยังไม่รวมค่าแพทย์และค่าอุปกรณ์ สอบถามได้ที่ไลน์ @hdcoth

**LDC Dental ถ้าปรึกษาอย่างเดียว แต่ยังไม่ตัดสินใจทำ จะมีค่าตรวจและปรึกษาคุณหมอ 300 บาททุกเคส


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำรีเทนเนอร์

การทำรีเทนเนอร์จำเป็นต้องผ่าฟันคุดหรือไม่

คำตอบ: หากฟันคุดที่ขึ้นมาไม่ได้ส่งผลต่อขั้นตอนการทำความสะอาดฟัน คนไข้ยังสามารถทำความสะอาดได้ดี ก็ไม่จำเป็นต้องถอนฟันคุดก่อนทำรีเทนเนอร์ เพราะว่ารีเทนเนอร์ไม่ได้คลุมไปถึงฟันคุดอยู่แล้ว แต่ถ้าคนไข้กลัวจะมีปัญหาในภายหลังก็เอาออกก่อนแล้วค่อยทำรีเทนเนอร์ก็ได้

ไม่ว่าจะเลือกรีเทนเนอร์แบบไหน จะความคุ้มค่าในเรื่องราคา หรือความสวยงาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ แม้ว่าฟันจะได้ระเบียบ เรียงตัวสวยงาม สบกันได้พอดี แต่คุณยังจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เพื่อคงสภาพฟันที่จัดไว้ให้นานที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำรีเทนเนอร์


รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับรีเทนเนอร์


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat