การผ่าคลอดคืออะไร


ผ่าคลอด-ผ่าตัดคลอด-ผู้หญิงอุ้มลูก

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง (Cesarean section) คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้องและผนังมดลูกของคุณแม่เพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ ปัจจุบันมีการผ่าคลอด 2 แบบ ได้แก่ การผ่าคลอดแนวขวางที่มดลูกส่วนล่าง และการผ่าตัดแนวตั้งที่มดลูกส่วนล่าง
  • โดยปกติแล้ววิธีผ่าคลอดจะเหมาะสมกับคุณแม่ที่แพทย์ผู้ดูแลลงความเห็นแล้วว่า การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติจะทำให้คุณแม่ หรือลูกมีความเสี่ยงมากเกินไป เช่น อุ้งเชิงกรานแคบ รกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง อยู่ในภาวะคลอดยาก หรือคลอดเนิ่นนาน
  • ระยะเวลาที่เหมาะสมในการคลอดก็คือ ตั้งแต่ 38-39 สัปดาห์ขึ้นไปเพราะทารกจะโตเต็มที่ มีพัฒนาการต่างๆ ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว โดยเฉพาะปอดที่สามารถหายใจได้เอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดน้อย
  • การผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บท้องคลอดหนักๆ หรือไม่ต้องรอให้มีอาการน้ำเดิน มูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด รวมทั้งไม่ต้องรอปากมดลูกเปิด เพียงแต่จะเกิดขึ้นในกรณีฉุกเฉิน จำเป้นต้องช่วยชีวิตแม่และทารกในครรภ์ หรือมีการวางแผนผ่าคลอดมาก่อนแล้ว 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือแอดไลน์ @hdcoth

การผ่าคลอดเป็นวิธีคลอดแบบหนึ่งที่คุณแม่บางส่วนให้ความสนใจ เพราะส่วนหนึ่งสามารถกำหนดวันและเวลาการคลอดได้ตามต้องการ ระยะเวลาเจ็บท้องน้อยกว่า ลูกอาจมีความปลอดภัยมากกว่า นั่นจึงทำให้สถิติผ่าคลอดในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม การที่คุณแม่จะตัดสินใจคลอดแบบใดนั้น คุณแม่เองควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงขั้นตอนการคลอดแต่ละแบบก่อน ความเหมาะสมกับตัวคุณแม่ รวมทั้งข้อดี-ข้อเสียในการคลอดแต่ละวิธีจึงจะถูกต้อง

HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบแบบชัดๆ เพื่อให้คุณแม่นำไปประกอบการตัดสินใจก่อนถึงกำหนดคลอด


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับการผ่าคลอดที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


การผ่าคลอด คืออะไร?

การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง (Cesarean section) คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้องและผนังมดลูกของคุณแม่เพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ จากนั้นแพทย์จะนำรกออกจากครรภ์ให้หมด แล้วจึงเย็บปิดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการภายในเวลา 45 นาที - 1ชั่วโมง

โดยปกติแล้ววิธีนี้จะเหมาะสมกับคุณแม่ที่แพทย์ผู้ดูแลลงความเห็นแล้วว่า การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ จะทำให้คุณแม่ หรือลูกมีความเสี่ยงมากเกินไปจึงจะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดคลอด

แพ็กเกจคลอดบุตร ราคา

การผ่าคลอด มีกี่แบบ?

การผ่าคลอดส่วนมากจะมี 2 แบบ แต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

1.การผ่าคลอดแนวขวาง หรือแนวบิกีนี่ที่มดลูกส่วนล่าง (Tranverse) การผ่าตัดแบบนี้จะมีบาดแผลแนวยาวตามรอยพับของหน้าท้องส่วนล่าง ทำให้เวลาขยับตัวจะเจ็บแผลไม่มาก ส่วนแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กและมองเห็นไม่ชัดนัก

ในเรื่องเทคนิคการผ่าวิธีนี้ใช้เวลานานกว่าปกติเพราะผ่าตัดได้ยากกว่า ต้องใช้อุปกรณ์ช่อยคลอดศีรษะทารกเพิ่มเติม จึงไม่เหมาะกับการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน การผ่าวิธีนี้มีข้อจำกัดสำหรับผู้ที่มีพังผืดในช่องท้อง และไม่เหมาะหากต้องการผ่าตัดอวัยวะอื่นๆ ของคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดแนวขวางนั้นได้รับความนิยมมากกว่าการผ่าตัดในแนวตั้งที่จะกล่าวถึงต่อไป

2.การผ่าตัดในแนวตั้งที่มดลูกส่วนล่าง (Vertical Midline incision)การผ่าตัดแบบนี้จะมีบาดแผลยาวตามแนวตั้งของหน้าท้องส่วนล่าง ทำให้เวลาขยับตัวลำบาก เจ็บแผลมาก และฟื้นตัวช้ากว่าแบบแรก

ในเรื่องเทคนิค การผ่าตัดวิธีนี้ใช้เวลาไม่นานก็สามารถนำทารกออกมาจากถุงน้ำคร่ำได้ง่าย โดยแทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดอื่นๆ เลย จึงเหมาะสำหรับการคลอดในกรณีร่งด่วน ฉุกเฉิน และหากทารกตัวใหญ่ก็ไม่มีปัญหาติดขัดแต่อย่างใด เพราะสามารถขยายความกว้างของแผลได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดแนวตั้งจะมีแผลเป็นมากกว่าการผ่าตัดแนวขวาง

คุณแม่จะใช้เวลาตั้งครรภ์จนถึงกำหนดคลอดราว 37-40 สัปดาห์ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการคลอดก็คือ ตั้งแต่ 38-39 สัปดาห์ขึ้นไปเพราะทารกจะโตเต็มที่ มีพัฒนาการต่างๆ ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว โดยเฉพาะปอดที่สามารถหายใจได้เอง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดน้อย

แต่หากคุณแม่เจ็บท้องคลอดก่อนหน้านั้น มีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 33 สัปดาห์ อีกทั้งแพทย์ผู้ดูแลตรวจพบว่า ทารกในครรภ์สุขภาพแข็งแรงดี ก็สามารถผ่าคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ได้เช่นกัน

กรณีไหนบ้างที่ควรผ่าคลอด?

องค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ คลอดตามธรรมชาติก่อนเพราะเชื่อว่า เป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับแม่และลูกน้อย อย่างไรก็ตาม หากหญิงตั้งครรภ์มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพต่อไปนี้ก็เหมาะสมที่จะเข้ารับการผ่าคลอด

  • คุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบเกินไป ทำให้ทารกไม่สามารถคลอดออกมาทางช่องคลอดได้
  • คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด แต่ร่างกายไม่พร้อมคลอดธรรมชาติ
  • มีความผิดปกติของรก เช่น รกเกาะต่ำขวางทางออกของทารก (Placenta Previa) หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) ทำให้คุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอดในระหว่างตั้งครรภ์และมีโอกาสตกเลือดในขณะคลอดได้
  • เกิดภาวะวิกฤติ เช่น เสียงหัวใจลูกเต้นช้าผิดปกติ คุณแม่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง มดลูกแตก
  • คุณแม่อยู่ในภาวะคลอดยาก (Obstructed labor) หรือคลอดเนิ่นนาน (Prolong of Labor) ทำให้ทั้งทารกและคุณแม่อาจมีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น คุณแม่ช่องคลอดฉีกขาด เสียเลือดมาก และเสี่ยงต่อการตกเลือด มดลูกแตก ส่วนทารกเสี่ยงมีความพิการทางสมอง ร่างกายชอกช้ำจากการคลอดยาก มีโอกาสเสียชีวิตได้ หากเป็นการคลอดติดไหล่อาจทำให้เส้นประสาทแขนของทารกได้รับความเสียหายได้
  • คุณแม่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน (Previous Uterine Scare) ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกของมดลูกหากมีการคลอดเองเกิดขึ้น
  • การติดเชื้อของมารดา เช่น มารดาเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศขณะเข้าสู่ระยะคลอด ซึ่งสามารถติดต่อสู่ลูกน้อยผ่านการคลอดทางช่องคลอด
  • ทารกมีความผิดปกติ เช่น ตัวใหญ่เกินไป ศีรษะใหญ่เกินไป ทำให้ทารกไม่สามารถคลอดออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกขาดออกซิเจนไปเลี้ยง
  • ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น หรือครรภ์แฝด
แพ็กเกจคลอดบุตร ราคา

แต่ทั้งนี้การผ่าตัดคลอดขึ้นอยู่กับความพร้อมของแพทย์ บุคลากร และเครื่องมือในแต่ละโรงพยาบาลด้วย

ต้องรอให้เจ็บท้องก่อนไหมจึงผ่าคลอด?

การผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องรอให้เจ็บท้องคลอดหนักๆ หรือไม่ต้องรอให้มีอาการน้ำเดิน มูกเลือดไหลออกจากช่องคลอด รวมทั้งไม่ต้องรอปากมดลูกเปิดให้ได้ระยะกว้างเพียงพอเหมือนการคลอดธรรมชาติ แต่สามารถทำได้ทันทีในกรณีต่อไปนี้

กรณีแรก “ผ่าคลอดฉุกเฉิน” หากแพทย์พิจารณาแล้วว่า มีความจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก คุณแม่จึงไม่ต้องคอยนานเพื่อที่จะเห็นหน้าลูกน้อย โดยการผ่าตัดคลอดนั้นอาจใช้เวลาเพียงแค่ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมงก็ได้เห็นหน้าลูกแล้ว

กรณีที่ 2 “วางแผนผ่าคลอด” หากแพทย์ตรวจพบแต่เนิ่นๆ ว่า คุณแม่ หรือทารกในครรภ์มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ ไม่สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้แน่นอน กรณีนี้แพทย์จำเป็นต้องวางแผนผ่าคลอดไว้ก่อนล่วงหน้า

ทั้งการเตรียมทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับข้อบ่งชี้ทางสุขภาพของคุณแม่และทารกเพิ่มเติม เช่น แพทย์ด้านโรคหัวใจ วิสัญญีแพทย์ บุคลากร เวชภัณฑ์ต่างๆ เลือดสำรอง และห้องผ่าตัดให้พร้อม

ไม่ว่าคุณแม่จะตัดสินใจเลือกการคลอดวิธีไหน สุดท้ายแล้วแพทย์ผู้ดูแลครรภ์จะเป็นผู้ตัดสินใจ เพื่อการคลอดที่ปลอดภัยทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยที่สุด

ว่าที่คุณแม่สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่ตรงใจ คุ้มค่ากับงบประมาณได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยมีจิ๊บใจดี เสียงใสคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Brian Krans, C-Section (Cesarean Section) (https://www.healthline.com/health/c-section), 26 March 2021.
  • Hedwige Saint Louis, MD, MPH, FACOG, Cesarean Delivery (https://emedicine.medscape.com/article/263424-overview), 26 March 2021.
  • MedlinePlus, Cesarean Section (https://medlineplus.gov/cesareansection.html), 26 March 2021.
  • NHS, Caesarean section (https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/), 26 March 2021.
@‌hdcoth line chat