กายภาพบำบัดคืออะไร ช่วยอะไรได้บ้าง


HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • กายภาพบำบัด เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การดึง นวด ประคบ ร่วมกับการบริหารร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการปวด หรือได้รับผลข้างเคียงจากอาการเจ็บป่วย
  • การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยบรรเทาอาการปวด ฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ คลอดบุตร หรือผ่าตัด ช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล ลดโอกาสล้ม ลื่น จนเกิดการบาดเจ็บ รวมถึงมีส่วนฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วย
  • เมื่อไปรับบริการกายภาพบำบัด สามารถแจ้งความประสงค์และอาการกับนักกายภาพบำบัด โดยอาจมีการทดสอบร่างกายเล็กน้อย จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะวางแผนการรักษาให้
  • ดูแพ็กเกจกายภาพบำบัดได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามแอดมินได้ผ่านทางไลน์ @hdcoth

หากพูดถึงกายภาพบำบัด หลายคนคงนึกถึงการทำกายบริหารให้กับผู้สูงอายุผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยอยู่เสมอ แต่ความจริงแล้วการทำกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดอยู่แค่กลุ่มผู้สูงอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจ

เพราะวัยทำงานเองก็สามารถทำเพื่อคลายปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้ และยังไม่จำเป็นต้องรอให้ป่วยเท่านั้น แต่ยังสามารถทำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในอนาคตให้คนที่เราห่วงใยได้อีกด้วย


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดได้ที่นี่

  • การทำกายภาพบำบัดคืออะไร?
  • การทำกายภาพบำบัดช่วยอะไรได้บ้าง?
  • นักกายภาพบำบัดคืออะไร?
  • กายภาพบำบัดทำอะไรบ้าง?

  • การทำกายภาพบำบัดคืออะไร?

    กายภาพบำบัด (Physical therapy: PT) เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การดึง นวด ประคบ ร่วมกับการบริหารร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการปวด หรือได้รับผลข้างเคียงจากอาการเจ็บป่วยจนทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เต็มที่

    เทคนิคและวิธีการต่างๆ ของกายทำกายภาพบำบัดจะปฎิบัติตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถแบ่งการทำกายภาพบำบัดได้หลายสายงาน เช่น

    • กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท
    • กายภาพบำบัดด้านระบบทรวงอกหลอดเลือดและหัวใจ
    • กายภาพบำบัดด้านกีฬา
    • กายภาพบำบัดในชุมชน
    • งานกายภาพบำบัดด้านอื่นๆ

    โดยการทำกายภาพบำบัดแต่ละสายงานนี้ ก็จะมีวิธีการทำ อุปกรณ์ และจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการ ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้แนะนำให้นั่นเอง

    กายภาพบำบัด ราคา

    การทำกายภาพบำบัดช่วยอะไรได้บ้าง?

    การทำกายภาพบำบัดมีจุดประสงค์หลักเพื่อฟื้นฟูร่างกาย และเสริมสร้างความสามาถในการใช้ร่างกาย เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดจะมุ่งเน้นที่การบรรเทาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการใช้ร่างกายของคุณ อาจมีดังนี้

    • บรรเทาอาการปวด
    • ป้องกัน หรือฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ
    • ป้องกันความพิการ หรือลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัด
    • ป้องกันการล้มหรือลื่น โดยทำให้ร่างกายมีความสมดุลมากขึ้น
    • มีส่วนช่วยให้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้มากขึ้น
    • มีส่วนช่วยประคองอาการจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน
    • มีส่วนช่วยให้ใช้แขนขาเทียมได้ดีขึ้น
    • มีส่วนช่วยให้ใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ไม้เท้า ได้ดีขึ้น
    • เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
    • ฟื้นฟูร่างกายหลังจากผ่าตัด
    • ฟื้นฟูร่างกายของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    • ฟื้นฟูร่างกายหลังจากให้กำเนิดบุตร

    โดยนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ให้คำแนะนำว่า ผู้ใช้บริการเหมาะกับการทำกายภาพบำบัดส่วนไหน และควรใช้เทคนิคใด

    นักกายภาพบำบัดคืออะไร?

    นักกายภาพบำบัด (Physical therapist) คือผู้ที่ได้รับการศึกษาเฉพาะทางด้านการทำกายภาพบำบัด เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา ประสาทวิทยา และการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยภาวะต่างๆ

    โดยนักกายภาพบำบัดที่ผ่านการศึกษาเหล่านี้ จะมีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพ เพื่อทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดตามสถานที่ต่างๆ ได้

    การไปพบนักกายภาพบำบัดมักทำได้โดยไม่ต้องรอให้แพทย์เป็นผู้ระบุว่าจำเป็นต้องใช้การกายภาพบำบัด แต่หากคุณมีอาการป่วยรุนแรง หรือได้รับบาดเจ็บหนัก นักกายภาพบำบัดอาจไม่ใช่ทางเลือกหลักในการรักษา และไม่สามารถทำหน้าที่แทนแพทย์ได้

    กรณีนี้ แพทย์อาจเป็นผู้แนะนำให้ทำการรักษาด้วยกายภาพบำบัดเมื่อร่างกายพร้อม และนักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาร่วมกับแพทย์

    ระหว่างที่นักกายภาพบำบัดให้บริการ พวกเขาจะคอยประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาแผนการรักษาของคุณ ในบางท่าทางนักกายภาพบำบัดอาจใช้มือช่วยในการทำกายภาพบำบัดให้ผู้ใช้บริการด้วย

    การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้คุณใช้ร่างกาย หรืออวัยวะที่ทำการรักษาในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะฟื้นฟูกลับมาได้ไวกว่าการทำด้วยตัวเองโดยไม่มีนักกายภาพบำบัดให้คำแนะนำ

    กายภาพบำบัด ราคา

    กายภาพบำบัดทำอะไรบ้าง?

    ในการทำกายภาพบำบัดแต่ละครั้ง จะแบ่งช่วงเวลาให้บริการออกเป็น 2 ช่วงหลักๆ

    1. ประเมินอาการก่อนทำกายภาพบำบัด

    ในการทำกายภาพบำบัดครั้งแรก นักกายภาพบำบัดอาจต้องประเมินอาการก่อน เพื่อให้สามารถกำหนดปัญหา และแผนการรักษาได้

    โดยอาจถามคำถามทั่วไป เช่น ส่วนไหนที่มีอาการปวด อาการผิดปกติเป็นอย่างไร การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร การนอนหลับดีไหม รวมไปถึงประวัติการรักษา

    นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดอาจให้ทำการทดสอบเล็กน้อย ดังนี้

    • ทดสอบความสามารถในการเคลื่อนไหวไปมา การหยิบจับ การโค้งงอตัว
    • ทดสอบความสามารถการเดิน การปีนป่าย
    • ทดสอบการเต้นของหัวใจ หรือจังหวะการเต้นระหว่างออกกำลังกาย
    • ทดสอบความสามารถในการทรงตัว และความสมดุล

    แม้ผู้ที่เคยทำกายภาพบำบัดไปแล้วก็อาจได้รับการสอบถามและทดสอบเช่นกันในบางกรณี เพื่อติดตามอาการและปรับแผนการรักษา

    2. ทำกายภาพบำบัดตามแผนการรักษา

    การทำกายภาพบำบัดในผู้ใช้บริการแต่ละคน อาจมีใช้จำนวนครั้ง ระยะเวลา และเทคนิคในการทำกายภาพบำบัดต่างกัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ แต่การทำกายภาพบำบัดหลักๆ ที่อาจพบในเบื้องต้น อาจมีดังนี้

    • การออกกำลังกาย บริหารร่างกาย หรือการยืดกล้ามเนื้อตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด
    • การนวด ประคบร้อน หรือประคบเย็น อาจมีการใช้อัลตราซาวด์กล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการกระตุก
    • บำบัดร่างกายเพื่อการใช้แขนขาเทียม
    • ฝึกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

    นักกายภาพบำบัดจะคอยดูความเปลี่ยนแปลงของคุณ และปรับเปลี่ยนแผนการรักษาหากจำเป็น

    นอกจากนี้คุณยังสามารถนำท่าบริหาร่างกาย หรือออกกำลังกาย ที่นักกายภาพบำบัดแนะนำไปปฎิบัติที่บ้านได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณติดตามการปฎิบัติและปรับปรุงสภาพร่างกายได้สม่ำเสมอ

    โดยสรุปแล้ว การทำกายภาพบำบัดไม่จำเป็นต้องรอให้แพทย์เป็นผู้สั่ง หากมีอาการปวดจากการใช้งานอวัยวะต่างๆ ผิดท่า ก็สามารถมาใช้บริการกายภาพบำบัดได้เช่นกัน

    กายภาพบำบัด ราคา

    แต่หากมีอาการป่วยรุนแรง หรือบาดเจ็บหนัก ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อน และอาจทำกายภาพบำบัดควบคู่กันเพื่อฟื้นฟูได้เมื่อแพทย์อนุญาต

    นอกจากนี้ยังใช้เพื่อป้องกันการเสียสมดุลของร่างกาย ป้องกันล้ม ลื่น ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ร่างกายยังไม่ค่อยแข็งแรงได้ด้วย ดูแพ็กเกจกายภาพบำบัดได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามแอดมินได้ผ่านทางไลน์ @hdcoth


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    @‌hdcoth line chat