วัคซีน MMR ฉีด 1 ป้องกันได้ถึง 3 โรค!


วัคซีนเด็ก, แม่อุ้มเด็ก, MMR, แม่เลี้ยงเด็ก

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • วัคซีน MMR เป็นวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) เมื่อนำอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของทั้ง 3 โรคมารวมกันจึงกลายเป็น MMR
  • วัคซีน MMR ควรฉีด 2 เข็ม เริ่มตอนอายุ 9-12 เดือน และอีกเข็มตอน 4-6 ปี (หรือบางคนอาจฉีดตอน 2 ปีครึ่ง) หากไม่ได้ฉีดในช่วงนี้ สามารถฉีดได้อีกทีตอนอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรฉีดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 สัปดาห์ เพราะหากฉีดในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสที่เชื้อของวัคซีนจะทำอันตรายเด็กได้
  • เปรียบเทียบราคาฉีดวัคซีน MMR ได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินให้บริการตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!

ในปี 2554 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานการระบาดของโรคหัดว่า ร้อยละ 60 ของการระบาดพบได้ในสถานที่ที่มีคนรวมกลุ่มกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานสงเคราะห์เด็ก

เนื่องจากเด็กเล็กมีพฤติกรรมการเล่น คลุกคลีกับเพื่อนเด็กคนอื่นๆ ทำให้เสี่ยงต่อการรับเอาโรคระบาด เด็กจึงเป็นวัยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคหัดมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะกำจัดโรคหัดให้หมดไปในปี 2563 โดยปัจจุบันได้มีการใช้วัคซีนชนิดหนึ่งมานานแล้ว ทำให้อัตราการระบาดของโรคหัดลดลงอย่างต่อเนื่อง

ในบทความนี้จะมาพูดถึงวัคซีนที่ช่วยกำจัดโรคหัด และโรคอื่นๆ ให้หมดไปนั่นก็คือวัคซีน MMR


เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับวัคซีน MMR ได้ที่นี่

  • วัคซีน MMR คืออะไร?
  • วัคซีน MMR ควรฉีดตอนไหน ฉีดกี่เข็ม?
  • ใครควรฉีดวัคซีน MMR?
  • ใครไม่ควรฉีดวัคซีน MMR?
  • ผลข้างเคียงของวัคซีน MMR
  • สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน MMR
  • ลืมนัดฉีดวัคซีน MMR ควรทำอย่างไร?
  • ข้อควรระวังของวัคซีน MMR

  • วัคซีน MMR คืออะไร?

    วัคซีน MMR เป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ถึง 3 โรค ได้แก่ โรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) เมื่อนำอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของทั้ง 3 โรคมารวมกันจึงกลายเป็นชื่อวัคซีน MMR นั่นเอง

    วัคซีน MMR เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine) มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันเดี่ยวๆ ของแต่ละโรค และมีผลข้างเคียงน้อย จึงได้รับความนิยมกว่าการฉีดวัคซีนแยกเดี่ยวๆ

    รายละเอียดทั่วไปของโรคที่วัคซีน MMR ป้องกันได้ มีดังต่อไปนี้

    • โรคหัด (Measles) เกิดจากเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางละอองฝอย เมื่อรับเชื้อเข้าไปจะมีระยะฟักตัว 8-12 วัน จากนั้นจะมีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง มีผื่นแดงขึ้น เริ่มจากบริเวณใบหน้า และกระจายไปทั่วร่างกาย หากเกิดการติดเชื้อในปอดอาจทำให้เป็นปอดอักเสบได้ (Pneumonia) กรณีรุนแรงอาจนำไปสู่อาการอักเสบของสมองได้
    • คางทูม (Mumps) เกิดจากเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps virus) สามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่งระบบทางเดินหายใจ เมื่อรับเชื้อไปแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 16-18 วัน เชื้ออาจทำให้ทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้มบวม ส่วนมากมักไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายประเภท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
    • หัดเยอรมัน (Rubella) เกิดจากเชื้อไวรัส (Rubella virus) สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ เมื่อรับเชื้อไปจะมีระยะฟักตัว 14-21 วัน จากนั้นผู้ติดเชื้อจะมีผื่นขึ้นบนใบหน้า ต่อมน้ำเหลืองที่หลังใบหูและลำคอโต บางกรณีอาจข้อต่อบวมร่วมกับมีไข้ต่ำๆ เด็กส่วนมากสามารถหายจากอาการได้โดยปลอดภัย แต่จะอันตรายมากหากติดในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หากติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกพิการ เช่น ตาบอด หูหนวก หัวใจพิการ
    วัคซีน MMR ราคาถูก

    วัคซีน MMR ควรฉีดตอนไหน ฉีดกี่เข็ม?

    เด็กที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงมักได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีน MMR ทั้งหมด 2 เข็ม ระยะเวลามีดังต่อไปนี้

    • เข็มที่ 1 ให้ตอนอายุระหว่าง 9-12 เดือน
    • เข็มที่ 2 มาให้ตอนอายุระหว่าง 4-6 ปี
    • แพทย์บางคนอาจแนะนำให้ฉีดเข็มที่ 2 ตอนอายุ 2 ปีครึ่ง เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันก่อนที่จะเข้าเรียนกับเด็กคนอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่แพทย์พิจารณา

    สำหรับผู้ที่อายุเกินเกณฑ์ที่กำหนด และยังไม่เคยรับวัคซีน รวมถึงไม่เคยเป็นโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ก็สามารถมารับวัคซีนได้เมื่ออายุเกิน 18 ปีขึ้นไปเช่นกัน

    ใครควรฉีดวัคซีน MMR?

    ผู้ที่มีเงื่อนไขข้อใดตรงกับข้อต่อไปนี้ ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีน MMR

    • ผู้ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2499 (1956) เพราะก่อนหน้าปี 2499 มีผู้ติดที่เป็นหัด คางทูม และหัดเยอรมันจำนวนมาก ผู้ที่เกิดก่อนปี 2499 จึงอาจมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว
    • ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานทางการแพทย์ ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และมีโอกาสรับเชื้อสูง
    • ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรฉีดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 28 สัปดาห์
    • ผู้ที่มีเด็กอายุระหว่าง 6-11 เดือน และกำลังวางแผนเดินทางไปต่างประเทศ ควรปรึกษาแพทย์รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มก่อน จากนั้นตามฉีดให้ครบเมื่ออายุ 12 เดือน
    • เด็กอายุ 9 เดือนขึ้นไปทุกคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสามารถรับวัคซีนได้

    ใครไม่ควรฉีดวัคซีน MMR?

    หากมีเงื่อนไขข้อใดตรงกับข้อดังต่อไปนี้ ไม่ควรฉีดวัคซีน MMR

    • ผู้ที่เคยมีอาการแพ้รุนแรงหลังจากฉีดวัคซีน MMR เข็มแรกไปแล้ว
    • ผู้ที่มีประวัติแพ้เจลาติน (Gelatin) หรือ นีโอมัยซิน (Neomycin)
    • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากการรักษาโรคมะเร็ง เอดส์ หรือใช้คอร์ติคอสเตียร์รอยด์ (corticosteroids)
    • ผู้ที่มีเชื้อวัณโรค (Tuberculosis)
    • ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ควรรอให้รักษาจนหายก่อน
    • ผู้ที่เพิ่งทำการบริจาคเลือด หรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด
    • ผู้ที่เพิ่งได้รับวัคซีนอื่นๆ ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

    หากมีอาการอื่นๆ ที่กังวลว่าอาจส่งผลกระทบต่อการรับวัคซีน MMR ควรสอบถามแพทย์ก่อนรับบริการ

    ผลข้างเคียงของวัคซีน MMR

    คนส่วนใหญ่ที่รับวัคซัน MMR ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แต่ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ดังนี้

    • อาจมีไข้ (มีโอกาสเกิดขึ้น 5%)
    • อาจมีผื่น หรือรอยแดงขึ้น (มีโอกาสเกิดขึ้น 5%)
    • มีอาการบวมที่ต่อมบางจุด
    • มีอาการปวดข้อ ข้อฝืด (มีโอกาสเกิดขึ้น 0.5%)
    • อาจเกิดอาการชัก (เกิดขึ้น 1 ใน 3,000)
    • อาจทำให้เกร็ดเลือดต่ำ หรือเลือดออก (เกิดขึ้น 1 ใน 30,000)
    • อาจเกิดไข้สมองอักเสบ (เกิดขึ้น 1 ในล้าน)

    สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน MMR

    ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือเงื่อนไขสุขภาพใดๆ ต่อไปนี้ ควรแจ้งกับแพทย์ทุกครั้งก่อนฉีดวัคซีน MMR

    • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders)
    • ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด
    • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
    • ผู้ที่กำลังป่วย เป็นไข้
    • มีระดับเกล็ดเลือดต่ำ
    • เพิ่งผ่านการถ่ายเลือดมาไม่นาน
    • ผู้ที่เป็นโรคลมชัก (Seizure Disorder)
    • ผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกัน
    • ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน หรือส่วนผสมใดในวัคซีน
    • สตรีมีครรภ์ หรือกำลังพยายามตั้งครรภ์
    • สตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร

    ลืมนัดฉีดวัคซีน MMR ควรทำอย่างไร?

    หากลืมนัดฉีดวัคซีน MMR ควรแจ้งกับผู้ให้บริการทันทีที่นึกออกเพื่อทำการนัดหมายใหม่อีกครั้ง ไม่ควรปล่อยเลยตามเลยเพราะอาจทำให้วัคซีนที่ไม่ครบโดสทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

    ข้อควรระวังของวัคซีน MMR

    วัคซีน MMR มีข้อควรระวังบางประการที่ควรปรึกษาแพทย์หากเป็นกังวล ดังนี้

    • ไม่ควรตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือนหลังจากรับวัคซีน MMR เพราะอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
    • การทดสอบหาการติดเชื้อวัณโรค (Tuberculin Skin Test) ภายใน 8 สัปดาห์หลังรับวัคซีน MMR อาจทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้
    • หากต้องรับวัคซีนชนิดอื่นในรอบ 1 เดือนหลังจากรับวัคซีน MMR ควรแจ้งกับแพทย์ทันที
    • หากต้องมีการถ่ายเลือดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับวัคซีน ควรแจ้งกับแพทย์ทันที
    • หากต้องรับพลาสมาประเภท Gamma Globulin หรือ Globulins ในรอบ 2 สัปดาห์หลังจากรับวัคซีน MMR ควรแจ้งกับแพทย์ผู้ดูแลเช่นกัน

    โดยสรุปแล้ววัคซีน MMR สามารถป้องกันได้ถึง 3 โรค ส่วนมากมักได้รับการฉีดตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฉีด หรือไม่แน่ใจว่ารับวัคซีนไปหรือยัง ก็สามารถรับได้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์

    เปรียบเทียบราคาฉีดวัคซีน MMR ได้ที่ HDmall.co.th ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือสอบถามแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินให้บริการตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!

    วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ราคาประหยัด

    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • WebMD, Measles, Mumps, and Rubella (MMR) Vaccine, (https://www.webmd.com/children/vaccines/measles-mumps-and-rubella-mmr-vaccine#1), 20 June 2020.
    • Amy Boulanger, The Truth About the MMR Vaccine, (https://www.healthline.com/health/mmr-vaccine), 15 June 2018.
    • สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ตำราวัคซีน และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556, (http://data.nvi.go.th/vaccineknowledge/file_download/epi-program/mmr.pdf), 2556.
    • Cleveland Clinic, Measles/Mumps/Rubella Vaccines, MMR injection, (https://my.clevelandclinic.org/health/drugs/20354-measlesmumpsrubella-vaccines-mmr-injection).
    • Mayo Clinic, Measles, Mumps, And Rubella Virus Vaccine Live (Subcutaneous Route, Intramuscular Route), (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/measles-mumps-and-rubella-virus-vaccine-live-subcutaneous-route-intramuscular-route/side-effects/drg-20062140?p=1), 1 February 2022.
    @‌hdcoth line chat