วัคซีนงูสวัด จัดการเชื้อร้ายที่แอบอยู่ในร่างกายไม่ให้กำเริบ


งูสวัดคืออะไร? วัคซีนมีแบบไหนบ้าง? ผู้ใหญ่ฉีดได้ไหม? ตอบครบอ่านง่ายได้ที่นี่

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • งูสวัดเกิดจากเชื้อ Varicella zoster virus ซึงเป็นชนิดเดียวกับอีสุกอีใส เด็กจึงควรฉีดวัคซีนอีสุกอีใส แต่เชื้อจะยังคงแฝงอยู่ในร่างกาย 
  • เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อจะออกมาทำให้เกิดเป็นผื่น พบมากในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง
  • ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรฉีดวัคซีน Zostavax หรือ Shingrix ด้วย ไม่ว่าจะเคยเป็นอีสุกอีใสหรือไม่ก็ตาม 
  • เช็กราคาจริงของวัคซีนงูสวัดจากคลินิกและโรงพยาบาล จองผ่าน HDmall รับส่วนลด! แตะเลย หรือให้แอดมินจองให้ก็ได้นะ แตะตรงนี้

ว่ากันว่าหาก ผื่นงูสวัดพันครบรอบตัวเมื่อไร ผู้ที่เป็นจะเสียชีวิต ความจริงแล้วการดูจากบริเวณที่ผื่นงูสวัดขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่อาจยืนยันความรุนแรงได้เสมอไป แต่อาการแทรกซ้อนของงูสวัดนั้นสามารถทำให้เสียชีวิตได้จริง!


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับงูสวัดได้ที่นี่

  • งูสวัด คืออะไร?
  • งูสวัดติดต่อได้ไหม?
  • อาการของงูสวัด
  • วัคซีนป้องกันงูสวัด
  • ใครควรฉีดวัคซีนงูสวัด
  • ใครไม่ควรฉีดวัคซีนงูสวัด
  • ผลข้างเคียงของวัคซีนงูสวัด

  • งูสวัด คืออะไร?

    งูสวัด คือโรคติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella zoster virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีกใส (Chickenpox) ซึ่งถ้าใครเคยเป็นอีสุกอีใสแล้ว หายแล้ว เชื้อก็จะยังคงหลบอยู่ตามปมประสาท

    เมื่อร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย เชื้อที่ซ่อนอยู่นั้นจะแบ่งตัวออกมาที่บริเวณปลายประสาท ทำให้เกิดผื่นงูสวัดจนสังเกตเห็นได้จากภายนอก

    ในกรณีร้ายแรง เชื้องูสวัดอาจลามเข้าสู่ประสาทส่วนกลาง ส่งผลต่อสมองจนอักเสบ นำไปสู่การเสียชีวิตได้

    ราคาวัคซีนงูสวัด

    งูสวัดติดต่อได้ไหม?

    งูสวัดติดต่อกันได้ หากใครยังไม่เคยเป็นอีสุกอีกใสแล้วบังเอิญไปรับเชื้อเข้ามา ก็อาจทำให้เป็นอีสุกอีใสและพัฒนาไปเป็นงูสวัด

    โดยปกติงูสวัดมักติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสผื่นผู้ติดเชื้อโดยตรง พบว่ามีความเป็นไปได้เล็กน้อยด้วยที่จะกันผ่านทางลมหายใจ

    อาการของงูสวัด

    อาการของงูสวัดนั้นค่อนข้างสังเกตได้ชัด ดังนี้

    • ปวดเส้นประสาท (Postherpetic neuralgia) ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง อาจรู้สึกเจ็บเหมือนมีอะไรแทงเป็นระยะ
    • มีผื่นหรือตุ่มใสขึ้น บริเวณที่ผื่นหรือตุ่มใสขึ้นบ่อยได้แก่ หน้าอก ท้อง แผ่นหลัง รอบเอว และใบหน้า เมื่อตุ่มใสนี้แตกออก อาจนำไปสู่การเกิดเป็นผื่นใหม่ได้อีก  หากพบผื่นบริเวณหูอาจทำให้การได้ยินผิดปกติ หากพบผื่นบริเวณใกล้ดวงตา อาจทำให้เกิดอาการบวมได้ หากเชื้อเข้าตา มีโอกาสตาบอดได้
    • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดหัว บางรายอาจมีไข้

    อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดอาจไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือบางคนอาจเป็นเพียงบางอาการเท่านั้น

    วัคซีนป้องกันงูสวัด

    ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้แล้ว โดยจะมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ฉีดวัคซีนงูสวัด ดังนี้

    1. วัคซีนงูสวัดสำหรับเด็ก

    วัคซีนงูสวัดที่ฉีดให้เด็ก คือ วัคซีนอีสุกอีใส (Chickenpox vaccine) ซึ่งสามารถลดโอกาสในการเป็นทั้งอีสุกอีใสและงูสวัดของเด็กลงได้เกือบ 90%

    เด็กจะต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มแรกมักต้องฉีดตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน ส่วนเข็มที่สองฉีดเมื่ออายุ 4-6 ปี

    ผลข้างเคียงของเด็กที่ได้รับวัคซีนอาจมีไข้ มีผื่นในช่วงแรกๆ และปวดตามข้อเล็กน้อย

    2. วัคซีนงูสวัดสำหรับผู้ใหญ่

    วัคซีนที่ฉีดในผู้ใหญ่คือวัคซีนป้องกันไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ มี 2 ชนิดที่ใช้คือ 

    • Zostavax เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ฉีดเพียงเข็มเดียว (เข็มละ 0.65 มิลลิลิตร) ก็สามารถลดโอกาสเกิดโรคได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถลดโอกาสที่เชื้อจะพัฒนาไปเป็นงูสวัดได้ 69.8% ในผู้ที่อายุ 50-59 ปี และมีประสิทธิภาพ 51% ในผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 
    • Shingrix เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย CDC แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม (เข็มละ 0.5 มิลลิลิตร) โดยเว้นระยะห่างกันระหว่าง 2-6 เดือน วัคซีนนี้มีการศึกษาว่าช่วยลดโอกาสที่เชื้อจะพัฒนาไปเป็นงูสวัดได้ 90-97% สำหรับผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป 

    แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนอาจลดลงหลังจากผ่านไป 4 ปี ผู้ใหญ่ที่ได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนคือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่เคยเป็นอีสุกอีใส เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อพัฒนาไปเป็นงูสวัด

    แต่ในคนที่ยังไม่เคยเป็นทั้งอีสุกอีใสและงูสวัดเลย สามารถเข้าฉัดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนได้ทันที เพราะงูสวัดมีโอกาสติดต่อไป

    ใครควรฉีดวัคซีนงูสวัด

    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) แนะนำให้ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป รับวัคซีนงูสวัด 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างเข็มละ 2-6 เดือน

    ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ติดเชื้อ HIV เป็นลูคีเมีย (Leukemia) หรือรับการรักษาแบบเคมีบำบัด ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลสำหรับการรับวัคซีนด้วย

    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปีก็สามารถรับวัคซีนงูสวัดได้เช่นกันหากมีโอกาสเสี่ยงที่จะรับเชื้องูสวัด

    ใครไม่ควรฉีดวัคซีนงูสวัด

    แม้วัคซีนงูสวัดจะมีความปลอดภัย แต่หากคุณมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

    • แพ้ส่วนประกอบของวัคซีนงูสวัด
    • ผ่านการตรวจเลือดมาแล้วว่ายังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส กรณีนี้อาจควรรับวัคซีนอีสุกอีใสแทน
    • กำลังเป็นงูสวัดอยู่
    • อยู่ระหว่างให้นมบุตร

    ผลข้างเคียงของวัคซีนงูสวัด

    วัคซีนงูสวัดอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยรับจากฉีด ดังนี้

    • มีอาการบวม เจ็บ บริเวณที่ฉีดวัคซีน
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • ปวดหัวและรู้สึกอ่อนเพลีย
    • มีไข้ อาจเกิดขึ้น 1 ใน 4 ของผู้รับวัคซีน
    • ปวดท้อง อาจเกิดขึ้น 1 ใน 4 ของผู้รับวัคซีน

    ผู้ที่อายุน้อยมีแนวโน้มจะเกิดผลข้างเคียงดังกล่าวมากกว่า แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

    นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังอาจมีอาการแพ้วัคซีนได้ เช่น หายใจลำบาก ใบหน้าหรือลำคอบวม เวียนศีรษะหลังจากฉีด หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์โดยทันที

    ฉีดวัคซีนงูสวัดราคาประหยัด

    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • Centers for disease control and prevention, Frequently Asked Questions About Shingrix, (https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/shingles/hcp/shingrix/faqs.html), 26 March 2018.
    • Drugs, Shingrix vs Zostavax - What's the difference between them?, (https://www.drugs.com/medical-answers/difference-between-zostavax-shingrix-3342576/), 29 October 2019.
    • WebMD, Shingles Vaccine: Should I Get It?, (https://www.webmd.com/children/vaccines/shingles-vaccine-basics), 11 August 2021.
    • Cleveland Clinic, Shingles vaccine and virus: What you need to know, (https://www.cleveland.com/business/2019/12/shingles-what-you-need-to-know-about-the-virus-and-its-vaccine-health-matters.html), 15 December 2019.
    • Hannah Nichols, What is shingles?, (https://www.medicalnewstoday.com/articles/154912), 5 November 2019.
    • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรคงูสวัด, (https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1085), 21 สิงหาคม 2560.
    • ผศ.ดร.ภก. กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี, วัคซีนงูสวัด, (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/305/วัคซีนงูสวัด/), 11 เมษายน 2559.
    @‌hdcoth line chat