สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ผมมีอาการที่น่ากังวลอยู่คือ รู้สึกปวดเข่าบ่อยหลังวิ่งเสร็จและเวลาขยับเข่าก็จะชอบมีเสียงดังก๊อกแก๊กๆ เลยอยากลองไปตรวจความเสี่ยงข้อเข่าดูครับ
- ผมเลือกตรวจความเสี่ยงข้อเข่าด้วย Urine CTX II ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 เนื่องจากแพ็กเกจน่าสนใจแถมราคาดี อีกอย่างคือเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ และยังเป็นการตรวจความเสี่ยงของการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยครับ
- การตรวจความเสี่ยงข้อเข่า ด้วย Urine CTX II จะเป็นการตรวจผ่านกรดยูริคจากปัสสาวะ คุณหมอจะให้กระปุกเก็บตัวอย่างปัสสาวะมา ผมก็ออกไปเก็บตัวอย่างปัสสาวะให้เรียบร้อย
- ผลตรวจออกมาคือปกติดี ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงครับ
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และโรงพยาบาลพญาไท 2
- ดูโปรแกรมทั้งหมดจาก โรงพยาบาลพญาไท 2
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เมื่อก่อนผมเป็นคนที่ชอบวิ่งมาก แต่ด้วยความที่กลัวข้อเข่าเสื่อมเลยเปลี่ยนไปออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นแทน ในช่วงที่วิ่งเยอะๆ ผมมักจะมีอาการที่น่ากังวลอยู่คือ รู้สึกปวดเข่าบ่อยหลังวิ่งเสร็จและเวลาขยับเข่าก็จะชอบมีเสียงดังก๊อกแก๊กๆ
ก่อนหน้านี้ผมคิดว่าคงไม่เป็นอะไรมากเพราะเราก็ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ แถมดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดีและออกกำลังกายเป็นประจำ เลยคิดว่าอาการที่เป็นน่าจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ทั่วไป เช่น ยืดเส้นไม่พอหรือช่วงที่เทรนกล้ามเนื้อไม่พอแล้ววิ่งเยอะเกินไปอวัยวะแถวเข่าเลยรับไม่ไหว
จนผมได้มาเจอกับแพ็กเกจตรวจความเสี่ยงข้อเข่าด้วย Urine CTX II ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 บน HDmall.co.th ซึ่งเป็นแพ็กเกจที่น่าสนใจแถมราคาดี อีกอย่างคือเป็นของโรงพยาบาลพญาไทย 2 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพอยู่แล้วด้วย ผมจึงตัดสินใจจองใช้บริการนี้ทันทีครับ
ขั้นตอนการข้อเข่าด้วย Urine CTX II ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
หลังจากทำนัดผ่าน HDmall.co.th แล้วก็มาตามวันเวลาที่นัดหมายได้เลยครับ ศูนย์กล้ามเนื้อและกระดูกจะตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ตึก B โรงพยาบาลพญาไท 2 ผมขับรถมาเอง ส่วนใครที่ไม่ได้มารถส่วนตัวสามารถนั่ง BTS มาลงที่สถานี สนามเป้า ได้เลย
เข้ามาแล้วก็สามารถแจ้งชื่อหรือยื่นคูปองที่จองกับทาง HDmall.co.th ให้กับเจ้าหน้าที่ได้เลยครับ หลังจากนั้นพยาบาลก็จะเรียกให้ไปวัดส่วนสูง ความดัน และถามคำถามประเมินความเสี่ยงโควิด จากนั้นก็เข้าพบคุณหมอได้เลยครับ
คุณหมอถามถึงอาการที่เป็น และถามประวัติการออกกำลังกายของเรา ซึ่งผมก็พูดคุยสอบถามกับคุณหมอนิดหน่อยว่าจริงๆ แล้วใครควรตรวจความเสี่ยงข้อเข่าบ้าง ตรวจความเสี่ยงข้อเข่าแล้วจะเจอไหม
คุณหมอได้แนะนำมาว่าปกติแล้วคนที่อายุ 45 ขึ้นไปจะมีความเสี่ยงสูง ซึ่งผมถือว่ายังมีโอกาสเสี่ยงไม่มาก แต่ก็อาจจะมีความผิดปกติได้ถ้าออกกำลังกายใช้ขาใช้เข่าเยอะๆ
หลังจากพูดคุยสอบถามกันเสร็จคุณหมอก็ดูบริเวณข้อเข่า และเริ่มอธิบายถึงหลักการตรวจด้วย Urine CTX II ครับ
การตรวจข้อเข่าด้วย Urine CTX II
การตรวจข้อเข่าด้วย Urine CTX II คือ การตรวจผ่านกรดยูริคจากปัสสาวะ ช่วยให้คุณหมอพิจารณาได้ว่าคนไข้มีความเสี่ยงในอนาคตไหม
ปกติถ้าตรวจเข่าจะต้องตรวจด้วยการเอกซเรย์ แต่การตรวจเอกซเรย์กว่าจะรู้ว่าข้อต่อ ข้อเข่า หรือกระดูกเป็นอะไรหรือเปล่ามันก็อาจจะเริ่มมีอาการหรือเริ่มเสื่อมไปแล้ว
แต่การตรวจความเสี่ยงข้อเข่าผ่านกรดยูริค (ซึ่งเค้าจะทำควบคู่กับอัลตราซาวด์ด้วย) จะทำให้สามารถรู้ได้ว่าเรามีโอกาสข้อเข่าเสื่อมในอนาคตหรือเปล่า และสามารถวางแผนการดูแลรักษาได้เร็วกว่าการรอติดตามผลด้วยการเอกซเรย์ครับ
โดยวิธีการตรวจความเสี่ยงข้อเข่าด้วย Urine CTX II จะนำตัวอย่างปัสสาวะไปหาค่าตัวเลขออกมาเพื่อดูว่ามีค่าอะไรเยอะไปหรือน้อยไปกว่าปกติไหม คล้ายๆ กับการตรวจหาสารเคมีในร่างกายที่ทำให้ก่อมะเร็งเลยครับ
หลังจากคุณหมออธิบายเสร็จ คุณหมอก็จะให้กระปุกเก็บตัวอย่างปัสสาวะมา ผมก็ออกไปเก็บตัวอย่างปัสสาวะให้เรียบร้อย ซึ่งการเก็บปัสสาวะตามหลักแล้วควรจะทิ้งปัสสาวะแรกไปก่อน แล้วค่อยเก็บตัวอย่างจากปัสสาวะถัดไป เสร็จแล้วก็นำกระปุกเก็บตัวอย่างมาให้กับพยาบาลได้เลยครับ
ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงเลยไวมากๆ หลังจากนั้นก็สามารถกลับบ้านได้เลยครับรอผลตรวจประมาณ 2 สัปดาห์และทำอัลตราซาวด์
ผลตรวจความเสี่ยงข้อเข่า ด้วย Urine CTX II
ผ่านไป 2 สัปดาห์ก็กลับมาฟังผลตรวจกันครับ สำหรับผลตรวจความเสี่ยงข้อเข่า ด้วย Urine CTX II ของผมที่ออกมาก็ปกติดี ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงครับ คุณหมอบอกว่าอาจจะน่าเป็นห่วงอีกทีตอนอายุ 40 แต่ตอนนี้ค่าทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ
และผมก็ได้ปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมว่า เวลาที่ขยับเข่าแล้วมีเสียงแบบนี้จะเป็นอะไรมั้ย คุณหมอบอกว่าไม่เป็นไร เพราะบางทีเข่าของเราถูกใช้งานเยอะก็อาจจะมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นได้ วิธีแก้คือให้หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ต้องงอเข่ามากๆ
ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์ข้อเข่า
หลังจากฟังผลตรวจความเสี่ยงข้อเข่า ด้วย Urine CTX II เสร็จแล้ว คุณหมอก็ให้ผมตรวจอัลตราซาวด์ข้อเข่าต่อเลยครับ
ขั้นตอนแรกก่อนที่จะอัลตราซาวด์พี่พยาบาลจะนำกางเกงมาให้เปลี่ยน เป็นกางเกงหลวมๆ เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจ เสร็จแล้วก็เข้าไปรอคุณหมอที่ห้องตรวจอัลตราซาวด์ได้เลย
วันนี้ผมได้ตรวจกับคุณหมอ ธนเดช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน กระดูกและข้อ (เข่า สะโพก) พอคุณหมอเข้ามาก็จะเริ่มตรวจเลยครับ โดยเริ่มจากทาเจลใสเพื่อเป็นสื่อนำในการตรวจลงบนบริเวณที่จะทำ และนำอุปกรณ์จากเครื่องอัลตราซาวด์มาวนๆ รอบข้อเข่า
ระหว่างนี้คุณหมอจะอธิบายจากภาพให้ฟังว่า ถ้าหากเข่าเริ่มมีปัญหาสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือ กล้ามเนื้อจะดูหนาเป็นพิเศษเพราะอักเสบ แต่เมื่อดูจากภาพอัลตราซาวด์มันคือส่วนที่อยู่ตรงกลางภาพ (ด้านบนของเส้นขาวทีบๆ) ส่วนข้างล่างภาพที่เป็นสีดำๆ คือกระดูกของเรา และจากที่คุณหมอได้ตรวจดู ทุกอย่างของผมก็ปกติดี ไม่มีกล้ามเนื้อส่วนไหนดูหนาผิดปกติครับ
นอกจากนี้ผมก็ได้ปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมว่า ผมชอบมีอาการข้อเท้าแพลง มันเกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีแก้ยังไง คุณหมอเลยใจดีแถมอัลตราซาวด์ตรงบริเวณข้อเท้าที่ชอบแพลงให้ด้วยครับ
คุณหมอจะชี้ให้ดูว่าตรงไหนคือเอ็นร้อยหวาย ตรงไหนคือส่วนที่คนชอบเป็นเท้าพลิกหรือเท้าแพลง ซึ่งเท่าที่ดูตอนนี้เส้นเอ็นทุกอันของผมก็ปกติดี ไม่ได้เป็นอะไรครับ โดยสรุปแล้วการตรวจอัลตราซาวด์ใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 30 นาที
บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท 2
สำหรับบรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท 2 ก็ดีมากครับ โรงพยาบาลสะอาดสะอ้านน่าใช้บริการ มีเครื่องมือที่ทันสมัยเยอะมาก เดินทางสะดวก
ส่วนพี่ๆ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนก็บริการดี คอยดูแลช่วยเหลืออยู่ตลอดเลยครับ คุณหมอเก่ง ใจดี อธิบายข้อมูลให้ฟังอย่างละเอียด สอบถามอะไรเพิ่มเติมคุณหมอยินดีตอบให้หมดเลยครับ
ใครที่กำลังกังวลเรื่องข้อเข่าอยู่ ผมก็แนะนำให้มาตรวจความเสี่ยงข้อเข่า ด้วย Urine CTX II ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 เลยครับ ที่นี่บริการดี มีคุณหมอเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้บริการ สามารถเข้าไปเลือกดูแพ็กเกจเพิ่มเติมได้บน HDmall.co.th ได้เลย เพราะในนี้เค้ารวบรวมโปรโมชั่นดีๆ ของ โรงพยาบาลพญาไท 2 อยู่เพียบ