สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ก่อนหน้านี้แม่เห็นว่าที่ตาดำข้างซ้ายของลูกชายมันเขชิดไปทางจมูก แต่ดวงตาอีกข้างยังปกติ ก็เลยหาข้อมูลว่าเป็นอาการของโรคอะไรรึเปล่า ก็พบว่าอาการแบบนี้น่าจะเป็นโรคตาขี้เกียจในเด็ก
- อันดับแรก พยาบาลจะพาน้องไปตรวจวัดระดับการมองเห็นก่อนค่ะ ดูว่าน้องมองเห็นได้แค่ไหน โดยจะปิดตาทีละข้างแล้วให้ดูตัวเลข จากนั้นก็ปิดตาทั้งสองข้างแล้วมองผ่านรูเล็กๆ และไปตรวจวัดสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
- หลังจากที่คุณหมอตรวจเช็กดวงตาแล้ว ผลปรากฏว่าน้องมีภาวะตาขี้เกียจจริงๆ และตาทั้งสองข้างสั้นไม่เท่ากัน แม่ก็เลยปรึกษาคุณหมอว่าจะรักษายังไงได้บ้าง
- เบื้องต้นคุณหมอให้ปิดตาดูอาการสัก 2-3 สัปดาห์แล้วกลับมาตรวจซ้ำดูซ้ำ ซึ่งเบื้องต้นน้องปิดตาไปประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวันไปประมาณอาทิตย์นึงแล้ว คุณหมอก็จะให้ลดลงเหลือวันละ 4 ชั่วโมง แต่คุณหมอให้หมั่นเช็กดวงตาข้างที่ดีสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากปิดนานจนเกินไปก็อาจจะทำให้ตาข้างนั้นกลายเป็นตาขี้เกียจได้ค่ะ
- รีวิวนี้เป็นการชำระค่าบริการเอง
- ดูรายละเอียด ตรวจตา รักษาโรคตา ที่ HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
ก่อนหน้านี้แม่เห็นว่าที่ตาดำข้างซ้ายของลูกชายมันเขชิดไปทางจมูก แต่ดวงตาอีกข้างยังปกติ ก็เลยหาข้อมูลว่าเป็นอาการของโรคอะไรรึเปล่า ก็พบว่าอาการแบบนี้น่าจะเป็นโรคตาขี้เกียจในเด็ก
เราก็กังวลแล้วก็หาข้อมูลโรงพยาบาลเพื่อจะพาลูกไปตรวจจนมาเจอกับ HDmall.co.th และโปรแกรมตรวจสุขภาพตาเด็ก ที่ โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิค่ะ
หลังจากจองคิวทำนัดกับแอดมินของ HDmall.co.th ก็จะได้เป็นคูปองส่งเข้ามาทางอีเมลค่ะ ในนั้นก็จะบอกรายละเอียดของข้อมูลลูกชาย วันเวลานัดหมาย และแผนที่ของโรงพยาบาลด้วยค่ะ
พอถึงวันนัดเราก็พาน้องมาลงทะเบียนก่อน แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะให้ไปทำประวัติที่เวชระเบียนด้านใน เราก็แค่เปิดอีเมลแล้วยื่นคูปองจาก HDmall.co.th ให้เจ้าหน้าที่เท่านั้นเอง แล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการตรวจตากันเลยค่ะ
รายการตรวจสุขภาพตาเด็ก KID B ที่ โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ
สำหรับโปรแกรมตรวจที่เราพาลูกชายมาตรวจสุขภาพตา เป็นโปรแกรม KID-B ที่ โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ มีรายการตรวจที่เรารู้สึกว่าครอบคลุมและละเอียดพอสมควรเลย
- พบแพทย์และตรวจโดยการใช้ Slit Lamp
- วัดระดับการมองเห็น (Visual Acuity)
- ตรวจวัดความดันลูกตา (Air Puff Tension)
- ตรวจวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ (Auto Refraction)
- ตรวจวัดความผิดปกติโครงสร้างเปลือกตา กระจกตา ช่องหน้าม่านตา เลนส์ตา
- ตรวจขั้วประสาทตา
- วัดสายตาอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญ (Optometrist)
- ตรวจตาบอดสี (Ishihara Test)
- ตรวจความสามารถการใช้ตา 2 ข้างร่วมกัน (ภาพ 3 มิติ)
- ตรวจกล้ามเนื้อตาอย่างละเอียด
อันดับแรก พยาบาลจะพาน้องไปตรวจวัดระดับการมองเห็นก่อนค่ะ ดูว่าน้องมองเห็นได้แค่ไหน โดยจะปิดตาทีละข้างแล้วให้ดูตัวเลข จากนั้นก็ปิดตาทั้งสองข้างแล้วมองผ่านรูเล็กๆ และไปตรวจวัดสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
พอเสร็จจากเครื่องแรกก็มีการตรวจกับเครื่องตรวจตาอื่นๆ จนครบทุกรายการและปิดท้ายด้วยการตรวจอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ค่ะ
หลังจากที่คุณหมอตรวจเช็กดวงตาแล้ว ผลปรากฏว่าน้องมีภาวะตาขี้เกียจจริงๆ และตาทั้งสองข้างสั้นไม่เท่ากัน แม่ก็เลยปรึกษาคุณหมอว่าจะรักษายังไงได้บ้าง ซึ่งการรักษาภาวะตาขี้เกียจ หรือโรคตาขี้เกียจจริงๆ ไม่ได้รักษากับดวงตา
เพราะภาวะตาขี้เกียจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมอง เพราะส่วนที่ขี้เกียจไม่ใช่ลูกตา แต่คือสมองส่วนรับภาพที่ไม่ได้รับการพัฒนา ส่วนการรักษาที่คุณหมอแนะนำคือ การรักษาด้วยการปิดตา เป็นการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่ขี้เกียจพยายามทำงานพัฒนาจนการมองเห็นทั้งสองข้างเท่ากัน
เบื้องต้นคุณหมอให้ปิดตาดูอาการสัก 2-3 สัปดาห์แล้วกลับมาตรวจซ้ำดูซ้ำ ซึ่งเบื้องต้นน้องปิดตาไปประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวันไปประมาณอาทิตย์นึงแล้ว คุณหมอก็จะให้ลดลงเหลือวันละ 4 ชั่วโมง แต่คุณหมอให้หมั่นเช็กดวงตาข้างที่ดีสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากปิดนานจนเกินไปก็อาจจะทำให้ตาข้างนั้นกลายเป็นตาขี้เกียจได้ค่ะ
ช่วงที่ให้น้องปิดตาใหม่ๆ เค้าก็จะกลัวนิดนึง เพราะยังต้องเรียนออนไลน์ เพื่อนก็จะทักว่าเป็นอะไร เค้าก็จะร้องไห้ แต่คุณแม่ก็คอยอยู่ข้างๆ อธิบายให้น้องเข้าใจ ยิ่งเวลาออกไปข้างนอกแล้วต้องปิดตา น้องเค้าก็กังวลว่าคนอื่นจะกลัว แต่ปิดตาไปสักพักน้องก็ชินค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกต้องเรียนออนไลน์ หรือมีภาวะคล้ายกับตาขี้เกียจ แนะนำว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นะคะ เพราะภาวะนี้ถือว่าอันตรายมากๆ ยิ่งรู้เร็วก็จะยิ่งหาทางรักษาได้เร็วนะคะ ซึ่งค่าตรวจก็ไม่ได้แพงเลย แนะนำให้ดูโปรโมชั่นบน HDmall.co.th จะได้เป็นราคาพิเศษด้วยค่ะ