สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ทำไมถึงตรวจระดับฮอร์โมน เทนมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติตั้งแต่อายุ 20 ปี ไปตรวจมาหลายแบบแล้วก็ยังไม่เจอสาเหตุ เลยเลือกมาตรวจระดับฮอร์โมนดูค่ะ
- ทำไมถึงเลือกโรงพยาบาลพญาไท 2 รายการตรวจเยอะ ครอบคลุมฮอร์โมนเพศที่อยากตรวจ และทาง HDmall.co.th มีโปรโมชันลดราคาอยู่ค่ะ
- ขั้นตอนการตรวจระดับฮอร์โมน คุณหมอจะเข้ามาคุยกับเทนก่อนเพื่อเช็กไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตว่า มีอะไรที่น่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรือเปล่า ก่อนที่จะเจาะเลือดไปตรวจแล้วให้กลับบ้านได้ แล้วรอผลตรวจ 1 อาทิตย์ โดยคุณหมอจะเป็นคนอ่านผลให้ฟังด้วยตัวเอง
- ผลของการตรวจระดับฮอร์โมน ไทรอยด์และ โกรทฮอร์โมน ทำงานไม่ปกติ ร่างกายเครียด ซึ่งอาจทำให้มีอาการหนาวง่าย ผมร่วง หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ พร้อมคำแนะนำวิธีดูแลสุขภาพ ป้องกันก่อนเกิดโรค
- เปรียบเทียบราคา แพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน พร้อมจองที่ HDmall.co.th
- รีวิวนี้เป็นการชำระค่าบริการด้วยตัวเอง
ทำไมถึงเลือกโรงพยาบาลพญาไท 2
ตอนที่มองหาแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนเพศหญิง เทนก็มองหาแพ็กเกจที่รายการตรวจเยอะหน่อย จะได้ไม่ต้องตรวจหลายทีว่า สาเหตุมาจากอะไร ทั้งตรวจฮอร์โมนเพศ ตรวจความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ตรวจ โกรทฮอร์โมน และตรวจอินซูลินด้วย
สำหรับรายละเอียดที่เทนตรวจ ตามนี้เลยค่ะ
- ตรวจระดับ Insulin หรือน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ
- ตรวจระดับฮอร์โมน Estradiol (E2) เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายเราสามารถผลิตได้เอง
- ตรวจระดับฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ฮอร์โมนนี้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ที่จะกระตุ้นออกมาช่วงตกไข่ค่ะ ถ้าใครไม่มีฮอร์โมนนี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้ามีค่า LH สูงก็อาจจะเป็นซีสต์ในรังไข่ได้
- ตรวจระดับฮอร์โมน Progesterone เป็นฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนและการตั้งครรภ์
- ตรวจระดับฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ไข่สุกค่ะ ถ้าไม่มีตัวนี้ก็จะทำให้เป็นหมันได้
- Sex Hormone Binding Globulin อันนี้เป็นการตรวจสำหรับประเมินภาวะแอนโดรเจนผิดปกติค่ะ ฮอร์โมนแอนโดรเจนคือฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งหากผู้หญิงมีเยอะก็จะทำให้เป็นเนื้องอก หรือมีหนวด มีเครา เหมือนผู้ชายค่ะ
- ตรวจระดับฮอร์โมน DHEA – Sulphate เป็นการตรวจปริมาณสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ
- ตรวจระดับฮอร์โมน IGF1 (Insulin-like โกรทฮอร์โมน Factor) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โกรทฮอร์โมน
- ตรวจ IGFBP3 เพื่อดูว่า มีภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormine deficiency) หรือภาวะที่มีฮอร์โมนการเจริญเติบโตมากผิดปกติ ( Acromegaly) หรือเปล่า
- ตรวจการทำงานของไทรอยด์ มักดูระดับฮอร์โมนสำคัญ 3 ตัว ได้แก่
- ระดับฮอร์โมน TSH (Thyroid Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่มีความไวสูงที่สุดในการประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์
- T3 (Triiodothyronine Free) สร้างจากต่อมไทรอยด์ โดยปกติจะผลิตออกมาน้อยกว่า T4 แต่จะแอคทีฟน้อยกว่า T4 ถึง 10 เท่า
- T4 (Thyroxine Free) สร้างจากต่อมไทรอยด์
ปกติแล้วการตรวจฮอร์โมนครั้งหนึ่งราคาค่อนข้างแพงตกประมาณหมื่นกว่าบาท แต่ตอนนั้นทาง HDmall.co.th จัดโปรโมชันลดราคาอยู่พอดีค่ะ เทนเลยตัดสินใจซื้อแพ็กเกจ “ตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ สำหรับผู้หญิง (รวมตรวจความผิดปกติของต่อมไทรอยด์) ที่โรงพยาบาลพญาไท 2” ค่ะ
ถึงโรงพยาบาลพญาไท 2 จะอยู่ในเมือง อยู่ติด BTS สนามเป้าเลย แต่คราวนี้เทนตัดสินใจขับรถไปเอง ด้วยความที่ไม่อยากเจอรถติดก็เลยนัดหมอตั้งแต่ 8 โมงเช้าวันเสาร์เลย ซึ่งทางโรงพยาบาลมีที่จอดรถถึง 2 อาคาร ไม่ต้องขับรถวนหาที่จอดให้ปวดหัว
พอไปถึงที่โรงพยาบาลก็ไปที่อาคาร B ชั้น 8 โดยที่ไม่ต้องลงทะเบียนผู้ป่วยด้านล่าง เพราะที่นี่คือ ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ที่มีจุดลงทะเบียนแยกต่างหากทำให้ไม่ต้องรอคิว ส่วนคุณหมอก็มารอพบเราอยู่แล้ว ไม่ถึง 5 นาทีก็เข้าตรวจตามที่นัดไว้ได้เลยค่ะ
กดดู Google Maps แผนที่โรงพยาบาลพญาไท 2 (https://goo.gl/maps/gzNxYzWxKPP2)
ขั้นตอนการตรวจระดับฮอร์โมน
พยาบาลวัดน้ำหนัก ส่วนสูง และความดัน ก่อนพาไปที่ห้องทำงานของคุณหมอ ซึ่งจะมีโซฟาสีขาวตัวใหญ่นั่งสบายให้เรานั่ง จากนั้นคุณหมอจึงมานั่งคุยกับเราบนโซฟา บรรยากาศสบายๆ ว่า ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเป็นอย่างไร ปกติได้ออกกำลังกายไหม ดื่มแอลกอฮอล์หรือเปล่า ทำงานหนัก หรือมีเรื่องเครียดบ้างไหม กินวิตามินอะไรอยู่หรือเปล่า
เทนจำไม่ได้ว่ากินวิตามินตัวไหนอยู่บ้าง (เพราะกินเยอะมาก) คุณหมอจึงให้แอดไลน์ของทางศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยไว้ แล้วส่งรูปวิตามินทั้งหมดที่เรากินไปให้คุณหมอ
พอคุยเสร็จเรียบร้อยคุณหมอก็ให้พยาบาลเจาะเลือดไปตรวจฮอร์โมนค่ะ พอเจาะเลือดเสร็จแล้วก็กลับบ้านได้เลย เทนชอบที่คุณหมอไม่มีทีท่ารีบเลย ตั้งใจถาม ตั้งใจฟัง และตั้งใจจดสิ่งที่เราเล่า แล้วคุณหมอก็จะให้คำแนะนำเบื้องต้น (เช่น กินเหล้าทีนึงอย่าเยอะ ซัก 2-3 แก้วพอ)
จำได้ว่า วันนั้นได้คุยกับคุณหมอไปเกือบ 20 นาทีได้ แตกต่างกับตอนไม่สบายที่ไปหาหมอ คุณหมอบางคนยังอธิบายไม่หมดเลยว่า เรามีอาการอะไรบ้าง คุณหมอก็ออกห้องไปเสียแล้ว
ผลการตรวจระดับฮอร์โมน
ทางโรงพยาบาลจะนัดหมายให้เรามาฟังผลอีก 1 อาทิตย์ค่ะ กลับมาที่โซฟาสีขาวตัวยาวตัวเดิม ณ เวลาเดิม 8 โมงเช้าวันเสาร์ โดยคุณหมอจะเป็นคนอ่านผลให้ฟังด้วยตัวเองเลย เทนชอบตอนที่คุณหมออธิบายผลให้ฟังมากๆ เพราะคุณหมอใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย อธิบายละเอียด
ตั้งแต่ตอนฟังผลก็ประทับใจแล้ว เพราะคุณหมอทำการบ้านมาดีมากๆ เห็นโน้ตขยุกขยุยเขียนมาใน iPad ซะเยอะเชียว ไม่ใช่มาดูผลกับเราตอนนั้นเลย
โดยคุณหมออ่านผลตรวจควบคู่ไปกับลิสต์วิตามินที่เราส่งให้ โน้ตที่คุณหมอจดตอนเราเล่าถึงไลฟ์สไตล์และอาการของเราที่กังวล แถมด้วยโน้ตที่คุณหมอไปปรึกษากับคุณหมอที่เป็นหัวหน้าของศูนย์ที่นี่ทำให้ได้หลากหลายความคิดเห็น ก่อนจะมาอธิบายให้เราฟังอีกต่อ
ที่สำคัญแอบรู้มาว่า โปรไฟล์คุณหมอที่เป็นหัวหน้าศูนย์ไม่ธรรมดา ได้ข่าวว่าจบจาก Harvard มาด้วย
สิ่งที่ตื่นเต้นที่สุดของการตรวจคือ ผลการตรวจฮอร์โมนเพศ เพราะอยากรู้สักทีว่า ทำไมประจำเดือนถึงมาไม่ปกติ แต่ผลออกมาว่า ฮอร์โมนเพศของเทนค่อนข้างสูงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง คุณหมออธิบายว่า ตอนตรวจเลือดน่าจะเป็นช่วงที่ตกไข่พอดี ซึ่งฮอร์โมนเพศจะขึ้นลงตามแต่ละช่วงของเดือนและช่วงวัยเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น ช่วงตกไข่ ช่วงวัยหมดประจำเดือน
แต่ก็ใช่ว่าเงิน 10,000 กว่าบาทของเราจะละลายหายไปกับสายน้ำ เพราะสิ่งต่อมาที่เราคิดไม่ถึงคือ เรามีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแบบไม่มีอาการ (Subclinical Hypothyroidism) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ไทรอยด์แบบอ้วน” โดยจะเห็นจากระดับฮอร์โมน TSH สูงกว่าปกติ แปลว่า เค้าต้องทำงานหนักกว่าปกติเพื่อควบคุมปริมาณของฮอร์โมน T3 และ T4 ที่ต่อมไทรอยด์ผลิตให้อยู่ในระดับปกติ
อธิบายง่ายๆ ก็คือ สมมติว่า แบ่งระดับอาการไทรอยด์ออกเป็น 10 ระดับ หากถึงระดับ 10 หมายความว่า เป็นโรคไทรอยด์ แต่ของเทนเป็นแค่ระดับที่ 6-7 ก็ยังไม่ถือว่า เป็นโรคไทรอยด์เต็มตัว จึงยังไม่จำเป็นต้องส่งตัวไปรักษาต่อ (แอบโล่งใจเบาๆ) ซึ่งอาจจะทำให้เราขี้หนาว ระบบเผาผลาญไม่ค่อยดี ผมร่วง
พอบอกแบบนั้นก็โป๊ะเชะ มันคือ ที่เราเป็นทุกอย่าง อย่างเวลาที่ทำงานในออฟฟิศ เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ เขารู้สึกร้อนกัน แต่เทนกลับรู้สึกหนาวอยู่คนเดียวจนต้องห่มผ้าซ้อนกันหลายๆ ชั้น
แต่ถึงต้องรักษาจริงๆ คุณหมออธิบายต่อว่า ข้อดีของการตรวจที่โรงพยาบาลก็คือ สามารถส่งเคสต่อให้คุณหมอฝั่งโรงพยาบาลรักษาได้เลย โดยคุณหมอจากโรงพยาบาลและจากศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยจะทำงานด้วยกันเพื่อรักษาเราโดยใช้ยาและการเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตเพื่อส่งเสริมสุขภาพควบคู่กัน
คุณหมอยังแนะนำต่ออีกว่า ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น เช่น อาจจะมาจากการที่เราขาดไอโอดีน คุณหมอก็แนะนำให้กินเกลือผสมไอโอดีน หรือกินสาหร่ายเพิ่มขึ้นนะ แล้วค่อยมาตรวจผลเลือดอีกทีว่า ได้ผลหรือไม่ โดยการตรวจครั้งต่อไปเราสามารถเลือกตรวจฮอร์โมนเฉพาะชนิดที่เราติดตามผลได้ ไม่ต้องซื้อทั้งแพ็กเกจค่ะ
ผลตรวจเลือดต่อมา ที่บอกสิ่งที่เราคิดไม่ถึงก็คือ “เราเครียด” จากระดับฮอร์โมน DHEA และ IGF1 ค่อนข้างน้อย หรือสั้นๆ คือ“โกรทฮอร์โมนผลิตได้น้อย” นั่นเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงเหมือนกันเพราะคิดมาตลอดว่า เทนสามารถควบคุมระดับความเครียดของตัวเองได้ แต่ความจริงแล้วถึงใจของเราไม่เครียดแต่ร่างกายสามารถเครียดได้โดยที่เราไม่รู้ตัวค่ะ จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งน่าจะมาจากการทำงานและนอนดึกเกือบทุกวัน
พอร่างกายเราเครียดก็จะเอฟเฟคกับร่างกายหลายๆ อย่าง เช่น ร่างกายซ่อมแซมได้ช้าลงเพราะ โกรทฮอร์โมน น้อยลง หรือแม้แต่อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ! ถึงแม้จะยังจี้จุดไม่ได้ว่าเป็นเพราะความเครียดหรือเปล่า เทนก็มีหวังขึ้นแล้วค่ะ
หลังจากนั้นเทนเลยพยายามเข้านอนก่อนเที่ยงคืนทุกวัน เพื่อให้โกรทฮอร์โมนได้มีเวลาทำงานมากขึ้นค่ะ พร้อมดูแลอาหารการกิน เปลี่ยนมารับประทานอาหารแบบคลีนฟู้ดบ่อยขึ้น พวกเนื้อสัตว์ไม่ผสมฮอร์โมน ผักออร์แกนิค ซุปมิโสะใส่สาหร่าย และทุกวันนี้ตอนเช้าเทนก็จะดื่ม Metabolism Booster ที่มีน้ำส้มสายชูแอปเปิล ผสมเกลือหิมาลายัน และครีมออฟทาร์ทาร์ เพื่อทำให้ระบบไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น
ไม่รู้เพราะอะไรกันแน่ แต่ 2-3 เดือนต่อมา ประจำเดือนของเทนก็มาทุกเดือนเป็นปกติ! ถึงแม้จะยังไม่ได้ไปตรวจเพิ่มเลยว่า ระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติดีขึ้นหรือเปล่า
เทนชอบตรงที่ผลการตรวจฮอร์โมนครั้งนี้มัน Actionable มันสามารถเอาไปทำอะไรต่อได้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเจอหมอที่ใส่ใจเราตั้งแต่ตอนที่เรายังสบายดี หรือช่วยแนะนำเราว่า ควรปรับอะไรตรงไหนอีก นอกจากนี้คุณหมอยังแนะนำการใช้วิตามินด้วย จากรูปที่เทนส่งให้คุณหมอดูว่า กินวิตามินอะไรเป็นประจำอยู่บ้าง และคุณหมอก็จะคำนวณดูว่า วิตามินตัวไหนเกิน ตัวไหนขาด เทนไม่ควรกินวิตามินตัวไหน หรือควรหาตัวไหนมากินเพิ่ม
โดยทางศูนย์จะเน้นการปรับไลฟ์สไตล์ เสริมวิตามินและอาหารเสริม โดยไม่ใช้ยา หากสนใจก็จะให้ทางคลินิกปรุง Personalized Vitamins หรือวิตามินปรุงเฉพาะบุคคลให้ ของเทนคุณหมอแนะนำให้เสริมไอโอดีน (ช่วยเรื่องไทรอยด์) โสมอินเดียและถั่งเช่า (ช่วยเรื่องความเครียด) ราคาตกเดือนละประมาณ 3,000 บาท
แต่ทุกวันนี้เทนก็กินวิตามินเยอะอยู่แล้วเลยอยากลองกินด้วยตัวเองดูก่อนว่า โอเคมั้ย คุณหมอก็ไม่ได้ว่าอะไรและไม่ได้พยายามยัดเยียดการขายวิตามิน หรือคอร์สอะไร ตรงนี้เทนให้คะแนนเพิ่มค่ะ
รีวิวนี้ยาวมาก โดยสรุปเทนรู้สึกว่า การตรวจระดับฮอร์โมนที่พญาไท 2 ครั้งนี้เทนประทับใจมากค่ะ เพราะนี่เป็นครั้งแรกเลยที่คุณหมอพยายามเข้าใจและรับฟังไลฟ์สไตล์และความต้องการของเราจริงๆ และดูแลเราก่อนที่เราจะป่วย ชอบมากๆ และแนะนำเพื่อนๆ ไปตรวจที่นี่หลายคนแล้วค่ะ
หากสนใจอยากลองไปตรวจฮอร์โมนเพศหญิงแบบเทนก็แอดไลน์ @HDcoth ไปสอบถามได้เลยค่า เขาจะมีแอดมินคอยตอบคำถามและนัดคิวตรวจให้โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย รับรองว่า ไม่ยุ่งยากแน่นอน เอาไว้ถ้าเทนไปใช้บริการที่ไหนอีก จะมาเล่าให้ฟังนะคะ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน
- ตรวจฮอร์โมนทำไม
- ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
- ฮอร์โมน HCG ต่ำ มีอันตรายต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
- รายการตรวจก่อนเตรียมทำ IVF และ ICSI มีอะไรบ้าง? ตรวจเพื่ออะไร? มาดูพร้อมๆ กัน