สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- คุณแม่มีอาการปวดเข่า เวลาเดินมีเสียงดังกรอบแกรบที่หัวเข่าด้วยค่ะ เราเลยปรึกษากันว่า ควรจะลองไปตรวจเอกซเรย์ดูความแข็งแรงของข้อเข่าดูสักครั้ง ถ้าข้อเข่าแม่เสื่อมหรือผิดปกติจะได้รักษาทัน
- การตรวจเอกซเรย์ข้อเข่าของแม่จะแบ่งเป็น 3 ท่าค่ะ คือ ท่ายืนตรง หันข้างแล้วยกเข่าขึ้นทั้งข้างซ้ายและข้างขวาสลับกัน ส่วนการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกแค่ลงไปนอนกับเตียงแล้วจะมีเครื่องตรวจเป็นแท่นสี่เหลี่ยมๆ ลากขึ้นลงอยู่เหนือร่างกายเรา
- ผลตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า มีคะแนนความเสื่อมอยู่ที่ 3 เต็ม 6 คะแนนค่ะ ยังไม่รุนแรงมาก เมื่อเทียบกับช่วงอายุ ส่วนผลตรวจมวลกระดูกก็อยู่ในเกณฑ์สีเขียว ซึ่งหมายถึงเกณฑ์มวลกระดูกที่แข็งแรงดี
- คุณหมอแนะนำให้แม่กินแคลเซียมเสริมความแข็งแรงของมวลกระดูก และ ออกกำลังกายแบบที่ไม่ทำให้กระดูกเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ
- ดูรายละเอียด โปรแกรมตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก 2 ส่วน ด้วยวิธีเอกซเรย์ ที่ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
- ดูรายละเอียด โปรแกรมตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก 3 ส่วน ด้วยวิธีเอกซเรย์ ที่ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
- ดูรายละเอียด โปรแกรมทั้งหมดจาก โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจที่นี่
- รีวิวตรวจโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- ขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า
- ขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
- ฟังผลตรวจกับแพทย์
- ผลตรวจเอกซเรย์กระดูกข้อเข่า
- ผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
- วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
คุณแม่ของเราอายุ 66 ปีค่ะ แถมมีปัญหาเรื่องกระดูกข้อเข่ามานานหลายปี ส่วนหนึ่งก็เพราะก่อนหน้านี้แม่เป็นคนที่ไลฟ์สไตล์มีการใช้หัวเข่าค่อนข้างเยอะ ชอบแบกเครื่องดูดฝุ่น ถือไม้กวาดขึ้นลงบันไดบ่อยมากเลย ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง เวลาออกกำลังกายก็ชอบใช้วิธีวิ่งเหยาะๆ จ็อกกิ้ง กระดูกก็ได้รับแรงกระแทกบ่อยๆ
ทีนี้พอหัวเข่าถูกใช้งานเยอะๆ ก็ปวดขาสิคะ เวลากลางคืนก่อนนอนเราต้องเข้าไปทายาหม่องคลายปวดให้ประจำเลย นอกจากอาการปวดเข่า แม่ยังรู้สึกว่าเวลาเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกาย หัวเข่าก็จะมีเสียงกรอบแกรบดังตามมาให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ ด้วย
เราก็กังวลว่าคุณแม่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เลยปรึกษากับแม่ว่าควรจะลองไปตรวจเอกซเรย์ดูความแข็งแรงของข้อเข่าดูสักครั้งมั้ย ถ้าข้อเข่าเสื่อมหรือผิดปกติอะไรจะได้รักษาทัน หรือถ้ายังไม่มีอาการอะไร ก็จะได้หาทางป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมให้คุณแม่ด้วยค่ะ
ซึ่งคุณแม่เองก็เห็นด้วย เราก็เลยเสิร์ชหาโปรแกรมตรวจข้อเข่าที่โรงพยาบาลใกล้ๆ บ้านดู และก็ตัดสินใจมาตรวจเอกซเรย์เข่าและความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลเปาโล เกษตรค่ะ เพราะว่าเป็นโรงพยาบาลที่ใกล้กับบ้าน และส่วนตัวเราก็เคยมารักษาที่นี่ ค่อนข้างประทับใจค่ะ
แต่จากที่หาข้อมูลไปเรื่อยๆ ก็มาเจอกับเว็บไซต์ HDmall.co.th ซึ่งมีโปรแกรมตรวจของหลายโรงพยาบาลเลยค่ะ เราก็เลยดูเจาะจงมาที่โรงพยาบาลเปาโล เกษตร แล้วก็มาเจอกับ โปรแกรม ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก 2 ส่วน ด้วยวิธีเอกซเรย์ และแถมฟรีเอกซเรย์ข้อเข่าซ้ายและขวา
พออ่านรายละเอียดแล้ว ตัวโปรแกรมนี้จะตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกสันหลัง (Spine) และกระดูกสะโพก (Hip) และยังได้เอกซเรย์ข้อเข่าทั้งสองข้างอีกด้วย ก็เลยคิดว่าตอบโจทย์การตรวจที่เราวางแผนเอาไว้พอดี ก็เลยตัดสินใจจองคิวทำนัดผ่าน HDmall.co.th เข้ามาเลยค่ะ
รีวิวตรวจโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
พอถึงวันนัดหมาย เรากับคุณแม่เดินทางมาที่โรงพยาบาลเปาโล เกษตร แล้วก็ไปติดต่อที่จุดเวชทะเบียนใกล้กับประตูทางเข้าค่ะ แล้วก็ยื่นคูปองที่ได้รับจาก HDmall.co.th ให้พยาบาลเพื่อตรวจสอบข้อมูลการทำนัด
คุณพยาบาลจะขอบัตรประชาชนและให้แม่กรอกข้อมูลเพื่อทำประวัติผู้ป่วยเล็กน้อย แล้วก็พาไปยังแผนกกระดูกและข้อ เพื่อตรวจวัดความดัน ช่างน้ำหนัก และวัดส่วนสูงก่อนค่ะ
จากนั้นพยาบาลประจำแผนกก็พาคุณแม่ไปส่งที่แผนกรังสีวินิจฉัย เพราะเราจะตรวจเอกซเรย์ข้อเข่ากับมวลกระดูกกันที่แผนกนี้ค่ะ
คุณพยาบาลจะพาคุณแม่ไปเปลี่ยนเป็นชุดที่สะดวกต่อการตรวจค่ะ เป็นชุดคล้ายกับผู้ป่วยแอดมิดของโรงพยาบาลค่ะ
นอกจากการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ทางโรงพยาบาลเตรียมเอาไว้ คุณแม่ยังต้องถอดเสื้อชั้นใน เครื่องประดับทุกชนิดออกจากตัวด้วยนะคะ เหลือไว้แค่กางเกงชั้นในตัวเดียวเลยค่ะ
แต่ถ้าใครสวมกางเกงชั้นในที่มีเครื่องประดับเล็กๆ ติดอยู่ก็ต้องถอดออกเหมือนกันนะคะ ทางที่ดีเราแนะนำว่าใครจะมาตรวจ ให้สวมกางเกงชั้นในที่เป็นผ้าธรรมดาทั้งผืนดีกว่าค่ะ
ขั้นตอนการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า
พอเปลี่ยนเสื้อผ้าเสร็จ เจ้าหน้าก็พาแม่เข้าไปในห้องตรวจเอกซเรย์ค่ะ เครื่องเอกซเรย์มีลักษณะเป็นเครื่องสีขาวๆ เหมือนหุ่นยนต์สมัยใหม่ค่ะ
จากนั้นคุณพยาบาลก็เข้ามาอธิบายว่าจะจะต้องจัดท่าทางยังไงบ้าง โดยอธิบายว่าการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่าจะตรวจได้ทั้งแบบยืนและแบบนอนลงบนเตียงค่ะ ซึ่งการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่าในท่ายืน จะตรวจในผู้ที่ขยับแขนขาหรืออวัยวะต่างๆ ได้ตามปกติค่ะ แต่ถ้าผู้ตรวจขยับขาไม่ได้หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็จะให้ตรวจโดยการนอนลงบนเตียง
ในการตรวจของคุณแม่ พยาบาลจะตรวจในท่ายืนค่ะ ซึ่งคุณแม่จะต้องเปลี่ยนท่าทาง 3 ครั้ง ดังนี้
- ท่าที่ 1: ท่ายืนตรง
- ท่าที่ 2: หันข้างไปทางซ้าย แล้วยกงอเข่าข้างซ้ายขึ้น 90 องศา
- ท่าที่ 3: หันข้างไปทางขวา แล้วยกงอเข่าข้างขวาขึ้น 90 องศา
แต่ละท่าจะใช้เวลาทำค้างทิ้งไว้ประมาณไม่เกิน 1 นาทีค่ะ ในระหว่างที่ทำ 3 ท่านี้ ตัวเครื่องเอกซเรย์สีขาวๆ ที่อยู่ตรงขาของคุณแม่จะทำหน้าที่เหมือนกับกล้องถ่ายรูปค่ะ จากนั้นภาพเอกซเรย์ข้อเข่าของแม่ก็จะไปแสดงอยู่บนจอของเจ้าหน้าที่ที่คุมเครื่องอยู่ข้างหลังห้องตรวจ
ขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
หลังจากการเอกซเรย์ข้อเข่าเสร็จแล้ว ก็ต่อด้วยการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกค่ะ ห้องตรวจก็อยู่ในแผนกเดียวกันเลย ไม่ต้องเดินไกล
สำหรับขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก คุณพยาบาลให้คุณแม่นอนบนเตียงที่ด้านบนลำตัวจะมีเครื่องตรวจเป็นแท่นสี่เหลี่ยมๆ ติดตั้งอยู่ค่ะ
การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกจะตรวจอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนกระดูกสันหลัง (Spine) และกระดูกสะโพก (Hip) ดังนั้นท่าตรวจจึงมีทั้งหมด 2 ท่าตามตำแหน่งที่ตรวจค่ะ
ท่าตรวจมวลกระดูกสันหลัง จะเป็นการนอนหงาย มือสองข้างวางแนบข้างลำตัว ส่วนท่าตรวจมวลกระดูกสะโพกก็คล้ายๆ กันค่ะ แต่พยาบาลจะเอาแท่นเหล็กสีเทาๆ มาวางไว้อยู่ระหว่างเท้า 2 ข้างของคุณแม่ และมีเท้าข้างนึงถูกพันไว้กับตัวแท่นหลวมๆ
จากนั้นก็นอนเฉยๆ ให้เครื่องตรวจสแกนความหนาแน่นของกระดูกสักครู่ค่ะ โดยแท่นสี่เหลี่ยมๆ ที่อยู่เหนือลำตัวก็จะเคลื่อนที่ไปมาเพื่อตรวจสแกนความหนาแน่นของมวลกระดูกค่ะ
ระยะเวลาในการตรวจเบ็ดเสร็จทั้ง 2 รายการก็ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้นเอง หลังจากนั้นแม่ก็เปลี่ยนเสื้อผ้ากลับมาเป็นชุดเดิม แล้วเดินกลับไปที่แผนกระดูกและข้อเพื่อรอฟังผลตรวจกับคุณหมอค่ะ
ฟังผลตรวจกับแพทย์
ก่อนอื่นคุณหมอได้สอบถามอาการเกี่ยวกับปัญหาข้อเข่าเสื่อมของคุณแม่ก่อนค่ะ คุณแม่ก็เลยเล่าให้คุณหมอฟังว่า มักจะปวดเข่าช่วงก่อนนอนและช่วงขึ้นลงบันได ส่วนอาการเสียงกรอบแกรบเวลาขยับเข่าก็เป็นมา 2-3 ปีแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไรกันแน่
ซึ่งเราก็ได้บอกความกังวลไปว่า กลัวคุณแม่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก็เลยมาตรวจ เพราะถ้าหากข้อเข่าเสื่อมจริงจะได้หาทางรักษาค่ะ
คุณหมอจึงขออนุญาตลองจับเข่าของแม่ทั้ง 2 ข้าง งอขึ้นลงๆ ดูค่ะ ระหว่างที่ทำเราก็จะได้ยินเสียงกรอบแกรบดังขึ้นอย่างที่เล่าให้คุณหมอฟังจริงๆ
จากนั้นคุณหมอก็ได้บอกข้อสันนิษฐานว่า ข้อเข่าของแม่น่าจะเริ่มเสื่อมตัวบ้างแล้วล่ะ ด้วยอายุของแม่ที่หกสิบกว่าปีแล้ว ความแข็งแรงของกระดูกย่อมอ่อนแอลงได้บ้างตามอายุที่มากขึ้น และคุณแม่เองก็ใช้ข้อเข่าหนักพอสมควร มันเลยทำให้ความเสื่อมยิ่งรุนแรงง่ายขึ้น และแสดงออกมาเป็นอาการปวดนั่นเอง
ส่วนเสียงกรอบแกรบที่เราได้ยินน่าจะเกิดจากกระดูกเสียดสีกันค่ะ แต่อาการยังไม่รุนแรง คุณหมอถามต่ออีกนิดว่า มีอาการอื่นๆ เพิ่มเติมอีกมั้ย เช่น ตื่นมาตอนเช้าแล้วกำมือไม่ค่อยได้ รู้สึกว่าข้อนิ้วมันติด แต่พอสายๆ ก็จะอาการหายไป ซึ่งแม่ก็บอกว่ามีบ้าง
ปัญหานี้อาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับไขข้อ และเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้นได้ นอกเหนือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง
คุณหมอแนะนำให้เราพาคุณแม่ไปตรวจกับคุณหมออายุรกรรมด้านกระดูกไขข้อดูอีกทีค่ะ โดยอาจจะมีการเจาะเลือดตรวจเพิ่มเติม เพราะโรคเกี่ยวกับไขข้อมักเกิดมาจากภูมิคุ้มกันร่างกายเป็นหลัก ถ้าตรวจแล้วเจอโรค ก็จะให้รักษาด้วยการกินยาตามกลุ่มโรคที่ตรวจเจอค่ะ
ผลตรวจเอกซเรย์กระดูกข้อเข่า
ส่วนผลตรวจเอกซเรย์กระดูกข้อเข่า คุณหมออธิบายว่า ถ้ากระดูกเข่าเสื่อม ช่องว่างระหว่างกระดูกแท่งเล็กกับแท่งใหญ่ที่เชื่อมอยู่ด้วยกันจะแคบลง โดยส่วนมากจะแคบตรงด้านใน เพราะเป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนักเยอะที่สุด
ซึ่งจากฟิล์มเอกซเรย์ที่ออกมา ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่าส่วนบนกับส่วนล่างของแม่ก็มีขนาดแคบลงค่ะ แต่ยังไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับช่วงอายุตอนนี้ ถ้าคิดเป็นคะแนนความเสื่อมของกระดูกเต็ม 6 คะแนน ของคุณแม่อยู่ที่ประมาณ 3 ค่ะ
ทีนี้ถ้ากระดูกยังไม่เสื่อมเยอะ แล้วอาการปวดมันมาจากไหนกันล่ะ?
คุณหมอก็อธิบายต่อว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากน้ำหนักตัวของแม่ที่เยอะ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ชอบเดินเยอะ ชอบขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ชอบนั่งยองๆ ทำความสะอาดบ้าน ชอบทำกิจกรรมที่ทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักเยอะ ทีนี้กระดูกเข่าของแม่ก็ยิ่งต้องรับน้ำหนักทุกอย่างมากขึ้น อาการปวดที่มันเกิดขึ้นได้เป็นปกติตามช่วงอายุก็เลยรุนแรงขึ้นค่ะ
เราก็เลยปรึกษาคุณหมอว่า ถ้าให้แม่หยุดทำกิจกรรมที่ใช้เข่าเยอะ แล้วเปลี่ยนมานั่งๆ นอนๆ เฉยๆ อาการปวดจะหายไปมั้ย คุณหมอก็ตอบว่า อาการน่าจะบรรเทาขึ้น แต่มันคนละส่วนกับความเสื่อมของกระดูกนะ เพราะความเสื่อมมันมาตามวัยและอายุที่มากขึ้นอยู่แล้ว ต่อให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่จนหายปวดเข่า อาการเข่าเสื่อมก็ยังเกิดขึ้นได้อยู่ดีค่ะ
ผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
ผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกจะเป็นภาพกราฟ 3 สีด้วยกันค่ะ
- สีเขียว คือ กระดูกแข็ง
- สีเหลือง คือ กระดูกบาง
- สีแดง คือ กระดูกพรุน
จากกราฟผลตรวจของคุณแม่ที่ออกมา มวลกระดูกทั้งในส่วนของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังอยู่ในเกณฑ์สีเขียวทั้งหมดค่ะ ยิ้มออกกันทั้งแม่ทั้งลูกเลย โล่งใจมากๆ ค่ะ
คุณหมอบอกด้วยว่า ในช่วงอายุนี้ถือว่าหาได้ยากเลยค่ะ เพราะโดยปกติค่าเฉลี่ยมวลกระดูกของคนอายุเท่าคุณแม่จะต้องตกไปอยู่แถบสีเหลืองหรือสีแดงหมดแล้ว นี่ของคุณแม่ยังอยู่สีเขียวอยู่เลย
แต่คุณหมอก็ได้แจ้งว่า ผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกไม่ได้เป็นตัวชี้วัดเรื่องกระดูกที่เสื่อมตัวนะคะ และผลตรวจอาจจะหลอกเราได้ด้วย โดยเฉพาะผลตรวจมวลกระดูกสันหลัง
คุณหมอชี้ให้คุณแม่ดูจุดดำๆ บนฟิล์มความหนาแน่นของมวลกระดูกสันหลัง คุณหมอบอกว่าจุดดำๆ ที่เห็นมันคือกระดูกที่เสื่อมตัวแล้วงอกออกมา ซึ่งพอมันงอกออกมาเยอะๆ เครื่องตรวจมวลกระดูกก็จะวัดผลมาเป็นค่าเฉลี่ยกระดูกที่แข็งได้ค่ะ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เรามีเนื้อกระดูกที่เสื่อมตัวไปแล้วอยู่เต็มเลย
แต่ถ้าอยากตรวจเรื่องกระดูกเสื่อมแบบเน้นๆ เชิงลึก คุณหมอแนะนำให้เราแยกไปตรวจแบบละเอียดอีกทีค่ะ สำหรับการตรวจครั้งนี้เป็นการคัดกรองและให้เราทำความเข้าใจกับสภาพกระดูกที่เป็นอยู่ก่อน
โดยสรุปแล้วจากผลตรวจโดยรวมที่ออกมาไม่ได้เลวร้ายมากค่ะ คุณหมอก็บอกว่าอีกสัก 2-3 ปีค่อยมาตรวจซ้ำอีกครั้งก็ได้ ไม่ต้องรีบ เพราะกระดูกมักจะค่อยๆ เสื่อมตัวอย่างช้าๆ ค่ะ ให้รอไปอีกหน่อยดีกว่า แล้วค่อยกลับมาตรวจ
วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
จากที่ขอคำแนะนำจากคุณหมอสำหรับการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คุณหมอก็ได้แนะนำให้กินแคลเซียมเสริมเพื่อเติมความแข็งแรงให้มวลกระดูกหน่อยค่ะ
โดยยกตัวอย่างอาหารเสริมแคลเซียมที่ควรกินด้วย เผื่อจะถ่ายรูปแล้วไปซื้อที่ร้านขายยาถูก ส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่มีสารประกอบกลูโคซามีน (Glucosamine) กับคอนดรอยติน (Chondroitin) ค่ะ
และแนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนไปออกกำลังกายแบบที่ไม่ใช้หัวเข่ารับน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เพราะการวิ่ง หรือจ็อกกิ้งแม้ว่าจะทำได้ง่าย แต่จะทำให้หัวเข่าได้รับน้ำหนักและรับแรงกระแทกค่อนข้างเยอะค่ะ
แต่ถ้าเลือกปั่นจักรยานก็ต้องระวังอย่าให้จักรยานล้มนะคะ แบบนั้นจะเสี่ยงทำให้หัวเข่าโดนกระแทกจนบาดเจ็บรุนแรงเลยก็ได้ ทีนี้อาจจะได้รักษากันยาวและซับซ้อนกว่าเดิมอีก
สรุปแล้วการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า และความหนาแน่นของกระดูก ที่ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร โดยรวมใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ ค่ะ เพราะเรากับคุณแม่มีการซักถามข้อสงสัยกับคุณหมอค่อนข้างเยอะ ช่วงเวลาฟังผลตรวจเลยนานนิดนึง
แต่ภาพรวมบริการจากโรงพยาบาลเปาโล เกษตรก็รู้สึกประทับใจเหมือนทุกครั้งที่มานะคะ เรากับคุณแม่ได้คำแนะนำในการดูแลตนเองเพิ่มเติมกลับบ้านไปหลายอย่างเลย คิดไม่ผิดที่กลับมาใช้บริการที่โรงพยาบาลเปาโล เกษตรอีกครั้งค่ะ
ใครที่คุณพ่อคุณแม่ หรือตัวเองมีปัญหาแล้วกังวลเรื่องข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่าเรื้อรัง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอยากมาใช้บริการ ตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า และความหนาแน่นของกระดูก ที่ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร สามารถดูแพ็กเกจได้ที่ HDmall.co.th เลยนะคะ
ที่สำคัญการตรวจเกี่ยวกับไขข้อพวกนี้ไม่ต้องทำในคนอายุเยอะๆ เสมอไปนะคะ อย่างเราที่อายุแค่ 25 ปีก็ควรลองมาตรวจดูสักครั้งเหมือนกัน เพราะพวกเราที่อยู่ในวัยทำงานก็ใช้กระดูกข้อเข่าทำกิจกรรมต่างๆ เยอะไม่แพ้รุ่นคุณแม่เลย มาตรวจเพื่ออัปเดตสุขภาพกระดูกกันนะคะ