ข้อควรรู้ก่อนเทคฮอร์โมนเพศชาย แปลงเพศหญิงเป็นชายคืออะไร?


แปลงเพศ-เทคฮอร์โมน-ชายข้ามเพศ FTM

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การเทคฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เป็นการรักษารูปแบบหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงเพศหญิงไปเป็นชาย (Female to Male; FTM) โดยไม่ต้องผ่าตัดแปลงเพศ และยังเป็นขั้นตอนแรกสำหรับผู้ต้องการผ่าตัดแปลงเพศเป็นชายอีกด้วย
  • จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดคือ การทำให้ผู้เข้ารับบริการมีความสุขและพึงพอใจกับสรีระที่เปลี่ยนแปลงไปคล้ายผู้ชาย หรือเป็นผู้ชายข้ามเพศได้ในแบบที่ต้องการ ด้วยการใช้ฮอร์โมนเพศชายอย่างถูกวิธีและเหมาะสมภายใต้การดูแลของสูตินรีแพทย์
  • แม้จะหยุดใช้ฮอร์โมนเพศบำบัดแล้ว แต่สรีระบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะไม่กลับคืนสภาพเดิม เช่น น้ำเสียงมีความห้าวใหญ่มากขึ้น บางรายก็เสียงแหบลง คลิตอริสขยายขนาดใหญ่ขึ้น บางรายมองดูคล้ายอวัยวะเพศชาย
  • การเทคฮอร์โมนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสูตินรีแพทย์เพื่อคอยตรวจเช็คระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้รับให้เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา เช่น ภาวะเลือดข้น ความดันโลหิตสูง รวมทั้งปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เช่น อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียว หากอาการรุนแรง สูตินรีแพทย์อาจแนะนำผู้เข้ารับบริการให้พบจิตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา หรือรับยาเพื่อบรรเทาอาการ
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย หรือแอดไลน์ @hdcoth

การเทคฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เป็นการรักษารูปแบบหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงเพศหญิงไปเป็นชาย (Female to Male; FTM) โดยไม่ต้องผ่าตัดแปลงเพศ และยังเป็นขั้นตอนแรกสำหรับผู้ต้องการผ่าตัดแปลงเพศเป็นชายอีกด้วย

แม้ว่า การเทคฮอร์โมนเพศชาย หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ จะดูไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร แต่ในความเป็นจริง ฮอร์โมนก็เหมือนยาชนิดหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย แต่จะเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อยอย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และการใช้งานฮอร์โมนให้ถูกต้อง ถูกวิธีด้วย

หากสนใจเทคฮอร์โมนเพศชาย HDmall.co.th มีข้อควรรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง จะเทค หรือไม่เทค ถ้าจะเทคต้องทำอย่างไรให้ปลอดภัย


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับการเทคฮอร์โมนเพศได้ที่นี่

  • เทคฮอร์โมนเพศ ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เหมาะกับใคร?
  • เทคฮอร์โมนเพศ ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
  • ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการเทคฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ มีอะไรบ้าง?
  • หลังเทคฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

  • เทคฮอร์โมนเพศ ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เหมาะกับใคร?

    การเทคฮอร์โมนเพศ หรือการรับฮอร์โมนเพศ หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ไม่ได้เป็นกระบวนที่อยู่ๆ นึกอยากทำก็ทำได้ อยากใช้ฮอร์โมนแบบไหนก็สั่งตามช่องทางออนไลน์

    เนื่องจากการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศนั้น เป็นหนึ่งในกระบวนการรักษาผู้ที่จิตแพทย์ประเมินสภาพจิตใจอย่างน้อย 2 ท่านแล้วว่า มีภาวะ “Gender dysphoria (GD)” หรือ เป็นผู้ทีไม่มีความสุขกับสรีระทางเพศแต่กำเนิดอย่างรุนแรง

    จุดมุ่งหมายของการรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนบำบัดคือ การทำให้ผู้เข้ารับบริการมีความสุขและพึงพอใจกับสรีระที่เปลี่ยนแปลงไปคล้ายผู้ชาย หรือเป็นผู้ชายข้ามเพศได้ในแบบที่ต้องการ ด้วยการใช้ฮอร์โมนเพศชายอย่างถูกวิธีและเหมาะสมภายใต้การดูแลของสูตินรีแพทย์

    ไม่เพียงเท่านั้น ผู้เข้ารับบริการทุกคนยังต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

    • อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือหากมีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
    • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    • ไม่มีภาวะทางจิตเวช
    • ไม่มีประวัติแพ้ยา
    • ไม่มีการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน
    • หากมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคตับ โรคไต ต้องควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

    นอกจากนี้ผู้เข้ารับบริการจะตัดสินใจรักษาด้วยการเทคฮอร์โมนเพศ หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศยังควรรู้ถึงผลลัพธ์ที่ตามมาว่า หลังจากได้รับฮอร์โมนมีอะไรบ้าง ตรงกับสิ่งที่ต้องการไหม ซึ่งนั่นจะเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจได้ว่า “จะรับฮอร์โมนเพศชายหรือไม่”

    เทคฮอร์โมนเพศ ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

    การเทคฮอร์โมนเพศ หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศจากหญิงไปเป็นชาย จะใช้ “ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ โทสเธอโรน (Testosterrone)” เป็นหลัก

    ปัจจุบันฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือ โทสเธอโรน มีอยู่ในรูปแบบยารับประทาน ยาฉีด หรือยาทา เมื่อใช้อย่างถูกวิธีและต่อเนื่องจะก่อให้เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเช่นเดียวกับผู้ชาย

    ขณะเดียวกันอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายจะลดทอนบทบาทการทำงานของรังไข่ แหล่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญลงด้วย เช่น ทำให้ผลิตไข่น้อยลง ไข่ตกน้อยลง ประจำเดือนเริ่มขาด และหายไปในที่สุด

    การเปลี่ยนแปลงทางสรีระที่เกิดขึ้น แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มสำคัญ

    • การเปลี่ยนแปลงสรีระแบบถาวร หมายถึง แม้จะหยุดใช้ฮอร์โมนเพศบำบัดแล้ว แต่สรีระบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะไม่กลับคืนสภาพเดิม ได้แก่ น้ำเสียงมีความห้าวใหญ่มากขึ้น บางรายก็เสียงแหบลง คลิตอริสขยายขนาดใหญ่ขึ้น บางรายมองดูคล้ายอวัยวะเพศชายก็มี ปริมาณไขมันสะสมตามร่างกายบางส่วนลดลง เช่น สะโพก ทำให้สะโพกไม่ผายดังเดิม
    • การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ถาวร หมายถึง หากตัดสินใจหยุดใช้ฮอร์โมนเพศบำบัดแล้ว สรีระบางอย่างที่เปลี่ยนไปอาจจะกลับคืนสภาพปกติได้ เช่น กล้ามเนื้อเริ่มลดน้อยลง เช่นเดียวกับรังไข่ที่หยุดทำงานไปแล้วก็จะค่อยๆ กลับมาผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้อีกครั้งคือ ผลิตไข่ ไข่ตก และมีประจำเดือนได้ หากร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง อายุไม่เกิน 35 ปี ในบางรายหากยังต้องการตั้งครรภ์ก็ยังสามารถทำได้เช่นกัน

    ดังนั้นก่อนจะเทคฮอร์โมน ผู้เข้ารับบริการจึงต้องคิดทบทวนและตัดสินใจให้ดีที่สุด หรือหากไม่แน่นใจว่า ในอนาคตตนจะอยากมีลูกหรือไม่ อาจขอรับคำแนะนำกับสูตินรีแพทย์เกี่ยวกับการเก็บไข่ และฝากไข่แช่แข็งไว้ก่อน 

    เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้ว เมื่อเริ่มเทคฮอร์โมน รังไข่จะทำงานน้อยลง ไข่ตกน้อยลงเรื่อยๆ นั่นเอง จนไม่ตกในที่สุด เมื่อถึงเวลานั้น แม้จะอยากมีลูก ก็อาจเป็นเรื่องยากแล้ว ยิ่งหากอายุเกิน 35 ปี ยิ่งเป็นเรื่องยาก

    ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการเทคฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ มีอะไรบ้าง?

    ฮอร์โมนเปรียบดั่งสารเคมีสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับฮอร์โมนเพศตรงข้ามเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมมีโอกาสเกิดความเสี่ยงทางสุขภาพและผลข้างเคียงตามมา

    ความเสี่ยงและผลข้างเคียงทางร่างกายที่พบบ่อย

    • มีภาวะเลือดข้น (Polycythemia) เพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมทีความเข้มข้นเลือดของผู้หญิงจะต่ำกว่าผู้ชาย แต่เมื่อรับฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นๆ จะทำให้ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากหัวใจต้องเพิ่มแรงสูบฉีดเลือดมากขึ้น แต่หากเลือดข้นมากๆ อาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดอุดตันเป็นอันตรายได้
    • ความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับภาวะเลือดข้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
    • มีกลิ่นเหงื่อและกลิ่นตัวรุนแรงขึ้น
    • ผิวมันมากขึ้น 
    • รูขุมขนกว้างมากขึ้น
    • สิวขึ้นมากขึ้น
    • ผมบาง ศีรษะล้านได้ หากครอบครัวมีประวัติ

    ความเสี่ยงและผลข้างเคียงทางอารมณ์และจิตใจที่พบบ่อย

    • กระตือรือล้นมากขึ้น
    • มีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น
    • อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น ใจร้อนเหมือนวัยรุ่น

    ด้วยเหตุนี้เอง การเทคฮอร์โมนจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสูตินรีแพทย์เพื่อคอยตรวจเช็คระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้รับให้เหมาะสม ไม่สูงจนเกินไป และไม่ต่ำจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนทางสรีระช้า 

    นอกจากนี้หากมีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจมากๆ จนสร้างปัญหาให้คนรอบข้าง สูตินรีแพทย์อาจแนะนำผู้เข้ารับบริการให้พบจิตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา หรือบางรายอาจต้องรับยา หรือเข้าสู่การบำบัดที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการ

    หลังเทคฮอร์โมน ใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ ต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

    • ใช้ฮอร์โมนเพศตามคำแนะนำของสูตินรีแพทย์อย่างเคร่งครัด
    • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ
    • เลิกสูบบุหรี่
    • ไปตรวจสุขภาพตามนัด เพื่อดูค่าความความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ค่าไต ค่าตับ หากพบว่า มีความผิดปกติจะได้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับคำแนะนำในการควบคุมค่าที่ผิดปกติให้กลับคืนปกติ

    เพราะการเทคฮอร์โมนเพศ หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศจากหญิงไปเป็นชายคือ กระบวนการรักษาผู้ต้องการแปลงเพศรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ดังนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสูตินรีแพทย์ตลอดทั้งขั้นตอน เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดี มีความเสี่ยง หรือผลข้างเคียงต่อสุขภาพน้อยที่สุด

    หากสนใจเข้ารับการแปลงเพศสามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย ได้ที่นี่เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • Hormone Health network, Masculinizing Hormone Therapy (https://www.hormone.org/your-health-and-hormones/transgender-health/masculinizing-hormone-therapy), 15 September 2021.
    • Madeline B. Deutsch, MD, MPH, Overview of masculinizing hormone therapy (https://transcare.ucsf.edu/guidelines/masculinizing-therapy), 15 September 2021.
    • Seattlechildrens.org, A Guide to Masculinizing Hormones: Gender Affirming Care (https://www.seattlechildrens.org/globalassets/documents/for-patients-and-families/pfe/pe2707.pdf), 15 September 2021.
    • Poonpismai Suwajo, Pronthep Pungrasmi and others, The Development of Sex Reassignment Surgery in Thailand: A Social Perspective (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3977439/), 15 September 2021.
    @‌hdcoth line chat