ปวดหัวแบบไหนเรียก ไมเกรน เช็กอาการ สาเหตุ ความเสี่ยง วิธีรักษาและค่ารักษาเบื้องต้น

ปวดหัวตุ้บๆ ปวดหัวข้างเดียว อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ถ้าคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้ ต้องระวัง เพราะคุณอาจป่วยด้วยโรคไมเกรน!

ไมเกรน อาการยอดฮิตของคนวัยทำงาน ถ้าเริ่มป่วยอาจเรื้อรังและร้ายแรง แถมต้องจ่ายค่ารักษาแพงอีกด้วย ถ้ายังไม่ป่วยควรรู้สาเหตุ จะได้จำกัดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงสาเหตุได้อย่างเหมาะสม หรือถ้าเริ่มมีอาการ แต่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองป่วยเป็นไมเกรนหรือเปล่า มาทำความรู้จักไมเกรนในเบื้องต้น เช็กอาการ สาเหตุและความเสี่ยงกันได้เลย

ไมเกรนคืออะไร อาการเป็นอย่างไร?

โรคไมเกรน (Migraine) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิง และ 1 ใน 15 ของผู้ชาย โดยอาการของไมเกรนจะมีลักษณะเฉพาะตัว สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ปวดศีรษะรุนแรง โดยปวดตุ้บๆ ต่อเนื่องเกิน 20 นาที
  • ส่วนใหญ่มักปวดข้างเดียว แต่บางคนอาจปวด 2 ข้าง หรือถ้าเป็นมากอาจปวดทั่วทั้งศีรษะ
  • ตำแหน่งที่ปวดไม่คงที่ อาจย้ายไปมา สลับซ้าย ขวา
  • บางคนมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  • อาการปวดจะเริ่มจากน้อยๆ แล้วมากขึ้นเรื่อยๆ จนรุนแรงเต็มที่แล้วค่อยๆ บรรเทาลง

ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย จะมีอาการเตือนก่อนเป็นไมเกรน เรียกว่า ออร่า (Aura) จะเป็นก่อนมีอาการไมเกรนประมาณ 5 นาที - 1 ชั่วโมง มีอาการดังนี้

  • มองเห็นแสงไฟกระพริบ เส้นซิกแซกไปมา
  • รู้สึกชาหรือเจ็บเหมือนถูกเข็มตำ โดยมักเริ่มจากมือแล้วค่อยๆ ลามไปยังใบหน้า ริมฝีปาก และลิ้น
  • รู้สึกเวียนศีรษะ หรือทรงตัวไม่อยู่
  • พูดลำบากกว่าปกติ

สาเหตุของไมเกรน

ปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด แต่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองที่ทำงานผิดปกติ โดยสิ่งที่คาดว่าเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองทำงานผิดปกติคือ

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • ความเครียด วิตกกังวล
  • ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย นอนหลับไม่เพียงพอ
  • การอดอาหาร
  • การสูบบุหรี่
  • อาการถอนคาเฟอีน
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับบางชนิด ยาคุมกำเนิด ฮออร์โมนทดแทน
  • สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้า เสียงดัง อากาศเปลี่ยนแปลง กลิ่นรุนแรง
  • การใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากรังสีจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจกระทบต่อระบบประสาทได้

วิธีการรักษาและค่ารักษาในเบื้องต้น

ไมเกรนเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นเพียงการประคับประคองและป้องกันอาการเท่านั้น แต่หากมีอาการบ่อยและรุนแรง สามารถบรรเทาด้วยหลายวิธี ได้แก่

ใช้ยารับประทาน

กลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการไมเกรนได้มีดังนี้

  1. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดศีรษะ ควรรับประทานทันทีก่อนที่จะมีอาการไมเกรน หรือรับประทานเมื่อเริ่มมีอาหารเตือน เพราะถ้ารับประทานตอนที่มีอาการแล้ว ยาจะออกฤทธิ์ได้น้อยลง ตัวอย่างยา เช่น
    • ยากลุ่มพาราเซตามอล (Paracetamol) แต่บางรายอาจใช้ยานี้ไม่ได้ผล
    • ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen)ไดโคลฟินแนก (Diclofenac) เป็นต้น
    • ยาแก้ปวดสำหรับไมเกรน (สำหรับการปวดรุนแรง) เช่น ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) ยาที่มีส่วนผสมของเออร์โกทามิน (Ergotamine)
  2. กลุ่มยาสำหรับป้องกันอาการ การใช้ยาประเภทนี้ จำเป็นต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยลดความรุนแรง และความถี่ของอาการปวดศีรษะไมเกรน ตัวอย่างยา เช่น ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot Alkaloids) เบต้า บล็อกเกอร์ (Bata Blocker) ยาต้านเซโรโทนิน (Serotonin Antagonist) เป็นต้น

ยากลุ่มนี้เป็นยาอันตรายและมีผลข้างเคียงทุกชนิด จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งและรับประทานตามระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น

ค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยวิธีรับประทานยา หากต้องพบแพทย์เพื่อสั่งจ่ายยาต่อครั้งประมาณ 1,000 - 1,500 บาทขึ้นไปขึ้นอยู่กับตัวยา ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล

กายภาพบำบัด หรือฝังเข็ม

เป็นอีกทางเลือกที่ใช้ในการบรรเทาอาการไมเกรน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กายภาพบำบัด คือการใช้เทคนิคทางกายภาพ เช่น การประคบร้อน นวดด้วยคลื่นอัลตราซาวน์ ไปตามตำแหน่งที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ ให้คลายตัวลง ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
  • ฝังเข็ม คือการใช้เข็มเล่มเล็กๆ ฝังไปตามจุดต่างๆ ของร่างกายเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดอาการเลือดคั่งต่างๆ

ค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด หรือฝังเข็ม ประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล

ทั้งนี้วิธีที่สุดที่ช่วยรักษาอาการไมเกรนคือหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการใช้งานโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

แต่ถ้าชีวิตเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นไม่ได้ ไม่รู้ว่าตัวเองจะป่วยตอนไหน ต้องจ่ายค่ารักษาเท่าไร สามารถจำกัดความเสี่ยงด้วยประกันสุขภาพ Mobile Syndrome จากเมืองไทยประกันภัย คุ้มครอง 11 โรคฮิตจากการใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ได้แก่

  • โรคไมเกรน
  • อาการนิ้วล็อค
  • โรคเอ็นข้อมืออักเสบ
  • อาการอักเสบของกล้ามเนื้อมือหรือข้อมือ
  • กระดูกสันหลังเสื่อม
  • โรควุ้นสายตาเสื่อม
  • หมอนรองกระดูกเสื่อม
  • ภาวะกระดูกคอเสื่อม
  • กระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท
  • การอักเสบของกล้ามเนื้อคอ
  • การปวดศีรษะเรื้อรัง

จ่ายเริ่มต้นเพียง 999 บาทต่อปี คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท! พิเศษ ซื้อที่ HDmall.co.th วันนี้ รับแคชแบ็กสูงสุด 150 บาท หมดเขต 31 ธ.ค.64

ประกันแผน 1 IPD จ่ายปีละ 999.- รับแคชแบ็ก 50 บาท คลิกเลย
ประกันแผน 2 OPD+IPD จ่ายปีละ 3,150.- รับแคชแบ็ก 150 บาท คลิกเลย

ไมเกรนเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด และถ้าเป็นหนักจำเป็นต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ฉะนั้นถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดไมเกรนได้ ไม่อยากป่วยเรื้อรัง ไม่อยากใช้เงินเก็บทั้งหมดไปกับค่ารักษาพยาบาล ก็สามารถเลือกจำกัดความเสี่ยงด้วยประกันสุขภาพ Mobile Syndrome

หากสงสัยเกี่ยวกับประกันและความคุ้มครองทักหาแอดมินสอบถามเพิ่มเติม คลิกเลย

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้ง

ที่มาของข้อมูล

@‌hdcoth line chat