ศัลยกรรมขากรรไกรคืออะไร? ทำไมต้องศัลย์?


ศัลยกรรมขากรรไกร ทำเพื่ออะไร? ใครควรทำ?

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • การศัลยกรรมขากรรไกร คือการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร เช่น ฟันสบไม่พอดี คางยื่น ช่องปากผิดรูป กลืนอาหารลำบาก
  • นอกจากนี้ยังใช้รักษาคนที่มีหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย การผ่าตัดต้องพักฟื้นนาน 1-4 วันใน รพ. และพักฟื้นที่บ้าน 6-12 สัปดาห์กว่าจะหายเป็นปกติ 
  • ในระหว่างผ่าตัดแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก แต่อาจมีปวดบวมได้ในระหว่างพักฟื้น แต่แพทย์จะให้ยาแก้ปวดมากินด้วย
  • ดูแพ็กเกจ เช็กราคาศัลยกรรมขากรรไกรก่อนตัดสินใจซื้อได้ผ่าน HDmall หรือสอบถามแอดมิน แตะตรงนี้

หลายคนอาจทราบอยู่แล้วว่าการศัลยกรรมขากรรไกรนั้นช่วยปรับรูปหน้าส่วนล่าง แต่ความจริงการศัลยกรรมนี้ไม่ได้ให้เพียงความสวยงามเท่านั้น แต่ยังสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจอันตรายถึงชีวิตได้ด้วย

ศัลยกรรมขากรรไกรคืออะไร?

การศัลยกรรมขากรรไกร (Jaw surgery) หรือที่หลายคนเรียกว่าผ่าตัดขากรรไกร คือการผ่าตัดแก้ไขปัญหาความผิดปกติของขากรรไกร เช่น มีปัญหาฟันสบไม่พอดีกัน จนคางยื่นหรือสั้นกว่าปกติ และไม่สามารถแก้ได้ด้วยการจัดฟันอย่างเดียว

บางกรณีอาจต้องดูแลโดยทันตแพทย์และศัลยแพทย์ช่องปากร่วมกันจนจบกระบวนการ

ศัลยกรรมขากรรไกรเหมาะกับใคร?

ศัลยกรรมขากรรไกรสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพและความงามสำหรับคนที่มีอาการหรือภาวะดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีปัญหาฟันสบกันไม่พอดี เวลาปิดปากแล้วสังเกตเห็นได้ชัด
  • ผู้ที่มีปัญหากระดูกในช่องปากผิดปกติ ทำให้เคี้ยวอาหารไม่สะดวก กลืนลำบาก หรือมีปัญหาการกัดอาหาร
  • ผู้ที่ช่องปากผิดรูปจนอาจส่งผลต่อรูปทรงของใบหน้า
  • ผู้ที่มีอาการปวดหรือเจ็บร้าวขากรรไกรเวลาเคี้ยวอาหาร จากภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint disorder: TMD)
  • ผู้ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่กล่าวมาด้านบนต้องอาศัยคำแนะนำจากแพทย์ เพราะบางอาการสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ใช่เพราะความผิดปกติของขากรรไกรเพียงอย่างเดียว

ศัลยกรรมขากรรไกรแล้วต้องพักฟื้นกี่วัน?

ผู้ที่ทำศัลยกรรมขากรรไกรมักต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล 1-4 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละคน

หลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ยังคงต้องดูแลความสะอาดในช่องปากมากเป็นพิเศษ และกินยาที่แพทย์ให้อย่างต่อเนื่องอีกประมาณ 6-12 สัปดาห์ จึงจะหายเป็นปกติ

ศัลยกรรมขากรรไกรเจ็บไหม?

ระหว่างทำศัลยกรรมขากรรไกรแพทย์จะให้ยาชาเพื่อระงับอาการเจ็บ แต่ในบางคนอาจได้รับผลกระทบอื่น เช่น เสียเลือดมาก

หลังผ่าตัดขากรรไกรแล้วอาจมีอาการปวด บวม และระคายเคืองบริเวณขากรรไกรได้ แพทย์ก็อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวด บวม มาให้เช่นกัน

ศัลยกรรมขากรรไกรบน ล่าง ต่างกันอย่างไร?

การศัลยกรรมขากรรไกรนั้นสามารถทำได้ 2 ตำแหน่งหลักๆ ดังนี้

1. ขากรรไกรส่วนบน (Maxillary osteotomy)

การศัลยกรรมขากรรไกรส่วนบน เป็นการตัดกระดูกขากรรไกรบนที่ระดับ เลอร์ ฟอร์ท 1 (Le fort 1) ซึ่งอยู่บริเวณปลายจมูกทั้งสองข้างลากยาวไปถึงบริเวณใกล้มุมปาก

เมื่อตัดแยกกระดูกออกมาเป็นอีกชิ้นแล้ว จะสามารถเคลื่อนกระดูกมายังตำแหน่งที่ต้องการได้ และทำการยึดด้วยสกรูเพื่อให้กระดูกอยู่ไม่เคลื่อนย้ายอีก

2. ขากรรไกรส่วนล่าง (Mandibular osteotomy)

การศัลยกรรมขากรรไกรส่วนล่าง เป็นการตัดขากรรไกรส่วนล่าง (Mandible) หรือสังเกตง่ายๆ คือกระดูกตัวยูตามแนวคาง มีวิธีการคล้ายกันกับการผ่าตัดขากรรไกรส่วนบน คือเมื่อศัลยแพทย์ตัดกระดูกขากรรไกรแล้วเลื่อนมายังตำแหน่งที่ต้องการแล้วจะยึดด้วยสกรู

แต่ละตำแหน่งอาจมีรายละเอียดการผ่าที่แตกต่างกัน ซึ่งศัลยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล

สิ่งที่อาจเกี่ยวข้องกับการเลือกตำแหน่งผ่าตัดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ตำแหน่งขากรรไกรที่ผิดปกติ (ส่วนล่างหรือส่วนบน)
  • ตำแหน่งของฟันกราม (Molars) ที่ผิดปกติ

สนใจดูแพ็กเกจศัลยกรรมขากรรไกร เปรียบเทียบราคา และจองคิวได้ผ่านเว็บไซต์ HDmall ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สามารถสอบถามแพ็กเกจกับแอดมินได้ผ่านทางไลน์ @hdcoth ได้ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

Jill Seladi-Schulman, Ph.D., Types of Jaw Surgery and the Reasons for Each, (https://www.healthline.com/health/surgery-for-jaw), 12 June 2020.

ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ, การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า เพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น, (http://www.jdat.org/dentaljournal/download/2017RV1006), 26 ธันวาคม 2559.

นพ. นิธิพัทธ์ วทัญุตา, Facial fracture, (http://medinfo2.psu.ac.th/surgery/Collective%20review/2552/3.Maxillofacial_injury%20(Nithiphat%2011.11.52).pdf), 11 พฤศจิกายน 2552.

@‌hdcoth line chat