ครอบแก้วเหมาะกับทุกคนหรือไม่?


ครอบแก้ว-ครอบกระปุก-นอนครอบแก้ว

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ครอบแก้ว (Cupping Therapy) หรือครอบกระปุก (Cupping Therpy) เป็นศาสตร์การรักษาโดยการใช้ความร้อนทำให้เกิดภาวะสุญญากาศขึ้นภายในกระปุกแก้ว เพื่อนำครอบแก้วไปวางยังตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด หรือมีความผิดปกติ
  • ครอบแก้วสามารถรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งพบว่า การครอบแก้วให้ผลดี ดังนั้นผู้ที่เหมาะกับการครอบแก้ว ได้แก่ นักกีฬา ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่
  • ครอบแก้วไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ เด็ก ผู้ที่ผิวหนังเป็นแผลเปิด ผิวหนังบวม อักเสบ หรือมีการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ป่วยโรคเลือดหยุดไหลยาก / G6PD ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย ที่มีไข้สูงและผู้ที่มีอาการชัก
  • ผู้เข้ารับการครอบแก้วอาจ รู้สึกวิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมากคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง รวมทั้งเกิดอาการเจ็บปวดตำแหน่งที่ครอบแก้วเนื่องจากผิวหนังและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นถูกดูดขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจครอบแก้ว หรือแอดไลน์ @hdcoth

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการรักษาแนวแพทย์แผนจีน เชื่อว่า ต้องเคยได้ยินชื่อ “การครอบแก้ว” มาบ้าง การรักษาที่หลังเสร็จสิ้นแล้ว จะทิ้งรอยกลมๆ สีชมพูด สีแดง สีม่วง เป็นเอกลักษณ์ไว้ตามร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเข้ารับการครอบแก้วได้ เพราะการครอบแก้วก็เช่นเดียวกับการบำบัดอื่นๆ ที่มีผลข้างเคียงและอาจเกิดอันตรายได้ หากประมาท หรือขาดความระมัดระวัง

ครอบแก้ว เหมาะกับทุกคนหรือไม่?

ครอบแก้ว (Cupping Therapy) หรือครอบกระปุก (Cupping Therpy) เป็นศาสตร์การรักษาโดยการใช้ความร้อนทำให้เกิดภาวะสุญญากาศขึ้นภายในกระปุกแก้ว เพื่อนำครอบแก้วไปวางยังตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด หรือมีความผิดปกติ 

ผลจากการครอบแก้วจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นทำงานได้สะดวก เซลล์เนื้อเยื่อที่บาดเจ็บสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น อาการเจ็บปวดจึงทุเลาลงนั่นเอง

ครอบแก้วสามารถรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งพบว่า การครอบแก้วให้ผลดี

ดังนั้นผู้ที่เหมาะกับการครอบแก้ว ได้แก่ นักกีฬา ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเรื้อรัง

ครอบแก้ว ราคา

ครอบแก้ว ไม่เหมาะกับใครบ้าง?

แม้การครอบแก้วจะเป็นศาสตร์การรักษาที่ไม่ใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด อาศัยเพียงความร้อนและระบบสุญญากาศที่สร้างขึ้นภายในครอบแก้วแต่ละใบ แต่การครอบแก้วก็มีความเสี่ยงสำหรับคนบางกลุ่มเช่นกัน ได้แก่

  • หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก มีข้อมูลว่า ห้ามครอบแก้วช่วงเอว ท้อง และก้นกบเด็ดขาด เพราะจะทําให้แท้งได้ง่าย
  • ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากผิวหนังได้รับแรงดูดขึ้น ทําให้ร่างกายบริเวณนั้นบวมและปวด ซึ่งผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งหากได้รับการกระตุ้นอาจทําให้เกิดอาการเกี่ยวกับหัวใจเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจกําเริบได้
  • เด็ก ปัจจุบันยังไม่ได้มีการวิจัยแน่ชัด แต่เหตุที่เด็กไม่เหมาะกับการครอบแก้วเนื่องจากผิวหนังของเด็กมีความบอบบางและยังเจริญเติบโตยังไม่สมบูรณ์ เมื่อได้รับความร้อนจึงอาจได้รับบาดเจ็บได้
  • ผู้ที่ผิวหนังเป็นแผลเปิด
  • ผู้ป่วยผิวหนังบวม อักเสบ หรือมีการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
  • ผู้ป่วยโรคเลือดหยุดไหลยาก 
  • ผู้ป่วยโรค G6PD
  • ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Deepvain thrombosis)
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย
  • ผู้ที่มีไข้สูงและผู้ที่มีอาการชัก
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม
  • ผู้ที่กระดูกหัก
  • ผู้ที่สภาพร่างกายอ่อนแอ ถ้าสภาพร่างกายอ่อนแอเกินไปไม่เหมาะจะครอบกระปุกเพราะในการครอบกระปุกเป็นวิธีการระบาย จะทําให้คนที่ร่างกายพร่องอยุ่แล้ว ยิ่งพร่องมากขึ้น

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่กล่าวถึงนี้ หากมีความจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดด้วยการครอบแก้ว แนะนำให้ปรึกษา ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

อันตราย ข้อควรระวัง หรือผลข้างเคียงจากการครอบแก้ว มีอะไรบ้าง?

อย่างที่ทราบกันว่า การครอบแก้วอาศัยหลักการของระบบสุญญากาศและความร้อน จึงมีโอกาสเกิดอันตรายและผลข้างเคียงตามมาได้ ทั้งขณะครอบแก้วและหลังการครอบแก้ว

  • ระยะเวลาการครอบแก้วต้องเหมาะสมและทำด้วยความระวัดระวัง โดยทั่วไปเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเวลา 8 นาที ไม่ควรครอบไว้นานเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดตุ่มน้ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หากต้องการครอบแก้วควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดตุ่มน้ำขึ้น แล้วดูแลไม่ดีอาจจะติดเชื้อได้
  • บริเวณที่รอบแก้วต้องเหมาะสม แพทย์แผนจีนจะไม่ครอบแก้วบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีอาการเจ็บปวดก็ตาม เพราะอาจเกิดอันตรายต่อระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายอย่างรุนแรงได้
  • การรักษาความสะอาดของครอบแก้ว หรือกระปุกแก้ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยทั่วไปผู้เข้ารับการบำบัด 1 คน ต่ออุปกรณ์ 1 ชุด หลังจากครอบครบ 5 ครั้ง จะนําอุปกรณ์ไปทําความสะอาด 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ครอบแก้ว ราคา

ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นระหว่างครอบแก้ว ผู้เข้ารับการครอบแก้วอาจ รู้สึกวิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมากคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง รวมทั้งเกิดอาการเจ็บปวดตำแหน่งที่ครอบแก้วเนื่องจากผิวหนังและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นถูกดูดขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง

สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังการครอบแก้ว รู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่ครอบแก้วบ้าง ผิวบริเวณที่ครอบแก้วจะเกิดแผลไหม้ หรือรอยจ้ำสีแดง สีม่วงขึ้น แต่รอยเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปได้ในเวลา 5-7 วัน บางรายหลังอาจมีเลือดออกได้

นอกจากนี้หลังครอบแก้วหากมีอาการไข้สูง ผิวหนังบวม แดง แสบร้อน ปวดผิวหนังบริเวณนั้นอย่างรุนแรง มีไข้ ควรไปพบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

หากสนใจเข้ารับการบำบัดด้วยการครอบแก้ว สามารถเปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจการครอบแก้วได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยจะมีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยแพทย์ทางเลือก, การครอบแก้ว (Cupping Therapy) (https://med.mahidol.ac.th/altern_med/th/cupping_km#:~:text=การครอบแก้วเป็นการรักษา,ครอบบริเวณต่างๆ%20บนร่างกาย), 25 มกราคม 2564.
  • แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์ แผนกฝังเข็ม โรงพยาบาลหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, การครอบแก้ว ครอบกระปุก (Cupping Therapy) (https://www.huachiewtcm.com/content/6152/cupping-therapy), 25 มกราคม 2564.
  • Ashley Marcin, What Is Cupping Therapy? (https://www.healthline.com/health/cupping-therapy), 25 January 2021.
  • WebMD, Cupping Therapy (https://www.webmd.com/balance/guide/cupping-therapy#2), 25 January 2021.
  • สถาบันพรหมวชริญาณ คลินิกแพทย์แผนจีน, การครอบแก้ว (Cupping) เพื่อการบำบัดและการรักษา (https://www.promwachirayan.org/th/บริการ/การครอบแก้ว.html), 25 มกราคม 2564.
@‌hdcoth line chat