หากรู้สึกเจ็บคอ มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ต้องการลดบวมแผล ควรต้องใช้ยาอะไรระหว่าง “ยาแก้อักเสบ” กับ “ยาปฏิชีวนะ” เป็นคำถามที่สอบถามเภสัชกรที่ร้านขายยาได้ แต่หากมียาทั้งสองชนิดอยู่ในบ้านและยังลังเลไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้ยาชนิดไหน แนะนำให้อ่านบทความนี้ เพราะหากเลือกใช้ยาผิดอาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาได้
สารบัญ
ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อต่างกันอย่างไร?
- ยาแก้อักเสบชนิดเม็ดรับประทาน และชนิดฉีด ใช้สำหรับรักษาอาการอักเสบที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ ลดบวมแผล หรือข้ออักเสบ
- ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในลำคอ
ดังนั้น คุณต้องระมัดระวังอย่าจำสับสนกันระหว่างการใช้ตัวยาทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นอันขาด เพราะการรับประทานยาผิด นอกจากจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมาได้ ไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ควรอธิบายอาการให้ร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำร้านเข้าใจว่าอาการเป็นอย่างไร เพื่อความถูกต้องในการจ่ายยา
วิธีการกินยาแก้อักเสบและยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง
- ยาแก้อักเสบ มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นควรรับประทานยาหลังอาหารเท่านั้น และหลังจากกินยาจะต้องดื่มน้ำตามมากๆ
- เมื่ออาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นทุเลาลงหลังรับประทานยา ต้องหยุดรับประทานทันที เพราะว่ายาแก้อักเสบเป็นยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการเท่านั้น
หากกินติดต่อกันไปนานๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา และนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในที่สุด - เมื่อเป็นหวัด และมีอาการเจ็บคอจะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ หรือ “ยาปฏิชีวนะ” (Antibiotics) เท่านั้น อย่าจำสับสนกันเด็ดขาด
- ผู้ที่มีโรคแผลในกระเพาะอาหาร หัวใจวาย โรคตับ โรคไต หรือความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังในการใช้ยา เพราะจะทำให้อาการแย่ลงได้
- เมื่อรับประทานยาชนิดใดก็ตาม แล้วมีอาการผื่นคันขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก ปากบวม ตาบวม หายใจลำบาก ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการของการแพ้ยา
- ยาแก้อักเสบชนิดเม็ดรับประทาน และชนิดฉีดมีคุณสมบัติแบบเดียวกัน แต่มีราคาไม่เท่ากัน โดยชนิดฉีดจะมีราคาที่แพงกว่าชนิดรับประทานถึง 10 เท่า
- หากลืมรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่ก็ยังดีกว่าการไม่ได้กินยาเลย
ควรกินยาแก้อักเสบกี่วัน
- หากมีไข้ ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อนานเกิน 3 วัน และไม่ควรใช้ยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นเวลานานเกินกว่า 10 วัน เว้นแต่เป็นคำสั่งจากแพทย์
- การใช้ยาแก้อักเสบติดต่อนานเกินไปจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้นควรสอบถามวิธีการใช้ยา และระยะเวลาในการใช้ยาจากแพทย์ หรือเภสัชกรให้แน่ใจทุกครั้งที่ใช้
- ระยะเวลาในการใช้ยาแก้อักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของยา จุดประสงค์ของการรักษา และภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เช่น หาก ยาแก้อักเสบ ลดบวมแผล เมื่อแผลเริ่มหายบวมควรหยุดใช้ หรือ ตามเภสัชกรสั่ง
- ตัวยาแก้อักเสบอาจออกฤทธิ์ภายในไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจใช้เวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์กว่าจะเห็นผล ขึ้นอยู่กับประเภทของยาที่แพทย์สั่งให้ใช้ ซึ่งจะพิจารณาตามอาการ สุขภาพ อายุ และปัจจัยอื่นๆ ของผู้ป่วย
- โดยยาที่ออกฤทธิ์เร็วนั้นมักต้องรับประทานทุก 4-6 สัปดาห์ ซึ่งมักแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อบาดเจ็บเฉียบพลัน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานอาจแนะนำให้รับประทานวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น
ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่อย่าลืมว่า การกินยาแก้อักเสบจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ที่สำคัญผู้ป่วยต้องระบุถึงอาการที่เป็นอยู่ให้ชัดเจนเพื่อที่แพทย์ หรือเภสัชกรจะได้รักษาและจ่ายยาให้ได้อย่างถูกต้อง