ดูแลแผลคลอดธรรมชาติอย่างไรให้ถูกวิธี ?


คลอดธรรมชาติ-แม่หลังคลอด-แม่อุ้มทารกแรกเกิด

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพราะพักฟื้นอยู่โรงพยาบาลเพียง 2 วัน คุณแม่ก็สามารถกลับไปพักฟื้น ดูแลแผลคลอดธรรมาชาติ หรือแผลฝีเย็บต่อที่บ้านได้แล้ว
  • การดูแลแผลคลอดธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาความสะอาดบริเวณแผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วที่สุด ไม่อักเสบ ไม่ติดเชื้อ
  • หากมีอาการปวดแผลแนะนำให้ลองประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง หรือเจล ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บและลดอาการบวมของแผลฝีเย็บได้ บางรายหากมีอาการปวดมาก แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ
  • คุณแม่ยังควรสังเกตแผลฝีเย็บด้วย หากมีอาการปวดแผลฝีเย็บอย่างมาก ฝีเย็บปริ แยก หรือมีเลือด น้ำเหลืองไหลออกมาจากช่องคลอด ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงกำหนดนัดหมาย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่อปากมดลูกเปิดกว้างราว 7-9 เซนติเมตร เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “คุณแม่ใกล้ถึงกำหนดคลอดตามธรรมชาติได้แล้ว” แม่บางรายอาจมีความจำเป็นต้องกรีดฝีเย็บเพิ่มเพื่อให้คลอดง่ายขึ้น 

ดังนั้นคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติทุกคนจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีดูแลแผลคลอดธรรมชาติอย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้แผลฝีเย็บหายเร็ว ไม่บวม และไม่แยก HDmall.co.th มีวิธีดูแลแผลคลอดธรรมชาติมาฝาก


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


คลอดธรรมชาติ ต้องอยู่โรงพยาบาลกี่วัน?

แม้จะมีรายงานทางการแพทย์บางฉบับแจ้งว่า การที่แม่สามารถคลอดเองได้โดยไม่ต้องตัด หรือกรีดฝีเย็บ เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่หากระหว่างคลอดฝีเย็บเกิดฉีกขาดขึ้นมาเองอาจก่อให้เกิดปัญหาในการเย็บบาดแผลปิดให้สวยงามได้ รวมถึงอาจมีปัญหาช่องคลอดหลวม หรือหย่อนยาน ตามมาได้ในภายหลัง

ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวแพทย์จึงมักตัด หรือกรีดฝีเย็บเล็กน้อย เพื่อให้คลอดได้สะดวก และสามารถเย็บแผลปิดได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสช่องคลอดหลวม หรือหย่อนยานตามมาได้

โดยทั่วไปคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ จะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพียงพักฟื้นอยู่โรงพยาบาล 2 วันเท่านั้นก็สามารถกลับไปพักฟื้น ดูแลแผลคลอดธรรมาชาติ หรือแผลฝีเย็บต่อที่บ้านได้แล้ว

คลอดบุตรธรรมชาติ ราคาประหยัด

ดูแลแผลคลอดธรรมชาติอย่างไร?

การดูแลแผลคลอดธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาความสะอาดบริเวณแผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วที่สุด ไม่อักเสบ ไม่ติดเชื้อ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • แช่แผลฝีเย็บในน้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • เช็ดทำความสะอาดแผลฝีเย็บวันละประมาณ 2 ครั้ง ด้วยการใช้น้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลังเบาๆ และซับให้แห้ง
  • หลังปัสสาวะ หรืออุจจาระเสร็จ พยายามล้างแผลฝีเย็บด้วยน้ำอุ่น ซับเบาๆ จากหน้าไปหลัง ห้ามเช็ดย้อนกลับเด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรซับให้แผลแห้งทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้สายฉีดชำระ เพื่อป้องกันแรงดันน้ำทำให้แผลฝีเย็บปริ หรือแยก
  • ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรืออาบน้ำในอ่าง
  • แนะนำให้อาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
  • เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อให้แผลคลอดธรรมชาติแห้งอยู่เสมอ และช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้งทุกครั้งก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัย
  • หากมีอาการปวดแผลแนะนำให้ลองประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง หรือเจล ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บและลดอาการบวมของแผลฝีเย็บได้ บางรายหากมีอาการปวดมาก แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ
  • ลดอาการเจ็บแผลเวลานั่งด้วยการใช้หมอนโดนัทวงใหญ่ หรือห่วงยางมารองนั่ง
  • หลีกเลี่ยงการนั่งขัดสมาธิ หรือท่านั่งที่อ้าขากว้างๆ เพราะหากแผลยังไม่ติดสนิทกันดี ท่านั่งเหล่านี้อาจทำให้แผลฝีเย็บปริ แผลฝีเย็บแยกได้
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะอาจทำให้แผลฝีเย็บแยกได้
  • เวลาเดินให้เดินแบบผู้ชาย ขาแยกจากกันเล็กน้อย เพื่อป้องกันแผลเบียดและเสียดสีกัน
  • พยายามรับประทานอาหารที่เส้นใยอาหารสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ท้องผูก จะได้ไม่เพิ่มความเจ็บปวดในการนั่งขับถ่าย และดื่มน้ำสะอาดมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • แผลที่เย็บด้วยไหมละลาย ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ไฟด้วยการนั่งไม้กระดาน หรือสัมผัสความร้อนโดยตรง เพราะอาจทำให้ไหมละลายตัวเร็วกว่าปกติ

โดยทั่วไปหากดูแลคลอดธรรมชาติอย่างถูกวิธี ประมาณ 6-7วัน อาการเจ็บ บวม ก็จะบรรเทาลงแล้ว และใช้เวลาต่อจากนั้นอีกประมาณ 3 สัปดาห์แผลฝีเย็บจะหายสนิท

คลอดธรรมชาติ ราคา

คันแผลฝีเย็บ แผลฝีเย็บบวม แผลฝีเย็บแยก ดูแลอย่างไร?

นอกจากการดูแลความสะอาดของแผลคลอดธรรมชาติ หรือแผลฝีเย็บให้ดีแล้ว คุณแม่ยังควรสังเกตลักษณะของแผลฝีเย็บด้วย หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงกำหนดนัดหมาย

  • รู้สึกปวดแผลฝีเย็บอย่างมาก
  • แผลฝีเย็บบวม แดง
  • แผลฝีเย็บปริ แยก
  • อาจมีเลือด น้ำเหลือง ไหลออกมาจากช่องคลอด รวมทั้งอาจมีก้อนหนอง หรือฝีบริเวณปากช่องคลอด
  • มีอาการปัสสาวะแสบขัด
  • มีอาการไข้สูงร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว

อาการดังกล่าวอาจบ่งบอกว่า แผลฝีเย็บกำลังอักเสบ ติดเชื้อ บวม หรือแยก แพทย์จะพิจารณาจากอาการแล้วรักษาเป็นรายๆ ไป โดยอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเพื่อบรรเทาอาการที่รุนแรง 

หากมีเนื้อตายรอบๆ แผล แพทย์จะตัดแต่งออกให้เรียบร้อย ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อบริเวณแผล และอาจเย็บซ่อมแซมแผลใหม่

ส่วนวิธีดูแลแผลฝีเย็บบวม แผลฝีเย็บแยก คันแผลฝีเย็บ คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อยางเคร่งครัดโดยเฉพาะการรักษาความสะอาดของแผลฝีเย็บ ปฏิบัติตามข้อควรหลีกเลี่ยงต่างๆ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานยา หรือทายาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อไม่ให้แผลคลอดธรรมชาติปริ แยก อักเสบ หรือติดเชื้ออีก และแผลสมานตัวตามกระบวนการได้ดี

จากนั้นเมื่อแผลคลอดธรรมชาติ แผลฝีเย็บสมานตัวติดกันดี แผลหายสนิท โดยทั่วไปใช้เวลาราว 8 สัปดาห์หลังคลอด คุณแม่จึงสามารถเริ่มบริหารอุ้งเชิงกรานเพื่อกระชับฝีเย็บได้อย่างน้อยวันละ 3 รอบเวลา รอบเวลาละ 10 ครั้ง 

แต่หากบริหารไปแล้วมีเลือดไหลซึมออกมา ควรหยุดบริหารและไปพบแพทย์โดยเร็ว 

ส่วนการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ แนะนำให้เว้นระยะออกไปก่อนเพื่อความปลอดภัย อาจแสดงความรักด้วยวิธีอื่นแทน

เช็กราคาคลอดบุตรแบบธรรมชาติ

ว่าที่คุณแม่สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่ตรงใจ คุ้มค่ากับงบประมาณได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยมีจิ๊บใจดี เสียงใสคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Berit Thorkelson, Renee Bacher and Jeanne Faulkner, R.N., 13 Tips for Having a Successful Non-Medicated, Low-Intervention 'Natural' Birth (https://www.parents.com/pregnancy/giving-birth/vaginal/dos-and-donts-of-natural-childbirth/), 7 เมษายน 2564.
  • Judith A. Lothian, Why Natural Childbirth? (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1595040/), 25 March 2021.
  • รศ.นพ.วิทยา ภิฐาพันธ์, จะคลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด ดีนะ? (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=430), 1 เมษายน 2564.
  • The Healthline Editorial Team, What to Expect During a Vaginal Delivery (https://www.healthline.com/health/pregnancy/intrapartum-care-vaginal-delivery), 25 March 2021.
  • WebMD, Childbirth: The Stages of Delivery (https://www.webmd.com/baby/features/childbirth-stages-delivery#3), 25 March 2021.
  • Erica Hersh, What You Need to Know About Natural Birth (https://www.healthline.com/health/pregnancy/natural-birth), 25 March 2021.
@‌hdcoth line chat