HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- โดยทั่วไปคุณแม่ผ่าคลอด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ องค์การอนามัยโลกหรือ WHO แนะนำให้พักอยู่โรงพยาบาลประมาณ 4 วัน เพื่อดูแลอาการปวดแผลหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิด
- แผลผ่าคลอดจะเริ่มสมานตัวเข้าด้วยกันตั้งแต่หลังผ่าตัดได้หนึ่งสัปดาห์ และจะใช้เวลาอีกประมาณ 2-4 สัปดาห์กว่าที่แผลผ่าคลอดจะสมานตัวเข้าด้วยกันสนิท แต่ระยะเวลาดังกล่าวอาจแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน การดูแลแผลให้ถูกวิธี และลักษณะการเย็บแผล
- แพทย์จะปิดพลาสเตอร์กันน้ำมาให้จึงไม่จำเป็นต้องไปดูแลทำความสะอาดแผล เพียงแต่ให้สังเกตว่า แผลมีน้ำซึมออกมาหรือไม่ หากมีควรไปให้แพทย์ตรวจดูและเปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่ ห้ามเปิดดูเองเด็ดขาด
- หลังผ่าคลอดไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ เด็ดขาด เพราะจะทำให้แผลหายช้าและอาจอักเสบได้ รวมทั้งอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารที่ปรุงไม่สะอาด เพราะร่างกายหลังผ่าตัดยังอยุ่ในช่วงพักฟื้นจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
- เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือแอดไลน์ @hdcoth
ในคุณแม่ที่มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ ไม่สามารถคลอดด้วยธรรมชาติได้ รวมทั้งคุณแม่ที่มีความจำเป็นต้องคลอดอย่างเร่งด่วน เนื่องจากทั้งสองกรณีอาจมีอันตรายต่อตัวแม่และเด็กในครรภ์ได้ แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าคลอดแทนการคลอดธรรมชาติเพราะมีความปลอดภัยมากกว่า
เพราะการผ่าคลอดเป็นการผ่าตัดใหญ่ คุณแม่ที่มีแนวโน้มผ่าคลอดจึงควรเรียนรู้การดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกต้อง เพื่อให้แผลไม่ติดเชื้อ ไม่อักเสบ และหายไว
HDmall.co.th มีวิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธีมาฝาก
ผ่าคลอด ต้องอยู่โรงพยาบาลกี่วัน?
โดยทั่วไปคุณแม่ผ่าคลอด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ องค์การอนามัยโลกหรือ WHO แนะนำให้พักอยู่โรงพยาบาลประมาณ 4 วัน เพื่อดูแลอาการปวดแผลหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิด ซึ่งแพทย์อาจจำเป็นต้องให้ยาระงับความเจ็บปวดทางเส้นเลือด ดูการทำงานของลำไส้ ไต และกระเพาะปัสสาวะ รวมทึงตรวจดูแผลผ่าตัดไม่ให้มีการอักเสบ หรือติดเชื้อ
นอกจากนี้หลังผ่าคลอด คุณแม่ยังต้องพยายามเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ลำไส้ขยับตัว ลดอาการท้องผูก และลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง
เมื่อมั่นใจว่า คุณแม่และคุณลูกมีสุขภาพร่างกายเริ่มแข็งแรงดีก็สามารถกลับไปพักฟื้น ดูแลแผลผ่าคลอดต่อที่บ้านได้แล้ว
แผลผ่าคลอดกี่วันหาย?
แผลผ่าคลอดโดยทั่วไปจะเป็นการผ่าผ่านชั้นผิวหนัง ไขมันใต้ผิวหนัง เยื้อหุ้มกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มช่องท้อง ผนังเยื่อหุ้มมดลูก และกล้ามเนื้อมดลูก โดยมีความยาวแผลในแนวตั้ง ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร หรือเป็นแผลแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน ความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
โดยทั่วไปแผลผ่าคลอดจะเริ่มสมานตัวเข้าด้วยกันตั้งแต่หลังผ่าตัดได้หนึ่งสัปดาห์ และจะใช้เวลาอีกประมาณ 2-4 สัปดาห์กว่าที่แผลผ่าคลอดจะสมานตัวเข้าด้วยกันสนิท แต่ระยะเวลาดังกล่าวอาจแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน การดูแลแผลให้ถูกวิธี และลักษณะการเย็บแผล
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ทุกคนสามารถทำได้คือ การดูแลแผลผ่าคลอดให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบในชั้นต่างๆ ที่ผ่าผ่านลงไป
ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี?
การดูแลแผลผ่าคลอดที่สำคัญที่สุดคือ การรักษาความสะอาดบริเวณแผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วที่สุด ไม่อักเสบ ไม่ติดเชื้อ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- หลังการผ่าคลอด แพทย์จะปิดพลาสเตอร์กันน้ำมาให้จึงไม่จำเป็นต้องไปดูแลทำความสะอาดแผล เพียงแต่ให้สังเกตว่า แผลมีน้ำซึมออกมาหรือไม่ หากมีควรไปให้แพทย์ตรวจดูและเปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่ ห้ามเปิดดูเองเด็ดขาด
- หลังคุณหมอตรวจแผลแล้วเรียบร้อยดี ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพลาสเตอร์อีกต่อไปเพราะแผลสามารถโดนน้ำได้แล้ว แต่ยังคงต้องรักษาความสะอาดของแผลให้ดี ดูแลแผลให้แห้งเสมอ
- เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อรักษาสุขอนามัยโดยรวมให้สะอาดและช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค
- ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้งทุกครั้งก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัย
- หากมีอาการปวดแผลแนะนำให้ลองประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง หรือเจลความเย็น ครั้งละไม่เกิน 2-3 นาที จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บและลดอาการบวมของแผลฝีเย็บได้ บางรายหากมีอาการปวดมาก แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ
- พยายามเดินบ่อยๆ ตั้งแต่วันแรกหลังออกจากห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน การเกิดพังผืดในช่องท้อง และควรเดินให้ตัวตรงที่สุด อย่าเดินตัวงอ
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะอาจทำให้แผลฝีเย็บแยกได้
- พยายามรับประทานอาหารที่เส้นใยอาหารสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ท้องผูก จะได้ไม่เพิ่มความเจ็บปวดในการนั่งขับถ่าย และดื่มน้ำสะอาดมากๆ
- พยายามรับประทานอาหารที่มีโปรตีน ผักใบเขียว ผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอ แผลสมานตัวติดกันเร็วขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- แผลที่เย็บด้วยไหมละลาย ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ไฟด้วยการนั่งไม้กระดาน หรือสัมผัสความร้อนโดยตรง เพราะอาจทำให้ไหมละลายตัวเร็วกว่าปกติ
หลังผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง?
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ เด็ดขาด เพราะจะทำให้แผลหายช้าและอาจอักเสบได้
- ไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารที่ปรุงไม่สะอาด เพราะร่างกายหลังผ่าตัดยังอยุ่ในช่วงพักฟื้นจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
- ไม่ควรรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสจัด เพราะอาจส่งผลกับแผลผ่าตัดได้
- ไม่ควรรับประทานอาหารกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพ้ เช่น อาหารทะเล เพราะหากแพ้อาจเกิดตุ่มผื่นคัน ลมพิษ บริเวณต่างๆ ของร่างกายรวมถึงแผลผ่าตัดได้
- ไม่ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีแป้งมากเพราะจะทำให้เกิดแก๊สในท้องได้ ส่งผลให้ท้องอืด อึดอัด แน่นท้อง
- ไม่ควรรับประทานอาหารเสริมที่ไม่ได้รับการรับรอง
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เพราะแม้ไม่ได้ส่งผลต่อแผลผ่าคลอด แต่อาจส่งผลต่อน้ำนมที่ให้ลูกน้อยได้ ทำให้ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการช้ากว่าวัย
หลังผ่าคลอดกินไข่ กินข้าวเหนียวได้ไหม?
หลายคงเคยได้ยินว่า ห้ามกินไข่ และข้าวเหนียวเพราะเป็นของแสลงจะทำให้แผลอักเสบ แผลเน่า แผลปูดนูน และหายช้า ปัจจุบันในทางการแพทย์ได้ยืนยันแล้วว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างได เนื่องจาก
- ไข่ เป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนจะช่วยให้แผลสมานตัวได้ไว สามารถรับประทานได้ 1-2 ฟองต่อวัน
- ข้าวเหนียว เป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานสูง จึงไม่มีผลต่อการทำให้แผลหายช้า อักเสบ หรือเน่าแต่อย่างใด
หากดูแลแผลผ่าคลอดได้ครบถ้วนแบบนี้แล้ว รับรองว่า แผลผ่าคลอดของคุณแม่ต้องสมานตัวดี หายไว ไม่ติดเชื้อ และไร้ภาวะแทรกซ้อน แน่ๆ
ว่าที่คุณแม่สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่ตรงใจ คุ้มค่ากับงบประมาณได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth โดยมีจิ๊บใจดี เสียงใสคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- NHS, Caesarean section (https://www.nhs.uk/conditions/caesarean-section/), 26 March 2021.
- MedlinePlus, Cesarean Section (https://medlineplus.gov/cesareansection.html), 26 March 2021.
- Hedwige Saint Louis, MD, MPH, FACOG, Cesarean Delivery (https://emedicine.medscape.com/article/263424-overview), 26 March 2021.
- Brian Krans, C-Section (Cesarean Section) (https://www.healthline.com/health/c-section), 26 March 2021.
- รศ.นพ.วิทยา ภิฐาพันธ์, จะคลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด ดีนะ? (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=430), 1 เมษายน 2564.