คาเฟอีนเป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เมื่อคาเฟอีนเข้าไปในร่างกาย มันจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพิ่มระดับพลังงาน และทำให้อารมณ์ดีขึ้น ทั้งนี้คาเฟอีนเป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว และมีหลายคนที่เห็นผลภายในไม่กี่นาที ซึ่งคาเฟอีนจะยังคงออกฤทธิ์จนกว่าร่างกายจะเผาผลาญจนหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันออกไป คนที่กำลังตั้งท้องหรือนอนหลับได้ยากควรระวังเกี่ยวกับช่วงเวลาทานคาเฟอีน และอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
ร่างกายใช้เวลาเผาผลาญคาเฟอีนนานเท่าไร?
คาเฟอีนมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 5 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น คนที่ทานคาเฟอีน 40 มิลลิกรัม จะมีคาเฟอีนตกค้างในร่างกายประมาณ 20 กรัม หลังจากผ่านไป 5 ชั่วโมง
ฤทธิ์ของคาเฟอีนจะสูงสุดเมื่อใด?
ระดับของคาเฟอีนจะมีค่าสูงสุดในเลือดภายใน 15-45 นาที ซึ่งมันจะถูกเผาผลาญโดยตับอย่างรวดเร็ว คนส่วนมากสังเกตได้ถึงฤทธิ์ที่รุนแรงที่สุดในระหว่างนี้ และมีหลายคนรายงานว่าตัวเองรู้สึกกระสับกระส่าย ปวดปัสสาวะ และมีพลังงานแบบฉับพลัน แต่อาการเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะหายไปเมื่อคาเฟอีนเริ่มหมดฤทธิ์
ร่างกายของเราสามารถต้านทานคาเฟอีนได้หรือไม่?
เมื่อร่างกายเริ่มต้านทานฤทธิ์ของคาเฟอีน คนที่ทานคาเฟอีนเป็นประจำอาจแทบไม่ทันสังเกตเห็นถึงผลกระทบ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีความไวต่อคาเฟอีน ผลของคาเฟอีนอาจคงอยู่นานเป็นชั่วโมง หรือจนกว่าจะถึงวันถัดไป
คาเฟอีนออกฤทธิ์นานเท่าไร?
ระยะเวลาที่คาเฟอีนออกฤทธิ์นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณที่ทาน และปัจจัยส่วนตัว ซึ่งประกอบไปด้วยอายุ น้ำหนักตัว และความไวต่อสิ่งกระตุ้นที่มีต่อคาเฟอีนของแต่ละคน
อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
นอกจากคุณจะพบคาเฟอีนได้ในกาแฟแล้ว คุณยังพบมันได้ในชาดำ ชาเขียว ชาขาว น้ำอัดลม เครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน ช็อกโกแลต โปรตีนบาร์ เครื่องดื่มที่ทานก่อนออกกำลังกาย ยาลดน้ำหนัก ยาแก้ปวดหัว ฯลฯ
คาเฟอีนกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มักได้รับการตักเตือนว่าไม่ควรทานคาเฟอีน เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งต่อตัวแม่และเด็ก ซึ่งความเสี่ยงจะลดลงหลังจากที่คลอดลูก แต่มันก็สามารถส่งผลต่อเด็กที่กินนมแม่ ทั้งนี้คาเฟอีนเพียงแค่เล็กน้อยก็สามารถส่งผ่านไปยังน้ำนม ดังนั้นคุณแม่ควรจำกัดการทานคาเฟอีนก่อนให้นมลูก เด็กส่วนมากที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน สามารถทนต่อคาเฟอีนปริมาณเล็กน้อยได้ ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่ให้นมลูกที่ดื่มคาเฟอีนเป็นประจำไม่ได้ส่งผล หรือส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อรูปแบบการนอนของทารก และเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนปริมาณมากสามารถทำให้ทารกจู้จี้และขี้โมโหง่าย อีกทั้งยังทำให้รูปแบบการนอนของทารกผิดปกติ และทำให้เกิดผลกระทบทางลบอื่นๆ ซึ่งระยะห่างของการทานคาเฟอีนและให้นมลูกที่เหมาะสมคือ 1-2 ชั่วโมง
คาเฟอีนส่งผลต่อการนอนอย่างไร?
ผลของคาเฟอีนในภาพรวมสามารถคงอยู่ตลอดวัน ซึ่งมันจะทำให้คุณภาพการนอนลดลง และแม้แต่ไปรบกวนรูปแบบของการนอน โดยขึ้นอยู่กับความไวของแต่ละคนและปริมาณที่ทาน ทั้งนี้ปริมาณของคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมาก คือ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน และการทานมากกว่านี้สามารถทำให้มีปัญหากับการนอน
สิ่งที่ควรทำเมื่อคาเฟอีนรบกวนการนอน?
หากการทานคาเฟอีนทำให้นอนไม่หลับ คุณก็ควรลดปริมาณที่ทานจนกว่าจะเจอปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้การผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น การฝึกโยคะ หรือการฝึกลมหายใจ ก็อาจช่วยให้คุณนอนหลับ ทั้งนี้การเข้านอนและตื่นนอนให้ได้เวลาเดิมทุกวันจะช่วยให้ร่างกายควบคุมการนอนของตัวเองได้
ผลข้างเคียงจากการทานคาเฟอีน
อาการข้างเคียงที่เกิดจากการเลิกทานคาเฟอีน
ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน ขาดสมาธิ ปวดศีรษะ ไมเกรน ฯลฯ อย่างไรก็ดี อาการเหล่านี้อาจหายไปเมื่อเรากลับมาทานคาเฟอีนอีกครั้ง หากตัดสินใจเลิกทานคาเฟอีน
แม้ว่า การทานอาหารที่มีคาเฟอีนจะมีประโยชน์ตรงที่มันช่วยให้เราตาสว่าง และกะปรี้กะเปร่า แต่หากทานมากเกินไป มันก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจำกัดการทานอาหารที่มีคาเฟอีนให้เหมาะสม
เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ
บทความแนะนำ
- ถอนฟันกรามผุ ฟันจะล้มไหม อันตรายหรือไม่
- แจกอาหารเด็กก่อนวัยเรียน (3-5 ปี) โดยนักโภชนาการ
- ต่อเล็บ PVC: ดีไหม อยู่ได้กี่วัน รวมคำถามคาใจ
- เชื้อ Pseudomonas aeruginosa: มาจากไหน รักษาอย่างไร
- เจ็บกล้ามเนื้อหลังเวทเทรนนิ่ง แก้ปัญหาอย่างไร
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- How long does alcohol stay in your blood?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/lifestyle/how-long-does-alcohol-stay-in-your-blood/)
- How Long Does Alcohol Stay in Your System? We Asked an Expert. Health.com. (https://www.health.com/mind-body/how-long-does-alcohol-stay-in-your-system)
- How long does alcohol stay in your system?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319942)