13 รายการตรวจ ที่คุณอาจได้รับจากโปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไป


โปรแกรมตรวจสุขภาพ ตรวจอะไรบ้าง?

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพส่วนใหญ่มักเริ่มด้วยการซักประวัติ วัดชีพจร วัดความดัน ดูค่าดัชนีมวลกาย และตรวจเบื้องต้นโดยแพทย์ โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ประกอบคำวินิจฉัยหรือคำแนะนำต่างๆ ได้ 
  • หลังจากนั้นจะต่อด้วยการเจาะเลือดเข้าตรวจในห้องปฎิบัติการ ซึ่งจะบอกได้ทั้งระดับไขมัน ระดับน้ำตาล การทำงานของตับ ไต ซึ่งการเจาะเลือดถือเป็นหัวใจสำคัญของการตรวจสุขภาพ
  • ค่าต่างๆ ที่ได้จากการตรวจหลายรายการนี้ จะช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันได้ รวมถึงอาจช่วยให้แพทย์กำหนดได้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป
  • ดูแพ็กเกจและรายการตรวจสุขภาพต่างๆ ได้ที่ HDmall.co.th หรือให้แอดมินช่วยหาและจองคิวกับโรงพยาบาลให้ ทักไลน์ @hdcoth

รวม 13 รายการตรวจสุขภาพพื้นฐานยอดนิยม ที่โปรแกรมตรวจสุขภาพต่างๆ มักมีให้บริการ

หลายคนจะได้ยินอยู่เสมอๆ ว่า “อย่าลืมไปตรวจสุขภาพกันด้วยนะ” จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า การตรวจสุขภาพนี่มันตรวจอะไรกันบ้าง วันนี้ HD จะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันด้วย 13 รายการตรวจสุขภาพพื้นฐาน ที่โปรแกรมตรวจสุขภาพต่างๆ มักจะตรวจให้มาฝากกัน

1. ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination)

การตรวจสุขภาพทั่วไป คือ การซักประวัติคนไข้ ว่าเป็นหวัดบ่อยไหม มีอาการผิดปกติอะไรบ้าง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติไหม สูบบุหรี่กินเหล้าหรือเปล่า

พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั่นเอง ในช่วงนี้สามารถซักถามพูดคุยกับแพทย์เบื้องต้นได้ตามต้องการ

2. วัดความดันโลหิตและชีพจร (Vital Signs)

เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความแรงของการสูบฉีดเลือด เพื่อดูว่าการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอหรือไม่ โดยอัตราการเต้นปกติของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 70-90 ครั้งต่อนาที

3. การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการวัดค่าดัชนีมวลกายเป็นอย่างดี เพราะมันคือค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เหมาะสมของตัวเรา โดยจะคิดจากน้ำหนักและส่วนสูงของเราเอง หากมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่ามาตฐาน อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายหลายโรคได้

4. ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ (Dental Examination)

เป็นการตรวจความผิดปกติทั่วๆ ไปในช่องปาก เช่น ฟันโยก ฟันพุ และตรวจเช็กการก่อตัวของคราบหินปูน ในช่วงนี้หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับช่องปาก สามารถแจ้งกับทันตแพทย์ได้ทันที

อ่านเพิ่มเติม: ถอนฟัน กับข้อควรรู้ที่หลายคนสงสัย

อ่านเพิ่มเติม: รวมข้อมูลรักษารากฟัน

5. ตรวจวัดสายตา (Auto-refraction)

โดยส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ยิงแสงอินฟราเรดเข้าสู่ดวงตา เพื่อสะท้อนกลับมาเป็นค่าสายตาของแต่ละคน เครื่องนี้จะคล้ายกับเครื่องตามร้านแว่นซึ่งสามารถบอกได้ทั้งสายตาสั้นและยาว

6. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)

เม็ดเลือดแดงมีความสำคัญต่อการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงเม็ดเลือดขาวก็มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจึงมีผลต่อร่างกายโดยรวมด้วย

7. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar)

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายๆ คนกลัว เพราะจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา (Hemoglobin A1c)

หากกินของหวานเยอะ เข้าคาเฟ่บ่อย และไม่ค่อยออกกำลังกาย น้ำตาลก็จะไปเกาะตามเม็ดเลือด ทำให้มีระดับน้ำตาลสูง โดยปริมาณปกติสำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวานควรจะอยู่ที่ 5.7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น

8. ตรวจไขมันในเลือด(Cholesterol)

ไขมันในเลือดที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

  • ไขมันดี (HDL) เป็นไขมันที่คอยกำจัดไขมัน LDL ซึ่งเป็นอันตรายออกจากร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลในกระแสเลือด ไม่ให้ไขมันสะสมมากไป
  • ไขมันไม่ดี (LDL) เป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกาย มันจะคอยไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง
  • ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่สะสมตามเนื้เยื่อไขมันต่างๆ ในร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้อ้วนขึ้นอีกด้วย หากมีปริมาณมากเกินไปจะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

9. ตรวจการทำงานของไต (Creatinine, Bun)

ไตเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดของร่างกาย เพราะในหนึ่งวันต้องกรองของเสียในเลือดมากกว่า 180 ลิตร ออกไปทางปัสสาวะ

ดังนั้นการตรวจการทำงานของไต จึงทำได้โดยการวัดระดับ Creatinine ในเลือด ซึ่งเป็นของเสียที่ไตจะต้องขับทิ้ง หากมีปริมาณ Creatinine สูง อาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีของโรคไตก็ได้นะ

10. ตรวจการทำงานของตับ (SGPT, SGOT)

ตับมีหน้าที่คล้ายกับไส้กรองของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสารพิษ เชื้อโรค ที่เรากินเข้าไป ตับจะทำหน้าที่กรองสิ่งเหล่านั้นแล้วใช้เอ็นไซม์กำจัดสารพิษทิ้ง

ซึ่งการตรวจระดับเอ็นไซม์ในตับ (ALT) ก็สามารถบอกสภาพของตับได้ว่ายังสบายดีอยู่ไหม หากพบสัญญาณที่อันตรายต่อตับ จะได้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทัน

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจตับ อาจจับสัญญาณอันตรายได้ตั้งแต่ต้น!

11. ตรวจหาระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid)

การตรวจหากรดยูริคในเลือดจะช่วยให้เราควบคุมพฤติกรรมการกินได้ เพราะกรดยูริคส่วนหนึ่งมาจากอาหารการกิน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารและยาบางชนิด เป็นต้น

หากมีกรดยูริคสูงเกินไป อาจมีผลทำให้กรดยูริคไปจับตัวกับโซเดียมในเลือดจนเกิดเป็นเกลือยูเรต (Monosodium urate) ซึ่งเกลือยูเรตอาจไปสะสมตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมาได้

12. ตรวจเอกซเรย์ปอดหัวใจ (Chest X-ray)

การเอกซเรย์ปอดและหัวใจสามารถทำได้พร้อมกัน เพื่อตรวจหาอาการผิดปกติ เช่น น้ำท่วมปอด ปอดแฟบ หัวใจผิดรูป เป็นต้น

13. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)

การเต้นของหัวใจถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าภายใน ดังนั้นเราเราจึงสามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูการเต้นของหัวใจได้

หากตรวจพบว่ามีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ อาจนำมาพยากรณ์โรคหรืออาการเสี่ยงอื่นๆ ได้ เช่น ความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือด เป็นต้น

ถ้าคุณเริ่มสนใจปรแกรมตรวจสุขภาพแล้วล่ะก็ ดูแพ็กเกจและรายการตรวจสุขภาพต่างๆ ได้ที่ HDmall.co.th หรือให้แอดมินช่วยหาและจองคิวกับโรงพยาบาลให้ ทักไลน์ @hdcoth


บทความที่เกี่ยวข้อง 

@‌hdcoth line chat