HDcare สรุปให้
ปิด
ปิด
- ต่อมทอนซิล คือ ต่อมน้ำเหลืองรูปวงรีอยู่ในลำคอทั้งสองข้าง ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรค ส่วนต่อมอะดีนอยด์ คือ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ด้านหลังโพรงจมูก ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและผลิตเซลล์ สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์อักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ติดต่อกันผ่านทางเสมหะ ไอ จาม หรือน้ำมูก
- อาการของต่อมทอนซิลอักเสบ มีไข้ เจ็บคอ กลืนลำบาก หรือนอนกรน ส่วนอาการของต่อมอะดีนอยด์อักเสบ มีไข้ น้ำมูก คัดจมูก หรือนอนกรน หูอื้อ หรือหูชั้นกลางอักเสบ
- อาการที่ควรผ่าตัดต่อมทอนซิลคือ คนไข้ที่มีต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยเกิน 6 ครั้ง/ปี หรือเกิน 3 ครั้ง/ปี นาน 2 ปีขึ้นไป มีกลิ่นปาก เจ็บคอบ่อย มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ป่วยเคยมีฝีที่ต่อมทอนซิล
- อาการที่ควรผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์คือ คนไข้ที่มีหนอง เจ็บคอบ่อย หูชั้นกลางอักเสบบ่อย นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา
- ดูรายละเอียด ผ่าตัดต่อมทอนซิล/อะดีนอยด์ บริการจาก HDcare
- สอบถามรายละเอียด ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดต่อมทอนซิล/อะดีนอยด์ที่ไลน์ @HDcare
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ มีส่วนสำคัญในการดักจับเชื้อโรคที่เข้าทางช่องปากและลำคอ โรคที่เกิดจากสองต่อมนี้ ถ้าอักเสบหรือมีปัญหา การรักษาสามารถผ่าตัดเอาออกได้พร้อมกันทั้ง 2 ต่อมในครั้งเดียว
นายแพทย์สุเมธ เฟื่องกำลูน หรือหมอกั๊วะ แพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก หนึ่งในทีมแพทย์ จากบริการของ HDcare จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์อย่างละเอียด
อ่านประวัติของหมอกั๊วะได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอกั๊วะ” แพทย์เฉพาะทางด้าน หู คอ จมูก]
ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:
ปิด
ปิด
- เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
- เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
- เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
- ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ ทำหน้าที่อะไร
- โรคที่มีโอกาสเกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์อักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร
- อาการของต่อมทอนซิลอักเสบและต่อมอะดีนอยด์อักเสบ
- อาการแบบไหนที่ควรผ่าตัดต่อมทอนซิล
- อาการแบบไหนที่ควรผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
- การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันไห
- ผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์กี่วิธี
- การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- การดูแลหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- ผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ กับ นพ. สุเมธ เฟื่องกำลูน ด้วยบริการจาก HDcare
- บทความที่แนะนำ
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ ทำหน้าที่อะไร?
ต่อมทอนซิล คือ ต่อมน้ำเหลืองมีลักษณะเป็นรูปวงรี อยู่ในลำคอทั้งสองข้าง ข้างละ 1 ต่อม ทำหน้าที่ดักจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาในช่องปากและลำคอ
ต่อมอะดีนอยด์ คือ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ด้านหลังโพรงจมูกทั้ง 2 ต่อม ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค และผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนบนมีบทบาทมากในช่วงวัยเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
โรคที่มีโอกาสเกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
โรคที่มีโอกาสเกิดจากต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์คือ การอักเสบติดเชื้อทำให้ต่อมทั้งสองโต และสร้างปัญหาอาจจะมีเรื่องของเจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก หรือนอนกรน
ส่วนโรคร้ายแรงที่อาจเกิด เช่น ก้อนมะเร็ง หรือเนื้อร้าย จึงต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งหรือไม่
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์อักเสบเกิดจากสาเหตุใด?
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์อักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและบางส่วนติดเชื้อจากแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคสามารถแพร่ติดต่อกันผ่านทางเสมหะ ไอ จาม หรือน้ำมูก
อาการของต่อมทอนซิลอักเสบและต่อมอะดีนอยด์อักเสบ
อาการของต่อมทอนซิลอักเสบ มักจะมีไข้ เจ็บคอ กลืนลำบาก นอนกรน เนื่องจากว่าต่อมทอนซิลที่โต ไปขวางช่องทางเดินหายใจ ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง หากตรวจพบว่าต่อมทอนซิลบวมแดง อาจมีหนองร่วมด้วย บางรายมีต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่คอ
ส่วนอาการของต่อมอะดีนอยด์อักเสบ มักจะมีอาการไข้ มีน้ำมูก คัดจมูก หรือนอนกรน เนื่องจากต่อมอะดีนอยด์อักเสบที่โตไปขวางช่องทางเดินหายใจ ทำให้ช่องแคบลง บางรายอาจจะมีหูอื้อ หรือหูชั้นกลางอักเสบได้
การตรวจต่อมทอนซิลอักเสบ จะมีการตรวจในลำคอ โดยใช้ไฟส่องเพื่อตรวจดูว่ามีอาการบวมแดงหรือไม่ ส่วนต่อมอะดีนอยด์สำหรับผู้ใหญ่ แพทย์จะส่องกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อโลหะขนาดเล็กส่องเข้าไปบริเวณจมูก เพื่อตรวจหลังโพรงจมูกดูว่าต่อมโตหรือบวมแดงหรือไม่
ส่วนในเด็กเนื่องจากมีอุปสรรคของการให้ความร่วมมือในการส่องกล้อง แพทย์จะใช้วิธีส่งคนไข้เอกซเรย์เพื่อตรวจต่อมอะดีนอยด์
อาการแบบไหนที่ควรผ่าตัดต่อมทอนซิล?
อาการที่แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดต่อมทอนซิลคือ ต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยเกิน 6 ครั้ง/ปี หรือเกิน 3 ครั้ง/ปี นาน 2 ปีขึ้นไป ร่วมกับมีกลิ่นปาก เจ็บคอบ่อย มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่คอร่วมด้วย มีต่อมทอนซิลอักเสบ ร่วมกับนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ป่วยเคยมีฝีที่ต่อมทอนซิล
อาการแบบไหนที่ควรผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์?
อาการที่แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ คือ คนไข้ที่มีหนอง เจ็บคอบ่อย ต่อมอะดีนอยด์โตร่วมกับมีหูชั้นกลางอักเสบบ่อย ต่อมอะดีนอยด์โตร่วมกับนอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ
การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันไหม?
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคโดยมีบทบาทในวัยเด็ก เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่บทบาทของทั้งสองต่อมก็จะลดลง ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าผู้ใหญ่ป่วยเป็นต่อมทอนซิลอักเสบลดลง
ขณะที่ต่อมอะดีนอยด์มีบทบาทสำคัญในเด็กช่วงอายุ 10 ปีแรก เด็กจึงป่วยเป็นโรคต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์อักเสบได้บ่อยกว่าวัยผู้ใหญ่ รวมถึงเด็กต้องไปโรงเรียน จึงมีกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ทำให้ติดหวัดกันไปมา จึงไปกระตุ้นต่อมทั้งสองให้อักเสบได้
การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง เนื่องจากว่าต่อมน้ำเหลืองในช่องคอยังมีอีกมากที่สามารถกำจัดเชื้อโรคแทนได้
ผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์กี่วิธี?
การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ เป็นการผ่าตัดทั่วไปที่ทำบ่อยใน สาขาหู คอ จมูก ซึ่งเป็นการผ่าตัดครั้งเดียว
การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ใช้วิธีการดมยาสลบและใส่ท่อช่วยหายใจ สามารถผ่าตัดทั้ง 2 ต่อมไปพร้อมกันได้ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดภายในช่องปาก แพทย์จะใส่เครื่องมือในช่องปาก ดังนั้นผู้ป่วยจะไม่มีแผลผ่าตัดภายนอก ระยะเวลาในการผ่าตัดจะอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง
สำหรับการผ่าตัดต่อมทอนซิล แพทย์จะใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องมือทั่วไปที่ใช้ในการผ่าตัด ส่วนการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์จะใช้เครื่องมือเฉพาะในการผ่าตัด ลักษณะเป็นแท่งสแตนเลสที่ใช้สอดเข้าไปภายในช่องปาก เพื่อผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- ก่อนผ่าตัดวิสัญญีแพทย์และพยาบาลให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและส่งคนไข้ตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัด เช่น ตรวจเลือด ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แนะนำให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ ควรทำในผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรงดี ไม่เป็นหวัดหรือติดเชื้อทางเดินหายใจ หากเป็นหวัดควรรอให้หายดีก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถทำการผ่าตัดได้
- ผู้ป่วยบางรายที่กินยาบางชนิด เช่น แอสไพริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรหยุดทานยา ก่อนผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์
- ผู้ป่วยควรงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 เดือน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ เช่น เลือดออกจากแผลผ่าตัดในคอ ซึ่งปกติเลือดจะออกน้อยและหยุดเองได้
สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ อาจมีเสียงขึ้นจมูก หรือดื่มน้ำแล้วสำลักขึ้นจมูกได้
การดูแลหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- หลังผ่าตัดผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 คืน หากรับประทานอาหารได้ดี และไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถกลับบ้านได้ ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นรวมประมาณ 7-10 วัน
- ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายปนเลือดออกมาบ้างเล็กน้อย มีอาการเจ็บคอ รู้สึกติดขัดในคอกลืนลำบาก จากแผลผ่าตัด ทำให้รับประทานอาหารไม่สะดวก
- ระหว่างนี้ควรงดการบ้วนเสมหะแรงๆ การล้วงคอ หรือการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป
- หลังผ่าตัด 1-2 วันแรก ผู้ป่วยยังเจ็บคอมาก แนะนำให้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำซุป หากอาการเจ็บคอ ลดลงสามารถทานโจ๊กหรือข้าวต้ม
- หลังผ่าตัด 2-3 วันแรกแผลผ่าตัดในช่องคออาจบวมมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่สะดวก ควรนอนยกศีรษะสูง อมน้ำเย็นบ่อยๆ เพื่อลดอาการบวม
- ควรทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ งดทานอาหารทอด อาหารแข็ง อาหารที่มีก้าง หรือกระดูก เพราะอาจทำให้มีเลือดออก จากช่องปากแผลในช่องปากได้
- งดกิจกรรมออกแรงมาก งดการเล่นกีฬาที่หักโหม หรือยกของหนักประมาณ 2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเพื่อป้องกัน การมีเลือดออกจากแผลผ่าตัดในช่องปาก
- แผลผ่าตัดที่ผนังคอทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นฝ้าขาว ซึ่งสามารถหายเองได้ภายใน 3 สัปดาห์
หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล แพทย์จะนัดติดตามเพื่อดูการผ่าตัดและฟังผลชิ้นเนื้อประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด หลังจากนั้นประมาณ 4 สัปดาห์ นัดเพื่อติดตามดูอาการอีกครั้ง
ผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ กับ นพ. สุเมธ เฟื่องกำลูน ด้วยบริการจาก HDcare
สําหรับคนที่มีปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบบ่อยเกิน 6 ครั้งต่อปี หรือเกิน 3 ครั้งต่อปี นาน 2 ปีขึ้นไป ร่วมกับมีกลิ่นปาก เจ็บคอบ่อย มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่คอร่วมด้วย นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ป่วยเคยมีฝีที่ต่อมทอนซิล
ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:
ปิด
ปิด
- เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
- เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
- เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
- ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่
รวมถึงผู้ที่ต่อมอะดีนอยด์โตร่วมกับมีหูชั้นกลางอักเสบบ่อย ต่อมอะดีนอยด์โตร่วมกับนอนกรน หรือหยุดหายใจขณะหลับ อยากปรึกษาเรื่องการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ สามารถทักสอบถามข้อมูลกับทาง HDcare ทางทีมจะประสานงานนัดหมายกับทางคุณหมอ เพื่อให้คนไข้เข้ารับการตรวจวินิจฉัย รวมถึงการให้คําแนะนําที่ถูกต้องในการรักษา
สอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัย กับทางทีมของHDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcare ได้เลย