HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- หากหลังใส่ตัวอ่อนไปแล้วมีปัญหาฝ้า กระ หรือผิวหมองคล้ำ อาจเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ เมื่อคลอดเด็กแล้ว รอยต่างๆ ก็มีโอกาสจางลงไปเองโดยไม่ต้องรักษา
- ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์มักจะมีอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย หากรู้สึกเหนื่อยก็สามารถนอนกลางวันเพื่อพักผ่อน และในช่วงกลางคืนก็ควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- หากหญิงตั้งครรภ์มีการดูแลสุขภาพอย่างครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์ โอกาสที่ทารกจะมีปัญหาด้านพัฒนาการหรือการเจริญเติบโตด้านร่างกายก็ย่อมน้อยลง
- บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsightได้รับการสปอนเซอร์จาก iBaby Fertility & Genetic Center
- ดูรายละเอียด โปรแกรมทั้งหมดจาก iBaby Fertility & Genetic Center บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- อยากให้ตัวอ่อนเติบโตอย่างมีคุณภาพ ควรดูแลโภชนาการอย่างไร?
- ใส่ตัวอ่อนแล้วออกกำลังกายได้หรือไม่?
- หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว ควรพักผ่อนอย่างไร?
- หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว เดินทางไกลหรือขับรถได้หรือไม่?
- หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว อยากไปเสริมสวยที่คลินิกความงาม สามารถทำได้หรือไม่?
- พฤติกรรมที่ควรระมัดระวังหลังใส่ตัวอ่อน
- อาการเจ็บป่วยที่ควรระมัดระวังหลังใส่ตัวอ่อน?
- ใส่ตัวอ่อนไปแล้ว ต้องกลับมาเจอแพทย์บ่อยๆ อีกหรือไม่?
- ดูแลตนเองเป็นอย่างดีหลังใส่ตัวอ่อน มีโอกาสที่ทารกจะเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมได้หรือไม่?
- ทำเด็กหลอดแก้ว ที่ iBaby Fertility & Genetic Center
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ทุกกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วล้วนเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนและต้องมีการดูแลสุขภาพอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการปฏิบัติตัวหลังย้ายตัวอ่อนเพื่อให้ผลลัพธ์จากทุกขั้นตอนนำไปสู่การตั้งครรภ์ทารกที่แข็งแรงได้
การดูแลตนเองหลังใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกเป็นอีกช่วงเวลาสำคัญที่ทั้งสามีและภรรยาจะต้องช่วยกันดูแลสุขภาพกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้ตัวอ่อนที่กำลังจะเติบโตเป็นทารกน้อยสามารถฝังตัวอยู่ในร่างกายมารดาได้อย่างแข็งแรง ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย หรือความผิดปกติแต่กำเนิด
โดย HDmall.co.th ร่วมกับ iBaby Fertility & Genetic Center คลินิกเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์
การเจริญพันธุ์และพันธุกรรม จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพหลังจากผู้เข้ารับบริการหญิงใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้คู่รักทุกคู่สามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
อยากให้ตัวอ่อนเติบโตอย่างมีคุณภาพ ควรดูแลโภชนาการอย่างไร?
ในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากใส่ตัวอ่อนและแพทย์ยืนยันการตั้งครรภ์แล้ว ตัวอ่อนจะมีแหล่งอาหารของตนเองซึ่งมีชื่อว่า “ถุงไข่แดง” เป็นอาหารที่เกิดจากกระบวนการธรรมชาติของตัวอ่อนเอง ถึงแม้ในช่วงนั้นมารดาจะไม่ได้กินอาหารหรือแพ้ท้องหนักจนกินอะไรไม่ได้ ตัวอ่อนก็จะยังมีถุงไข่แดงคอยหล่อเลี้ยงเป็นอาหารให้ตนเองอยู่
แต่หลังจากการตั้งครรภ์ผ่านไป 3 เดือน การผลิตถุงไข่แดงจะหยุดลง และตัวอ่อนจะหันมาพึ่งพาอาหารจากมารดา ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อการเลี้ยงตัวอ่อนเพียงรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างครบถ้วนไม่ให้ขาดก็เพียงพอแล้ว และหญิงตั้งครรภ์ทุกคนยังต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามช่วงอายุของตนเองกับช่วงอายุครรภ์ด้วย
สำหรับรายการวิตามินและแร่ธาตุเสริมอื่นๆ ที่คุณแม่ทุกคนควรจะรับให้เพียงพอ เพื่อเสริมความสมบูรณ์ของสุขภาพตนเองและตัวอ่อน มีดังต่อไปนี้
- ธาตุเหล็ก (Ferrous) มีส่วนช่วยผลิตปริมาณเม็ดเลือดแดงให้กับตัวอ่อน และยังช่วยเสริมปริมาณเลือดมารดาให้เพียงพอเพื่อเตรียมชดเชยการเสียเลือดระหว่างคลอดด้วย
- แคลเซียม เพื่อเสริมกระบวนการสร้างกระดูกของทารก และลดโอกาสเกิดตะคริวกับภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) ในระหว่างตั้งครรภ์ของมารดา สามารถรับประทานเป็นเม็ดแคลเซียมเสริม หรือรับประทานเป็นนมก็ได้
- วิตามินซี ช่วยลดโอกาสเลือดออกตามไรฟันของหญิงตั้งครรภ์
- กรดโฟลิกหรือโฟเลต ช่วยป้องกันโอกาสเกิดภาวะพิการที่กระดูกสันหลัง ช่องปาก หน้าท้อง รวมถึงโอกาสเกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทของทารก แต่ไม่จำเป็นต้องกินเยอะเกินไป แค่วันละ 1 เม็ดก็เพียงพอ
หญิงตั้งครรภ์บางท่านอาจได้รับคำแนะนำให้รับวิตามินหรือสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ เสริมอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามสุขภาพที่แพทย์จะเป็นผู้ประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง
ใส่ตัวอ่อนแล้วออกกำลังกายได้หรือไม่?
หญิงตั้งครรภ์รวมถึงผู้หญิงที่เพิ่งใส่ตัวอ่อนเข้าร่างกายได้ในช่วง 3 เดือนแรก ยังไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องออกแรง ทำให้เหนื่อย มีโอกาสล้มหรือเกิดอุบัติเหตุซึ่งเสี่ยงทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวอ่อน แต่หากต้องการออกกำลังกายหรือขยับร่างกายก็สามารถเดินช้าๆ ได้
อีกรูปแบบการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ในหญิงตั้งครรภ์คือ การว่ายน้ำ หรือการเล่นโยคะ แต่ทั้ง 2 อย่างควรอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถออกแบบท่าทาง ความถี่ ความหนักหน่วงในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมได้ โดยไม่กระทบต่อมดลูกและทารกในครรภ์
หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว ควรพักผ่อนอย่างไร?
หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว ผู้หญิงทุกคนที่เริ่มเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์มักจะมีอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่ายอยู่บ้าง หากรู้สึกเหนื่อยก็สามารถนอนกลางวันเพื่อพักผ่อนได้ และในช่วงกลางคืนก็ควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงร่วมด้วย
หญิงตั้งครรภ์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนอนน้อยเอาไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะสามารถผลส่งให้ตัวอ่อนเติบโตอย่างไม่สมบูรณ์ และสามารถนำไปสู่การแท้งหรือคลลอดก่อนกำหนดได้
หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว เดินทางไกลหรือขับรถได้หรือไม่?
ในช่วง 3 เดือนแรกหลังใส่ตัวอ่อน หากกิจวัตรการเดินทางไม่ได้ทำให้เครียด ขยับร่างกายเยอะ หรือต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างลำบาก ก็สามารถทำได้อยู่ตามปกติ
หลังใส่ตัวอ่อนไปแล้ว อยากไปเสริมสวยที่คลินิกความงาม สามารถทำได้หรือไม่?
สำหรับคุณแม่ที่ยังต้องการไปเสริมความงามที่คลินิกหรือโรงพยาบาล การเลเซอร์ทำหัตถการที่ใบหน้าก็ยังยังสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นการเสริมความงามที่ไม่ใช้สารหรือส่วนผสมของวิตามินเอ เพราะอาจทำให้ตัวอ่อนเกิดความผิดปกติได้
หากหลังใส่ตัวอ่อนไปแล้วมีปัญหาฝ้า กระ หรือผิวหมองคล้ำ ต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้อาจเกิดมาจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งเมื่อคลอดเด็กแล้ว รอยต่างๆ ก็มีโอกาสจางลงไปเองโดยไม่ต้องรักษา
แต่หากรู้สึกไม่มั่นใจในผิวของตนเองในระหว่างตั้งครรภ์ก็สามารถลองปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเบื้องต้นก่อนได้
พฤติกรรมที่ควรระมัดระวังหลังใส่ตัวอ่อน
นอกจากการหลีกเลี่ยงสารที่มีส่วนผสมของวิตามินเอแล้ว ยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรักษาอาการเจ็บป่วยบางอย่างที่อาจกระทบต่อสุขภาพของตัวอ่อนได้เช่นกัน และคู่รักทุกคู่จำเป็นจะต้องระวังได้แก่
- ความเครียด มักพบได้ในคู่รักแทบทุกคู่ที่มารับบริการทำเด็กหลอดแก้ว เนื่องมาจากความคาดหวังและความกังวลต่างๆ เกี่ยวกับการเติบโตของตัวอ่อน แต่ความเครียดที่ต่อเนื่องมีส่วนทำให้มดลูกบีบตัวมากเกินไปจนอาจทำให้ตัวอ่อนที่ใส่เข้าไปหลุดได้
- การดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ตัวอ่อนเติบโตมาเป็นเด็กพัฒนาการไม่ดี มีปัญหาด้านสมอง และยังทำให้เด็กตัวเล็กกว่าเกณฑ์ได้
- การดื่มชากาแฟ เพราะสารเคเฟอีนที่อยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้อาจไปส่งผลกระทบต่อพัฒนาการตัวอ่อนได้หากหญิงตั้งครรภ์เป็นผู้ที่ต้องดื่มชาหรือกาแฟเป็นประจำทุกวัน ให้ปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดก่อนกลับไปดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้
- กิจกรรมที่ต้องออกแรง โดยอาจไม่ใช่การออกกำลังกายเสมอไป แต่การเดินเยอะๆ เป็นเวลานาน การยกของหนัก การพักผ่อนน้อย ก็มีส่วนทำให้ร่างกายอ่อนล้าและเกิดความเครียดสะสมได้เอง จนนำไปสู่การแท้งบุตรได้เช่นกัน
- การมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจต้องดเว้นไปก่อนในระยะหนึ่งหลังใส่ตัวอ่อน เพราะอาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวมากกว่าเดิมจนตัวอ่อนหลุดหรือเกิดภาวะแท้งบุตรได้
- การรับประทานยาทุกชนิด หากมีโรคประจำตัวหรือเจ็บป่วยขึ้นมาหลังใส่ตัวอ่อนและได้รับการจ่ายยามาเพื่อบรรเทาอาการ อย่าเพิ่งกินยาในทันที แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลการทำเด็กหลอดแก้วหรือแพทย์ผู้ดูแลครรภ์เสียก่อน
- การทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับมดลูก หากจำเป็นต้องรับการรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยใดๆ ที่อาจส่งผลต่อมดลูกและตัวอ่อน ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับบริการ เช่น การทำฟัน การนวดทั้งที่ตัวและฝ่าเท้า การผ่าตัดที่บริเวณใกล้กับมดลูก เพราะการรักษาเหล่านี้สามารถนำไปสู่การบีบรัดตัวของมดลูกมากเกินควร และเพิ่มโอกาสแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้
อาการเจ็บป่วยที่ควรระมัดระวังหลังใส่ตัวอ่อน?
อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณอาจเคยเผชิญก่อนตั้งครรภ์สามารถนำไปสู่ภาวะแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ และควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้นมากที่สุด ได้แก่
- การติดเชื้อทุกชนิด เพราะเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสบางอย่างสามารถไปกระทบทำให้ทารกพิการได้ในภายหลัง ทางที่ดีหากจำเป็นต้องเดินทางไปในที่ที่คนเยอะๆ หรือพื้นที่สาธารณะ ให้สวมหน้ากากอนามัยเอาไว้เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
- อาการท้องเสีย แม้เป็นอาการที่แทบทุกคนต้องเคยเผชิญ แต่อาการท้องเสียในหญิงตั้งครรภ์มีผลทำให้มดลูกบีบตัวแรงขึ้น และอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ในภายหลัง วิธีป้องกันที่ทำได้คือ งดอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และรับประทานแต่อาหารที่สะอาดกับปรุงสุกอยู่เสมอเท่านั้น
- อาการท้องอืด เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในช่วงตั้งครรภ์ มักไม่ก่ออันตรายต่อตัวอ่อน แต่มักทำให้มารดารู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว ซึ่งวิธีแก้สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านการงดอาหารรสจัด และเปลี่ยนไปรับประทานอาหารย่อยง่ายๆ แทน
ใส่ตัวอ่อนไปแล้ว ต้องกลับมาเจอแพทย์บ่อยๆ อีกหรือไม่?
ถึงแม้จะใส่ตัวอ่อนสำเร็จและได้รับการยืนยันว่าตั้งครรภ์แล้ว แพทย์จะยังนัดหมายให้กลับมาตรวจเลือดดูความสมบูรณ์ของฮอร์โมนที่ช่วยประคองการตั้งครรภ์อยู่ หากตรวจพบระดับฮอร์โมนที่ยังไม่เหมาะสม ก็จะมีการปรับยาหรือฮอร์โมนเสริมสำหรับนำไปรับประทานเองที่บ้านต่อไป
จนเมื่ออายุครรภ์ครบ 6 สัปดาห์ แพทย์จะนัดหมายให้มาตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูพัฒนาการของตัวอ่อนที่เริ่มเติบโตเป็นทารกแล้ว โดยอาจนัดทุก 1-2 สัปดาห์ไปจนกว่าจะอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์หรือประมาณ 3 เดือน
หากในระหว่างนี้การตั้งครรภ์ปกติดี ไม่มีสัญญาณความผิดปกติใดๆ แพทย์จะเปลี่ยนเป็นนัดทุก 4 สัปดาห์จนกว่าจะใกล้คลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นนัดทุกๆ 1-2 สัปดาห์อีกครั้ง กระทั่งคลอดบุตร
ดูแลตนเองเป็นอย่างดีหลังใส่ตัวอ่อน มีโอกาสที่ทารกจะเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมได้หรือไม่?
หากหญิงตั้งครรภ์มีการดูแลสุขภาพอย่างครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์ โอกาสที่ทารกจะมีปัญหาด้านพัฒนาการหรือการเจริญเติบโตด้านร่างกายก็ย่อมน้อยลง
แต่ทั้งนี้ความสมบูรณ์ของสุขภาพทารกน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขด้านสุขภาพอื่นๆ ของทั้งบิดาและมารดาด้วย เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุเกิน 35 ขึ้นไป ซึ่งจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงทำให้ทารกเกิดกลุ่มความผิดปกติของโครโมโซมได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม และเป็นอีกปัญหาที่คู่รักหลายคู่เป็นกังวล
โดยแนวทางการป้องกันความผิดปกติของโครโมโซมทารก ในกรณีที่คู่รักใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้วในการตั้งครรภ์ แพทย์จะ “ตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน” ตั้งแต่ก่อนใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก
หากตัวอ่อนตัวไหนมีความผิดปกติ แพทย์จะเปลี่ยนไปเลือกตัวอ่อนตัวอื่นที่แข็งแรงและโครโมโซมครบถ้วนใส่เข้าโพรงมดลูกแทน และจะมีการเจาะเลือดตรวจโครโมโซมหรือที่เรียกว่า “ตรวจ NIPT” อีกเมื่อตั้งครรภ์ไปแล้ว เพื่อยืนยันความปกติสมบูรณ์ของโครโมโซมตัวอ่อนตัวนั้นอีกครั้ง
แต่ในคู่รักที่ไม่ได้ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก หรือตั้งครรภ์ผ่านวิธีธรรมชาติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจ NIPT ในช่วงอายุครรภ์ได้ 9-12 สัปดาห์ เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมทารก หากตรวจพบว่า ผิดปกติ แพทย์มักจะขอตรวจน้ำคร่ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลอีก ในช่วงอายุครรภ์ได้ 16-20 สัปดาห์
หากตรวจน้ำคร่ำแล้วยังพบว่า ตัวอ่อนผิดปกติทางโครโมโซมอยู่ แพทย์ก็อาจแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ในคู่รักคู่นั้น ซึ่งในส่วนของการตัดสินใจนี้จะมีการพูดคุยกันอย่างละเอียดอีกครั้งระหว่างผู้เข้ารับบริการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุด
จะเห็นได้ว่า ทั้งการดูแลตนเองหลังใส่ตัวอ่อนและการเดินทางมาพบแพทย์เพื่อตรวจความคืบหน้าของการตั้งครรภ์จัดเป็นกระบวนการที่ขาดจากกันไม่ได้ ผู้เข้ารับบริการจึงต้องวางแผนการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม จัดเวลามาพบแพทย์และดูแลตนเองควบคู่ไปพร้อมกัน ร่วมกับการรักษาสุขภาพจิตไม่ให้เครียดเกินไป เพื่อให้ลดโอกาสภาวะแท้งหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ทำเด็กหลอดแก้ว ที่ iBaby Fertility & Genetic Center
สร้างความฝันของการมีลูกให้เป็นจริงผ่านบริการทำเด็กหลอดแก้วที่ iBaby Fertility & Genetic Center หนึ่งในคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากแนวหน้าของประเทศไทย ที่มีผลงานการทำเด็กหลอดแก้วทั้งแบบ IVF และแบบการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ให้กับผู้เข้ารับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาแล้วหลายท่าน
ทุกกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วของ iBaby Fertility & Genetic Center มีความละเอียดและมีการเฝ้าติดตามผลลัพธ์ของทุกขั้นตอนผ่านทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก พยาบาล เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนผู้มากประสบการณ์
บุคลากรทุกท่านที่ iBaby Fertility & Genetic Center ไม่หวั่นต่อทุกอุปสรรค หรือเงื่อนไขด้านสุขภาพที่อาจเป็นตัวแปรทำให้การตั้งครรภ์ไม่เกิดขึ้น ผ่านความชำนาญในการรักษาควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่ทันสมัย
iBaby Fertility & Genetic Center พร้อมต้อนรับผู้เข้ารับบริการทุกท่านในบรรยากาศแบบครอบครัว มีการบริการและเอาใจใส่ดูแลตัวอ่อนทุกตัวเสมือนลูกน้อยแท้ๆ ของบุคลากรทุกคน คุณจึงเชื่อมั่นได้ว่า ตัวอ่อนทุกตัวที่เกิดจากความชำนาญของทีมแพทย์จาก iBaby Fertility & Genetic Center จะได้รับการดูแลเก็บรักษาในห้องปฏิบัติการที่สะอาด ทันสมัย และปลอดภัยอย่างแน่นอน
ไม่ว่าคุณจะเคยได้ยินโอกาสการตั้งครรภ์ของตนเองที่น้อยริบหรี่มาจากไหน ทาง HDmall.co.th ขอแนะนำให้ลองปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ iBaby Fertility & Genetic Center แล้วคุณอาจได้มองเห็นปลายทางของการมีลูกน้อยที่มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ซื้อแพ็กเกจทำเด็กหลอดแก้วผ่านวิธีการทำ IVF หรือการทำ ICSI ได้ที่เว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth