จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ครบทุกข้อมูลที่ควรรู้


จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ครบทุกข้อมูลที่ควรรู้

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร เรียกได้สั้นๆ ว่า “จัดร่วมผ่า” คือ การแก้ปัญหาโครงสร้างของฟันที่ทำให้เกิดความผิดปกติบริเวณใบหน้าและกระดูกขากรรไกร ด้วยการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรและการจัดฟันร่วมกันทั้ง 2 วิธี เพื่อแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน
  • การผ่าตัดขากรรไกรที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่เพียงขากรรไกรส่วนบนหรือส่วนล่างเท่านั้น แต่อาจเป็นการผ่าตัดทั้ง 2 ส่วน (Two Jaws Surgery) เพื่อแก้ปัญหาความซับซ้อนของฟันที่ผิดปกติ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยหลังจากตรวจโครงสร้างฟันแล้ว
  • การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ จัดฟันก่อน แล้วจึงผ่าตัด (Orthodontic-First Approach: OFA) และผ่าตัดก่อน แล้วจึงจัดฟัน (Surgery-First Approach: SFA) ทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกรูปแบบการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดให้กับผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านตามความเหมาะสม รวมถึงพิจารณาจากลักษณะความผิดปกติของกระดูกฟันทั้งหมด
  • คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 อาจพิจารณาผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาซับซ้อน ฟันยื่นมาก หรือผู้มีปัญหาคางยื่น และควรจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ร่วมกับทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อวางแผนการรักษาที่ครอบคลุมและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดกับทุกคน
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจ


แม้การจัดฟันจะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของใครหลายคนให้ดีขึ้นได้ แต่ในกลุ่มคนที่มีปัญหาโครงสร้างกระดูกและฟันค่อนข้างซับซ้อน การจัดฟันเพียงอย่างเดียวอาจแก้ปัญหาได้ไม่หมดเสมอไป จึงทำให้ทันตแพทย์หลายท่านแนะนำให้ทำการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร เพื่อปรับเปลี่ยนความผิดปกติของฟันตั้งแต่โครงสร้าง

เชื่อว่าหลายคนน่าจะไม่คุ้นเคยกับวิธีรักษาโครงสร้างและการจัดเรียงของฟันผ่านการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดมากนัก ทาง HDmall.co.th ร่วมกับคลินิกฟันยิ้ม ราม 2 จะมาเรียบเรียงข้อมูลที่น่าสนใจและคุณควรรู้เกี่ยวกับการจัดฟันร่วมกับผ่าตัด ให้คุณได้คลายความสงสัยพร้อมๆ กัน

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรคืออะไร? แก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic surgery) หรือเรียกได้สั้นๆ ว่า “จัดร่วมผ่า” คือ การแก้ปัญหาโครงสร้างของฟันที่ทำให้เกิดความผิดปกติบริเวณใบหน้าและกระดูกขากรรไกร ด้วยการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรและการจัดฟันร่วมกันทั้ง 2 วิธี เพื่อแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น

  • เคี้ยว/กลืนอาหารลำบาก
  • พูดและออกเสียงได้ไม่ชัด
  • นอนกรน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
  • อาการปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Disorders: TMDs) ทำให้มีอาการปวดบริเวณหน้าหู ในหู กกหู ขมับ หรือศีรษะ และยังอาจมีอาการขากรรไกรค้าง อ้าปากกับหุบปากได้อย่างจำกัดพร้อมกับความรู้สึกเจ็บ

การผ่าตัดขากรรไกรที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่เพียงขากรรไกรส่วนบนหรือส่วนล่างเท่านั้น แต่อาจเป็นการผ่าตัดทั้ง 2 ส่วน (Two Jaws Surgery) เพื่อแก้ปัญหาความซับซ้อนของฟันที่ผิดปกติ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยหลังจากตรวจโครงสร้างฟันเรียบร้อยแล้ว

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ช่วยเสริมความงามได้หรือไม่?

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถเสริมความสวยงามและแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงหน้าของผู้เข้ารับบริการได้หลายส่วน โดยอาจผ่าตัดกระดูกขากรรไกรไปพร้อมๆ กับอวัยวะข้างเคียง เช่น จมูก โหนกแก้ม คาง ปาก กราม ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างใบหน้าในบางรูปแบบได้ เช่น

  • คางยื่น
  • คางเล็ก
  • ปากอูม
  • ฟันบนคร่อมฟันล่างมาก
  • ใบหน้าไม่สมมาตร
  • ยิ้มเห็นเหงือกมาก
  • ปิดปากได้ไม่สนิท

จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ต้องจัดฟันก่อนหรือผ่าตัดก่อน?

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. จัดฟันก่อน แล้วจึงผ่าตัด (Orthodontic-First Approach: OFA)
  2. ผ่าตัดก่อน แล้วจึงจัดฟัน (Surgery-First Approach: SFA)

ทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกรูปแบบการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดให้กับผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านตามความเหมาะสม รวมถึงพิจารณาจากลักษณะความผิดปกติของกระดูกฟันทั้งหมด

ในอดีต ทันตแพทย์มักนิยมใช้การจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ปัญหาในส่วนของโครงสร้างฟันให้ได้มุมองศาที่ถูกต้อง เมื่อฟันเรียงตัวเข้าที่แล้ว ค่อยผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาในส่วนของกระดูกขากรรไกรบนหรือล่างอีกครั้ง

แต่ในปัจจุบัน การผ่าตัดขากรรไกรก่อนแล้วค่อยจัดฟันภายหลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเริ่มต้นแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะกระดูกขากรรไกรก่อน จากนั้นค่อยจัดฟันเพื่อแก้ในส่วนของโครงสร้างฟัน ซึ่งจะมีระยะเวลาในการจัดฟันที่สั้นลง

นอกจากนี้ในทางทฤษฎีเชื่อว่า การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้การเคลื่อนที่ของฟันมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น เทียบกับการจัดฟันก่อนผ่าตัด ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาในการจัดฟันอยู่ที่ 1-4 ปี แต่หากเป็นการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน ระยะเวลาจะอยู่ที่ 6 เดือนถึง 1 ปีเท่านั้น

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถจัดฟันได้ทุกรูปแบบใช่หรือไม่?

โดยปกติอุปกรณ์ที่ใช้จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรจะสามารถจัดได้ทุกรูปแบบ ทั้งแบบโลหะ แบบเซรามิก หรือแบบใส ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำประเภทของอุปกรณ์จัดฟันที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการที่สุด

แต่หากผู้เข้ารับบริการมีประเภทของอุปกรณ์จัดฟันที่ต้องการอยู่แล้ว สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอให้พิจารณาใช้วัสดุอุปกรณ์จัดฟันแบบที่ตนเองต้องการก่อนได้

ผู้ที่ไม่สามารถจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรได้

ผ่าตัดขากรรไกร อายุเท่าไหร่ ผู้เข้ารับบริการจะต้องโตเต็มที่เพื่อให้กระดูกและฟันหลังจากรักษาไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก โดยผู้หญิงควรอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 14-16 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 17-21 ปี

หรือผู้ที่มีเงื่อนไขด้านสุขภาพหรือโรคประจำตัวที่อาจต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อนอย่างละเอียด หรือจำเป็นต้องเลื่อนแผนแก้ปัญหาโครงสร้างฟันด้วยวิธีนี้ออกไปก่อน ได้แก่

  • หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบัตร
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาชาหรือยาสลบ
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด และโรคความดันโลหิต
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
  • ผู้ที่กำลังเป็นโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์อักเสบ ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ

ขั้นตอนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรทั้งหมดเป็นอย่างไร?

กระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างฟันและกระดูกขากรรไกรผ่านการจัดฟันร่วมกับผ่าตัด โดยหลักๆ ได้แก่

  1. ผู้เข้ารับบริการพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟัน และตรวจดูโครงสร้างฟันกับกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติ
  2. ทันตแพทย์ถ่ายภาพลักษณะฟัน ระนาบของกระดูกขากรรไกร ถ่ายภาพรังสีหรือเอกซเรย์ดูการเรียงตัวของฟัน และทำแบบจำลองการสบฟัน เพื่อตรวจดูการเชื่อมต่อระหว่างกันของฟันและกระดูกขากรรไกรอย่างละเอียด
  3. ทันตแพทย์วางแผนการรักษาร่วมกับผู้เข้ารับบริการ เพื่อเลือกระหว่างวิธีจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หรือวิธีผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน พร้อมทั้งประเมินฟันซี่ที่อาจต้องถอนออก ระยะเวลาในการจัดฟัน ช่วงเวลาที่คาดว่าจะรับการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัด รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับการรักษา
  4. ในกรณีที่ต้องผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน แพทย์จะวางแผนการผ่าตัดอย่างละเอียดกับผู้เข้ารับบริการ รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อทดลองผ่าตัด และนัดหมายวันผ่าตัดกับผู้เข้ารับบริการ
  5. ในกรณีต้องจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร กระบวนการต่อไปจะเหมือนกับการจัดฟันทุกอย่าง คือเลือกวัสดุของอุปกรณ์จัดฟัน พิมพ์ฟันเพื่อใช้เป็นแม่แบบในการออกแบบอุปกรณ์จัดฟันเฉพาะบุคคล และนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการเดินทางมาใส่อุปกรณ์จัดฟันกับทันตแพทย์ในภายหลัง
  6. สำหรับผู้ที่ผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน หลังจากผู้เข้ารับบริการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะเว้นช่วงเวลาในรการพักฟื้นแผลประมาณ 4-6 สัปดาห์ จากนั้นค่อยนัดหมายมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกขากรรไกร รวมถึงเพื่อพิมพ์ฟันสำหรับออกแบบอุปกรณ์จัดฟัน
  7. สำหรับผู้ที่จัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หลังจากผู้เข้ารับบริการจัดฟันครบตามระยะเวลาในแผนการรักษาแล้ว ทันตแพทย์ก็จะนัดหมายเข้ามาตรวจการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งฟัน เพื่อพิจารณาในการรับการผ่าตัดขากรรไกรต่อไป

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน

หากแพทย์พิจารณาให้ผู้เข้ารับบริการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน ทันตแพทย์จะถ่ายภาพและเอกซเรย์ฟันแบบ 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก่อนเริ่มกระบวนการทั้งหมด รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อใช้ในการจำลองการผ่าตัด และอาจให้ผู้เข้ารับบริการทำเฝือกสบฟัน (Occlusal splint) เพื่อใช้บรรเทาความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรหลังผ่าตัด และเพื่อลดการสบฟันที่ยังไม่เหมาะสมหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว

นอกจากนี้ผู้เข้ารับบริการยังต้องแจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว ยาประจำตัว วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรที่กำลังรับประทานอยู่ให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด

และเนื่องจากในหลายสถานพยาบาลจะมีการให้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังจากผ่าตัดประมาณ 1-2 คืน ผู้เข้ารับบริการควรพาญาติหรือคนสนิทมาด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างที่พักฟื้น เพราะในระหว่างนั้นอาจพูดหรือเคี้ยวอาหารไม่ถนัด

การเตรียมตัวก่อนจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร

หากแพทย์พิจารณาให้ผู้เข้ารับบริการจัดฟันก่อนผ่าตัด ลำดับต่อไปก็จะเข้าสู่กระบวนการวางแผนการจัดฟัน ซึ่งจะมีทั้งการกำหนดระยะเวลา การเลือกชนิดของอุปกรณ์จัดฟัน ความถี่ในการมาเปลี่ยนอุปกรณ์จัดฟันแต่ละชุด

ทันตแพทย์จะถ่ายภาพฟันและอาจรวมถึงเอกซเรย์ฟันแบบ 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เก็บไว้ก่อน จากนั้นจึงพิมฟันเพื่อนำส่งไปออกแบบอุปกรณ์จัดฟันต่อไป

หลังจากนั้นผู้เข้ารับบริการก็จะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด และต้องเดินทางมาตรวจเช็กการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งฟัน พร้อมกับรับอุปกรณ์จัดฟันชุดใหม่ตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย

เมื่อการจัดฟันผ่านไประยะหนึ่งแล้ว โครงสร้างใบหน้าของผู้เข้ารับบริการอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงชั่วคราว เช่น ฟันยื่นหรือปากอูมมากว่าเดิม เนื่องจากเป็นการจัดฟันเพื่อให้ฟันเรียงตัวพร้อมสำหรับการผ่าตัด และยังไม่ใช่กระบวนการสุดท้ายของการรักษา

หลังจากนั้นเมื่อจัดฟันครบตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์กำหนด และตำแหน่งฟันมีความพร้อมเหมาะสมต่อการผ่าตัด ทันตแพทย์จะนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการมารับการผ่าตัดขากรรไก หลังจากนั้นโครงสร้างใบหน้าก็จะได้รับการแก้ไขให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร เจ็บหรือไม่? พักฟื้นนานไหม?

เนื่องจากเป็นการทำหัตถการผ่าตัด ผู้เข้ารับบริการจะมีอาการเจ็บและระบมแผลหลังจากผ่าตัดได้ แต่โดยปกติทันตแพทย์จะมีการฉีดยาชาและยาแก้ปวดให้กับผู้เข้ารับบริการทุกท่าน ซึ่งช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านี้ลงไปได้ในส่วนหนึ่ง

สำหรับระยะเวลาในการพักฟื้นหลังจากผ่าตัดขากรรไกรจะอยู่ที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ อาจสั้นหรือเร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะแผลผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่ทำไปพร้อมกับการผ่าตัดขากรรไกร

การดูแลตนเองหลังการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร

ในส่วนของการจัดฟัน ผู้เข้ารับบริการจะต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ ระมัดระวังอย่าให้ลืมเด็ดขาด เนื่องจากเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะไม่ทำให้แถวฟันหลังจากรักษาเสร็จแล้วกลับไปล้มหรือเอียงจนเสียหายอีก และผู้เข้ารับบริการยังต้องหมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเช่นเดิมในทุกๆ 6 เดือนอย่างให้ขาดด้วยเช่นกัน

ในส่วนของการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ผู้เข้ารับบริการต้องปฏิบัติตามคำแนะทำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้

  • บ้วนปากและแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากผ่าตัดให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มไปก่อน เพื่อไม่ให้แผลผ่าตัดเสียหายได้
  • รับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งจ่ายให้เพื่อบรรเทาอาการ
  • งดขากเสมหะหรือถุงน้ำลายแรงๆ
  • ห้ามแตะหรือเขี่ยแผลผ่าตัดเด็ดขาด เพื่อลดโอกาาสติดเชื้อจากสิ่งสกปรก
  • รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
  • งดการเคี้ยวอาหารใดๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากผ่าตัด โดยในช่วงเดือนที่ 2 อาจเริ่มเคี้ยวอาหารที่เนื้ออ่อนนุ่มได้
  • งดการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • งดออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด และในช่วง 1-3 เดือนแรก ควรงดการออกกำลังกายที่หนัก ผาดโผน ต้องมีการปะทะกับผู้อื่น
  • หากมีอาการบวมหรือรู้สึกปวดในช่วง 3-5 วันแรก ให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการได้ แต่หลังจากนั้นให้เปลี่ยนไปประคบร้อนหรือประคบอุ่นแทนอย่างต่อเนื่องประมาณ 3 วัน
  • นอนหมอนสูงประมาณ 30 องศา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อลดอาการแผลบวม
  • ใส่เฝือกสบฟันหรือยางยึดขากรรไกรตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
  • มาตัดไหมและตรวจความเรียบร้อยของแผลตามที่แพทย์นัด

รีวิว จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 เป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการจัดฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี รวมถึงการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง มีความพร้อมและสามารถช่วยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันได้ทุกรูปแบบ

โดยตัวอย่างของผู้เข้ารับบริการที่จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 มีดังนี้

รีวิว จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2
รีวิว จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ต้องใช้เวลานานถึงหลักปีจึงจะสำเร็จได้ ดังนั้นมันจะดีกว่าหรือไม่ หากคุณจะมอบเป้าหมายของฟันที่เรียงตัวสวยงามขึ้นไว้กับทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถช่วยวางแผนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดให้คุณได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย

หากคุณยังไม่รู้ว่า จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรที่ไหนดี? หมอแอน ทพญ. ลลิตา รัชกิจประการ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟัน และ หมอจ๋า ผศ.ทพญ.ณฤษพร ชัยประกิจ ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จากคลินิกฟันยิ้ม ราม 2 สามารถให้คำปรึกษาและมอบแนวทางการจัดฟันที่เหมาะสม เห็นผลลัพธ์อย่างที่คุณต้องการได้มากที่สุด

จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

เพราะคลินิกฟันยิ้ม ราม 2 จะวิเคราะห์ลักษณะปัญหาการจัดเรียงตัวของฟันผู้เข้ารับบริการทุกท่านอย่างละเอียด และวางแผนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยคำนึงถึงผลลัพธ์ของการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ไม่ใช่เพียงการวางแผนจัดฟันเพื่อความสวยงามภายนอกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

เปิดรับประสบการณ์จัดฟันร่วมกับผ่าตัดที่ปลอดภัย เห็นผลลัพธ์ตามที่ต้องการ มีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลตลอดทุกขั้นตอนด้วยความห่วงใย หรือคลิกเพื่อดูรายละเอียดและจองคิวทำนัดเพื่อปรึกษาและวางแผนการจัดฟัน หรือสอบถาม ราคาจัดฟันร่วมผ่าตัดขากรรไกร จากคลินิกฟันยิ้ม ราม 2 คลินิกทำฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี ผ่าน HDmall.co.th

คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 คลินิกทำฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี พร้อมต้อนรับและพร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยเปลี่ยนแปลงฟันทุกซี่ของคุณให้เรียงอย่างสวยงามสม่ำเสมอทุกซี่ จะยิ้มกี่ครั้งก็มั่นใจ ไม่หวั่นต่อทุกสายตาที่มองตรงมาหา ด้วยการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Bangkok Cosmetic Dentistry, ผ่าขากรรไกรร่วมกับจัดฟัน ปรับโครงสร้างใบหน้า เจ็บไหม พักฟื้นกี่วัน? (https://cosmeticbangkokdentist.com/th/cosmetic-dentistry-services/thailand-jaw-surgery/), 3 ธันวาคม 2564.
  • Denta-joy The Orthodontist, การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (https://www.dentajoy.com/orthodontics-with-jaw-surgery/), 3 ธันวาคม 2564.
  • Smile&Co. Dental Clinic, จัดฟันผ่าขากรรไกร แก้ปัญหาโครงสร้างใบหน้าและฟัน ที่เคยมีให้หายไป! (https://smileandcodentalclinic.com/orthognathic-surgery/#จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร_พักฟื้นกี่วัน), 3 ธันวาคม 2564.
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คำแนะนำการปฏิบัติตน สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เมื่อกลับไปพักรักษาต่อที่บ้าน (https://dt.mahidol.ac.th/th/การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน/), 3 ธันวาคม 2564.
  • ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (https://dt.mahidol.ac.th/th/เกล็ดความรู้/ความรู้เรื่องผ่าตัดขากรรไกร/), 3 ธันวาคม 2564.
  • โรงพยาบาลพญาไท, เคลียร์ทุกคำถามเรื่อง “การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน” ที่คุณควรรู้ (https://www.phyathai.com/article_detail/3380/th/เคลียร์ทุกคำถามเรื่อง_“การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน”_ที่คุณควรรู้?branch=PYT2), 3 ธันวาคม 2564.
  • ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ (BIDC), การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognatic Surgery) (https://thailanddentalclinic.com/services/oralsurgery/orthognathic/), 3 ธันวาคม 2564.
@‌hdcoth line chat