ฟันเด็กแบบไหน ที่ควรหาหมอฟัน?


ฟันเด็กแบบไหน ที่ควรหาหมอฟัน?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อยในเด็กๆ จะได้แก่ โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ร้อนใน อาการนอนกัดฟัน มีกลิ่นปาก การนอนดูดนิ้วโป้ง
  • ปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อยๆ ในเด็กสามารถส่งผลกระทบไปถึงการเรียงตัวของฟันได้ เช่น ทำให้ฟันไม่สบกัน ฟันเก ฟันซ้อน ขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งผิดปกติ และอาจทำให้เด็กต้องจัดฟันตั้งแต่อายุยังน้อยได้
  • ปัญหาคางสั้น ทำให้ท่อทางเดินหายใจแคบ เป็นสาเหตุ ของการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก อนาคตเสี่ยงต่อการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถสังเกตุได้จากตอนนอนถ้ามีลักษณะคางสั้น นอนอ้าปาก/หายใจทางปาก อ่อนเพลียง่ายระหว่างวัน นอนกรน
  • อุปกรณ์จัดฟัน EF Line / NOA / Myofuntional appliance เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยแก้ไขความผิดปกติของฟัน กล้ามเนื้อรอบๆ และปรับการเจริญเติบโต ในเด็กทำให้โครงสร้างใบหน้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สวยงามขึ้น
  • สำหรับเด็กโดยเฉพาะ สามารถเริ่มจัดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 4 ขวบ
  • การจัดฟันเด็กไม่จำเป็นต้องเริ่มจัดเมื่อเด็กมีฟันแท้ขึ้นครบแล้วเสมอไป หากเด็กมีปัญหาฟันและ การเจริญเติบโตที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อและขากรรไกรอยู่ในสภาวะผิดปกติ ก็ควรจัดฟันตั้งแต่อยู่ในช่วงฟันน้ำนม ซึ่งการจัดฟันในวัยเด็ก จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก คลินิกฟันยิ้มราม 2

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

การหาหมอฟันในเด็กไม่ได้จำเป็นเพียงในส่วนของการเช็กความแข็งแรงของฟันเด็กๆ ทุกซี่อย่างเดียว แต่ยังจำเป็นในแง่ของการรักษาความผิดปกติของฟัน พัฒนาการของเด็ก การปรับการเจริญเติบโตของขากรรไกรให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

โดยการจัดฟันที่ช่วยปรับการเจริญเติบโตของเด็กจะทำได้เฉพาะช่วงวัยที่ยังมีการเจริญเติบโตเท่านั้น รู้แบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี แนะนำมาให้ทันเวลาตั้งแต่เด็กอายุยังน้อย ก่อนจะสายเกินแก้ รวมไปถึงพ่อแม่ที่อยากให้ลูกจัดฟันตอนเด็ก

เพราะถึงแม้ฟันน้ำนมจะเป็นฟันที่ขึ้นมาเพียงชั่วคราวแล้วก็หลุดออกไป แต่ก็ยังมีโอกาสที่ฟันประเภทนี้จะเกิดปัญหาในช่องปากแบบระยะยาวให้กับเด็กๆ ได้ และอาจส่งผลต่อการงอกขึ้นของฟันแท้ในภายหลังด้วย

ในบทความนี้ HDmall.co.th ร่วมกับคลินิกฟันยิ้ม ราม 2 จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับปัญหาฟันในเด็กๆ ที่พบได้บ่อยและควรรีบพากลับไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว รวมถึงประโยชน์ของกระบวนการจัดฟันเด็กที่ช่วยแก้ปัญหาในช่องปากให้กับเด็กๆ ได้หลายส่วน

ปัญหาทางช่องปากที่มักพบได้บ่อยในเด็ก

แม้คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองแทบทุกท่านจะพยายามกวดขันให้เด็กๆ รักษาสุขภาพฟันให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอ แต่ก็ยังมีกลุ่มปัญหาทางช่องปากบางอย่างที่ยังพบได้บ่อยในฟันของเด็กๆ เช่น

  1. โรคฟันผุ (Tooth Decay) มีสาเหตุหลักมาจากเนื้อฟันที่ไปสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในจุลินทรีย์ของอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาลซ้ำๆ จนเกิดการผลิตกรดที่ไปกัดกร่อนแร่ธาตุบนเนื้อฟัน ทำให้เด็กมีอาการเสียวฟันระหว่างกินอาหาร ร่วมกับมีอาการปวดฟันในบางเวลา หากลองส่องกระจกลงไปยังฟันซี่ที่ผุจะเห็นเป็นคราบหรือรูสีดำคล้ำอยู่บนเนื้อฟัน
  2. โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) มีสาเหตุหลักมาจากสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่สะอาดเพียงพอ ส่งผลให้คราบแบคทีเรียและสิ่งสกปรกที่ยังเกาะอยู่ตามเนื้อฟันและซอกฟันสร้างการอักเสบต่อเหงือก จนเกิดเสียวฟัน เหงือกบวม หรือมีรอยแดงเข้มขึ้นกว่าปกติ หากอาการรุนแรงหรือไม่รีบรักษาก็อาจต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งจนต้องใส่ฟันปลอมแทนได้
  3. ร้อนใน (Mouth ulcer) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดแผลบนเนื้อเยื่อภายในช่องปาก โดยอาจเกิดเพียงตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งก็ได้ แต่มักพบได้บ่อยบริเวณริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม ข้างลิ้น และปลายลิ้น มีปัจจัยทำให้เกิดหลายประการ เช่น การเคี้ยวอาหารที่มีเนื้อแข็งหรือมีปลายแหลม การพักผ่อนไม่เพียงพอ การกินอาหารที่เป็นกรดสูง ภาวะความเครียด การจัดฟันซึ่งอุปกรณ์อาจไปเสียดสีเหงือกจนเกิดแผล
  4. นอนกัดฟัน (Bruxism) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เด็กเผลอออกแรงขบและกดเคี้ยวฟันอย่างรุนแรงโดยที่ไม่รู้ตัว มีปัจจัยที่ทำให้เกิดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเครียด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะผีอำหรือปัญหาไม่สามารถขยับร่างกายได้เมื่อรู้สึกตัวตื่น รวมถึงเกิดได้จากพันธุกรรม หากเด็กมีพฤติกรรมนี้ในระยะยาวและไม่ได้รับการบำบัดแก้ไข การนอนกัดฟันก็สามารถทำให้ฟันที่ถูกบดกัดหากันบ่อยๆ สึก บิ่น แตก ร้าว หรือมีขนาดสั้นลงได้
  5. มีกลิ่นปาก (Bad Breath) โดยปัญหากลิ่นปากที่เกิดขึ้นในเด็กมักเกิดจากคราบน้ำนม หรือเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน จนทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียที่มีกลิ่นออกมา รวมถึงการมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหวัด ซึ่งทำให้เด็กเกิดเสมหะปะปนอยู่ในลำคอ และทำให้เกิดกลิ่นปากแรงขึ้น หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ทำให้เด็กต้องเรอ หรือมีกลิ่นอาหารปะปนออกมาระหว่างหายใจหรือพูด
  6. การนอนดูดนิ้วโป้ง (Thumb-Sucking) ซึ่งโดยปกติเด็กๆ จะมีพฤติกรรมนี้ตั้งแต่วัยแบเบาะ แต่ก็จะค่อยๆ ลดพฤติกรรมลงเมื่อเด็กอายุได้ 2-4 ขวบ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเด็กบางคนที่อายุมากกว่า 4-5 ขวบและยังติดต้องนอนดูดนิ้วโป้งอยู่ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ เช่น ฟันสบกันผิดปกติ โครงหน้าไม่สมส่วนกัน เพดานปากผิดปกติ มีปัญหาด้านการออกเสียงและการพูด
  7. นอนกรน (Snoring) ซึ่งเป็นอีกปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ แต่ก็ยังพบได้ในเด็กบางคนเช่นกัน โดยอาการนอนกรนเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของสุขภาพเด็กได้หลายอย่าง เช่น ต่อมทอนซิลโต กล้ามเนื้อบางส่วนอ่อนแรง ทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ กระดูกกรามเล็ก ความเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ

ผู้ปกครองหลายท่านอาจมองว่า 7 ปัญหาในช่องปากเหล่านี้คงต้องพึ่งพาศาสตร์การแพทย์สำหรับเด็กในการรักษาอาการเหล่านี้เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การจัดฟันก็จัดเป็นอีกแนวทางการรักษาปัญหาในช่องปากของเด็กได้เช่นกัน

ลักษณะฟันแบบไหน ที่เด็กควรจัดฟัน?

จากปัญหาช่องปากของเด็กที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพเหงือกและฟันหลายด้าน รวมถึงด้านการจัดเรียงของซี่ฟันที่อาจส่งผลระยะยาวไปกระทบการขึ้นของฟันแท้

โดยตัวอย่างลักษณะฟันของเด็กที่ควรรับการจัดฟันเพื่อปรับแก้ให้ดีขึ้น ได้แก่

  • ฟันน้ำนมหลุดเร็วเกินไปหรือหลุดช้าเกินไป
  • ฟันที่เรียงตัวไม่เหมาะสมจนเกิดปัญหาด้านการเคี้ยวหรือกัดอาหาร
  • ฟันที่ทำให้เกิดปัญหาด้านการออกเสียงหรือการพูด
  • ปัญหาฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันขึ้นผิดไปจากตำแหน่งที่ควรขึ้น
  • ปัญหาฟันยื่น
  • ตำแหน่งซี่ฟันทำให้เด็กเผลอกัดเหงือกหรือกัดลิ้นได้ง่าย
  • ปัญหาขากรรไกรดัง ขากรรไกรยื่น
  • โครงสร้างใบหน้าของเด็กไม่สมส่วน
  • เด็กมีพฤติกรรมชอบนอนกัดฟัน

ทำฟันเด็ก จัดฟันเด็กได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

ผู้ปกครองทุกท่านควรพาเด็กๆ ไปตรวจสุขภาพฟันตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นพ้นจากเหงือก ในส่วนของการจัดฟันเด็ก การจัดฟันเด็กไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นเมื่อเด็กมีฟันแท้ขึ้นครบเสมอไป

หากเด็กยังอยู่ในช่วงอายุที่ยังต้องใช้ฟันน้ำนมเคี้ยวอาหารอยู่ และมีปัญหาฟันเกิดขึ้นจนต้องจัดฟัน ก็สามารถจัดฟันได้ตั้งแต่อายุ 4-6 ขวบ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ซึ่งจะพิจารณาช่วงอายุ ระยะเวลา และแนวทางการจัดฟันที่เหมาะสมกับเงื่อนไขด้านสุขภาพฟันของเด็กแต่ละคนเอง

อุปกรณ์จัดฟันสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง? ต่างจากจัดฟันทั่วไปอย่างไร?

อุปกรณ์จัดฟันสำหรับเด็กจะมีความคล้ายคลึงกับอุปกรณ์จัดฟันในผู้ใหญ่ แต่จะมีขนาดเล็กกว่าเพื่อให้พอดีกับรูปปากของเด็ก วัสดุที่ใช้ผลิตอุปกรณ์จะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล เช่น

1. อุปกรณ์จัดฟันแบบถอดได้

แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

  • อุปกรณ์จัดฟันแบบ EF Line /NOA/Myofuntional appliance เป็นอุปกรณ์จัดฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ สามารถช่วยปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในช่องปากให้ผู้ที่มีปัญหาฟันตั้งแต่อายุยังน้อยได้อย่างหลากหลาย เช่น ปัญหาฟันห่าง ฟันบนล่างไม่สบกัน ฟันสบลึก ฟันหน้าสบเปิด ฟันยื่น ฟันซ้อน ฟันเก คางเคี้ยว หรือคางสั้น
    เด็กๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งและการเรียงตัวของซี่ฟันสามารถจัดฟันด้วยอุปกรณ์ EF Line ได้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ โดยยิ่งตรวจพบปัญหาฟันและรีบจัดฟันเพื่อรักษาเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับซี่ฟันได้ง่ายขึ้นกว่าการจัดฟันเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ไปแล้ว
  • อุปกรณ์ Invisalign First ซึ่งเป็นอุปกรณ์จัดฟันใสแบรนด์ Invisalign สำหรับกลุ่มเด็กโดยเฉพาะ โดยก่อนเริ่มใส่อุปกรณ์จัดฟัน ทันตแพทย์จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบแผนการรักษาตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงเพื่อออกแบบขนาดอุปกรณ์จัดฟันให้พอดีต่อขนาดช่องปากของเด็กแต่ละคน โดยสามารถแสดงออกมาในรูปแบบภาพและวีดีโอ 3 มิติได้อีกด้วย จึงทำให้ทั้งผู้ปกครอง ตัวเด็ก และทันตแพทย์ได้เห็นผลลัพธ์ของการจัดฟันได้ล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่ใส่อุปกรณ์
    นอกจากนี้ชุดจัดฟัน Invisalign First ยังเป็นอุปกรณ์จัดฟันแบบใส ซึ่งจะทำให้คนรอบตัวแทบมองไม่เห็นอุปกรณ์จัดฟันในช่องปากของเด็ก จึงช่วยส่งเสริมด้านความสวยงามและทำให้อุปกรณ์จัดฟันดูสะอาดตามากขึ้นอีกด้วย
  • อุปกรณ์ Functional appliance เป็นอุปกรณ์เสริมนอกเหนือไปจากตัวชุดจัดฟัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับอุปกรณ์จัดฟันเพื่อรักษาความผิดปกติต่างๆ ในช่องปากให้เห็นผลมากขึ้น เช่น อุปกรณ์ขยายขากรรไกร (Expander) อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) เพื่อแก้ปัญหาคางสั้น ปัญหานอนกรน ปัญหาหายใจทางปากขณะนอนหลับที่เกิดจากคางถอยไปข้างหลัง
อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator)

อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) แก้ปัญหา คางสั้น นอนกรน หายใจทางปาก หรือเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator)

 อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) แก้ปัญหา คางสั้น นอนกรน หายใจทางปาก หรือเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

รีวิวใช้อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) 1

หลังใส่ Biomator 4 เดือน

หลังใส่ Biomator 4 เดือน อาการนอนกรน หายใจทางปากหายไปเลย เพราะอุปกรณ์จะไปช่วยยืดตำแหน่งคางที่กดทับช่องทางเดินหายใจทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น

รีวิวใช้อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) 2

รีวิวใช้อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) 3

รีวิวใช้อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) 4

รีวิวใช้อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) 5

 ตัวอย่างคนไข้ที่มาด้วยปัญหาฟันยื่น และมีความต่างของฟันบนกับฟันล่าง 10 มิลลิเมตร โดยคนไข้มีปัญหาหายใจทางปากซึ่งเกิดจากการปัญหาคางถอย ทันตแพทย์เลยพิจารณาให้ใช้อุปกรณ์ช่วยไกด์ขากรรไกรล่าง (Bionator) และผลลัพธ์หลังจากการรักษา 1 เดือนก็สามารถขยับขากรรไกรออกมาได้ (โดยปกติแล้วอุปกรณ์นี้นิยมใส่กันที่ 6-12 เดือน)

อุปกรณ์ขยายขากรรไกร (Expander)

อุปกรณ์ขยายขากรรไกร (Expander)

2. อุปกรณ์จัดฟันแบบติดแน่น ติดบางส่วนหรือทั้งหมด

เป็นอีกชนิดของอุปกรณ์จัดฟันเด็กที่มีแนวทางการติดตั้งอุปกรณ์ลงไปในลักษณะยึดติดลงไปกับซี่ฟัน ไม่ใช่เพียงการครอบอุปกรณ์จัดฟันทับลงไปบนซี่ฟันเท่านั้น

นอกจากตัวอุปกรณ์ที่จะยึดซี่ฟันแต่ละซี่ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์อาจติดตั้งอุปกรณ์เสริมการจัดฟันอื่นๆ ให้กับเด็กด้วย เช่น

  • อุปกรณ์จัดฟันแบบติดแน่น (Bracket) เป็นอุปกรณ์ที่ติดบนผิวฟัน มีช่องสำหรับใส่ลวด และขอบสำหรับเกี่ยวยางจัดฟัน บางตัวจะมีฮุค (Hook) รูปร่างคล้ายตะขอสำหรับเกี่ยวยางดึงฟันเพิ่มเติมด้วย
  • เฮดเกียร์ (Headgear) เป็นอุปกรณ์เสริมช่วยจัดฟันนอกช่องปากเพื่อปรับตำแหน่งฟันและกระดูกขากรรไกรให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นก้านเหล็กยื่นออกมาจากอุปกรณ์จัดฟันข้างใน และรัดไว้กับศีรษะของเด็ก
  • รีเทนเนอร์ (Retainers) เพื่อคงตำแหน่งของฟันที่เหมาะเอาไว้หลังจากจัดฟันเสร็จแล้ว มีลักษณะไม่ต่างจากรีเทนเนอร์ในผู้ใหญ่ แต่วัสดุที่ใช้อาจเป็นเหล็กหรือพลาสติก ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ของแต่ละสถานพยาบาล

จัดฟันเด็ก ทำฟันเด็ก หาหมอฟันเด็ก แถวบางนา บางแก้ว บางพลี รามสองที่ไหนดี?

หากใครกำลังยังไม่รู้ว่าจะ จัดฟันเด็กที่ไหนดี? ทำฟันเด็กที่ไหนดี? หรือมองหาคลินิกทำฟันเด็ก โดยเฉพาะผู้ที่พักอาศัยอยู่ย่านบางนา บางพลี บางแก้ม หรือรามสอง HDmall.co.th ขอแนะนำ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 ที่มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดฟันเด็กประจำอยู่โดยเฉพาะ รวมถึงแพทย์เฉพาะทางด้านทำฟันเด็ก

ที่สำคัญ คลินิกฟันยิ้มราม 2 ยังถูกจัดอันดับให้ติดอยู่ 1 ใน 10 คลินิกทำฟันเด็กที่ถูกแนะนำโดยทีมนักเขียนและกองบรรณาธิการของเว็บไซต์มายเบสท์

เพราะการจัดฟันเด็กจะใช้เพียงความเชี่ยวชาญในการจัดฟันจากทันตแพทย์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่การจัดฟันเด็กยังต้องอาศัยประสบการณ์ และความเข้าใจในการรับมือกับเด็กๆ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มักต่อต้านการมาพบหมอฟัน

โดยเฉพาะกับกระบวนการจัดฟันซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันเข้าไปติดตั้งอยู่ในช่องปากของเด็ก และอาจทำให้เด็กรู้สึกกลัว หรือร้องไห้ในระหว่างการรักษาได้

ทันตแพทย์ที่จัดฟันให้เด็กจึงต้องมีความชำนาญ และรู้จักแนวทางการรับมือเด็กๆ ที่ต้องเข้ามาจัดฟันอย่างเหมาะสม เพื่อให้กระบวนการจัดฟันสำเร็จตามแผน

จัดฟันเด็ก ทำฟันเด็ก ที่คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

ทันตแพทย์ที่คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 มีประสบการณ์ในการรักษาและดูแลเด็กๆ เพื่อให้กระบวนการจัดฟันเด็กที่อาจสร้างความกังวลให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองกลับกลายเป็นเรื่องง่าย

ไม่ว่าคุณจะเคยประสบปัญหาเด็กๆ ในครอบครัวร้องไห้ หรือกลัวเมื่อต้องเดินทางมาพบหมอฟัน คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 สามารถเป็นผู้ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายในการจัดฟันให้กับเด็กๆ ได้อย่างที่ต้องการ ผ่านความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่มองว่าการทำทันตกรรมทุกรูปแบบคือสิ่งน่ากลัว

คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 ให้ความสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์ดีๆ ในคลินิกทันตกรรมกับเด็กทุกคน เพื่อไม่ให้พวกเขาเกิดอคติด้านลบต่อการทำฟันหรือการตรวจสุขภาพฟัน จนกลายเป็นภาพความกลัวที่ฝังใจจนไม่ยอมดูแลสุขภาพฟันให้เหมาะสมกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่

คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 มุ่งมั่นจะเป็นคุณหมอใจดีและเป็นมิตรต่อเด็กๆ ทุกคน เพื่อให้เด็กๆ ที่เดินทางมาฝากสุขภาพฟันที่คลินิกได้กลับออกไปพร้อมรอยยิ้มที่สวยและสมบูรณ์แข็งแรงทุกซี่อย่างถ้วนหน้า

ใครที่กำลังมองหาที่จัดฟันเด็ก ทำฟันเด็ก หาหมอฟันเด็ก แถวบางนา บางแก้ว บางพลี รามสอง สามารถมาที่คลินิกฟันยิ้มราม 2 โดยจองคิวทำนัดผ่าน HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจจัดฟันเด็ก ตรวจสุขภาพฟันเด็กได้ผ่านทางไลน์ @HDcoth

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Children’s Dental Zone, All About Braces (https://www.healthline.com/health/parenting/thumb-sucking-teeth), 17 May 2022.
  • Corey Whelan, What Are the Effects of Thumb Sucking on the Teeth and Mouth? (https://www.childrensdentalzone.com/all-about-braces/), 17 May 2022.
  • Dental Choice, Common Kids Dental Problems (https://www.dentalchoice.ca/common-kids-dental-problems/), 17 May 2022.
  • Hedy Marks, Children and Orthodontics (https://www.webmd.com/oral-health/children-and-orthodontics#091e9c5e80968c8d-2-6), 17 May 2022.
  • Idol Smile, EF Line ครบสูตรจัดฟันเด็กเล็ก ปรับโครงหน้า แก้พฤติกรรมผิดปกติ (https://www.idolsmiledental.com/ef-line-ครบสูตรจัดฟันเด็กเล็ก/), 17 May 2022.
  • KidsHealth, Braces (https://kidshealth.org/en/parents/braces.html), 17 May 2022.
  • Myobrace center, myOSA® (https://www.myobracecenter.com/myosa-for-kids), 17 May 2022.
  • Nudent, EF LINE “เครื่องมือจัดฟันในเด็กเล็ก” (https://nudent.co.th/ef-line-orthodontic-tools-for-children-th/?lang=th), 17 May 2022.
  • Smile&Co Dental Clinic, เหงือกอักเสบ เหงือกบวม สาเหตุเกิดจากอะไร มีการรักษา การป้องกันอย่างไร (https://smileandcodentalclinic.com/swollen-gums-and-gingivitis/#อาการเหงือกบวมประเภทต่าง_ๆ), 17 May 2022
  • Vertex Clinic, ทันตกรรมนอนกรน (https://www.vertexclinic.com/dental-center/dental-snoring/), 17 พฤษภาคม 2565.
  • ทพ. เรืองวุฒิ เกตุภู่พงษ์, ทำไมลูกชอบนอนกัดฟัน (https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ลูกนอนกัดฟัน), 17 พฤษภาคม 2565.
  • มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, จัดฟันในเด็กอย่างไรดี (https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/09jan2020-1541), 17 พฤษภาคม 2565.
  • รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, การใช้เครื่องครอบฟัน (Oral Appliance)ในการรักษาอาการนอนกรน และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=651), 17 พฤษภาคม 2565.
  • อ.ทพ.เดชศักดิ์ นาคะปักษิราช, แผลร้อนใน กวนตัว กวนใจ (https://dt.mahidol.ac.th/th/แผลร้อนใน-กวนตัว-กวนใจ/), 17 พฤษภาคม 2565.
@‌hdcoth line chat