สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- HPV เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางช่องปาก ก็สามารถติดเชื้อได้หมด
- เมื่อติดเชื้อ HPV ไปแล้ว เชื้อจะซ่อนตัวและไม่แสดงอาการใดๆ กว่า 10 ปี ซึ่งจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อเชื้อลุกลามไปแล้ว
- วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 94% และช่วยป้องกันโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ในผู้ชายได้
- ดูรายละเอียด ราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบได้ที่ HDmall.co.th
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
เมื่อพูดถึงเชื้อไวรัส HPV หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเชื้อที่ติดต่อได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว HPV เป็นเชื้อที่ไม่เลือกเพศและทุกคนสามารถติดเชื้อได้เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือกลุ่ม LGBTQ
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV เอาไว้ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง รวมถึงป้องกันการติดเชื้อได้อย่างถูกวิธี
HDmall.co.th จึงรวบรวมข้อมูลความรู้และวิธีป้องกันเชื้อไวรัส HPV เอาไว้อย่างละเอียด เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV มากขึ้น
HPV คืออะไร?
เชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดกับเพศใด หรือกับช่องทางใด เช่น ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางช่องปาก ก็สามารถติดเชื้อไวรัส HPV ได้หมด
สำหรับเชื้อไวรัส HPV ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบ เพราะเมื่อติดเชื้อ HPV เข้าไปแล้ว เชื้ออาจจะซ่อนตัวอยู่และไม่แสดงอาการใดๆ กว่า 10 ปี ซึ่งจะแสดงอาการอีกทีก็ต่อเมื่อเชื้อลุกลามไปแล้ว ทำให้เราไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมาและสามารถแพร่ไปหาผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว
นอกจากนี้เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ HPV อย่างถาวร และจะเพิ่มโอกาสในการพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น
การติดเชื้อ HPV ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น
หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่าการติดเชื้อไวรัส HPV ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เชื้อไวรัส HPV มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ที่ 6, 11,16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58
ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก รวมถึงมะเร็งช่องคลอดและปากช่องคลอดได้
ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ ติดเชื้อ HPV ได้ไหม?
สำหรับคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ ก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เหมือนกัน เพราะการติดเชื้อ HPV เกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดระหว่างผิวหนังกับผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ
Oral Sex เสี่ยงติดเชื้อ HPV ไหม?
การมีเพศสัมพันธ์โดยการใช้ปาก หรือ Oral Sex หลายคนคิดว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่ทำให้ท้อง แถมยังช่วยทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความสุขทางเพศ
แต่ความจริงแล้ว การทำ Oral Sex อาจไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด เพราะสามารถทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ ไม่ว่าจะการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส เริม พยาธิไวรัสตับอักเสบเอ และเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ
โรคมะเร็งช่องปากและลำคอคืออะไร?
โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเยื่อบุภายในบริเวณช่องปากและลำคอ รวมถึงบริเวณคอหอยส่วนช่องปาก ได้แก่ ทอนซิล โคนลิ้น และเพดานอ่อน
นอกจากนี้ มะเร็งช่องปากและลำคอยังเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและอันตราย หากตรวจพบในระยะลุกลาม ก็จะทำให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจเป็นอย่างมาก
ซึ่งปัจจุบันพบจำนวนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและลำคอจากเชื้อไวรัส HPV มากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจัยเสี่ยงก็มาจากการสูบบุหรี่หรือยาสูบ การดื่มแอลกอฮอล์จัด และเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (Oral sex)
โรคมะเร็งทวารหนักคืออะไร?
โรคมะเร็งทวารหนัก มีลักษณะอาการเป็นติ่งหรือก้อนที่ทวารหนัก บางรายอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด เจ็บก้น มีอาการคันผิดปกติบริเวณทวารหนัก เลือดออกและมีก้อนเนื้อขนาดเล็ก การขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม ต่อมน้ำเหลืองโต รวมถึงทำให้ขาหนีบบวมได้ ซึ่งอาการจะคล้ายกับโรคริดสีดวง
หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศคืออะไร?
หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ มีลักษณะเป็นติ่งเนื้องอกสีชมพูหรือสีเนื้อขรุขระยื่นออกมาจากอวัยวะเพศคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ ทำให้มีอาการเจ็บ แสบคัน และไม่สวยงาม
โดยหูดหงอนไก่สามารถเกิดซ้ำขึ้นได้ 30-70% ในระยะเวลา 6 เดือนหลังการรักษา จึงทำให้เกิดการรบกวนต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจของผู้ป่วยอย่างมาก
วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV
วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- การใส่ถุงยางอนามัย ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดและทวารหนัก รวมถึงเมื่อทำออรัลเซ็กส์กับองคชาต
- การใช้แผ่น Dental Dam เมื่อทำออรัลเซ็กส์กับอวัยวะเพศหญิงและทวารหนัก
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งทวารหนักอย่างสม่ำเสมอ
- ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งต่างๆ จากเชื้อ HPV และลดความเสี่ยงการเป็นพาหะนำเชื้อ HPV ไปสู่คู่นอนได้
วัคซีน HPV มีกี่ชนิด?
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่
- วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 16 และ 18) สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70%
- วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18) สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70% และช่วยป้องกันโรคมะเร็งทวารหนัก รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ในผู้ชายได้
- วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 94% และช่วยป้องกันโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ในผู้ชายได้
ความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าเชื้อ HPV เป็นไวรัสร้ายที่สามารถติดต่อได้กับทุกเพศ ซึ่งความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศก็มีทั้งหมดดังนี้
Trans Men หรือ ผู้ชายข้ามเพศ
สำหรับ Trans Men หรือ ผู้ชายข้ามเพศ บางคนที่ยังมีมดลูกอยู่ก็มีความเสี่ยงติดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณปากมดลูกที่สามารถมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
ซึ่งปกติแล้ว คนที่ติดเชื้อ HPV มักจะพบได้จากการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ แต่บางครั้งการใช้นิ้วหรือเซ็กส์ทอยก็สามารถนำพาการถ่ายทอดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน
Trans Women หรือ ผู้หญิงข้ามเพศ
ผู้ที่เป็น Trans Women หรือ ผู้หญิงข้ามเพศ สามารถติดเชื้อ HPV และมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักได้
โดยผู้ที่เป็น Trans Women และได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเพศพร้อมกับมีช่องคลอดใหม่มาแล้ว พบว่าการติดเชื้อ HPV ก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอดใหม่ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนักประจำปีด้วย
MSM หรือ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย
สำหรับกลุ่ม MSM (ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย) พบว่ามีการกำจัดเชื้อ HPV ที่บริเวณทวารหนักได้ต่ำกว่าในกลุ่ม MSW (ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง)
ทำให้กลุ่ม MSM มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งทวารหนักได้สูงกว่ากลุ่ม MSW ถึง 20 เท่า ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีน HPV และควรตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนักประจำปีเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
WSW หรือ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง
กลุ่ม WSW หรือ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง มีโอกาสติดเชื้อ HPV จากการใช้นิ้วมือหรือเซ็กส์ทอยเข้าทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักของอีกฝ่ายหนึ่ง
ถุงยางป้องกันเชื้อ HPV ได้ทั้งหมดหรือไม่?
ถุงยางอนามัยสามารถช่วยลดการติดเชื้อ HPV ได้ แต่เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น ช่วงการสัมผัสก่อนการสอดใส่ และบางบริเวณที่ถุงยางไม่ครอบคลุม ทำให้ถุงยางไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ 100%
อย่างไรก็ตาม ควรสวมทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงหรือผู้ชาย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ HPV และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth
บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
- คู่มือฉีดวัคซีน HPV สำคัญอย่างไร ทำไมต้องฉีด?
- เช็กให้ชัวร์! วัคซีน HPV ควรฉีดตอนอายุเท่าไหร่ดีที่สุด!
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- รศ. ดร. นพ. อติวุทธ กมุทมาศ MD, Ph.D., American Board of Sexologists, สูตินรีแพทย์ อนุสาขาเวชศาสตร์ทางเพศ