ตรวจเจอเชื้อไวรัส HPV ยังฉีดวัคซีนได้อยู่ไหม?


ตรวจเจอเชื้อไวรัส HPV ยังฉีดวัคซีนได้อยู่ไหม?

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และเมื่อติดเชื้อแล้วก็สามารถทำให้เกิดเป็นโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งปากช่องคลอด รวมถึงโรคหูดที่อวัยวะเพศ
  • ในปัจจุบันวัคซีน HPV มีให้เลือกอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์, วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ และวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์
  • หากตรวจพบเชื้อไวรัส HPV แล้ว ยังสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV ได้อยู่ เพราะวัคซีนจะช่วยป้องกันสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยรับได้
    • ฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • ตรวจพบเชื้อไวรัส HPV แล้ว ยังฉีดวัคซีนป้องกันได้อยู่ไหม?
  • วัคซีน HPV มีกี่ชนิด? ช่วยป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?
  • สรุปเรื่องการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ที่ตรวจเจอเชื้อไวรัส HPV แล้ว
  • บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

  • เชื้อเอชพีวี (HPV) หรือไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papillomavirus) ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก และเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

    • HPV ชนิดก่อมะเร็ง: มี 14 สายพันธุ์ ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด โดยสายพันธ์ุ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33
    • HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง: ไม่ได้ทําให้เกิดมะเร็งปากมดลูกแต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น HPV 6 และ 11

    การฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ตั้งแต่ต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้เด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เข้ารับการฉีดวัคซีน HPV เข็มแรกตอนอายุ 11-12 ปี เพราะเป็นช่วงที่ได้รับประโยชน์จากวัคซีนสูง และฉีดวัคซีนเพียงแค่ 2 เข็มเท่านั้น

    ตรวจพบเชื้อไวรัส HPV แล้ว ยังฉีดวัคซีนป้องกันได้อยู่ไหม?

    หากตรวจพบเชื้อไวรัส HPV แล้ว ยังสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV ได้อยู่ เนื่องจากเชื้อ HPV ที่ตรวจพบอาจไม่ได้เป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่นจนก่อให้เกิดโรคกับสตรีนั้น นอกจากนั้น ในกรณีที่พบเซลล์ผิดปกติก็อาจไม่ได้เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน

    วัคซีน HPV มีกี่ชนิด? ช่วยป้องกันโรคอะไรได้บ้าง?

    ปัจจุบันวัคซีน HPV มีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

    • วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6 และ 18 สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด
    • วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18 สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ได้
    • วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งคอหอยส่วนบน มะเร็งศีรษะและลำคอ และหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ได้

    ซึ่งวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เป็นวัคซีน HPV ที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ได้ครอบคลุมมากที่สุดในปัจจุบัน

    สรุปเรื่องการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ที่ตรวจเจอเชื้อไวรัส HPV แล้ว

    จะเห็นได้ว่าการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ที่ตรวจเจอเชื้อไวรัส HPV แล้ว ยังมีประโยชน์เพราะวัคซีน HPV สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดได้

    ดังนั้นใครที่ตรวจเจอเชื้อไวรัส HPV แล้วก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการจัดการและคำแนะนำที่เหมาะสมกับตัวท่าน

    เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

    บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

    TH-HPV-00469 11/2023
    ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน

    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

      • Cancer Council, HPV (https://www.cancer.org.au/what-is-hpv), 3 September 2023.
      • Centers for Disease Control and Prevention (CDC), HPV Vaccine (https://www.cdc.gov/hpv/parents/vaccine-for-hpv.html), 3 September 2023.
      • Human Papillomavirus 9-valent Recombinant Vaccine Prescribing Information, LPI-V503-I-022021, Approval date: 10 Oct 2022
      • Human papillomavirus types 16 and 18 vaccine (recombinant, AS04 adjuvanted adsorbed vaccine) Prescribing Information.
      • Quadrivalent Human Papillomavirus (Types 6, 11, 16, 18) Recombinant Vaccine Prescribing Information, THL-V501-I-042019, Approval date: 21 Feb 2020
      • The American College of Obstetricians and Gynecologists, What I Tell Every Patient About the HPV Vaccine, (https://www.acog.org/womens-health/experts-and-stories/the-latest/what-i-tell-every-patient-about-the-hpv-vaccine), Published: October 2020
      • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, HPV... ไวรัสร้ายใกล้ตัวที่ควรป้องกันตั้งแต่วัยรุ่น (https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/08312020-1159), 3 กันยายน 2566.
      • แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การป้องกันมะเร็งปากมดลูกปฐมภูมิ (RTCOG Clinical Practice Guideline Primary Prevention of Cervical Cancer), 16 ตุลาคม 2563, เอกสารหมายเลข GY 63-016.
    @‌hdcoth line chat