เพิ่มคุณภาพตัวอ่อน 46.7% ด้วยตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Genri เทคโนโลยีจากออสเตรเลีย


ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนสำคัญอย่างไรกับการทำเด็กหลอดแก้ว?

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In vitro fertilization) คือ วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากผ่านการปฏิสนธินอกร่างกาย โดยแพทย์จะเก็บไข่ที่ได้รับการกระตุ้นจากฝ่ายหญิงและเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายก่อนจะมาผสมในจานเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อนภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
  • ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Geri เพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนพัฒนาเป็นทารกที่แข็งแรง และคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยสูงขึ้นถึง 12.2% หรือที่เรียกว่า “อัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate)”
  • ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Geri จำลองสภาพแวดล้อมภายในตู้ได้ใกล้เคียงกับร่างกายของมารดา มากที่สุด ทำให้ตัวอ่อนมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพสูงขึ้นถึง 46.7%
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก

ด้วยเงื่อนไขด้านสุขภาพบางอย่าง จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนไม่สามารถมีลูกได้ด้วยวิธีทางธรรมชาติ และต้องอาศัยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์เข้ามาเสริมโอกาสการตั้งครรภ์ให้เพิ่มมากขึ้น หรือที่เรียกทั่วไปว่า “การรักษาภาวะมีบุตรยาก” นั่นเอง

วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ โดยหนึ่งในวิธีที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันก็คือ “การทำเด็กหลอดแก้ว”

แล้วการทำเด็กหลอดแก้วเป็นวิธีที่ช่วยให้มีลูกสำเร็จได้อย่างไร? มีขั้นตอนกระบวนการอย่างไรบ้าง? หลังจากปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว จะมีวิธีดูแลเพื่อให้ตัวอ่อนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงได้อย่างไร? ตู้แช่ตัวอ่อน สำคัญอย่างไรกับการทำเด็กหลอดแก้ว?

HDmall.co.th ร่วมกับ จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก (Genea World Leading Fertility) จะมาให้คำตอบเกี่ยวการทำเด็กหลอดแก้วในบทความนี้

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

การทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร?

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “การทำ IVF (In vitro fertilization)” คือ วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากผ่านการใช้วิธีปฏิสนธินอกร่างกาย โดยแพทย์จะเก็บไข่ที่ได้รับการกระตุ้นจากฝ่ายหญิงและเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายก่อนจะมาผสมในจานเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อนภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

จากนั้นเมื่อไข่กับเชื้ออสุจิผสมกันจนปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว แพทย์จะย้ายตัวอ่อนจากห้องปฏิบัติการเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะกับใคร?

การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะกับคู่รักที่อาจมีปัญหาด้านสุขภาพ จนระบบสืบพันธุ์ของร่างกายไม่สามารถผลิตไข่ หรือเชื้ออสุจิที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การตั้งครรภ์ได้ เช่น

  • ท่อนำไข่อุดตัน
  • มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ภาวะไข่ไม่ตก
  • อัณฑะผลิตเชื้ออสุจิได้น้อย และไม่มีคุณภาพ
  • ฮอร์โมนผิดปกติ

การทำเด็กหลอดแก้วยังเหมาะกับคู่รักที่พยายามมีลูกโดยวิธีธรมชาติหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ได้สำเร็จเสียที จึงอยากอาศัยเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มีมากขึ้น

การทำเด็กหลอดแก้วยังเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงทารกเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด กลุ่มอาการพาทัวร์

เพราะหลังจากไข่กับเชื้ออสุจิปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว แพทย์ยังสามารถตรวจความสมบูรณ์ของโครโมโซมในตัวอ่อนตัวนั้นก่อนที่จะย้ายเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงได้ หากตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จะได้คัดเลือกตัวอ่อนตัวอื่นที่มีความสมบูรณ์ของโครโมโซมใส่เข้าไปในร่างกายของฝ่ายหญิงแทน

การทำเด็กหลอดแก้วมีกี่แบบ?

การทำเด็กหลอดแก้วนอกจากวิธีแบบ IVF ซึ่งเป็นวิธีปล่อยให้ไข่กับอสุจิที่เก็บได้ปฏิสนธิเองในถาดทดลอง ก็ยังมีอีกวิธีคือ “การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI)”

การทำ ICSI เป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วที่มีความเฉพาะเจาะจงกว่า โดยนักวิทยาศาสตร์จะคัดเลือกเชื้ออสุจิที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดเพียงตัวเดียว แล้วฉีดเจาะเข้าไปที่เซลล์ไข่โดยตรง ต่างจากวิธีทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF ที่จะไม่ได้มีการคัดเลือกเชื้ออสุจิตัวใดเป็นพิเศษ

การทำ ICSI เป็นวิธีทำเด็กหลอดแก้วที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับคู่รักที่พยายามมีลูกด้วยวิธีแบบ IVF มาแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ รวมถึงเป็นวิธีที่แพทย์อาจพิจารณาทำให้กับคู่รักที่ฝ่ายชายที่มีจำนวนเชื้ออสุจิน้อย หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก จนส่งผลให้โอกาสการปฏิสนธิกับไข่ด้วยวิธีแบบ IVF ลดลง

โอกาสสำเร็จของเด็กหลอดแก้วมีมากแค่ไหน? มีความเสี่ยงอะไรที่ทำให้ไม่สำเร็จได้บ้าง?

การทำเด็กหลอดแก้วจัดเป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในการสานฝันการมีบุตรให้กับคู่รักทั่วโลกมาแล้วมากมาย

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการตั้งครรภ์จากวิธีนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ในการรักษา และการเฝ้าระวังทุกขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วไปพร้อมกับผู้เข้ารับบริการด้วย

เพราะถึงแม้จะเป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใด ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำเด็กหลอดแก้วมีกระบวนการที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และมีปัจจัยหลักอยู่ที่สุขภาพของผู้เข้ารับบริการฝ่ายหญิงซึ่งมักมีความซับซ้อน รวมถึงมีโอกาสเกิดความผิดปกติที่คาดไม่ถึงได้เสมอ

ตัวอย่างความเสี่ยงที่อาจทำให้การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว หรืออาจนำไปสู่ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ได้ จะได้แก่

  • ช่วงอายุของฝ่ายหญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งระบบสืบพันธุ์มักเริ่มเสื่อมตัว หรือมีการผลิตไข่และรับมือกับกระบวนการตั้งครรภ์ได้ไม่ดีนัก ทำให้โอกาสผลิตไข่ที่มีคุณภาพเพื่อนำไปผสมกับเชื้ออสุจินั้นมีน้อยลง หรือมีโอกาสที่ตัวอ่อนจะเกิดความผิดปกติทางโครโมโซม มีร่างกายไม่แข็งแรง คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดการแท้งบุตรได้

  • ความผิดปกติที่ระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะบริเวณมดลูกหรือรังไข่ของฝ่ายหญิง เช่น ภาวะมดลูกโต ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะมดลูกบีบตัวมากกว่าปกติ จนทำให้ตัวอ่อนที่แพทย์ใส่เข้าไปไม่สามารถฝังตัวได้

  • โรคประจำตัวที่ยังรักษาไม่หาย และลุกลามส่งผลกระทบไปถึงระบบสืบพันธุ์ของทั้งฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง ทำให้ผู้เข้ารับบริการไม่สามารถเข้าสู่ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ไม่มีสเปิร์มหรือไข่ที่มีคุณภาพพอ มดลูกไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้ผลลัพธ์ของการปฏิสนธินอกร่างกายล้มเหลวไปในที่สุด

  • ความสะอาดของเครื่องมือทางการแพทย์ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อ เป็นสาเหตุที่อาจพบได้ไม่บ่อย เพราะโดยปกติ ทุกสถานพยาบาลรักษาภาวะมีบุตรยากจะมีการระมัดระวังเรื่องความสะอาดของเครื่องมือเป็นอย่างดี

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากห้องปฏิบัติการทำเด็กหลอดแก้วแทบทุกแห่งได้รับการออกแบบมาให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางชีวภาพ ทำให้บางครั้งก็สามารถเกิดเชื้อปะปนลงไปที่จานเพาะเลี้ยง และทำลายตัวอ่อนไม่ให้เกิดการปฏิสนธิได้

  • การบาดเจ็บจากอวัยวะใกล้กับรังไข่ เช่น ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือดบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาจเกิดได้ในช่วงกระบวนการเก็บไข่ของผู้เข้ารับบริการฝ่ายหญิง เมื่อเครื่องมือเก็บไข่พลั้งไปโดนอวัยวะใกล้เคียงเกิดจาความเสียหายขึ้น และต้องได้รับการรักษาหรือผ่าตัดเสียก่อน

  • การประสบอุบัติเหตุ รวมถึงการได้รับบาดเจ็บ หรือแรงกระแทก ไม่ว่าจะเป็นการหกล้ม ลื่นล้ม การเกร็งช่องท้องมากเกินไป ซึ่งสามารถนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ หรือการแท้งบุตรได้

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูกส่วนที่ได้เตรียมเอาไว้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อทั้งแม่และเด็กมากมาย ทำให้แพทย์จำเป็นต้องขอยุติการตั้งครรภ์

  • ไข่กับเชื้ออสุจิไม่ปฏิสนธิกัน เป็นสาเหตุที่เกิดตั้งแต่ขั้นตอนการผสมเทียมในจานเพาะเลี้ยง และทำให้ไม่เกิดตัวอ่อนที่จะใส่เข้าไปในโพรงมดลูกได้

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้โครโมโซมของตัวอ่อนมีโอกาสผิดปกติได้ สำหรับคู่รักที่ผสมตัวอ่อนได้หลายตัว และมีตัวอ่อนที่แข็งแรงตัวอื่นๆ สำรองอยู่ ความเสี่ยงนี้ก็อาจไม่กระทบต่อการทำเด็กหลอดแก้วมากนัก แต่ในคู่รักที่มีตัวอ่อนอยู่เพียงตัวเดียวและยังมีความผิดปกติทางโครโมโซมเกิดขึ้นอีก ก็จำเป็นต้องเลือกกลับไปทำเด็กหลอดแก้วตั้งแต่ขั้นตอนแรกใหม่อีกครั้ง

  • การอุ้มครรภ์แฝด แม้ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยในเชิงบวก แต่การตั้งครรภ์แฝดเป็นสาเหตุที่ทำให้มารดาต้องรับภาระทางสุขภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องโอบอุ้มหล่อเลี้ยงทารกมากถึง 2-3 คนในเวลาเดียวกัน โอกาสคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูง ตกเลือด และทำให้ทารกที่คลอดออกมามีพัฒนาการช้า หรือสมองพิการจึงมีสูง

    อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงข้อนี้จัดว่าเกิดขึ้นได้น้อย เพราะตามข้อกฎหมายของคณะกรรมการที่ปรึกษาเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ได้กำหนดไม่ให้สถานพยาบาลรักษาภาวะมีบุตรยากย้ายตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวต่อรอบการทำเด็กหลอดแก้วในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี

    แต่ในบางครั้งตัวอ่อนระยะที่เป็นเอ็มบริโอก็สามารถแบ่งตัวออกมาเป็น 2 ตัวได้ และทำให้เกิดเป็นเด็กฝาแฝดในที่สุด แต่โอกาสเกิดมีแค่ 1 ใน 100 เท่านั้น

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Geri ที่ จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก

จากกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วด้านบน หลายคนอาจสงสัยในส่วนกระบวนการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนว่าจะสามารถดูแลให้ตัวอ่อนให้มีพัฒนาการแข็งแรงพร้อมต่อการเติบโตเป็นทารกได้อย่างไร

แล้วมีวิธีใดอีกที่จะช่วยเพิ่มโอกาสไม่ให้ตัวอ่อนหลุดหลังจากใส่เข้าไปในโพรงมดลูกได้บ้างที่จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก มีคำตอบนี้ให้กับคุณผ่าน “นวัตกรรมเจอรี่ (Geri)”

นวัตกรรมเจอรี่ (Geri) เป็นนวัตกรรมระบบตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนซึ่งสามารถจำลองสภาพแวดล้อมภายในตู้ได้ใกล้เคียงกับร่างกายของมารดา มากที่สุด ทำให้ตัวอ่อนมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพสูงขึ้นถึง 46.7%

นวัตกรรมตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนเจอรี่ยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าตู้เลี้ยงตัวอ่อนทั่วไป และมีระบบกล้อง Time Lapse ติดตั้งอยู่ในตู้ จึงไม่จำเป็นต้องกลับมาเปิดตู้ซ้ำเพื่อตรวจดูพัฒนาการของตัวอ่อนอีก ทำให้ตัวอ่อนไม่ถูกรบกวนระหว่างการเจริญเติบโตแต่อย่างใด

ด้วยเทคโนโลยีที่เหนือระดับนี้ จึงช่วยเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนพัฒนากลายเป็นทารกที่แข็งแรง และคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยสูงขึ้นถึง 12.2% หรือที่เรียกว่า “อัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate)” ซึ่งหมายถึง ทารกที่คลอดออกมาจากร่างกายมารดาได้อย่างปลอดภัย และมีการหายใจซึ่งบ่งบอกถึงการมีชีวิต

เพราะที่จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิกรู้ว่า ไม่มีความสุขใดยอดเยี่ยมไปมากกว่าการมีลูกน้อยที่สุขภาพแข็งแรง และเติบโตเป็นมนุษย์ที่มีพัฒนาการสมบูรณ์ทุกด้าน จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับและดูแลตัวอ่อนหลังปฏิสนธิอย่างมีคุณภาพสูงที่สุด

พร้อมกันนี้ ที่จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิกยังมีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มากประสบการณ์กว่า 10 ปีคอยดูแลผู้เข้ารับบริการทุกท่านอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน และจะอยู่เคียงข้างไปตลอดเพื่อคอยเป็นกำลังใจ และให้คำแนะนำเพื่อนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพได้ตามความฝัน

รับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากผ่านการทำเด็กหลอดแก้ว ที่ จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก หรือจองคิวทำนัดเพื่อรับส่วนลดได้ผ่านทางเว็บไซต์ HDmall.co.th


ที่มาของข้อมูล

  • จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก, ทึ่ง! นักวิทย์ชาวออสซี่ ได้พัฒนาเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว ไปอีกขั้น! เพิ่มอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) 12.2%, (https://genea.co.th/ทึ่ง-นักวิทย์ชาวออสซี่/).
@‌hdcoth line chat