HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การปล่อยให้เด็กอยู่กับสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสายตาสั้น รวมถึงความเชื่อแบบผิดๆ ที่ไม่สนับสนุนให้เด็กใส่แว่นตั้งแต่อายุยังน้อย จึงทำให้การมองเห็นของเด็กที่มีสายตาผิดปกติไม่ไม่พัฒนา เกิดการสูญเสียการมองเห็นตลอดชีวิต หรือหากสายตาพัฒนาเต็มที่แล้ว การที่เห็นไม่ชัดย่อมมีผลต่อการพัฒนาการด้านอื่นๆ รวมถึงการเรียนอีกด้วย
- เด็กในวัยก่อนพูดไม่สามารถสื่อสารถึงความผิดปกติทางสายตากับผู้ปกครอบได้ และถึงแม้ว่าโตพอที่จะสื่อสารได้ แต่อาจจะไม่รู้ว่าตนเองมีความผิดปกติของสายตา (โดยเฉพาะตามัวข้างเดียว และอีกข้างมีการมองเห็นปกติ) จึงอาจไม่ได้บอกผู้ใหญ่ ทำให้กว่าจะรู้ความผิดปกติเด็กอาจโตจนเลยวัยที่สามารถรักษาได้ วิธีที่จะรู้ทันปัญหาคือ การพาเด็กมาตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์สม่ำเสมอ
- การตรวจสุขภาพตาเด็ก ตรวจได้ตั้งแต่แรกเกิดเพื่อตรวจหาว่ามีภาวะสายตาขี้เกียจ หรือปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจได้ เช่น โรคตาเหล่หรือตาเข ค่าสายตาผิดปกติ (สั้น, ยาว, เอียง) หรือภาวะที่มาบดบังเส้นทางการรับภาพของลูกตา เช่นหนังตาตก หรือ ต้อกระจกในเด็ก
- บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก Little Fox Children’s Eye Clinic แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายแพ็กเกจดังกล่าว
- ดูรายละเอียด ตรวจสุขภาพตา สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 3 ปี
- ดูรายละเอียด ตรวจสุขภาพตาและวัดค่าสายตา สำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป
- ดูแพ็กเกจทั้งหมดจาก Little Fox Children's Eye Clinic บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
สารบัญ
- การตรวจสายตาเด็กสำคัญอย่างไร?
- พฤติกรรมการเลี้ยงดูแบบไหนที่ทำร้ายสายตาเด็ก?
- เด็กควรมาตรวจสายตาตั้งแต่อายุเท่าไร?
- การตรวจสายตาเด็กสามารถคัดกรองโรคหรือความผิดปกติอะไรได้บ้าง?
- เด็กกลุ่มไหนที่ไม่สามารถตรวจสายตาได้บ้าง?
- การเตรียมตัวก่อนตรวจสายตาเด็กมีอะไรบ้าง?
- ขั้นตอนการตรวจสายตาเด็ก
- เด็กควรมาตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน?
- ตรวจสายตาเด็กกับจักษุแพทย์เฉพาะ ที่ Little Fox Children’s Eye Clinic
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
การดูแลสุขภาพตาตั้งแต่ยังเด็ก เป็นอีกกระบวนการดูแลสุขภาพของเด็กที่ผู้ปกครองหลายท่านอาจมองข้าม กว่าจะรู้ตัวอีกทีเด็กๆ ในครอบครัวก็ต้องใส่แว่นกันเสียแล้ว หรือบางครั้งอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่ไม่สามารถรักษาได้อีก อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพตาเด็กกับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ได้เป็นกระบวนการที่ได้รับความนิยมหรือถูกให้ความสำคัญมากนัก
หลายๆ ครอบครัวมักให้ความสำคัญต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก จึงมักให้เด็กๆ ใช้สายตาในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา จนหลงลืมไปว่า พัฒนาการของดวงตาเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่และต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาด้านสายตาในภายหลัง
เพื่อให้ทุกคนได้คำนึงถึงความสำคัญของค่าสายตาของเด็กๆ มากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้แบบเชิงลึกเกี่ยวกับการตรวจสายตาเด็กให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่าน HDmall.co.th ร่วมกับ Little Fox Children’s Eye Clinic คลินิกเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพตาของเด็ก พร้อมให้ความกับคุณพ่อคุณแม่ นำความรู้เกี่ยวกับการตรวจสายตาเด็ก เคล็ดลับในการดูแลสายตาของเด็กไปปรับใช้อย่างเหมาะสม
การตรวจสายตาเด็กสำคัญอย่างไร?
พญ. จิภาดา พฤกษาชลวิทย์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเด็กและกล้ามเนื้อตา กล่าวว่า เมื่อเด็กทุกคนเกิดมา สายตาของพวกเขาจะยังไม่ชัดเจนในทันที ซึ่งเป็นช่วงที่เปราะบางมาก โดยเฉพาะในเด็กอายุ 0-8 ขวบ หากมีปัจจัยบางอย่างเข้ามารบกวนหรือบดบังการมองเห็นของเขาตั้งแต่เด็กๆ ก็จะทำให้การมองเห็นของเขาแย่ลงไปตลอดชีวิต
การดูแลหรือวิธีการเลี้ยงดูบางอย่างของผู้ใหญ่ในครอบครัวก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นทำให้ค่าสายตาของเด็กแย่ลงหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมได้ ซึ่งหากรู้ทันตั้งแต่เด็กยังแบเบาะ ก็จะสามารถแก้ไขได้ทันเวลา
ด้วยเหตุนี้ผู้ใหญ่ทุกคนจึงควรพาเด็กๆ มาตรวจสุขภาพตาเพื่อรีบเช็กพัฒนาการและสุขภาพของตาเด็ก พร้อมทั้งรับคำแนะนำในการดูแลเด็กอย่างเหมาะสม โดยไม่ไปรบกวนหรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาของเด็กได้
พญ. จิภาดา ยังพูดถึงผลลัพธ์ที่น่าเศร้าอีกอย่างของการไม่มาตรวจสายตาเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ หากเด็กมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสายตารวมถึงสุขภาพตา เช่น สายตาสั้น-ยาว-เอียง โดยเฉพาะในกรณีที่ตา 2 ข้างมองเห็นได้ไม่เท่ากัน ตาเข ตาเหล่ หรือเป็นโรคต้อกระจกแต่กำเนิด อาจทำให้เด็กสูญเสียการมองเห็นตลอดชีวิต ซึ่งภาวะนี้ไม่สามารถรักษาได้หากเด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ และไม่สามารถพัฒนาการมองเห็นได้อีกต่อไป
การที่ไม่มีผู้ปกครองพาเด็กมาตรวจตาหรือรับการรักษาอย่างเหมาะสม เด็กอาจไม่มีโอกาสได้รู้เลยว่า การมองเห็นที่ชัดที่สุดในชีวิตของเขาเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ในเด็กที่มีปัญหาตาเขหรือตาเหล่ เวลาที่เด็กกลุ่มนี้ใช้สายตามองบางสิ่งบางอย่าง เขาจะสามารถใช้ได้เพียงตาอีกข้างที่ยังปกติในการมองเท่านั้น และส่งผลให้ได้ไม่ได้ใช้งานตาข้างที่มีปัญหาจึงทำให้ตาข้างนั้นไม่สามารถพัฒนาและเติบโตได้
การตรวจสายตาเด็กตั้งแต่ยังเล็กจึงจะเป็นการป้องกันเชิงรุกให้กับความผิดปกติและปัญหาด้านพัฒนาการเหล่านี้ ซึ่งหากรีบแก้ไข เด็กก็จะมีโอกาสกลับมามองเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่อายุยังน้อย แต่หากปล่อยทิ้งเอาไว้ไม่แก้ไข เด็กอาจต้องอยู่กับปัญหาด้านการมองเห็นหรือสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรไปตลอดชีวิต
พญ. จิภาดา ยังได้กล่าวเตือนผู้ปกครองทุกท่านเพิ่มเติมว่า เมื่อเด็กมองเห็นไม่ชัดหรือมีปัญหาด้านการมองเห็น หลายครั้งเด็กก็ไม่รู้ว่าภาวะนี้ถือเป็นความผิดปกติของสายตา และอาจไม่ได้เดินมาบอกผู้ใหญ่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น กว่าจะรู้ถึงความผิดปกตินี้เด็กอาจโตจนเลยวัยที่สามารถรักษาก็ได้
ดังนั้นวิธีการเดียวที่ทุกคนจะรู้ทันเกี่ยวกับปัญหาด้านสายตาของเด็กได้ ก็คือการพาเด็กมาตรวจสุขภาพสายตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะๆ
พฤติกรรมการเลี้ยงดูแบบไหนที่ทำร้ายสายตาเด็ก?
พญ. จิภาดา ได้พูดถึงปัจจัยหลักในยุคปัจจุบันที่กระตุ้นให้ค่าสายตาของเด็กแย่ลงตั้งแต่ยังอายุน้อย นั่นก็คือการปล่อยให้เด็กๆ อยู่กับสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตมากเกินไป จนทำให้เด็กต้องใช้สายตามองหน้าจอในระยะใกล้บ่อยๆ และเกิดปัญหาสายตาสั้นในที่สุด
นอกจากปัญหาหน้าจอ ความเชื่อผิดๆ ของผู้ใหญ่ในครอบครัวก็มีส่วนทำให้เด็กมีสายตาผิดเพี้ยนได้ โดยในบางครอบครัวมักไม่สนับสนุนให้เด็กๆ ใส่แว่นตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะคิดว่ายิ่งใส่แว่นจะยิ่งสายตาเสีย และปล่อยให้เด็กอยู่กับค่าสายตาที่ผิดปกติโดยไม่มีแว่นเป็นตัวช่วยให้การมองเห็นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ การมองเห็นของเด็กเล็กไม่ถูกพัฒนาตามความเหมาะสม และ เด็กโตอาจมีค่าสายตาแย่ลงหนักกว่าเดิมจนถึงตอนโต รวมถึงการมองได้ไม่ดีอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นของร่างกาย และไม่สามารถเรียนรู้ในห้องเรียนได้เท่ากับเด็กวัยเดียวกัน
การผลัดวันประกันพรุ่งไม่พาเด็กมาตรวจตา เพราะมองว่า เด็กยังเล็กไม่สามารถให้ความร่วมมือในการตรวจได้ หรือเมื่อไปถึงโรงพยาบาลหรือคลินิกเด็กมักจะชอบร้องไห้งอแง รอให้โตก่อนค่อยพาไปตรวจ หรือเห็นความผิดปกติแล้วแต่คิดว่าค่อยรักษาตอนโตก็ได้ ก็เป็นอีกพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ผิดเช่นกัน
เพราะการไม่มาตรวจดูความคืบหน้าของพัฒนาการสายตาเด็กตั้งแต่เขายังเล็ก จะทำให้ผู้ปกครองและตัวเด็กไม่สามารถรู้ถึงลักษณะการเติบโตและค่าสายตาจริงๆ ของเด็ก และหากเด็กมีโรคเกี่ยวกับสายตาก็จะไม่มีทางรู้ได้เช่นกัน
เด็กควรมาตรวจสายตาตั้งแต่อายุเท่าไร?
การตรวจสายตาเด็กและการตรวจสุขภาพตาเด็กสามารถตรวจได้ตั้งแต่เด็กยังเป็นทารกแบเบาะ ไม่จำเป็นต้องรอให้เด็กโตหรือรู้ความก่อนแต่อย่างใด หากพ่อแม่ท่านใดสังเกตเห็นความผิดปกติของสายตาหรือดวงตาเด็ก ก็สามารถพาเด็กมาตรวจตากับจักษุแพทย์ได้ทันที
รวมถึงแม้เด็กไม่มีอาการอะไรเลย ก็ควรพามาตรวจเช็คครั้งแรกก่อนวัยเข้าอนุบาลซัก 1 รอบ หลังจากนั้นควรตรวจเช็คค่าสายตาเป็นระยะทุก 1-2 ปี
การตรวจสายตาเด็กสามารถคัดกรองโรคหรือความผิดปกติอะไรได้บ้าง?
พญ. จิภาดา กล่าวถึงโรคสายตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นอันดับแรก เพราะโรคตาขี้เกียจเป็นโรคที่อยากให้ผู้ปกครองพาเด็กๆ มาตรวจคัดกรองกันทุกคน เนื่องจากความร้ายแรงของโรคสายตาขี้เกียจสามารถส่งผลให้การมองเห็นของเด็กพร่ามัวไปตลอดชีวิตได้
การตรวจตาเด็กจึงจะเป็นการตรวจดูปัจจัยเสี่ยงที่อาจไปกระตุ้นทำให้เด็กเกิดโรคสายตาขี้เกียจได้ ได้แก่
- อาการตาเหล่ ตาเข ตำแหน่งของดวงตาที่ผิดปกติ
- ค่าสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หากตรวจพบก็ต้องรีบรักษาโดยทันที
- ปัญหาความผิดปกติหรือโรคอื่นๆ ที่ไปบดบังสายตาเด็ก เช่น หนังตาตก โรคต้อกระจกแต่กำเนิด
ส่วนปัญหาด้านสุขภาพตาของเด็กที่พบได้บ่อย พญ. จิภาดา บอกว่าขึ้นอยู่กับช่วงวัยของเด็กดังนี้
- เด็กทารกหรือวัยแรกเกิด มักมีปัญหาท่อน้ำตาอุดตันหรือขนตาทิ่มลูกตา
- เด็กอายุประมาณ 1-2 ขวบ มักจะมีปัญหาเป็นตาเขหรือตาเหล่
- เด็กวัยเรียนในช่วงชั้นประถมต้น มักมีปัญหาด้านค่าสายตา โดยที่พบได้บ่อยจะเป็นปัญหาสายตาสั้น
เด็กกลุ่มไหนที่ไม่สามารถตรวจสายตาได้บ้าง?
เด็กที่กำลังเจ็บป่วยหรือมีไข้เป็นกลุ่มเด็กที่ควรเลื่อนนัดการตรวจสายตาออกไปก่อน เพราะอาการไม่สบายมักเป็นปัจจัยทำให้เด็กไม่อยากให้ความร่วมมือในการตรวจสายตา
นอกจากนี้หากตรวจพบความผิดปกติ และจักษุแพทย์ต้องหยอดยาขยายม่านตาเพื่อการตรวจเชิงลึกมากขึ้น ฤทธิ์ของยาอาจไปกระตุ้นทำให้ไข้เด็กสูงกว่าเดิมได้ ผู้ปกครองควรพาเด็กมาตรวจสายตาในวันที่เด็กสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย หรือมีไข้จะดีที่สุด
การเตรียมตัวก่อนตรวจสายตาเด็กมีอะไรบ้าง?
การเตรียมตัวก่อนมาตรวจสายตาของเด็กโดยแบ่งออกตามช่วงวัย ดังต่อไปนี้
- เด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ ช่วงวัยนี้มักจะอยู่ไม่นิ่งและกลัวการสัมผัสจากคนแปลกหน้า ก่อนมาตรวจสายตา พ่อแม่อาจลองอุ้มเด็กมานั่งตักและซ้อมจับศีรษะเด็กให้ตั้งตรง มองไปข้างหน้า ซึ่งเป็นท่าที่จักษุแพทย์จะใช้ในการตรวจสายตาเด็ก เมื่อมีการจับศีรษะเด็กอยู่เรื่อยๆ เด็กจะเริ่มคุ้นชินกับท่าเหล่านี้ เมื่อทำการตรวจจริงจะไม่ค่อยตื่นกลัว และให้ความร่วมมือในการตรวจแต่โดยดี
- เด็กที่เริ่มหัดพูดได้ และเริ่มรู้จักความหมายของภาพต่างๆ เช่น ภาพสัตว์ อาหาร ยานพาหนะ แต่เด็กวัยนี้มักเขินอายที่จะคุยกับคนแปลกหน้า ผู้ปกครองจึงสามารถทักแชทไลน์มาหาทางคลินิกเพื่อขอรูปภาพที่จักษุแพทย์ใช้ในการตรวจสายตาเด็กก่อนได้ แล้วลองฝึกซ้อมเพื่อจำลองการตรวจสายตาที่บ้านก่อน โดยให้เด็กพูดชื่อของภาพตามที่ผู้ปกครองถือไว้ในมือ เมื่อเด็กมารับมาตรวจที่คลินิกก็จะรู้สึกคุ้นชิน เพราะจักษุแพทย์มีการใช้ภาพแบบเดียวกับที่เล่นกับพ่อแม่ที่บ้าน
- เด็กโต สามารถพูดคุยสื่อสารได้แล้ว เด็กวัยนี้มักไม่ตื่นกลัวหรือเขินอายที่จะพูดคุยกับจักษุแพทย์เหมือนเด็กเล็ก จึงแทบไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นพิเศษ
ขั้นตอนการตรวจสายตาเด็ก
ความพิเศษของการตรวจสายตาที่คลินิก Little Fox Children's Eye Clinic จะอยู่ที่กระบวนการซึ่งไม่ซับซ้อน ไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่หรือจุดคัดกรองหลายจุด เพียงเข้ามาที่คลินิกก็สามารถตรวจสายตาได้ทันที
นอกจากนี้บรรยากาศคลินิกยังเอื้ออำนวยต่อเด็ก มีความผ่อนคลายและเป็นกันเอง ไม่ดูน่ากลัว เหมือนไปโรงพยาบาล
ขั้นตอนการตรวจสายตาเด็กในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามความร่วมมือและภาวะอารมณ์ของเด็ก แต่โดยหลักการแล้วจะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
- ตรวจการมองเห็น
- ตรวจตำแหน่งของลูกตา การกลอกตา เพื่อดูความเสี่ยงเป็นตาเหล่หรือตาเข
- ตรวจพิเศษเชิงลึก เช่น การมองภาพ 3 มิติ การตรวจการรวมภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง การตรวจตาบอดสี
- ตรวจดูโครงสร้างด้านหน้าของลูกตา เพื่อเช็กความผิดปกติของเปลือกตา หนังตา แนวขนตา รวมทั้งตาดำและตาขาว
การตรวจสายตาเด็กมักใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 10-15 นาที แต่หากตรวจแล้วจักษุแพทย์พบความผิดปกติบางอย่างและต้องการตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม อาจต้องหยอดยาขยายม่านตาหรือยาคลายเพ่ง ซึ่งจะใช้เวลารอยาออกฤทธิ์อีกประมาณ 30-45 นาที แล้วจึงเริ่มกระบวนการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งจะใช้เวลารวมแล้วทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง
เด็กควรมาตรวจสายตาบ่อยแค่ไหน?
ความถี่ในการตรวจสายตาของเด็กจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มเด็กที่มีสุขภาพตาปกติ ควรมาตรวจสายตาปีละ 1 ครั้งอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ขาด
- กลุ่มเด็กที่มีสุขภาพตาผิดปกติหรือมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับดวงตา ความถี่ในการมาพบจักษุแพทย์ก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากเป็นเรื่องสายตาผิดปกติเพียงอย่างเดียวจักษุแพทย์มักจะนัดให้มาตรวจการเปลี่ยนแปลงของสายตาทุกๆ 6 เดือน
ตรวจสายตาเด็กกับจักษุแพทย์เฉพาะ ที่ Little Fox Children’s Eye Clinic
Little Fox Children's Eye Clinic ออกแบบบรรยากาศและกระบวนการตรวจสายตาภายในคลินิกที่เอื้ออำนวยต่อผู้เข้ารับบริการที่อยู่ในเด็กทุกคน ภายในคลินิกมีทั้งของเล่น ตุ๊กตา สมุดระบายสี หนังสือนิทาน ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสำหรับเด็ก เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเบนความสนใจไม่ให้เด็กรู้สึกตื่นกลัวการมาพบจักษุแพทย์
ทุกขั้นตอนการดูแลสุขภาพตาของเด็กที่คลินิก Little Fox Children’s Eye Clinic ดำเนินการโดยจักษุแพทย์ด้านตาเด็กโดยเฉพาะ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตาเด็กที่ยังบอบบางและมีพัฒนาการไม่เต็มที่ ทั้งยังเข้าใจวิธีรับมือเด็กๆ ที่อาจมีอาการร้องไห้หรือส่งเสียงดังระหว่างรับบริการตรวจสายตา
บริการทำนัดตรวจตาเด็กที่ Little Fox Children’s Eye Clinic อยู่ในรูปแบบ One Stop Service สามารถตรวจตาและตัดแว่นสำหรับเด็กได้ภายในคลินิกเดียว ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องออกไปหาซื้อกรอบแว่นสำหรับเด็กให้ยุ่งยาก
และการจัดเวลารับบริการของทาง Little Fox Children’s Eye Clinic ยังเป็นการนัดหมายผ่านจักษุแพทย์ที่เข้าใจในพฤติกรรมของเด็ก ที่อาจมีเพียงระยะเวลาสั้นๆ ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่อยู่ในวัยทำงาน การรอคิวตรวจจึงค่อนข้างน้อย และรวดเร็วทันใจ ไม่ต้องรอคิวนาน
นอกจากนี้ทาง Little Fox Children’s Eye Clinic ยังสามารถตรวจวัดสายตาผู้ใหญ่ได้เช่นกัน จึงเรียกได้ว่า เป็นคลินิกที่ทุกสมาชิกในครอบครัวสามารถเดินทางมาตรวจตาได้จนจบทุกกระบวนการภายในที่เดียว ไม่ต้องเดินทางแยกไปทั้งคลินิกตาเด็กและคลินิกตาของผู้ใหญ่ให้เสียเวลา
อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบอาการของโรคที่เกิดขึ้นร้ายแรงถึงขั้นต้องใช้วิธีการผ่าตัดหรือทำหัตถการที่ซับซ้อน จักษุแพทย์สามารถประสานงานและส่งตัวเด็กไปรักษายังโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญต่อไปได้
ให้ Little Fox Children’s Eye Clinic เป็นคุณหมอใจดีคอยอยู่เคียงข้างดูแลสายตาให้กับคนสำคัญในครอบครัวของคุณ เพื่อความยั่งยืนในการมองเห็นไม่มีสิ่งรบกวนมาบดบังการมองเห็น ให้การมองโลกทั้งใบของเขามีแต่ความชัดเจนและแข็งแรงอย่างยาวนาน ด้วยบริการตรวจสายตา ที่ Little Fox Children’s Eye Clinic