รากฟันเทียมคืออะไร? ทำรากเทียมเจ็บไหม? เหมาะกับใคร?


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การทำรากฟันเทียม เปรียบเสมือนการปลูกฟันซี่ใหม่ขึ้นมาแทนที่ฟันซี่เก่าซึ่งถูกถอนออกไป แต่จะเป็นการปลูกในส่วนของรากฟันให้แข็งแรงก่อน จากนั้นทันตแพทย์จึงจะใส่ตัวครอบฟันหรือตัวฟันเทียมส่วนที่อยู่พ้นเหงือกตามไปในภายหลัง
  • วัสดุสำหรับทำรากฟันเทียมมีอายุการใช้งานถึงหลัก 10 ปีขึ้นไป สามารถใช้งานแทนฟันธรรมชาติที่เสียไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • การทำรากฟันเทียมจะมีการฉีดยาชาให้ก่อนเริ่มกระบวนการผ่าตัด ดังนั้นในระหว่างการผ่าตัด ระดับความเจ็บจะน้อยกว่าการอุดฟันหรือขูดหินปูนเสียอีก
  • หลังจากผ่าตัดใส่ตัวรากฟันเทียมเข้าไปแล้ว ผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องรอให้รากฟันเทียมสมานตัวเข้ากับกระดูกขากรรไกรเสียก่อน ระยะเวลามักอยู่ที่ประมาณ 3-6 เดือน
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก Thonglor Dental Hospital (TDH) ทันตแพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่


การสูญเสียฟันแท้ไปจากช่องปาก นอกจากจะกระทบในด้านความสวยงามของรอยยิ้มแล้ว ยังกระทบต่อประสิทธิภาพในการใช้งานฟันเพื่อบดเคี้ยวอาหารหรือการออกเสียงพูดอีกด้วย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องแก้ปัญหาด้วยการใส่ฟันปลอมเสมอไป

เพราะยังมีอีกทางเลือกที่สามารถช่วยให้คุณได้มีฟันซี่ใหม่ทดแทนฟันซี่เก่าอย่างแข็งแรงและคงทนลงลึกลงไปถึงระดับราก นั่นก็คือ “การทำรากฟันเทียม”

HDmall.co.th ร่วมกับ Thonglor Dental Hospital หรือ TDH โดยทันตแพทย์สกุล ชินอุดมวงศ์ ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการทำรากฟันเทียม จะมาให้ความรู้ว่ารากฟันเทียมคืออะไร? ระหว่างทำรากฟันเทียมเจ็บไหม? เหมาะกับใคร? ต้องดูแลตัวเองก่อนและหลังทำอย่างไร?

รากฟันเทียมคืออะไร?

รากฟันเทียม (Dental Implant) คือ วัสดุเทียมซึ่งทำหน้าที่ทดแทนรากฟันของฟันธรรมชาติที่ถูกถอนออกไป โดยจะติดตั้งอยู่ในตำแหน่งของรากฟันธรรมชาติเดิมซึ่งอยู่ติดกับกระดูกขากรรไกร

รากฟันเทียมคืออะไร

การทำรากฟันเทียม เปรียบเสมือนการปลูกฟันซี่ใหม่ขึ้นมาแทนที่ฟันซี่เก่าซึ่งถูกถอนออกไป แต่จะเป็นการปลูกในส่วนของรากฟันให้แข็งแรงก่อน และสมานเข้ากับกระดูกขากรรไกรอย่างแน่นหนา

จากนั้นทันตแพทย์จึงจะใส่ตัวครอบฟันหรือตัวฟันเทียมส่วนที่อยู่พ้นเหงือกตามไปในภายหลัง ทำให้ผู้เข้ารับบริการกลับมามีฟันซี่ใหม่ติดตั้งอยู่บนแถวเหงือกอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง

ความแข็งแรงของวัสดุรากฟันเทียม

วัสดุสำหรับทำรากฟันเทียมโดยส่วนมากนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความทนทานแข็งแรงมาก มีอายุการใช้งานถึงหลัก 10 ปีขึ้นไป สามารถใช้งานแทนฟันธรรมชาติที่เสียไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับบริการก็ต้องดูแลรักษาฟันที่ใส่เข้าไปแทนฟันแท้อย่างระมัดระวังด้วย มิเช่นนั้น อายุการใช้งานของรากฟันเทียมก็อาจสั้นลงได้

ทำรากฟันเทียมเจ็บไหม?

การทำรากฟันเทียมจะมีการฉีดยาชาให้ก่อนเริ่มกระบวนการผ่าตัด ดังนั้นในระหว่างการผ่าตัด ผู้เข้ารับบริการจะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด ระดับความเจ็บจะน้อยกว่าการอุดฟันหรือขูดหินปูนเสียอีก

รากฟันเทียมเหมาะกับใคร?

การทำรากฟันเทียม เหมาะกับกลุ่มผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปหรือจำเป็นต้องถอนฟันแท้ออก จนส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร การพูด การออกเสียง หรือการยิ้ม

การทำรากฟันเทียมยังเหมาะกับผู้ที่มีสูญเสียฟันกรามข้างใดข้างหนึ่ง จนต้องใช้ฟันกรามอีกข้างเคี้ยวอาหารแทนจนโครงสร้างใบหน้าไม่เท่ากัน โดยเป็นผลมาจากใช้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป

โดยเมื่อใส่รากฟันเทียมทดแทนฟันกรามซี่ที่หายไป ผู้เข้ารับบริการจะสามารถกลับมาใช้ฟันกรามทั้ง 2 ข้างเคี้ยวอาหารได้อีกครั้ง ส่งผลให้โครงสร้างใบหน้ากลับมาเท่ากันอย่างสมดุลมากขึ้น

ข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียมไม่ได้มีข้อจำกัดในการรักษาในคนกลุ่มใด นอกเหนือจากผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างซึ่งจำเป็นต้องแจ้งประวัติสุขภาพและรายละเอียดอาการของโรคให้ทันตแพทย์ทราบเสียก่อนตัดสินใจทำรากฟันเทียม เช่น

  • ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด

ถอนฟันไปแล้ว ทำรากฟันเทียมได้เลยหรือไม่?

หลังจากถอนฟันไปแล้ว ผู้เข้ารับบริการต้องรอให้แผลบริเวณกระดูกขากรรไกรส่วนที่เพิ่งถอนฟันออกไปสมานตัวเรียบร้อยเสียก่อน ระยะเวลาอาจอยู่ที่ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของแผลและโครงสร้างกระดูก

โดยทันตแพทย์จะตรวจติดตามผลอย่างละเอียดก่อนเริ่มกระบวนการทำรากฟันเทียม

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

ก่อนเริ่มทำรากฟันเทียม ผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องเอกซเรย์ฟันเพื่อให้ทันตแพทย์เห็นโครงสร้างกระดูกขากรรไกรอย่างละเอียดเสียก่อน และเพื่อจะได้นำไปใช้ในการวางแผนการรักษาและวิเคราะห์ขนาดของรากฟันเทียมที่จะใส่ลงไป

นอกจากนี้ทันตแพทย์จะตรวจฟันอย่างละเอียดเพื่อดูความหนาของกระดูกฟัน รวมถึงลักษณะการสบกันของฟันแต่ละซี่เพื่อนำไปประกอบแผนการรักษาด้วย

ปรึกษาแพทย์เรื่องการทำรากฟันเทียม

ส่วนการเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม ผู้เข้ารับบริการแทบไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ เป็นพิเศษ แต่หลังฤทธิ์ยาชาที่ฉีดก่อนผ่าตัดหมดฤทธิ์ ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกเจ็บระบมที่เหงือกส่วนที่ใส่รากฟันประมาณ 2-3 วัน

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียมไม่ได้มีความซับซ้อนเหมือนอย่างที่หลายคนคิด เพียงฉีดยาชา จากนั้นทันตแพทย์จะผ่าเปิดเหงือกส่วนที่ทำรากฟันเทียม แล้วใส่รากฟันเทียมเข้าไป จากนั้นเย็บปิดแผล เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการใส่รากฟันเทียม

อย่างไรก็ตาม การทำรากฟันเทียมมีกระบวนการก่อนและหลังทำที่ต้องมาพบทันตแพทย์บ่อยครั้ง โดยเรียงลำดับดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันอย่างละเอียด พร้อมเตรียมสภาพช่องปากให้เรียบร้อย
  2. เอกซเรย์ช่องปาก พิมพ์ฟัน และวางแผนการรักษา
  3. ผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในตำแหน่งที่เหมาะสม ในบางกรณีอาจต้องเสริมกระดูกก่อนทำรากฟันเทียม โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคล
  4. รอให้กระดูกยึดกับรากฟันเทียม โดยอาจใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
  5. เมื่อกระดูกยึดกับรากฟันเทียมแล้ว ทันตแพทย์จะทำสะพานฟัน ครอบฟันให้ต่อไป

หลังใส่รากฟันเทียม นานแค่ไหนถึงจะใส่ตัวครอบฟันได้?

หลังจากผ่าตัดใส่ตัวรากฟันเทียมเข้าไปแล้ว ผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องรอให้รากฟันเทียมสมานตัวเข้ากับกระดูกขากรรไกรเสียก่อน ระยะเวลามักอยู่ที่ประมาณ 3-6 เดือน

จากนั้นทันตแพทย์จะนัดหมายมาตรวจดูการสมานตัวของกระดูกกับรากฟันเทียม หากเล็งเห็นว่ากระดูกกับรากฟันเทียมเชื่อมผสานกันดี ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการใส่ซี่ฟันปลอมที่อยู่ด้านบนรากฟันเทียมต่อไป

โครงสร้างของรากฟัน

การดูแลตนเองหลังทำรากฟันเทียม

หลังจากผ่าตัดรากฟันเทียมเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพียงแค่ระมัดระวังในส่วนของการเคี้ยวอาหารตรงตำแหน่งที่เป็นแผลผ่าตัดเท่านั้น

โดยอาจเลี่ยงไปใช้ฟันฝั่งตรงกันข้ามในการเคี้ยวอาหาร และควรเคี้ยวเบาๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอาหารเป็นโจ๊ก ซุป หรืออาหารที่มีเนื้อเหลว

นอกจากนี้ยังควรแปรงฟันเบาๆ และอย่าเอาลิ้นหรือนิ้วไปดันหรือจิ้มแผล หลังจากครบกำหนดผ่าตัด 1 สัปดาห์​ทันตแพทย์จะนัดหมายให้เข้ามาล้างแผลและตรวจดูความเรียบร้อยของแผลอีกครั้ง

ทำรากฟันเทียม ที่ Thonglor Dental Hospital (TDH)

เปลี่ยนภาพจำเดิมๆ ของการทำรากฟันเทียมที่มีแต่ความซับซ้อน ให้เป็นการทำรากฟันเทียมที่แสนง่าย ผ่าตัดไม่นาน ใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศที่ได้คุณภาพและคงทนแข็งแรง ด้วยการทำรากฟันเทียมที่ Thonglor Dental Hospital (TDH)

รีวิวทำรากฟันเทียมที่ TDH รีวิวทำรากฟันเทียม

หากใครยังไม่รู้ว่าจะทำรากฟันเทียมที่ไหนดี? HDmall.co.th ขอแนะนำ Thonglor Dental Hospital (TDH) ขับเคลื่อนบริการทันตกรรมทุกรูปแบบด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยหลายส่วน เช่น การถ่ายภาพฟัน ตรวจเอกซเรย์ และสแกนฟันด้วยห้อง Digital Data Studio ซึ่งสามารถถ่ายทอดภาพโครงสร้างฟันของผู้เข้ารับบริการได้ในระบบ 3 มิติ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาฟันด้านต่างๆ ได้อย่างละเอียด

เครื่อง 3 Shape Intraoral Scan นวัตกรรมใหม่สำหรับการพิมพ์ฟันและถ่ายทอดภาพออกมาในระบบ 3 มิติอย่างละเอียด ทำให้ทันตแพทย์มองเห็นภาพความผิดปกติของฟันในส่วนที่ต้องรักษาได้ถึงระดับโครงสร้าง ทำให้การรักษารากฟันเทียม การทำสะพานฟัน หรือการครอบฟันแม่นยำยิ่งขึ้น

ทาง Thonglor Dental Hospital (TDH) ยังมีเครื่องตรวจสแกนและเอกซเรย์ฟันแบบเฉพาะอย่างเครื่อง CT SCAN (CS9300-Carestream) และเครื่อง X-ray KODAK 8000C ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมช่วยนำส่งภาพโครงสร้างภายในช่องปากอย่างชัดเจนขึ้น ทำให้ทันตแพทย์วิเคราะห์ออกแบบแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดที่สุด ทำให้การรักษาในทุกครั้งมีแต่ความสะดวกสบายและใช้เวลาน้อยที่สุด

ทีมทันตแพทย์จาก Thonglor Dental Hospital (TDH) มีความชำนาญในการผ่าตัดทำรากฟันเทียมอย่างมืออาชีพ มีความเข้าใจในความกังวลและความกลัวเกี่ยวกับการผ่าตัดในช่องปากของผู้เข้ารับบริการเป็นอย่างดี จึงมุ่งมั่นออกแบบแผนการรักษาให้สั้น กระชับ ไม่ซับซ้อน แต่แก้ไขความผิดปกติเกี่ยวกับรากฟันได้อย่างตรงจุด

รับบริการทำรากฟันเทียมที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด ผ่าตัดเสร็จกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที แถมมีฟันชิ้นใหม่ที่แข็งแรงทนทาน สบายต่อการใช้งานได้อย่างมั่นใจ ด้วยบริการทำรากฟันเทียมที่ Thonglor Dental Hospital (TDH) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ HDmall.co.th หรือแอดไลน์ปรึกษาแอดมินที่ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat