HDcare สรุปให้
ปิด
ปิด
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากเปลือกแคปซูลที่ห่อหุ้มข้อต่อบริเวณข้อมือ โดยปกติจะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน เกิดการอ่อนตัวหรือหย่อนตัวทำให้น้ำเลี้ยงข้อต่อเกิดแรงดันและทำให้มีก้อนถุงน้ำยื่นนูนออกมาที่ข้อมือ
- ถ้าไม่รักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือแต่เนิ่นๆ ขนาดของถุงน้ำจะโตขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสไปกดเบียดหลอดเลือดกับเส้นประสาทบริเวณรอบๆ ข้อมือ ส่งผลให้เกิดอาการชาที่ข้อมือได้
- การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะทำให้แพทย์สามารถกำจัดก้อนถุงน้ำออกได้อย่างแม่นยำและหมดจด ลดโอกาสที่จะเกิดก้อนถุงน้ำซ้ำอีกในอนาคต
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา
- ดูรายละเอียด ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ บริการจาก HDcare
- สอบถามรายละเอียด ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดถุงน้ำข้อมือ ที่ไลน์ @HDcare
จู่ๆ ข้อมือก็มีถุงน้ำนูนขึ้นมา แล้วจะมีวิธีรักษาอย่างไร? ถ้าหากใช้วิธีผ่าตัด จะมีขั้นตอนและเทคนิคแบบไหนบ้าง? พักฟื้นนานหรือไม่? เป็นซ้ำได้หรือเปล่า?
มาร่วมค้นหาคำตอบเกี่ยวกับ “การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ” กับหมอพั้นช์ พ.ต.ต. นพ. วรพล เจริญพร ศัลยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ และมีประสบการณ์ผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กโดยเฉพาะ หนึ่งในทีมแพทย์จากบริการ HDcare
อ่านประวัติหมอพั้นช์ได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอพั้นช์” คุณหมอกระดูกกับประสบการณ์ผ่าตัดส่องกล้องและผ่าตัดแผลเล็ก]
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือคืออะไร
- ลักษณะของก้อนถุงน้ำเป็นอย่างไร
- พบก้อนถุงน้ำที่อื่นนอกจากข้อมือได้หรือไม่
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร
- ถ้าไม่รักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะส่งผลเสียอย่างไร
- อาการรุนแรงขนาดไหนถึงควรผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
- วิธีแยกระหว่างก้อนถุงน้ำที่ข้อมือกับก้อนมะเร็ง
- ทุบก้อนถุงน้ำที่ข้อมือให้แตกได้ไหม
- การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมีกี่วิธี
- ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือดีกว่าทุบถุงน้ำที่ข้อมืออย่างไร
- การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
- ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือใช้เวลานานเท่าไหร่
- การดูแลและพักฟื้นหลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
- ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำ
- หลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำมีโอกาสเป็นซ้ำได้หรือไม่
- ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ กับ พ.ต.ต. นพ. วรพล ด้วยบริการจาก HDcare
- บทความที่แนะนำ
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือคืออะไร?
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ คือ ถุงน้ำที่มีลักษณะคล้ายกับลูกโป่งบรรจุน้ำไว้ข้างในซึ่งนูนขึ้นมาบริเวณข้อมือ ส่วนมากพบที่บริเวณหลังข้อมือใกล้กับนิ้วโป้งและนิ้วชี้
ก้อนถุงน้ำเกิดจากเปลือกแคปซูลที่ห่อหุ้มข้อต่อบริเวณข้อมือเกิดการอ่อนตัวหรือหย่อนตัว (ปกติจะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน) ทำให้น้ำเลี้ยงข้อต่อเกิดแรงดันและทำให้มีก้อนถุงน้ำยื่นนูนออกมา
ลักษณะของก้อนถุงน้ำเป็นอย่างไร?
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมีลักษณะเป็นก้อนนูนกลมที่ปูดขึ้นมาบนผิวข้อมือ เมื่อลองแตะดูจะพบว่า มีเนื้อแข็งตึงๆ และขยับได้เล็กน้อย แต่จะไม่เจ็บ ไม่บวมแดง ไม่แสบร้อน ไม่อักเสบ และเป็นก้อนเนื้อคนละประเภทกับก้อนมะเร็ง ไม่สามารถกลายเป็นก้อนมะเร็งได้
พบก้อนถุงน้ำที่อื่นนอกจากข้อมือได้หรือไม่?
ก้อนถุงน้ำที่นูนออกมาจากกระดูกข้อต่อสามารถพบได้บ่อย 3 ตำแหน่ง ได้แก่
- ด้านหลังข้อมือ
- ด้านหน้าข้อมือ
- ด้านหลังข้อพับบริเวณเข่า
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร?
ปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่สามารถหาหลักฐานที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ถุงน้ำที่ข้อมือเกิดจากอะไร แต่ก็มีทฤษฎีสันนิษฐานถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนถุงน้ำได้หลายอย่าง เช่น
- การยืดตัวหรือหย่อนตัวของเส้นเอ็นที่คลุมรอบข้อต่อ
- การบาดเจ็บเรื้อรังของข้อต่อที่เกิดจากการใช้งานหนักจนเกินไป
- การได้รับบาดเจ็บของเยื่อหุ้มข้อต่อ หรือมีวัตถุทิ่มแทงเข้าไปด้านในเยื่อหุ้มข้อต่อ
ถ้าไม่รักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะส่งผลเสียอย่างไร?
หากพบก้อนถุงน้ำที่ข้อมือและไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ขนาดของก้อนถุงน้ำก็จะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสไปกดเบียดหลอดเลือดกับเส้นประสาทบริเวณรอบๆ ข้อมือ ส่งผลให้เกิดอาการชาที่ข้อมือร่วมกับรู้สึกเจ็บมากขึ้นหากข้อมือได้รับแรงกระแทก และทำให้ข้อมือดูไม่สวยงามจากก้อนถุงน้ำที่ปูดขึ้นมาด้วย
อาการรุนแรงขนาดไหน ถึงควรผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
เกณฑ์ของอาการจากก้อนถุงน้ำที่ข้อมือซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ควรเข้ารับการผ่าตัด ได้แก่
- ก้อนถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มไปเบียดเส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียง จนทำให้มีอาการชา ปวดร้าวข้อมือ หรือรู้สึกอ่อนแรงที่ข้อมือ
- ก้อนถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เมื่อกระดกข้อมือ วิดพื้น หรือใช้ข้อมือรับน้ำหนักมากๆ จะทำให้รู้สึกปวดข้อมือยิ่งกว่าเดิม
- พบก้อนนูนบริเวณข้อมือ แต่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นก้อนถุงน้ำหรือก้อนเนื้อชนิดอื่น ในกรณีนี้แพทย์ก็จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อตัดนำตัวอย่างชิ้นเนื้อไปส่งตรวจในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
วิธีแยกระหว่างก้อนถุงน้ำที่ข้อมือกับก้อนมะเร็ง
วิธีสังเกตก้อนถุงน้ำที่ข้อมือนั้นทำได้ไม่ยาก โดยหากพบก้อนปูดขึ้นที่ด้านหลังข้อมือ ให้ลองใช้นิ้วกดลงไปเบาๆ และสังเกตว่าด้านในก้อนดังกล่าวมีของเหลวอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ก้อนถุงน้ำยังมักจะปูดนูนขึ้นเมื่อมีการงอข้อมือลง และจะมีขนาดเล็กลงเมื่อกระดกข้อมือขึ้นด้วย
แต่ถ้าพบก้อนปูดที่ข้อมือ เมื่อลองกดคลำดูแล้วพบว่าเป็นก้อนแข็ง ผิวหนังรอบก้อนนูนมีความผิดปกติ หรือคลำดูแล้วไม่พบขอบเขตของขนาดก้อนนูน ลักษณะของก้อนนูนแบบนี้ถือเป็นสัญญาณของก้อนมะเร็ง ให้รีบตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมกับแพทย์โดยเร็วที่สุด
ทุบก้อนถุงน้ำที่ข้อมือให้แตกได้ไหม?
การทุบก้อนถุงน้ำที่ข้อมือให้แตกเพื่อหยุดอาการของโรคนี้ ความจริงแล้วก็ไม่ใช่วิธีที่ผิดและไม่ได้เป็นอันตราย เพียงแต่การใช้วิธีทุบเพื่อให้ก้อนถุงน้ำแตกออกนั้นจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บได้มาก นอกจากนี้ยังต้องใช้แรงค่อนข้างเยอะในการทุบให้ก้อนถุงน้ำแตกด้วย
วิธีรักษานี้ยังไม่ช่วยป้องกันไม่ให้ก้อนถุงน้ำกลับมาเกิดซ้ำที่ข้อมือได้ ทางที่ดีหากพบถุงน้ำที่ข้อมือ ควรรักษากับแพทย์โดยตรงเพื่อให้ได้วิธีที่ไม่เจ็บ ช่วยยับยั้งโอกาสเกิดถุงน้ำที่ข้อมือซ้ำอีกในอนาคต โดยวิธีรักษาหลักเมื่อเกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมีกี่วิธี?
การผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือแบ่งเทคนิคในการผ่าตัดออกเป็น 2 วิธี ได้แก่
- การผ่าตัดแบบแผลเปิด ก่อนเริ่มผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้ฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณก้อนถุงน้ำเพื่อป้องกันอาการเจ็บ แพทย์จะเปิดแผลเหนือถุงน้ำเพื่อระบายของเหลวด้านในแล้วเย็บปิดแผล จากนั้นกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
- การผ่าตัดแบบส่องกล้อง ผู้ป่วยจะได้ฉีดยาบล็อกเส้นประสาทบริเวณข้อมือ แพทย์จะใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดสอดเข้าไประบายของเหลวและตัดก้อนถุงน้ำออก ขนาดของแผลหลังผ่าตัดจะมี 2 แผล ขนาดเพียง 2 มิลลิเมตรเท่านั้น
ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือดีกว่าทุบถุงน้ำที่ข้อมืออย่างไร?
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะทำให้แพทย์มองเห็นตำแหน่งที่เกิดก้อนถุงน้ำได้อย่างชัดเจน และทำให้สามารถกำจัดก้อนถุงน้ำออกได้แม่นยำและหมดจด ลดโอกาสที่จะเกิดก้อนถุงน้ำซ้ำอีกในอนาคต
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำยังสามารถผ่าส่งตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ ได้อีกด้วย
แต่หลังการผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ผู้ป่วยต้องดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาดและถูกสุขอนามัย ระหว่างนั้นก็สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติทุกอย่าง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือจะแตกต่างไปตามเทคนิคการผ่าตัดที่แพทย์เลือกใช้
หากเลือกผ่าตัดแบบแผลเปิด แทบไม่ต้องเตรียมตัวใดๆ เป็นพิเศษ เพียงแจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว แจ้งรายการยาที่กิน และไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
แต่ในกรณีที่เลือกผ่าตัดแบบส่องกล้อง ต้องงดน้ำและงดอาหารล่วงหน้าประมาณ 8-10 ชั่วโมง รวมถึงแจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว รวมถึงรายการยาให้แพทย์ทราบเช่นกัน
ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือใช้เวลานานเท่าไหร่?
ระยะเวลาผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะอยู่ที่ 15-60 นาที ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดที่แพทย์เลือกใช้
การดูแลและพักฟื้นหลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
- หลังจากผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือ ผู้ป่วยสามารถเดินทางกลับบ้านได้ทันที
- แพทย์แนะนำให้หมั่นยกแขนขึ้นสูงหรือใช้อุปกรณ์ช่วยห้อยแขนไว้ประมาณ 3 วัน
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด โดยมีทั้งยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวด
- หลีกเลี่ยงอย่าให้แผลโดนน้ำและเหงื่อประมาณ 1-2 สัปดาห์
- เมื่อพักฟื้นหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ แพทย์จะนัดหมายให้กลับมาตรวจดูความเรียบร้อยของแผลอีกครั้ง
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือ คือ อาการชาที่แผลผ่าตัด ซึ่งเกิดจากก้อนถุงได้ไปกดเบียดเส้นประสาทบริเวณโดยรอบ
หลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำ มีโอกาสเป็นซ้ำได้หรือไม่?
หลังจากผ่าตัด โอกาสที่ผู้ป่วยจะเกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือซ้ำอีกต่ำมาก แต่ทั้งนี้ก็อยู่กับหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมการใช้ข้อต่ออย่างหนัก ความแข็งแรงของเยื่อหุ้มข้อต่อบริเวณข้อมือ หากผู้ป่วยมีเยื่อหุ้มข้อต่อที่เสื่อมสภาพหรือเปราะบางมาก ก็มีโอกาสที่จะเกิดก้อนถุงน้ำซ้ำได้อีก
ผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ กับ พ.ต.ต. นพ. วรพล ด้วยบริการจาก HDcare
หากพบว่าที่ข้อมือมีก้อนถุงน้ำนูนขึ้นมา หรือเจอก้อนนูนที่ข้อมือแต่ไม่รู้ว่าเป็นก้อนอะไร อันตรายหรือไม่ และอยากผ่าตัดเพื่อรักษาให้หายขาด ทาง HDcare ยินดีช่วยดูแลให้คำปรึกษาและตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือให้กับคุณ พร้อมช่วยประสานงานนัดหมายแพทย์เพื่อทำการรักษาได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วทันใจ
สอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัย กับทางทีมของ HDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcare ได้เลย