รวมข้อมูลวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ (GARDASIL 9) คืออะไร ฉีดที่ไหน ราคาเท่าไร?

เมื่อพูดถึงการฉีดวัคซีน HPV หรือที่นิยมเรียกว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ใครหลายคนคงนึกถึงวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์หรือ 4 สายพันธุ์ แต่รู้ไหมว่า จริงๆ แล้วยังมีวัคซีน HPV อีกหนึ่งชนิดคือ วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมากกว่า

มีคำถามเกี่ยวกับ วัคซีนHPV9? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

สารบัญ [show]

ทำความรู้จักวัคซีน HPV 9 สายพันธ์ุ (GARDASIL 9)

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี 9 สายพันธุ์ หรือเรียกด้วยชื่อทางการค้าว่า GARDASIL 9 เป็นวัคซีนสำหรับบุคคลอายุ 9-45 ปี เพื่อป้องกันโรคบางชนิดที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) ประกอบด้วย สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58

เชื้อไวรัสเอชพีวีนั้นเป็นเชื้อในตระกูลไวรัสพาพิลโลมา (Papilloma virus) ซึ่งมีมากกว่า 150 สายพันธุ์ เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อที่เยื่อบุผิว และก่อโรคที่บริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงทวารหนักทั้งในเพศชายและเพศหญิง

GARDASIL 9 ประกอบด้วยสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Low risk type) แต่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ คือสายพันธุ์ 6 และ 11 และสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ (High risk type) ได้แก่ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58

ด้วยความที่มีจำนวนสายพันธุ์มากกว่าวัคซีน HPV ชนิดอื่นๆ จึงทำให้วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์สามารถป้องกันโรคได้มากกว่าวัคซีน HPV ชนิดอื่นๆ นั่นเอง

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์กับการป้องกันโรค

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคร้ายได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง มีรายละเอียดดังนี้

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์กับการป้องกันโรคในผู้หญิง

ในผู้หญิงอายุ 9-45 ปี วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ช่วยป้องกันโรคดังนี้

  • มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 ในผู้หญิงไทย
  • มะเร็งปากช่องคลอด และช่องคลอด (Vulvar and vaginal cancers)
  • รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก ปากช่องคลอด ช่องคลอด และทวารหนัก
  • มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
  • หูดที่อวัยวะเพศ

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์กับการป้องกันโรคในผู้ชาย

ในผู้ชายอายุ 9-45 ปี วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ช่วยป้องกันโรคได้ ดังนี้

  • มะเร็งทวารหนัก
  • มะเร็งศีรษะและลำคอบางชนิด เช่น มะเร็งลำคอ มะเร็งบริเวณช่องปาก
  • รอยโรคก่อนเป็นมะเร็งทวารหนัก
  • หูดที่อวัยวะเพศ

ผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์

ผู้ที่มีอาการแพ้สารเหล่านี้ ซึ่งได้แก่

  • วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์
  • อาการแพ้ยีสต์รุนแรง
  • สาร Amorphous aluminum hydroxyphosphate sulfate (AAHS)
  • สาร Polysorbate 80

สิ่งที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์

เพื่อความปลอดภัยในการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณ…

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์
  • มีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอชไอวี (HIV) หรือมะเร็ง
  • รับประทานยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  • มีไข้สูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส
  • เคยมีอาการแพ้ต่อวัคซีน HPV ขนาดก่อนหน้า หรือวัคซีนชนิดอื่นๆ
  • กำลังรับประทานยารักษาโรคประจำตัว วิตามิน หรือสมุนไพรอยู่

แพทย์จะประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และช่วยตัดสินใจว่าคุณหรือบุตรหลานของคุณควรได้รับวัคซีนหรือไม่

มีคำถามเกี่ยวกับ วัคซีนHPV9? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

แนวทางการเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์

รูปแบบการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์เหมือนกับการฉีดวัคซีน HPV ชนิดอื่นๆ คือ มีทั้งแบบ 2 เข็ม และ 3 เข็ม โดยจำนวนเข็มที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้เข้ารับการฉีดวัคซีน มีรายละเอียดดังนี้

  • ฉีดวัคซีน HPV 2 เข็ม สำหรับผู้ที่มีอายุ 9-14 ปี โดยเข็มแรกสามารถฉีดได้ทันที และฉีดเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 6-12 เดือน อย่างไรก็ตาม หากฉีดเข็มที่ 2 เร็วกว่า 5 เดือนหลังจากฉีดเข็มแรก จะต้องฉีดเข็มที่ 3 หลังจากฉีดเข็มที่ 2 ภายใน 4 เดือน
  • ฉีดวัคซีน HPV 3 เข็ม สำหรับผู้ที่มีอายุ 15-45 ปี โดยเข็มแรกสามารถฉีดได้ทันที เข็มที่ 2 ฉีดหลังจากเข็มแรก 2 เดือน และเข็มที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดจากการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ได้แก่ ปวดบวมแดง มีก้อนนูนบริเวณที่ฉีด ปวดหัว ไข้ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ท้องเสีย อาการปวดท้อง หรือเจ็บคอ เป็นอาการที่ไม่อันตรายและสามารถหายได้เอง

อย่างไรก็ตาม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการแพ้วัคซีน ได้แก่ หายใจลำบากหรือหายใจไม่ออก (หลอดลมหดเกร็ง) ลมพิษ หรือผื่น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีน HPV 9 สายพันธ์ุ

  • ผู้ที่เข้ารับวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงยังคงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด หรือมะเร็งทวารหนัก
  • วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ไม่สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ หรือเชื้อไวรัส HPV ที่นอกเหนือจากนั้น
  • วัคซีน HPV ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในผู้ที่เคยได้รับการติดเชื้อก่อนรับการฉีดวัคซีนได้

หากเคยได้รับการฉีดวัคซีน HPV 2 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธ์ุแล้ว สามารถรับการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ได้หรือไม่?

ผู้ที่เคยเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV 2 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ได้ โดยจะต้องเข้ารับการฉีดให้ครบจำนวนเข็มตามปกติ เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้นต่อสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยได้รับ

อย่างไรก็ตาม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่าเคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อนแล้ว

นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจ DNA เพื่อหาเชื้อไวรัสเอชพีวี เพราะหากเคยได้รับเชื้อมาก่อนหน้านั้นแล้ว วัคซีนจะไม่สามารถช่วยป้องกันหรือรักษาโรคจากไวรัสนั้นๆ ได้

ไขข้อสงสัย ทำไมผู้หญิงทุกคนถึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV?

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทย โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ 10,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 27 คน และมีผู้ที่เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 5,200 คนต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 14 คน

อย่างไรก็ตาม มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้มากกว่า 80% หากเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี โดยแนะนำให้ฉีดในช่วงอายุ 9-45 ปี หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

แต่สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV ได้เช่นกัน แต่จะไม่สามารถรักษาหรือป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่ติดไปก่อนแล้ว ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ


เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจฉีดวัคซีน HPV 

มีคำถามเกี่ยวกับ วัคซีนHPV9? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ