ติดตามพัฒนาการตัวอ่อนทุกระยะได้ในมือถือคุณ ที่จีเนียเท่านั้น!


Grow by Genea แอปพลิเคชั่นติดตามผลระหว่างเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • Grow by Genea คือ แอปพลิเคชั่นดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่ผลิตขึ้นโดยจีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก เพิ่มความสะดวกสบายและลดความกังวลใจให้กับคู่รักในระหว่างอยู่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
  • สามารถดูพัฒนาการตัวอ่อนได้ทั้งแบบภาพนิ่งและวีดีโอในระยะ Close-up ทำให้เห็นภาพตัวอ่อนได้ในระยะใกล้ที่สุด
  • ลำดับรูปภาพและวีดีโอพัฒนาการของตัวอ่อนจะแทรคกิ้งตามวันเวลาที่จะผ่านไปเรื่อยๆ ตามแผนการรักษา คล้ายกับเป็นปฏิทินรูปภาพ และสามารถดูย้อนหลังได้
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก

เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นอีกด้านของนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวไกลไปมาก แต่ยังคงมีการวิจัยและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อเติมเต็มความฝันของการมีลูกให้กับมนุษย์ทุกคน

ซึ่งในบทความนี้ HDmall.co.th ขอแนะนำอีกเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจอีกชนิดอย่าง “Grow by Genea” แอปพลิเคชั่นดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่ผลิตขึ้นโดยจีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก

แอปพลิเคชั่นดูตัวอ่อน Grow by Genea มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและลดความกังวลใจให้กับคู่รักในระหว่างอยู่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว แต่แอปพลิเคชั่นนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในขั้นตอนใด จุดด้อยในส่วนไหนที่ Grow by Genea จะเข้ามาช่วยอุดช่องว่างส่วนไหน บทความนี้มีคำตอบให้อย่างละเอียด

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

ก่อนที่จะไปเจาะลึกแอปพลิเคชั่น Grow by Genea HDmall.co.th ขอแจกแจงกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วให้คุณได้ทราบเป็นลำดับอย่างละเอียดเสียก่อน

1. ตรวจสุขภาพอย่างละเอียด

การตรวจสุขภาพความพร้อมของฝ่ายหญิงและฝ่ายชายก่อนทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์อาจมีการเจาะเลือด ตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์ และซักประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผ่านมาเพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพร่างกายมีความสมบูรณ์พร้อมต่อการเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว

หากผู้เข้ารับบริการเคยผ่านการตรวจสุขภาพ หรือมีประวัติการรักษาโรคประจำตัวใดๆ ก็สามารถนำผลตรวจมาให้แพทย์ตรวจวิเคราะห์ประกอบไปพร้อมๆ กันได้

หลังจากนั้นแพทย์จะแนะนำแนวทางการเตรียมสุขภาพให้พร้อม ก่อนเริ่มขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว คู่รักบางคู่อาจต้องกลับไปดูแลสุขภาพใหม่ประมาณ 1-3 เดือน แล้วจึงค่อยกลับเข้ามากระบวนการทำเด็กหลอดแก้วอีกครั้ง

2. กระตุ้นการสร้างเซลล์ไข่ (Oocyte)

เมื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายกลับไปเตรียมสุขภาพให้พร้อมต่อการรักษาภาวะมีบุตรยากแล้ว แพทย์จะนัดหมายให้เข้าตรวจเลือดเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอีกครั้ง

หากร่างกายของทั้งคู่แข็งแรงดีพอต่อการทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์จะเริ่มฉีดยากระตุ้นร่างกายฝ่ายหญิงให้สร้างไข่ขึ้นมาในคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ โดยจะฉีดประมาณ 3-4 วัน วันละ 2 ครั้ง

ในระหว่างนี้แพทย์อาจนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการหญิงกลับมาตรวจดูค่าฮอร์โมน และความคืบหน้าของการผลิตไข่ ผ่านการตรวจเลือดกับทำอัลตราซาวด์ด้วย และจะให้ยาป้องกันไม่ให้ไข่ตกก่อนเวลาที่จะเก็บไข่

3. ฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตกและเก็บไข่

เมื่อแพทย์พิจารณาจากผลเลือดและผลตรวจอัลตราซาวด์จนได้ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการเก็บไข่แล้ว ผู้เข้ารับบริการจะได้รับยาฉีดกระตุ้นฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายขับถุงไข่ออกมายังท่อนำไข่

จากนั้นเมื่อผ่านไป 36 ชั่วโมงหลังจากฉีดยากระตุ้น แพทย์จะเก็บไข่ผ่านการให้ยาชา ยาระงับปวด แล้วใช้เข็มสอดเข้าผนังช่องคลอดข้างปากมดลูก เข้าไปถึงด้านในรังไข่แล้วดูดเอาของเหลวที่มีอยู่ในถุงไข่ออกมา จากนั้นนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะนำของเหลวที่เก็บได้ไปตรวจหาไข่ต่อไป

4. เก็บเชื้ออสุจิจากฝ่ายชาย

เมื่อเก็บไข่จากฝ่ายหญิงแล้ว ฝ่ายชายจำเป็นต้องเก็บเชื้ออสุจิเพื่อนำไปผสมกับไข่ในห้องปฏิบัติการด้วย โดยอาจเลือกเก็บเองที่บ้านแล้วนำน้ำเชื้อใส่ชุดเก็บที่ทางสถานพยาบาลให้มา จากนั้นนำส่งกลับมาที่ห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 1 ชั่วโมง

หรือหากผู้เข้ารับบริการไม่สะดวกเดินทาง หรือที่พักอาศัยอยู่ไกลจนไม่สามารถนำส่งเชื้ออสุจิได้ทันเวลา ก็สามารถเดินทางมาเก็บเชื้ออสุจิที่สถานพยาบาลได้เช่นกัน โดยเชื้ออสุจิที่ฝ่ายชายเก็บได้ และจะนำไปผสมเทียมกับไข่มีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • แบบสด เป็นเชื้ออสุจิที่เพิ่งเก็บได้ และนำไปผสมกับไข่ในห้องปฏิบัติการทันที
  • แบบแช่แข็ง เป็นเชื้ออสุจิที่เก็บไว้ล่วงหน้าแล้วนำไปแช่แข็งไว้ในห้องปฏิบัติการ มักพบในผู้เข้ารับบริการชายที่มีปัญหาเก็บน้ำเชื้อไม่สำเร็จมาก่อน หรือในวันที่ต้องเก็บเชื้อ มีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถเก็บได้

5. เริ่มการปฏิสนธิ

เมื่อได้ไข่กับเชื้ออสุจิแล้ว นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะนำไข่กับเชื้ออสุจิของคู่รักมาใส่ในจานเพาะเลี้ยงเดียวกันเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นในวันรุ่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะกลับมาตรวจสอบอีกครั้งว่า มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นหรือยัง

6. เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อน (Embryo) ตามแผนการรักษาแล้ว นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะเริ่มการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนด้วยสารละลายพิเศษซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหาร และวิตามินสำคัญ เช่น เกลือ น้ำตาล โปรตีน กรดอะมิโน และจะเก็บตัวอ่อนไว้ในตู้แช่ตัวอ่อนเท่านั้น

“เจอรี่ (Geri)” ตู้แช่ตัวอ่อนที่ จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก มีความพิเศษกว่าตู้แช่ตัวอ่อนของคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากทั่วๆ ไป เพราะเป็นตู้แช่ตัวอ่อนที่มีการรักษาอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับเวลาตัวอ่อนฝังตัวอยู่ในร่างกายของมารดา จึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพที่สุด และไม่ต้องกลับมาเปิดตู้เพื่อดูความคืบหน้าในการเจริญเติบโตของตัวอ่อนซ้ำ

ตัวอ่อนที่อยู่ในตู้เจอรี่ของจีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิกจึงจะได้รับบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อพัฒนาการอย่างดีที่สุด และเพิ่มโอกาสถึง 12.2% ให้เขาได้กลายเป็นทารกที่คลอดออกมาจากครรภ์แม่อย่างปลอดภัยและสุขภาพสมบูรณ์ครบถ้วน

นอกจากการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแล้ว นักวิทยาศาสตร์และแพทย์อาจตรวจความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อนเพิ่มเติม เพื่อจะได้สามารถคัดแยกตัวอ่อนที่มีร่างกายแข็งแรงกับตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของโครโมโซมออกจากกัน

การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมจะช่วยให้ผู้เข้ารับบริการได้ตรวจคัดกรองความแข็งแรงของตัวอ่อนแต่ละตัวได้อย่างละเอียดมากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียคือ จำนวนตัวอ่อนที่เหมาะต่อการย้ายเข้าร่างกายฝ่ายหญิงหลังตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจมีจำนวนน้อยลง

7. ย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก

หลังจากเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้ประมาณ 5-6 วัน แพทย์จะย้ายตัวอ่อนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีความผิดปกติของโครโมโซมร่างกายเข้าสู่โพรงมดลูกของผู้เข้ารับบริการฝ่ายหญิง โดยก่อนหน้านั้นจะมีการตรวจรอบประจำเดือนและช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการย้ายตัวอ่อนมากที่สุด

กระบวนการย้ายตัวอ่อนจะคล้ายกับการตรวจภายใน ไม่รู้สึกเจ็บมากจนต้องใช้ยาระงับปวด และพักฟื้นเพียงไม่นานก็กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ต้องอยู่ในการระมัดระวังเป็นอย่างสูง มิเช่นนั้นตัวอ่อนอาจหลุดจากการฝังตัว และทำให้การใส่ตัวอ่อนรอบนั้นล้มเหลวลงในที่สุด

สำหรับคู่รักที่มีตัวอ่อนจากการปฏิสนธิหลายตัว และมีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นักวิทยาศาสตร์จะแช่ตัวอ่อนเหล่านั้นเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป หรือเผื่อในกรณีที่ตัวอ่อนที่ใส่ไปตัวแรกหลุด ไม่ฝังตัวกับมดลูก หรือเกิดการแท้งบุตรในภายหลัง

8. ทดสอบการตั้งครรภ์

หากตัวอ่อนที่ใส่เข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงสามารถฝังตัวกับผนังมดลูกได้ตามแผนการรักษา ตัวอ่อนก็จะค่อยๆ เจริญเติบโตกลายเป็นทารก และนำไปสู่การตั้งครรภ์โดยสมบูรณ์ ซึ่งการตั้งครรภ์นี้จะสามารถยืนยันได้ผ่านการตรวจเลือดกับแพทย์ หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้วประมาณ 9-11 วัน

ติดตามผลระหว่างการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ด้วยแอปพลิเคชั่น Grow by Genea

หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วในระหว่างที่นักวิทยาศาสตร์และแพทย์กำลังเพาะเลี้ยงตัวอ่อนอยู่ในตู้เลี้ยงนั้น เราจะสามารถเห็นความคืบหน้าในการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้อย่างไร และคงมีคู่รักหลายคู่ที่คงจะอยากตามติดความสำเร็จในการปฏิสนธินี้อย่างใกล้ชิด

โดยปกติแล้ว สถานพยาบาลด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากจะโทรศัพท์แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการตัวอ่อน หรือถ่ายรูปส่งทางแอปพลิเคชั่นแชททั่วไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบริการของแต่ละสถานพยาบาล

แต่ที่จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก มีทางเลือกที่ดีกว่านั้น ผ่านการใช้แอปพลิเคชั่น Grow by Genea ซึ่งเป็นแคปพลิเคชั่นตรวจดูพัฒนาการของตัวอ่อนผ่านกล้องที่ติดตั้งอยู่ในตู้เลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ

  • พัฒนาการของตัวอ่อนที่ติดตามผ่าน Grow by Genea จะประกอบไปด้วยภาพนิ่งและวีดีโอในระยะแบบ Close-up ซึ่งจะทำให้เห็นภาพตัวอ่อนได้อย่างชัดเจนและในระยะใกล้ที่สุด
  • ลำดับรูปภาพและวีดีโอพัฒนาการของตัวอ่อนจะแทรคกิ้งตามวันเวลาที่จะผ่านไปเรื่อยๆ ตามแผนการรักษา คล้ายกับเป็นปฏิทินรูปภาพ และสามารถดูย้อนหลังได้
  • แต่ละรูปภาพและวีดีโอจะมีรายละเอียดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในแต่ละวันกำกับไว้ ให้ผู้เข้ารับบริการทราบถึงลำดับพัฒนาการตัวอ่อนอย่างละเอียดที่สุด และมีข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ถ่ายภาพนั้นๆ ไว้ให้ผู้เข้ารับบริการทราบด้วย
  • แอปพลิเคชั่นจะรายงานวันและช่วงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะกลับมาตรวจเช็กดูตัวอ่อนอีกครั้ง และโทรรายงานให้ผู้เข้ารับบริการทราบ
  • แอปพลิเคชั่นยังสามารถรายงานช่วงเวลาคร่าวๆ ที่จะทางห้องปฏิบัติการจะถ่ายภาพความคืบหน้าล่าสุดของตัวอ่อนลงในแอปพลิเคชั่นให้ผู้เข้ารับบริการได้เห็นด้วย
  • ผู้เข้ารับบริการสามารถแชร์ภาพหรือวีดีโอจากแอปพลิเคชั่น รวมถึงตั้งชื่อไฟล์ได้เอง และส่งต่อไปให้คนในครอบครัวหรือคนสนิทได้อย่างอิสระ
  • รองรับทั้งระบบ Android และ IOS
ภาพตัวอย่างแอปพลิเคชั่น Grow by Genea

ด้วยความเหนือชั้นของแอปพลเคชั่น Grow by Genea นี้ ผู้เข้ารับบริการจึงจะได้ตามติด และไม่ต้องนั่งวิตกกังวลในระหว่างที่รอกระบวนการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแต่อย่างใด แต่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการตรวจดูพัฒนาการของตัวอ่อนไปพร้อมๆ กับนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

ความสะดวกสบายจากแอปพลิเคชั่นนี้สามารถพบได้ที่จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิกแห่งเดียวเท่านั้น

หากคุณสนใจอยากทำเด็กหลอดแก้วโดยมีเทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกไปตลอดทุกกระบวนการ และยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีเป็นผู้ดูแล สามารถจองคิว ปรึกษาการทำเด็กหลอดแก้ว ที่ จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก ได้ผ่านทางเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลผ่านทางไลน์ @HDcoth


ที่มาของข้อมูล

  • จีเนีย ไอวีเอฟแอนด์เจเนติกส์ สหคลินิก, ทึ่ง! นักวิทย์ชาวออสซี่ ได้พัฒนาเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว ไปอีกขั้น! เพิ่มอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) 12.2%, (https://genea.co.th/ทึ่ง-นักวิทย์ชาวออสซี่/).
@‌hdcoth line chat