HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- 5 รายการตรวจที่มักไม่มีในโปรแกรมสุขภาพทั่วไป เพื่อให้คุณรู้จักวิธีการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมในเชิงลึก ได้แก่ ตรวจหาเอนไซม์ G6PD ตรวจอัตราการตะกอนของเม็ดเลือดแดง ตรวจระดับการอักเสบของหลอดเลือด ตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และการตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด
- โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (G-6PD Deficiency) คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากร่างกายมีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD โดยจะไม่แสดงอาการออกมาภายนอกอย่างชัดเจน
- การตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบแอบแฝงภายในร่างกายกับอวัยวะส่วนใดก็ได้ และสามารถนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ
- การอักเสบของหลอดเลือด เกิดจากการตอบสนองต่ออาการอักเสบ การติดเชื้อ หรือการเสื่อมสภาพของเซลล์ภายในร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มากมาย เช่น การติดเชื้อที่ปอด ตับ ไส้ โรคไต โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
- การตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ การตรวจความหนาตัวของเยื่อบุหลอดเลือดว่ามีประสิทธิภาพในการขนส่งออกซิเจนและเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอหรือไม
- การตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด (Blood lead level) คือ การตรวจหาสารโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายซึ่งปะปนอยู่รอบตัว และสารพิษอื่นๆ ที่อาจแฝงตัวอยู่โดยที่เรายังไม่รู้ตัว
- บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก Bangkok Anti Aging Center แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายแพ็กเกจดังกล่าว
- ดูรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพเชิงลึก บน HDmall.co.th
- ดูแพ็กเกจทั้งหมดจาก Bangkok Anti Aging Center บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
สารบัญ
- ตรวจหาเอนไซม์ G6PD
- ตรวจอัตราการตะกอนของเม็ดเลือดแดง
- ตรวจระดับการอักเสบของหลอดเลือด
- ตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ
- การตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด
- ตรวจสุขภาพแบบเจาะลึกที่ BAAC เพื่อความมั่นใจในทุกระบบของร่างกาย
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
การหาความบกพร่องของระบบร่างกายในเชิงลึก อาจเป็นสิ่งที่โปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไปอาจไม่สามารถให้คำตอบได้ และทำให้ผู้รับบริการหลายรายหาสาเหตุของอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของร่างกายไม่ได้
แตกต่างจากที่ศูนย์การแพทย์ Bangkok Anti Aging Center หรือ BAAC ที่มีนวัตกรรมการตรวจสุขภาพเชิงลึกที่สามารถนำไปวิเคราะห์อาการเจ็บป่วยได้ว่าเกิดจากอะไร และควรรักษาด้วยวิธีการใด ผ่านคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
ใครที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นไมเกรน รู้สึกไม่สดชื่น เจ็บป่วยง่าย แต่ยังหาสาเหตุไม่เจอว่า ร่างกายอ่อนแอเพราะอะไร อย่าพลาดที่จะอ่านบทความ 5 รายการตรวจสุขภาพสุดพิเศษ ที่อาจช่วยไขคำตอบให้กับคุณได้
โดยในบทความนี้ นพ.ณัฐพล สุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพจาก Bangkok Anti Aging Center ร่วมกับ HDmall.co.th จะมาเจาะลึก 5 รายการตรวจสุขภาพที่ BAAC ที่สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดจุดบกพร่องของเสีย หรืออาการอักเสบในร่างกายได้อย่างละเอียด นอกจากนี้ยังเป็น 5 รายการตรวจที่มักไม่มีในโปรแกรมสุขภาพทั่วไปด้วย เพื่อให้คุณรู้จักวิธีการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมในเชิงลึกขึ้นไปอีก ได้แก่
- หาเอนไซม์ G6PD
- ตรวจอัตราการตะกอนของเม็ดเลือดแดง
- ตรวจระดับการอักเสบของหลอดเลือด
- ตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ
- การตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด
1. ตรวจหาเอนไซม์ G6PD
การตรวจหาเอนไซม์ G6PD คือ รายการตรวจหาเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่สำคัญ คือ ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวง่ายจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ
หากตรวจแล้วไม่พบเอนไซม์ G6PD ก็แสดงว่า ผู้เข้ารับบริการเป็นผู้มีความเสี่ยงต่อ “โรคพร่องเอนไซม์ G6PD”
โรคพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร?
โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (G-6PD Deficiency) คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากร่างกายมีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD โดยอาการหลักๆ ของโรคพร่องเอนไซม์ G6PD จะไม่แสดงอาการออกมาภายนอกอย่างชัดเจน แต่อาจมีอาการต่อไปนี้
- เป็นไข้ ตัวหนาวสั่น
- ปวดเมื่อยตามตัว
- ตัวเหลือง
- ตาเหลือง
- ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาล
- เป็นโรคโลหิตจาง
อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยโรค G6PD อีกหลายรายที่ยังไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้ เพราะไม่มีอาการแสดงใดๆ ออกมาอย่างชัดเจนและร้ายแรง แต่โรคนี้ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้นได้ผ่านการรับประทานอาหาร หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น ถั่วปากอ้า สารเมนทอลในลูกเหม็น
ใครที่ควรตรวจหาเอนไซม์ G6PD?
ทุกคนควรเข้ารับการตรวจหาเอนไซม์ G6PD โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะอาการของโรคนี้อาจไม่แสดงออกมา การตรวจหาเอนไซม์ G6PD จะทำให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น
ครอบครัวที่มีลูกอ่อนเพิ่งคลอด และฝ่ายพ่อหรือแม่เคยมีประวัติเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD มาก่อนควรมาเข้ารับการตรวจด้วยเช่นกัน เพราะเด็กมีความเสี่ยงที่จะได้รับการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมนี้ไปด้วย
วิธีการตรวจหาเอนไซม์ G6PD
การตรวจหาเอนไซม์ G6PD ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงเข้าพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดแล้วส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ และรอฟังผลกับแพทย์อีกครั้งก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
สำหรับผลการตรวจหาเอนไซม์ G6PD จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ
- ผู้เข้ารับบริการมีเอนไซม์ G6PD ซึ่งถือว่าร่างกายเป็นปกติดี
- ผู้เข้ารับบริการขาดเอนไซม์ G6PD ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพเพิ่มเติมต่อไป
ตรวจเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพอย่างไร?
การดูแลสุขภาพเมื่อตรวจพบว่า เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD จะขึ้นอยู่กับอาการของโรคที่เกิดขึ้น
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคนี้แสดงออกมาจนยากต่อการใช้ชีวิต เพียงแค่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการของโรคแสดงออกมา ก็เพียงพอแล้ว
แต่ในผู้ป่วยโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ที่มีอาการเจ็บป่วยหลายอย่าง เช่น ตัวซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือเป็นโรคโลหิตจาง บางรายอาจอาการรุนแรงถึงขั้นไตวายเฉียบพลัน ก็จำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาและรับการรักษาอาการที่เกิดขึ้นกับแพทย์ประจำตัวต่อไป
2. ตรวจอัตราการตะกอนของเม็ดเลือดแดง
การตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate: ESR) คือ การตรวจหาการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการอักเสบแอบแฝงภายในร่างกาย โดยอาจเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนใดก็ได้ และสามารถนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น
- โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis)
- วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB)
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- โรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ (Vasculitis)
ใครที่ควรตรวจอัตราการตะกอนของเม็ดเลือดแดง?
ผู้ที่ควรตรวจหาอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงไม่ได้มีเจาะจงเฉพาะกลุ่ม ดังนั้นผู้ที่อยากรู้ว่า ภายในร่างกายมีการอักเสบซ่อนเร้นในส่วนใดหรือไม่ หรือมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น อ่อนเพลียง่าย แต่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ ก็สามารถมาตรวจหาอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงได้ทุกคน
วิธีการตรวจและค่าอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง
แพทย์จะตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงผ่านการเจาะเลือด จากนั้นจะส่งไปตั้งในหลอดทดลองภายในห้องปฏิบัติการประมาณ 1 ชั่วโมง แพทย์จะตรวจดูอัตราแล้วอ่านค่าการตกตะกอนที่เกิดขึ้น
สำหรับค่าอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง มีเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- ค่าประมาณ 10-20 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร่างกายไม่มีการอักเสบที่ต้องตรวจเพิ่ม
- ค่าประมาณ 40-70 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ภายในร่างกายอาจมีการอักเสบบางอย่าง
- ค่าประมาณ 80-90 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง อยู่ในเกณฑ์สูง อาจมีการอักเสบรุนแรงหรือมีโรคประจำตัวที่ไม่เคยทราบมาก่อน
สำหรับผู้ที่มีอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงค่อนข้างสูง แพทย์จะขอให้ตรวจสุขภาพหรือตรวจความผิดปกติอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อจะได้แนะนำแนวทางการรักษาสุขภาพและลดการอักเสบภายในได้อย่างเหมาะสม
ผู้ที่ตรวจหาอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงแล้วพบว่า ค่าผลตรวจออกมาค่อนข้างสูงแต่ไม่มีโรคประจำตัว แพทย์อาจแนะนำให้รับการฟื้นฟูความแข็งแรงของระบบภายในร่างกาย ผ่านการให้สารอาหารทางหลอดเลือดหรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม
3. ตรวจระดับการอักเสบของหลอดเลือด
การตรวจระดับการอักเสบของหลอดเลือด (C-Reactive Protein: CRP) คือ การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือดซึ่งเกิดจากการตอบสนองต่ออาการอักเสบ การติดเชื้อ หรือการเสื่อมสภาพของเซลล์ภายในร่างกาย
การอักเสบของหลอดเลือดสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ นอกจากนี้ภาวะความเครียด การรับมลพิษ มลภาวะ หรือสารเคมีต่างๆ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งอยู่ในกิจวัตรประจำวันของใครหลายคน ก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดได้เช่นกัน
โดยการอักเสบของหลอดเลือดสามารถส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงในภายหลังได้มากมาย เช่น
ใครที่ควรตรวจระดับการอักเสบของหลอดเลือด?
ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เจ็บป่วยง่าย ตรวจสุขภาพหรือตรวจเลือดเบื้องต้นแล้วแต่ก็ไม่พบความผิดปกติ ก็ควรลองมารับการตรวจการอักเสบของหลอดเลือด เพราะเป็นไปได้ว่า อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอาจมาจากการอักเสบหรือติดเชื้อภายในร่างกายก็เป็นได้
วิธีการตรวจและฟื้นฟูการอักเสบของหลอดเลือด
แพทย์จะใช้วิธีการตรวจเลือดในการตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด โดยค่าการอักเสบของหลอดเลือดที่พบในคนทั่วมีตั้งแต่ 1 มิลลิกรัมต่อลิตรไปจนถึง 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งค่าเฉลี่ยทั่วไปไม่ควรเกิน 3-5 มิลลิกรัมต่อลิตร
หากผู้ตรวจมีค่าเกินกว่านั้นแสดงว่า ร่างกายมีอักเสบ ติดเชื้อ หรือเซลล์มีการเสื่อมสภาพบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายได้ และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อหาบริเวณที่อักเสบต่อไป
สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีโรคประจำตัวหรือมีอาการอักเสบภายในร่างกายที่ไม่ได้รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการฟื้นฟูผ่านการให้วิตามินและสารอาหารทางหลอดเลือด รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือการจัดการความเครียดเพิ่มเติมต่อไป
4. ตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ การตรวจความหนาตัวของเยื่อบุหลอดเลือดว่ามีประสิทธิภาพในการขนส่งออกซิเจนและเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอหรือไม่
ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร?
ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease :CAD) คือ ภาวะที่เยื่อบุหลอดเลือดมีความหนาตัวมากเกินไป อาจเกิดจากการสะสมของไขมันหรือเนื้อเยื่อบริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนในหลอดเลือดไม่คล่องตัว เสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย
1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่
- พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคเบาหวานมาก่อน ก็มีความเสี่ยงที่เกิดภาวะนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
- อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะยิ่งมากขึ้น
- เพศ โดยเพศชายจะมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้มากกว่าผู้หญิง ยกเว้นแต่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่จะเริ่มมีความเสี่ยงใกล้เคียงกับเพศชาย
2. ปัจจัยที่ควบคุมได้ มักเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น
- ความเครียด
- การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ไม่ค่อยออกกำลังกาย
ใครที่ควรตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ?
กลุ่มผู้ที่ควรรับการตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และผู้ที่มีภาวะอ้วนเกินเกณฑ์
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮฺอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
วิธีการตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงหรือการตรวจเอคโค่ (Echocardiogram)
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT Scan)
- การตรวจเลือดดูค่าเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจ
อย่างไรก็ตาม วิธีการตรวจที่ทาง BAAC เลือกใช้ถือเป็นวิธีที่ง่ายและไม่ซับซ้อนที่สุด นั่นก็คือ การตรวจเลือดเพื่อดูค่าโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่เกิดจากการขาดสารอาหารและวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 6, วิตามินบี 9 และวิตามินบี 12
ยิ่งค่าโฮโมซิสเตอีนสูงเท่าไร ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบสูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้นหากผลการตรวจค่าโฮโมซิสเตอีนในเลือดต่ำกว่า 7-10 ไมโครโมลต่อลิตรก็ถือว่าไม่เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และมีระดับสารอาหารที่จำเป็นต่อหลอดเลือดเพียงพอ
แต่หากค่าการตรวจออกมาสูงกว่านั้น ก็จำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ต่อไป
ปรับพฤติกรรมอย่างไร จึงจะลดความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้?
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการรับประทานอาหารเป็นอันดับแรก หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารประเภททอด หรืออาหารรสหวานให้น้อยลง
นอกจากนี้ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยก็จำเป็นต้องหันกลับมาลองออกกำลังกายบ้างเพื่อกำจัดไขมันส่วนเกินที่ก่อโรคออกไปจากร่างกาย และต้องเลิกบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์รวมถึงสูบบุหรี่ในผู้ที่เคยบริโภคและสูบมาเป็นระยะเวลานานด้วย
5. การตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด
การตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด (Blood lead level) คือ การตรวจหาสารโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายซึ่งปะปนอยู่รอบๆ ตัวเราไม่ว่าจะเป็น
- อากาศ ฝุ่น ควัน
- อาหาร เช่น อาหารทะเล อาหารแปรรูป พืชผักที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง
- ชุมชนที่เราอาศัยหรือทำงานอยู่
- ชั้นบรรยากาศของโลก
นอกจากสารตะกั่ว (Lead) ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและแทรกซึมอยู่ในหลอดเลือดของเรา ยังมีสารพิษอื่นๆ ที่อาจแฝงตัวอยู่ในร่างกายของเราอีก เพียงแต่เรายังไม่รู้เท่านั้น เช่น
- สารหนู (Arsenic)
- สารปรอท (Mercury)
- สารแคดเมียม (Cadmium)
เมื่อมีสารโลหะหนักรวมถึงสารพิษอื่นๆ สะสมในร่างกายมากขึ้น ก็มีความเสี่ยงที่ระบบในร่างกายจะเสื่อมตัวเร็วขึ้น และอาจเป็นโรคพิษตะกั่วสะสม (Lead Poisoning) ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายก่อนจะแสดงออกมาในรูปอาการเจ็บป่วยที่ไม่จำเพาะ เช่น
- คลื่นไส้อาเจียน
- มึนศีรษะ
- อ่อนเพลียง่าย
- ไม่สดชื่น รู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
- เบื่ออาหาร
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ความทรงจำไม่ดี
- ไม่มีสมาธิ
ใครที่ควรตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือด?
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า ผู้ที่ควรรับการตรวจจะต้องเป็นผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในแหล่งสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
เราทุกคนล้วนเป็นผู้เสี่ยงต่อโรคพิษตะกั่วสะสมและควรเข้ารับการตรวจหาสารตะกั่วในหลอดเลือดกันทุกคน เพราะในทุกๆ วัน ทุกคนต้องเผชิญกับอากาศและมลภาวะแปลกปลอมมากมายโดยที่ไม่รู้ตัว และในระหว่างนั้นร่างกายก็อาจรับเอาสารโลหะหนักหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายไปแล้วก็ได้
อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง รู้สึกไม่สดชื่น เบื่ออาหาร สมองอ่อนล้า หรือความจำเริ่มเลอะเลือน ทำงานไม่ค่อยมีสมาธิก็อาจเกิดจากโรคพิษตะกั่วสะสมเพียงแต่คุณยังไม่เคยรู้มาก่อนเท่านั้น
วิธีการตรวจสารตะกั่วในหลอดเลือด
การตรวจสารตะกั่วในหลอดเลือดจะตรวจผ่านวิธีเจาะเลือดส่งตรวจห้องปฏิบัติการ โดยค่าตรวจที่ดีที่สุดที่ออกมาสำหรับผู้เข้ารับบริการทุกคน คือ ไม่มีสารตะกั่วอยู่ในหลอดเลือดเลย
อย่างไรก็ตาม การไม่มีสารตะกั่วอยู่ในหลอดเลือดเลยถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษที่อยู่รายล้อมตัวเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นค่าการตรวจหาสารตะกั่วที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ร้ายแรงมากจะอยู่ที่ 20-30 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร หากตรวจแล้วพบว่า ค่าปริมาณสารตะกั่วในหลอดเลือดสูงกว่านี้ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ หรือเกิดโรคพิษตะกั่วสะสมได้
วิธีการล้างสารตะกั่วออกจากหลอดเลือด
หากตรวจพบค่าสารตะกั่วเกินกว่ามาตรฐาน แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้เข้ารับบริการรับการล้างพิษหลอดเลือดหรือเรียกอีกชื่อว่า “การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy)”
การทำคีเลชั่นเป็นกระบวนการล้างพิษสารโลหะหนักออกจากหลอดเลือด ผ่านการใส่กรดอะมิโนชนิดพิเศษชื่อว่า “อีดีทีเอ (Ethylene Diamine Tetra Acetic Acid: EDTA)” เข้าไปในหลอดเลือดเพื่อจับเอาสารตะกั่ว สารโลหะหนัก และสารพิษชนิดอื่นๆ แล้วขับออกมาทางปัสสาวะ
ตรวจสุขภาพแบบเจาะลึกที่ BAAC เพื่อความมั่นใจในทุกระบบของร่างกาย
การตรวจสุขภาพ คุณอาจทราบผลของระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงผลการตรวจเลือดเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไร ในขณะที่การตรวจสุขภาพที่ BAAC ไม่ได้จบผลการตรวจเพียงแค่นั้น
เพราะทุกรายการตรวจสุขภาพของ BAAC มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาสาเหตุของความเสื่อมที่ซ่อนอยู่ในร่างกายในเชิงลึกไปจนถึงเซลล์เล็กๆ และเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้รู้วิธีดูแลสุขภาพเฉพาะตัวบุคคลอย่างยั่งยืน
โดย 5 รายการตรวจที่กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นการตรวจสุขภาพเชิงรุก หรือการตรวจสุขภาพโดยไม่ต้องรอให้อาการเจ็บป่วยแสดงออกมาก่อน เพื่อป้องกันและช่วยวางแผนล่วงหน้าไม่ให้ร่างกายของเราในอนาคตต้องเสื่อมโทรมไปกับโรคภัยและสารพิษที่อยู่รอบตัวไปมากกว่านี้
นอกจากนี้ทั้ง 5 รายการตรวจจาก BAAC ยังช่วยให้เรารู้วิธีฟื้นฟูเพื่อให้ร่างกายได้กลับมาคงความแข็งแรง สดชื่น เต็มเปี่ยมไปด้วยพละกำลังในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
พบกับรายการตรวจสุขภาพที่จะช่วยให้คุณมีชีวิตในทุกๆ วันได้อย่างมีคุณภาพมากกว่าเดิม ที่ Bangkok Anti Aging Center กดดูรายละเอียด จองผ่าน HDmall.co.th รับส่วนลดพิเศษทันที หรือติดต่อแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth พร้อมให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง
ขอขอบคุณ
นายแพทย์ณัฐพล สุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพจาก Bangkok Anti Aging Center