อยู่ไฟหลังคลอดสมัยใหม่ แนวทางการดูแลคุณแม่ควรศึกษา


ให้นมลูก, แม่และเด็ก, ทารก

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • การอยู่ไฟหลังคลอดสมัยใหม่ จะเป็นการใช้สมุนไพรต่างๆ เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด การบูร มาอุ่นประคบตามร่างกาย ร่วมกับการนวดผ่อนคลาย
  • ในโปรแกรมอยู่ไฟตามโรงพยาบาล อาจรวมกาทับหม้อเกลือ และอบไอน้ำสมุนไพรด้วย ทั้งหมดนี้ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา ลดการอักเสบ บรรเทาปวดเมื่อย สะโพกและขาขัด
  • การนวดเต้านมช่วยให้น้ำเหลืองและเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงเต้านมมากขึ้น หลอดเลือดขยายตัวจนเนื้อเยื่อคลายตัว ส่งผลให้ระบายน้ำนมได้มากขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาการอยู่ไฟหลังคลอดสมัยใหม่ได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @hdcoth


การให้กำเนิดลูก เป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่วิเศษที่สุดสำหรับคุณแม่ทุกคน แต่การคลอดลูกก็ทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบมากทั้งด้านร่างกายจากสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป และจิตใจจากฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย

ทำให้คุณแม่จำเป็นต้องฟื้นฟูตัวเองหลังคลอดเพื่อให้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ กลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด รวมถึงป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวด้วย

หนึ่งในวิธีการดูแลคุณแม่หลังคลอดที่นิยมมากตามแนวทางแพทย์แผนไทย ได้แก่ การอยู่ไฟหลังคลอดนั่นเอง

อยู่ไฟหลังคลอดคืออะไร?

การอยู่ไฟหลังคลอด เป็นหนึ่งในวิธีของการผดุงครรภ์หลังคลอด เพื่อฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่จากความเปลี่ยนแปลงหลังคลอด

วิธีการอยู่ไฟหลังคลอดในปัจจุบันจะแตกต่างกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสมัยก่อน ที่ให้คุณแม่หลังทำคลอดนอนบนแผ่นไม้ หรือแคร่ไม้ไผ่ที่บ้านได้เลย จากนั้นสุมไฟด้านล่างแผ่นไม้ให้พอมีไออุ่นลอยขึ้นมา ทำให้คุณแม่หลังคลอดสบายตัวและไม่หนาวสั่น อาจใช้เวลาตั้งแต่ 3-44 วัน

แต่ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์เข้ากับการแพทย์สมัยใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากความเชื่อผิดๆ โดยการให้ความร้อนจากสมุนไพรอุ่นๆ แทนการนอนบนแคร่สุมไฟ ร่วมกับการนวดคลายปวดเมื่อย สมุนไพรที่ใช้อาจประกอบไปด้วย

  • ไพล
  • ขมิ้นชัน
  • ตะไคร้
  • มะกรูด
  • การบูร

การทับหม้อเกลือเองก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลด้วย เป็นการนำเกลือทะเลใส่หม้อดินทำความร้อนจนเกลือแตก แล้วนำไปห่อผ้ารวมกับสมุนไพรต่างๆ ประคบหน้าท้องน้อยคุณแม่หลังคลอดเพื่อให้ผ่อนคลาย

จากนั้นจะมีการอบไอน้ำสมุนไพร ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่าการเข้ากระโจม เป็นการนำสมุนไพรใส่หม้อต้มร้อนให้กลิ่นไอของสมุนไพรลอยออกมาทำให้มารดาผ่อนคลาย แต่ปัจจุบันมีการประยุกต์โดยใช้ท่อต่อไอน้ำแทน

สถานที่บริการหลายแห่ง อาจรวมสิ่งเหล่านี้ในโปรแกรมอยู่ไฟในสมัยใหม่ ซึ่งสามารถทำได้หลังจากคลอดแล้วประมาณ 7-10 วัน แต่หากทำคลอดด้วยวิธีการผ่าคลอด จะอยู่ไฟได้หลังจากคลอดแล้ว 30-45 วันเท่านั้น เพื่อให้แผลหายสนิทก่อน

อยู่ไฟหลังคลอดใช้เวลานานไหม?

อยู่ไฟหลังคลอดใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง และทำต่อเนื่องประมาณ 5-10 วันขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ไม่ควรเริ่มทำหลังคลอดไปแล้วเกิน 3 เดือน เพราะอาจให้ประสิทธิภาพอาจลดลง

อยู่ไฟหลังคลอดช่วยอะไร?

ประโยชน์ของการอยู่ไฟทั้งการนวด ประคบสมุนไพรอุ่น การทับหม้อเกลือ และการอบไอน้ำสมุนไพร อาจมีดังต่อไปนี้

  • ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  • ช่วยลดการอักเสบช้ำบวม
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • ช่วยบรรเทาอาการสะโพกขัดและขาขัด
  • ช่วยลดอาการคัดตึงเต้านม
  • ประโยชน์จากไอระเหยอบไอน้ำสมุนไพรแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
    • สมุนไพรหอม เช่น ขมิ้น มะกรูด ช่วยบรรเทาอาการหวัด รักษาโรคผิวหนัง
    • สมุนไพรที่มีกลิ่นเปรี้ยว เช่น ใบมะขาม ใบส้มป่อย ช่วยต้านทานโรคให้กับผิวหนัง
    • สมุนไพรหอมระเหิด เช่น พิมเสน การบูร ช่วยบำรุงหัวใจ กลิ่นสดชื่น
    • สมุนไพรใช้เฉพาะโรค เช่น เหงือกปลาหมอ ช่วยแก้ผื่นคันตามผิวหนัง

อย่างไรก็ตาม การอยู่ไฟควรทำภายใต้ผู้ที่มีประสบการณ์หรือได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว เพราะการทำตามความเชื่อที่ผิด เช่น กินยาขับน้ำคาวปลาทันทีหลังคลอด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ข้อห้ามในการอยู่ไฟหลังคลอด

หากมีอาการดังต่อไปนี้ อาจต้องชะลอการอยู่ไฟออกไปก่อน

  • มีไข้เกิน 37.5 องศา
  • แผลผ่าตัดยังไม่แห้งสนิท ควรเว้นระยะจากวันผ่าคลอด 30-45 วันก่อนอยู่ไฟ
  • สภาพร่างกายยังไม่พร้อม อ่อนเพลียมาก
  • เพิ่งกินอาหารเสร็จ ยังรู้สึกอิ่มมากอยู่
  • มดลูกลอยตัว หรือมดลูกไม่เข้าอู่

อยู่ไฟหลังคลอดจำเป็นไหม?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การอยู่ไฟหลังคลอดเป็นหนึ่งในทางเลือกของการผดุงครรภ์เท่านั้น ซึ่งการผดุงครรภ์เองก็มีแนวทางต่างๆ มากมายที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากทารกแรกเกิดมักตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง ทำให้คุณแม่หลายคนอาจพักผ่อนไม่เพียงพอจนส่งผลกระทบระยะยาว ดังนั้นควรพักผ่อนมากๆ หรือนอนพร้อมกับทารกได้เลย จึงเป็นสาเหตุที่หลายคนมักไม่ได้กลับไปทำงานทันทีหลังจากคลอดลูก
  • ให้คนใกล้ตัวช่วยดูแล เนื่องจากร่างกายยังต้องการการฟื้นฟูจากความบาดเจ็บ จึงไม่ควรกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงพักฟื้น อาจให้ครอบครัวช่วยเรื่องจัดหาอาหาร หรืองานบ้านไปก่อน
  • การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งผัก ผลไม้ โปรตีน ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะการดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเอง รวมถึงมีสารอาหารเพียงพอต่อการผลิตน้ำนมด้วย
  • ออกกำลังกาย ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังหนักเกินกว่าที่แพทย์แนะนำ เพราะอาจทำให้บาดเจ็บได้
  • การรับคำแนะนำจากแพทย์ ทั้งข้อควรและข้อห้ามปฎิบัติ การรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การให้นมบุตรที่ถูกวิธี

แต่หากไม่ได้รับการผดุงครรภ์อย่างเหมาะสม อาจเกิดปัญหากับร่างกายในระยะยาวได้ สังเกตได้จากคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ไม่ได้ผดุงครรภ์อย่างเหมาะสม หลังคลอดเพียงไม่กี่วันก็กลับไปทำงาน พักผ่อนไม่พอ ทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลัง

ต่างกับคนสมัยก่อนที่แม้จะมีลูกหลายคนก็ยังมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การผุดงครรภ์ให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งจำเป็น ส่วนการอยู่ไฟหลังคลอดเป็นหนึ่งในทางเลือกของการผดุงครรภ์นั่นเอง

นวดเต้านมหลังคลอดคืออะไร?

การนวดเต้านมหลังคลอด คือการใช้มือนวดคลึงเต้านมตามเทคนิคต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมมากขึ้น ช่วยให้ทารกกินนมในปริมาณที่เหมาะสมและมีสุขภาพแข็งแรง

เพราะหนึ่งในปัญหาที่คุณแม่หลายคนประสบได้แก่ การมีน้ำนมไม่เพียงพอให้ทารกกิน จึงหานมอื่นๆ ผสมให้ทารกแทน ทำให้ทารกขาดสารอาหารสำคัญที่ควรได้จากนมแม่ และส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้

การนวดเต้านมช่วยให้น้ำเหลืองและเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงเต้านมมากขึ้น หลอดเลือดขยายตัวจนเนื้อเยื่อคลายตัว ส่งผลให้ระบายน้ำนมได้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ช่วยให้กล้ามเนื้อรอบถุงน้ำนมบีบตัว ทารกจึงกินน้ำนมจากเต้านมได้ง่ายขึ้น

แต่การนวดเต้านมควรทำอย่างระมัดระวังและถูกวิธี หรือใช้บริการนวดเต้านมตามโรงพยาบาลที่มีเทคนิกที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดูแพ็กเกจเกี่ยวกับคุณแม่มือใหม่ คุณแม่หลังคลอด ได้ที่ HDmall.co.th ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน หรือให้แอดมินจองคิวกับโรงพยาบาลให้ ทักไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินคอยให้บริการตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Valencia Higuera, Recovery and Care After Delivery, (https://www.healthline.com/health/postpartum-care#1), 20 December 2016.
  • การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช, การอยู่ไฟคืออะไร, (https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/thaimed/thai/article-copy-copy.html).
  • คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, การส่งเสริมสุขภาพหญิงหลังคลอด ด้วยการแพทย์แผนไทย, (http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=140&fbclid=IwAR1-JYyYKuCGP9vu1HxPetol81pvnF1JHrx3tsf2ltZDWMOIZGop7O3KREs), 6 มิถุนายน 2556.
  • นพท. สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์, การผดุงครรภ์ไทยสาคัญอย่างไรต่อมารดาหลังคลอด, (http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=10&fbclid=IwAR0DnqhK_GOoBjaEc9fkqHqB48xawNcb2sCspxUNwGklnmG1FN9AHZdanS4), 11 มกราคม 2553.
  • พยาบาลสาร ปีที่ 44 ฉบับที่ 4, การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม, (http://49.231.174.6/sar60/fnurse/17.พยาบาล.pdf), ตุลาคม-ธันวาคม 2560.
@‌hdcoth line chat