อุจจาระ คือกากอาหารที่หลงเหลือจากกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหาร โดยปกติแล้ว อุจจาระจะมีสีน้ำตาล หรือสีออกเหลือง ๆ แต่ถ้าอุจจาระมีสีเขียว นั่นอาจหมายถึงการบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่าง
สารบัญ
อุจจาระสีเขียว เกิดจากอะไรได้บ้าง
อุจจาระคือกากอาหาร สีของอุจจาระจึงขึ้นอยู่กับลักษณะของอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยสาเหตุต่าง ๆ ที่อาจทำให้อุจจาระเป็นสีเขียวได้ เช่น
- ท้องเสีย: เกิดจากอาหารไหลผ่านลำไส้รวดเร็วเกินไปจนร่างกายผลิตน้ำดีไม่ทัน โดยเฉพาะอาหารจำพวกกากใยที่ไม่ผ่านการย่อยจากน้ำดี ทำให้การย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียว ซึ่งก็คือสีของน้ำดีนั่นเอง อาการท้องเสียยังทำให้ถ่ายเหลวได้ด้วย กรณีที่เป็นรุนแรงมากอาจทำให้อุจจาระกลายเป็นสีขาวขุ่น ๆ
- ยาบางชนิด: เช่น ยาที่เป็นธาตุเหล็ก
- ผักใบเขียว: เมื่อรับประทานในปริมาณมาก สีของคลอโรฟิลล์ในผักก็อาจทำให้อุจจาระมีสีเขียวได้
- อาหารและเครื่องดื่มที่ผสมสีเขียว: อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของสีผสมอาหารสีเขียว หรือแม้แต่ชาเขียว ชะเอมเทศ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อุจจาระมีสีเขียวได้
- น้ำนมแม่: ทารกที่กินน้ำนมส่วนหน้า (Foremilk หรือน้ำนมที่ไหลในช่วงแรกของคุณแม่ที่ให้นมลูก) ในปริมาณมากเกินไป ทำให้สีอุจจาระมีสีเขียวและเป็นฟองร่วมด้วย มักเกิดคุณแม่ให้นมในแต่ละข้างไม่นานพอ อีกกรณีคือ ทารกที่ได้รับนมซึ่งมีส่วนผสมของธาตุเหล็กมาก ก็ทำให้อุจจาระมีสีเขียวได้เช่นกัน
อุจจาระสีเขียว รักษาอย่างไร
หากอุจจาระสีเขียวเกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย จะมีวิธีรักษาดังนี้
ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นสีเขียว ไม่มีอาการขาดน้ำ แต่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ปากและคอแห้ง หรือหน้ามืด
- ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เพราะสามารถหายได้เองภายใน 1–2 สัปดาห์
- ควรดื่มสารละลายเกลือแร่ ORS (Oral rehydration salt) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป และควรดื่มในปริมาณน้อย ๆ แต่จิบบ่อย ๆ หากดื่มไม่หมดภายใน 24 ชั่วโมง ให้ชงใหม่เท่านั้น
- หากไม่มีสารละลายเกลือแร่ สามารถทำทดแทนได้ ด้วยการต้มน้ำให้เดือด และทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือแกงครึ่งช้อนชาละลายในน้ำต้มสุก
ท้องเสียและมีอาการขาดน้ำ
ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เพราะอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปด้วย
ขณะที่มีอาการท้องเสีย ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย รสชาติไม่จัด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำผัก หรือน้ำผลไม้คั้นสด และห้ามกินชาหรือกาแฟ
หากรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นแล้วยังไม่หายขาด มีอาการอื่นร่วมด้วย หรือท้องเสียเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
การป้องกันและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดอุจจาระสีเขียว
- เลือกรับประทานอาหารที่สด สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ
- ไม่ควรหายาสมุนไพรมารับประทานเอง และหากมีอาการท้องเสียจากการรับประทานยาสมุนไพรระบายท้อง ให้ลดปริมาณการรับประทานลง
- คุณแม่ที่ต้องให้นมลูก ควรให้นมแต่ละข้างในระยะเวลาที่นานพอสมควร เพื่อป้องกันการกินนมส่วนหน้ามากเกินไป เนื่องจากนมส่วนหน้ามีไขมันต่ำ แต่น้ำเยอะ ซึ่งจะกระตุ้นการขับถ่ายของทารก
เพราะอุจจาระสีเขียวส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย อย่างอาหารหรือยาที่รับประทานเข้าไป จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเกินเหตุ แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลวต่อเนื่องหลายครั้ง หรือมีไข้ร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
อย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำ เป็นอะไรจะได้รีบรักษา หายไว แข็งแรงแน่นอน คลิกดูราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพเลย!