รู้จักการเทคฮอร์โมนเพศหญิง การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy)


เทคฮอร์โมน การให้ฮอร์โมนทดแทน สำหรับหญิงข้ามเพศ คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับการแปลงเพศชายเป็นหญิง? เริ่มทำได้ตอนอายุเท่าไร? มีผลข้างเคียง ข้อควรระวังไหม? วิธีเทคฮอร์โมนให้ปลอดภัย เป็นอย่างไร? หยุดเทคฮอร์โมนได้ไหม? อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการเทคฮอร์โมนได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) หรือที่นิยมเรียกว่า “เทคฮอร์โมน” คือการรักษาด้วยฮอร์โมน เพื่อป้องกัน หรือขจัดลักษณะที่บ่งบอกถึงเพศกำเนิดออก และทำให้ร่างกายเติบโตไปในลักษณะเพศที่ต้องการ
  • การเทคฮอร์โมนในผู้ที่ต้องการแปลงเพศชายเป็นหญิง จะใช้ฮอร์โมน 3 ชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน (Anti-androgen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
  • การเทคฮอร์โมนเพศหญิงให้ปลอดภัย และเห็นผล ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เช่น แพทย์ต่อมไร้ท่อ หรือสูตินรีแพทย์ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิดมารับประทานด้วยตนเอง เพราะอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ผู้ที่ต้องการเทคฮอร์โมนจะต้องได้รับใบรับรองจากจิตแพทย์ 2 ท่าน และถ้าอายุไม่ถึง 20 ปี จะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นเอกสารยินยอมด้วย 
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง หรือแอดไลน์ @hdcoth

การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เทคฮอร์โมน” เป็นสิ่งที่หญิงข้ามเพศ (Transgender women) รู้จักกันดี

เพราะเป็นขั้นตอนแรกของการแปลงเพศชายเป็นหญิง (MTF Sex Reassignment Surgery) เพื่อปรับเปลี่ยนร่างกายให้คล้ายผู้หญิงมากขึ้น และเตรียมความพร้อมสำหรับการแปลงเพศ

สำหรับผู้ที่ต้องการเทคฮอร์โมนเพศหญิง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มเทคฮอร์โมนเพศหญิงอย่างไรดี

HDmall.co.th ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเทคฮอร์โมนเพศหญิง เช่น วิธีเทคฮอร์โมนเพศหญิงอย่างปลอดภัย และเห็นผล ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเทคฮอร์โมนเพศหญิง หรือผลลัพธ์จากการเทคฮอร์โมนเพศหญิง จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกัน

เทคฮอร์โมนเพศหญิง ในผู้ที่ต้องการแปลงเพศชายเป็นหญิง คืออะไร?

การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) หรือที่นิยมเรียกว่า “เทคฮอร์โมน” คือการรักษาด้วยฮอร์โมน เพื่อป้องกัน หรือขจัดลักษณะที่บ่งบอกถึงเพศกำเนิดออก และทำให้ร่างกายเติบโตไปในลักษณะเพศที่ต้องการ

โดยการเทคฮอร์โมนในผู้ที่ต้องการแปลงเพศชายเป็นหญิง จะใช้ฮอร์โมน 3 ชนิด ได้แก่

1.ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อการข้ามเพศ จะใช้ตัวยาเหมือนกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในผู้หญิงที่ขาดฮอร์โมนจากวัยทอง หรือเคยเข้ารับการผ่าตัดรังไข่ ดังนี้

  • 17-beta estradiol เป็นฮอร์โมนทดแทนแบบธรรมชาติ (Bioidentical) ที่มีลักษณะทางเคมีเหมือนกับฮอร์โมนเอสตราดิออล (Estradiol) หนึ่งในชนิดของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สร้างขึ้นจากรังไข่ จึงมีความเข้ากันได้กับร่างกายสูง และทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย
  • Estradiol valerate เป็นฮอร์โมนทดแทนที่ใช้ในหญิงที่หมดประจำเดือน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ตัวยาจะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสตราดิออล ตัวเดียวกับที่สร้างขึ้นจากรังไข่

โดยขนาดยาที่แนะนำ คือ 2-4 mg/day แต่ไม่เกิน 8 mg/day

ส่วนตัวยาฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ ไม่แนะนำ ให้ใช้ เพื่อการข้ามเพศ ได้แก่

  • Ethinyl estradiol (EE) เป็นส่วนประกอบของยาคุมกำเนิดหลายยี่ห้อ เพราะมีปริมาณฮอร์โมนที่มากเกินความจำเป็น และมีผลข้างเคียงต่อหลอดเลือดดําอุดตัน และโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผลข้างเคียงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใช้ขนาดยาสูง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • Conjugated estrogen เพราะวัดปริมาณยาในกระแสเลือดได้ยาก

2.ฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน (Anti-androgen)

เป็นยาที่มักใช้ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในระยะยาว เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ มีหลายชนิด เช่น

  • Cyproterone acetate ​​(Androcur)
    • โปรเจสโตเจน (Progestogen) สังเคราะห์ เป็นสารที่แสดงฤทธิ์เลียนแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน
    • ขนาดยาที่แนะนำ 50-100 mg/day (ไม่เกิน 100 mg)
  • Spironolactone (Aldactone)
    • เป็นยาขับปัสสาวะในกลุ่มโพแทสเซียม-สแปริ่งไดยูเรติก (Potassium-Sparing Diuretics) มีฤทธิ์ลดการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจนจากต่อมแอดรีนัล
    • ขนาดยาที่แนะนำ 200-400 mg/day (ไม่เกิน 400 mg)
  • Finasteride (Proscar, Propecia)
    • เป็นยากลุ่ม 5-alpha reductase inhibitors ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย หรือฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone: DHT)
    • ขนาดยาที่แนะนำ 2.5-5 mg (ไม่เกิน 5 mg) 2 ครั้งต่อสัปดาห์

3.ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

แนะนำให้ใช้ Medroxyprogesterone acetate (Provera) ขนาดยา 2.5- 5 mg/day (ไม่เกิน 10 mg) โดยเชื่อว่า ทําให้เต้านมโตดี

อย่างไรก็ตาม มีหลายไกด์ไลน์ที่ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพราะอาจทำให้เกิด

  • หลอดเลือดดําอุดตัน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ไขมันในเลือดสูง

อีกทั้งการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในหญิงที่หมดประจําเดือนยังพบมะเร็งเต้านมสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน

เทคฮอร์โมนเพศหญิง ให้ปลอดภัย และเห็นผล ต้องทำอย่างไร?

การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ หรือเทคฮอร์โมนให้ปลอดภัย และเห็นผล ควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านฮอร์โมน เช่น แพทย์ต่อมไร้ท่อ หรือสูตินรีแพทย์ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย

ขั้นตอนการเทคฮอร์โมนภายใต้การดูแลของแพทย์

  • ต้องผ่านการประเมินสภาพจิตใจ และได้รับใบรับรองจากจิตแพทย์ 2 ท่าน เพื่อยืนยันว่า ต้องการที่จะแปลงเพศชายเป็นหญิงจริงๆ
  • ในกรณีที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะต้องมีผู้ปกครองเซ็นเอกสารยินยอม
  • แพทย์ซักประวัติสุขภาพ และตรวจสุขภาพร่างกาย เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเทคฮอร์โมน
  • เมื่อผ่านการประเมินแล้ว แพทย์จะกำหนดสูตรยา และปริมาณยาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลให้ โดยขนาดยาจะเริ่มจากปริมาณน้อย แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นจนกระทั่งได้ระดับฮอร์โมนที่ต้องการ
  • การเทคฮอร์โมนภายใต้การดูแลของแพทย์ จะช่วยให้ไม่ต้องรับฮอร์โมนทดแทนเกินความจำเป็น ลดภาระการทำงานของตับและไต นอกจากนี้แพทย์ยังตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที
  • ผู้ที่เทคฮอร์โมนจะต้องเทคฮอร์โมนไปจนกว่าอายุ 60 ปี หรือแพทย์พิจารณาให้หยุด

แนวทางการติดตามผลการรักษา หลังเทคฮอร์โมนเพศหญิง

  • ในช่วง 1 ปีแรก แพทย์จะนัดตรวจอาการแสดงของเพศหญิง และภาวะแทรกซ้อน ทุก 3-6 เดือน โดยการตรวจแต่ละครั้ง แพทย์จะปรับระดับยาฮอร์โมนที่เหมาะสมกับแต่ละคนให้
  • ในปีถัดไป นัดตรวจอาการแสดงของเพศหญิง และภาวะแทรกซ้อน 1-2 ครั้ง ต่อปี โดยการตรวจแต่ละครั้ง แพทย์จะปรับระดับยาฮอร์โมนที่เหมาะสมกับแต่ละคนให้เช่นกัน
  • ตรวจวัดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และฮอร์โมนเอสตราดิออล ทุก 3-6 เดือน เมื่อถึงระดับที่ต้องการแล้ว ให้ตรวจปีละ 1 ครั้ง
    • ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ควรมีค่าน้อยกว่า 55 ng/dl
    • ระดับฮอร์โมนเอสตราดิออล ควรมีค่าน้อยกว่า 200 pg/ml
  • ในผู้ที่ใช้ยา Spironolactone ควรตรวจแร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย (Electrolyte )โดยเฉพาะระดับโพแทสเซียม (Potassium) โดยตรวจทุก 3 เดือน ในปีแรก และทุก 6 เดือน ในปีต่อไป
  • ตรวจคัดกรองมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยใช้หลักเกณฑ์เหมือนคนทั่วไป
  • ตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • ​ตรวจเมื่ออายุ 65 ปี ในกลุ่มที่มีไม่มีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน
    • ตรวจเมื่ออายุ 50-64 ปี ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีประวัติใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
    • ตรวจโดยไม่คํานึงถึงอายุ ในกลุ่มที่ตัดรังไข่ ตัดอัณฑะแล้ว และหยุดใช้ฮอร์โมนนานกว่า 5 ปี

อ่านเพิ่มเติ่ม: การเทคฮอร์โมนฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร? กี่วันเห็นผล? หลังแปลงเพศแล้ว ต้องเทคฮอร์โมนต่อหรือไม่?

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเทคฮอร์โมนเพศหญิง

การให้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการแปลงเพศชายเป็นหญิง มีโอกาสทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น

  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT)
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)
  • ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเลือดสูง
  • ภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia)
  • ภาวะระดับโปรแลคตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia)
  • ภาวะกระดูกบาง หรือโรคกระดูกพรุน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปวดศีรษะไมเกรนรุนแรง
  • มะเร็งเต้านม
  • เนื้องอกของต่อมใต้สมอง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • เอนไซม์ตับสูงมากกว่า 3 เท่า
  • โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
  • ภาวะมีบุตรยาก

อย่างไรก็ตาม การเทคฮอร์โมนภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านฮอร์โมน ใช้ยาฮอร์โมนที่ได้มาตรฐาน สั่งจ่ายโดยแพทย์ ไม่ซื้อยาฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิดมารับประทานด้วยตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

เพราะแพทย์จะจัดยาฮอร์โมนที่มีขนาดยาเหมาะสมกับแต่ละบุคคลให้ ป้องกันไม่ให้เกิดการเทคฮอร์โมนเกินความจำเป็น นัดตรวจติดตามผลการรักษา และประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันที

สนใจผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง สามารถ เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง ได้ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth มีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และนัดหมายกับโรงพยาบาล

น้องจิ๊บ และ HDmall.co.th เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะสนใจแพ็กเกจสุขภาพ ทันตกรรม หรือความงาม กดแอดไลน์ได้เลยไม่ต้องรอ!

การันตีราคาสุดคุ้ม พร้อมโปรโมชันดีๆ มากมาย ที่สำคัญยังสามารถผ่อนฟรี 0% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการได้ด้วยนะ!

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง

ที่มาของข้อมูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนแทนเจอรีน ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย, การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อคนข้ามเพศ (http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000150/sti/060661/4.%20Hormones%206%20Jun%202018%20FINAL%20MARKED.pdf), 10 กันยายน 2564.

Mayo clinic, Feminizing hormone therapy (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/feminizing-hormone-therapy/about/pac-20385096), 10 September 2021.

UCSF, Overview of feminizing hormone therapy (https://transcare.ucsf.edu/guidelines/feminizing-hormone-therapy), 10 September 2021.

UCSF, Information on Estrogen Hormone Therapy (https://transcare.ucsf.edu/article/information-estrogen-hormone-therapy), 15 September 2021.

@‌hdcoth line chat