รวมเรื่องน่ารู้ของฮอร์โมนเพศชาย มีหน้าที่อะไร มีสิ่งไหนที่ต้องระวังบ้าง?


ฮอร์โมนเพศชาย คืออะไร? คือฮอร์โมนใด? มีชื่อว่าอะไร? มีกี่ชนิด? สร้างจากอะไร? มีอะไรบ้าง? อาการขาดฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เป็นอย่างไร? อันตรายไหม? ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ราคาเท่าไร? ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ที่ไหนดี? อ่านข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชายได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ผลิตโดยอัณฑะ (Testis) ซึ่งเป็นอวัยวะเพศของผู้ชาย อยู่ในถุงอัณฑะ (Scrotum) จะมีอยู่ 2 ข้างทั้งฝั่งซ้ายและขวา
  • หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเพศชาย คือการกระตุ้นให้เด็กชายก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม โดยจะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ องคชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีลูกกระเดือก ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้น
  • ระดับปกติของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ควรอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl
  • ในผู้ที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Andropause) ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อ้วนลงพุง ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือมีภาวะมีบุตรยาก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่อกล่าวถึงฮอร์โมนเพศชาย หนึ่งในฮอร์โมนที่รู้จักกันดีก็คือ “ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)” ซึ่งคนส่วนใหญ่มักคิดว่า เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศเท่านั้น

แต่รู้หรือไม่ว่า ฮอร์โมนชนิดนี้ยังส่งผลต่อการทำงานส่วนอื่นของร่างกาย และถ้าหากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายน้อยเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

ฮอร์โมนเพศชาย คืออะไร? สร้างจากอะไร?

ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ผลิตโดยอัณฑะ (Testis) ซึ่งเป็นอวัยวะเพศของผู้ชาย อยู่ในถุงอัณฑะ (Scrotum) จะมีอยู่ 2 ข้างทั้งฝั่งซ้ายและขวา

นอกจากอัณฑะจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชายแล้ว อัณฑะยังทำหน้าที่ผลิตตัวอสุจิอีกด้วย

โดยกลไกการกระตุ้นให้มีการสร้างระดับฮอร์โมนเพศชายและอสุจิเพิ่มขึ้น จะเริ่มในช่วงที่เด็กผู้ชายเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หรืออายุประมาณ 12-13 ปี มีรายละเอียดดังนี้

  • สมองส่วนหน้าที่เรียกว่า “ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus)” จะผลิต GnRH (Gonadotropin releasing hormone) มากขึ้น
  • GnRH จะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง LH (Lutieinzing hormone) และกระตุ้นการทำงานของ FSH (Follicle stimulating hormone)
  • FSH จะควบคุมการสร้างอสุจิ ส่วน LH จะกระตุ้นให้เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ต่อมไร้ท่อที่อยู่ในอัณฑะ ให้สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนเพศชายขึ้นมา
  • หลังจากนั้น แอนโดเจนส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการชักนำของ FSH ต่อ LH ที่อยู่บนเซลล์เลย์ดิก
เช็กราคาตรวจฮอร์โมนเพศชาย

กลไกการกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนเพศนั้น คล้ายกันทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่จะแตกต่างกันตรงที่ FSH และ LH ในผู้ชายจะหลั่งอย่างสม่ำเสมอ ส่วนในผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาก่อนและหลังตกไข่

ฮอร์โมนเพศชาย ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเพศชาย คือการกระตุ้นให้เด็กชายก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม โดยจะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ องคชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีลูกกระเดือก ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้น

ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจหลายด้าน เช่น

  • มีความรู้สึกรักใคร่
  • มีเหงื่อออกมากขึ้น และอาจทำให้มีกลิ่นตัว
  • เสียงแหบ หรือเสียงทุ้มขึ้น
  • กระดูกใหญ่ขึ้น ไหล่และหน้าอกกว้างขึ้น
  • ผิวหนังสร้างไขมันมากขึ้น ทำให้มีรูขุมขนใหญ่ขึ้น และบางคนอาจเป็นสิวที่ใบหน้า
  • มีขนที่ใต้วงแขน และหัวเหน่า
  • เส้นผมหนาขึ้น
  • เมื่ออวัยวะเพศมีการแข็งตัว จะสร้างซีเมน (Semen) ขึ้นมาด้วย ส่งผลให้เมื่อมีอารมณ์ทางเพศมากๆ ในระหว่างที่นอนหลับ อาจมีน้ำกามออกมาได้ เรียกอาการนี้ว่า “ฝันเปียก”

นอกจากนี้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนส่วนใหญ่ของฮอร์โมนเพศชาย ยังมีส่วนช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เพิ่มปริมาณมวลกล้ามเนื้อ ลดระดับไขมันสะสมในร่างกาย และมีบางส่วนที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคกระดูกพรุนอีกด้วย

ระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติ คือเท่าไร?

ระดับปกติของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ควรอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl (นาโนกรัมต่อเดซิลิตร)

แต่หลังจากที่ผู้ชายมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะค่อยๆ ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยลง 1-2% ต่อปริมาณเดิมของฮอร์โมนเพศชายที่มีอยู่ ทำให้ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการขาดฮอร์โมนได้มาก

อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Andropause) ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อ้วนลงพุง ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือมีภาวะมีบุตรยาก

วิธีดูแลตนเองให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ เป็นอย่างไร?

วิธีป้องกันไม่ให้ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีระดับต่ำลงจนผิดปกติ หรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น นอกจากการรับประทานยา หรือฉีดยาฮอร์โมนแล้ว เรายังสามารถดูแลตนเองได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม

เริ่มจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ระมัดระวังไม่ให้มีน้ำหนักตัวน้อย หรือมากเกินไป หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน ของหวาน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงฮอร์โมนชนิดอื่นๆ ได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติจะดีกว่า

จะรู้ได้อย่างไรว่า ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับปกติ?

คนส่วนมากมักไม่รู้ตัวว่า ตนเองกำลังมีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย กว่าจะรู้ตัวก็ยากที่จะรักษาเสียแล้ว

ดังนั้นหากคุณรู้สึกว่าตนเองมีภาวะดังกล่าว หรือจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีความเครียดมาก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อ้วนลงพุง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน สูบบุหรี่จัด ไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมน

การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายนั้น แพทย์มักเริ่มจากการตรวจร่างกาย ซักประวัติ และเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์ หลังจากนั้นจะนำผลตรวจมาวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

เช็กราคาตรวจฮอร์โมนเพศชาย

ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ราคาเท่าไร ควรตรวจที่ไหนดี?

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลและคลินิกส่วนใหญ่ล้วนมีโปรแกรมเฉพาะสำหรับตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกาย ไม่เพียงแค่ตรวจระดับฮอร์โมนเพศเท่านั้น ยังรวมไปถึงการตรวจระดับฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อร่างกายไม่แพ้กัน เช่น

  • ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Cortisol, Aldosterone, DHEA) มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเครียด ความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
  • ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อไปใช้เป็นแหล่งพลังงาน
  • ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, T3, T4) ทำหน้าที่ควบคุมหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ หรือควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
  • ฮอร์โมนเสริมสร้างและช่วยในการเจริญของเซลล์ (Growth hormone, IGF-1) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึม การเจริญเติบโต และการฟื้นฟูของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

การตรวจระดับฮอร์โมนจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เรารู้จักร่างกายของตนเอง และวางแผนแนวทางการดูแลร่างกายของตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

โดยราคาการตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกาย เริ่มตั้งแต่ 700-8,000 บาท ขึ้นอยู่กับรายการตรวจ และโปรโมชันของแต่ละสถานพยาบาล สำหรับผู้ที่สนใจตรวจสามารถสอบถามกับทางคลินิก หรือโรงพยาบาลที่สนใจเข้าตรวจได้

และที่ง่ายไปกว่านั้น คุณสามารถกด เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้บ้าน แล้วสั่งจองแพ็กเกจผ่าน HDmall.co.th ได้เลย

หรือแอดไลน์ @hdcoth จะมีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการข้อมูล การสั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายกับทางโรงพยาบาล ทุกวัน ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง! การันตีราคาสุดคุ้ม โปรโมชันดีๆ มากมาย ที่สำคัญยังสามารถผ่อนฟรี 0% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการได้ด้วยนะ!

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Ann Pietrangelo, How Testosterone Benefits Your Body (https://www.healthline.com/health/benefits-testosterone), 1 June 2021.
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์, ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เมื่อฮอร์โมนอายที่จะออกโรง (https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/low-testosterone), 1 มิถุนายน 2564.
  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สำรวจโลกฮอร์โมน (https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/what_is_sex_hormone.htm), 1 มิถุนายน 2564.
  • นพ.เปรมสันติ สังฆ์คุ้ม, ฮอร์โมนเพศชายในมุมมองที่แตกต่าง (https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news-clipping/health/newsclip12sep2019-1345), 1 มิถุนายน 2564.
@‌hdcoth line chat