อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว น้องชายไม่สู้ ทำอย่างไรดี

“นกเขาไม่ขัน” หรืออาการอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว เป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ในกลุ่มผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป เนื่องจากการทำงานของฮอร์โมนเพศชายจะลดลงมากถึง 10% ในทุกๆ 10 ปี

ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ โดยเฉพาะเรื่องอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวที่อาจจะไม่พร้อมใช้งาน เมื่อถึงเวลาออกสนามรบจึงกลายเป็นปัญหากวนใจของผู้ชายหลายๆ คน และอาจกลายเป็นปัญหาของชีวิตคู่ต่อไปได้

สารบัญ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย

ลักษณะการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายมี 3 แบบ แต่ละแบบจะเกิดขึ้นในโอกาส หรือสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. เกิดจากอวัยวะเพศถูกกระตุ้นโดยตรง และเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reaction) โดยเส้นประสาทจากสมอง หรือไขสันหลัง จะส่งสัญญาณให้เลือดไหลเข้าไปในองคชาต และคงอยู่ภายในนั้น ซึ่งความดันเลือดจะทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวนั่นเอง
  2. เกิดจากสิ่งเร้าต่างๆ ที่มองเห็น หรือได้ยิน รวมถึงจินตนาการที่เกิดขึ้น เช่น ภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ หรือภาพผู้หญิงเปลือยกาย
  3. เกิดจากอวัยวะเพศมีการตื่นตัวขณะกำลังนอนหลับ เนื่องจากร่างกายต้องการให้อวัยวะเพศได้รับออกซิเจนมาเลี้ยงอย่างเต็มที่

การหย่อนสมรรถภาพทางเพศคืออะไร?

การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction: ED) คือ ภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้สมบูรณ์ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ หรือแข็งตัวไม่นานพอที่จะสร้างความพึงพอใจได้

ภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายทุกช่วงวัย แต่มักพบบ่อยในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศชายผลิตได้น้อยลง

หากไม่แน่ใจว่าสาเหตุของตนเองหรือคนใกล้ตัวเกิดจากฮอร์โมนหรือไม่ อาจเลือกดูแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมนผ่านเว็บไซต์ HDmall แตะตรงนี้เพื่อเช็กราคา

สาเหตุที่ทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว

ในบทความนี้จะแบ่งสาเหตุที่ทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สาเหตุที่เกิดจากปัญหาทางด้านร่างกาย และปัญหาทางด้านจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ปัญหาทางด้านร่างกาย

  • การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง มักเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การทำงานของระดับเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ลดลง ระดับโปรแลกติน (Prolactin) เพิ่มขึ้น หรือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมาก หรือน้อยเกินไป
  • เลือดไหลเข้าไปในอวัยวะเพศไม่เพียงพอ เกิดจากภาวะผิดปกติ หรือโรคต่างๆ เช่น เส้นเลือดขอด หรืออุดตัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง สาเหตุเหล่านี้อาจทราบได้จากโปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไปซึ่งควรทำเป็นระยะ ดูโปรแกรมตรวจสุขภาพผ่าน HDmall แตะตรงนี้
  • อวัยวะเพศไม่สามารถเก็บเลือดไว้ได้ในระหว่างการแข็งตัว เกิดจากเส้นเลือดดำรั่ว ทำให้ไม่สามารถคงการแข็งตัวได้
  • การส่งข่าวของเส้นประสาทจากสมอง หรือไขสันหลัง ไม่สามารถส่งมายังอวัยวะเพศได้ มักพบในผู้ป่วยซึ่งมีโรคที่ส่งผลถึงระบบประสาท เช่น โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคพาร์กินสัน โรคพิษสุราเรื้อรังนอกจากนี้การบาดเจ็บ หรือเคยได้รับการผ่าตัดที่เชิงกรานมาก่อนก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำลายเส้นประสาทที่มาเลี้ยงอวัยวะเพศได้เช่นกัน

2. ปัญหาทางด้านจิตใจ

การมีเพศสัมพันธ์ที่สมบูรณ์จะต้องอาศัยปัจจัยจากจิตใจและร่างกายร่วมกัน หากคุณไม่มีอารมณ์ร่วม ต่อให้มีร่างกายที่แข็งแรงขนาดไหนก็ส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศอยู่ดี

ตัวอย่างปัญหาทางด้านจิตใจ

  • ความเครียดที่ส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์จนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล
  • ความกังวลเวลามีเพศสัมพันธ์ เช่น กลัวจะทำให้ไม่ถูกใจคู่รัก กลัวทำให้ตั้งครรภ์ หรือกลัวเจ็บจนส่งผลต่ออารมณ์ทางเพศนั่นเอง
  • ความเคยชิน โดยคุณอาจจะเคยชินกับการมีเพศสัมพันธ์ในรูปแบบเดิมๆ จนทำให้ไม่มีอารมณ์ร่วมก็ได้

หากเกิดปัญหาด้านจิตใจเรื้อรังอาจส่งผลมากกว่าเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ได้ การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีความเครียด เช็กราคาและจองคิวได้ที่นี่

รวมวิธีการทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัว และมีสุขภาพทางเพศที่ดี

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกาย อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เช่น การวิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเข้าฟิตเนส จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข็งตัว และแก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้ดี

ผู้ชายที่มีน้ำหนักตัวมากจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำมาก ซึ่งส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศนั่นเอง

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงอาหารทอด น้ำตาล ไขมันจากสัตว์ รวมถึงอาหารจานด่วนที่อุดมไปด้วยแป้งและไขมัน จะช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศได้อย่างเต็มที่

ดูโปรโมชั่นขนมปังไร้แป้งเพื่อสุขภาพผ่าน HDmall แตะตรงนี้

3. รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือสมุนไพรบำรุงทางเพศ

ตัวอย่างวิตามิน แร่ธาตุ และสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ เช่น วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี โครเมียม สังกะสี แอลอาร์จินีน ถั่งเช่า โสม กระชายดำ หรือใบแปะก๊วย

นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังหลอดเลือด ประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด ลดความอ่อนล้าของร่างกาย และคืนความเป็นหนุ่มให้กลับมาอีกครั้งด้วย

4. นอนหลับให้เพียงพอ

การพักผ่อนอย่างเต็มที่ นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ยาวนาน ไม่อ่อนตัวลงง่ายๆ เนื่องจากเวลากลางคืนที่หลับสนิทจะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศได้มากขึ้น

เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเข้านอนคือ 22.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกร๊ทฮอร์โมน (Growth hormone) ได้ดี

สำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน นอนหลับไม่สนิท หรือนอนมากเท่าไรก็รู้สึกไม่สดชื่น อาจลองทำ Sleep test เพื่อทดสอบคุณภาพการนอนว่ามีปัญหาตรงไหนหรือไม่ ดูแพ็กเกจ เปรียบเทียบราคา Sleep test ได้ที่นี่

5. หยุดดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ทำให้เลือดไหลเข้าไปในอวัยวะเพศไม่เพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว

6. หมั่นกระตุ้นอวัยวะเพศชายเป็นประจำ

การหมั่นกระตุ้นใช้งานอวัยวะเพศชายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2–3 ครั้ง จะช่วยให้มีสุขภาพทางเพศที่ดี มีการแข็งตัว และการหลั่งที่ดี ทำให้เลือดสามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศ และต่อมลูกหมากได้มากขึ้น

7. ทำออรัลเซ็กซ์

ผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Sexual Medicine กล่าวไว้ว่า ผู้ชายที่ได้รับการทำออรัลเซ็กซ์ หรือการทำรักด้วยปากกับอวัยวะเพศ ก่อนเริ่มกิจกรรมทางเพศนั้น มักจะมีขนาดของอวัยวะเพศขยายใหญ่มากกว่าวิธีสัมผัสแบบอื่นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด

นอกจากนี้การทำออรัลเซ็กส์ยังช่วยกระตุ้นให้มีอารมณ์ร่วมมากขึ้นอีกด้วย

8. สถานที่ควรมีความเป็นส่วนตัว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี กล่าวว่า ความเป็นส่วนตัวของสถานที่บรรเลงเพลงรักนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายอย่างมาก

เนื่องจากถ้ามีบุคคลอื่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง แม้ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมห้องก็ตาม จะทำให้เขาไม่มีความตื่นตัวทางเพศ หรือขาดอารมณ์ร่วม

อย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมทางเพศของแต่ละบุคคลด้วย เนื่องจากผู้ชายบางคนก็ชอบความตื่นเต้นเร้าใจ อาจชอบมีเพศสัมพันธ์นอกอาคาร หรือในที่สาธารณะนั่นเอง

9. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้อวัยวะเพศได้รับบาดเจ็บ

มีผลสำรวจพบว่า ผู้ชายที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจำนวน 1 ใน 3 จะมีประวัติการบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ ซึ่งเกิดจากการ “หัก” หรือ “ฉีกขาด” ของเยื่อหุ้มรอบแกนแท่งอวัยวะเพศ

สำหรับสาเหตุของอาการบาดเจ็บนั้นอาจเกิดจากช่วยตัวเองที่รุนแรงเกินไป หรือร่วมรักด้วยท่วงท่าที่โลดโผน กรณีเช่นนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดแล้วเย็บกล้ามเนื้อเข้าที่เดิม แต่ในบางรายอวัยวะเพศอาจจะไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติอีกต่อไป

10. การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

หมั่นบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นประจำจะช่วยรักษาอาการหลั่งเร็ว พร้อมกับทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ดีขึ้น ถึงจุดสุดยอดแรงมากขึ้น และส่งผลให้กิจกรรมรักนั้นเสร็จสิ้นด้วยดีในที่สุด

11. การสื่อสารกับคู่นอน

การสื่อสารที่ชัดเจนอย่างเปิดใจกับคู่นอนจะช่วยลดปัญหาการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศได้ โดยเฉพาะถ้าสาเหตุเกิดมาจากความเครียดทางจิตใจ

หากทำตามวิธีเบื้องต้นแล้ว อาการอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด เพราะอาจเกิดจากภาวะผิดปกติอื่นๆ ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวาย โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน

แต่หากเป็นความผิดปกติด้านการทำงานของฮอร์โมน เช่น ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism) หรือภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) แพทย์อาจรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนแทน

อย่างไรก็ตาม การรักษาสุขภาพร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ รักษาสุขภาพจิตให้แจ่มใสอยู่เสมอ ก็เพียงพอที่จะทำให้คุณมีสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ และสุขภาพทางเพศที่แข็งแรง

จะรู้ได้อย่างไรว่า สมรรถภาพทางเพศของเราทำงานได้ปกติ

ปกติแล้ว คุณสามารถสังเกตการทำงานของสมรรถภาพทางเพศได้ด้วยตนเอง เช่น

  • อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ปกติไหม หากแข็งตัว สามารถแข็งตัวไปจนถึงช่วงสุดท้ายของกิจกรรมรักได้หรือเปล่า
  • ปริมาณการหลั่งของอสุจิมีความผิดปกติไหม โดยสมรรถภาพทางเพศมักจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ และฮอร์โมนเป็นหลัก

หากคุณสนใจตรวจร่างกาย ในปัจจุบัน แต่ละโรงพยาบาลต่างก็มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายให้บริการโดยเฉพาะ ซึ่งการตรวจจะแตกต่างกับการตรวจสุขภาพในผู้หญิง เช่น การตรวจระดับฮอร์โมนสำคัญสำหรับเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ หรือฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

การตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำนั้น นอกจากจะตรวจความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้แล้ว ยังรวมไปถึงการตรวจภาวะของโรคประจำตัวอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคเกาต์  โรคเบาหวาน รวมถึงสุขภาพร่างกายทั่วไป ซึ่งทำให้เราสามารถดูแลร่างกายได้อย่างทันท่วงที


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจรักษาหย่อนสมรรถภาพ

Scroll to Top