ทำรากฟันเทียม ครอบฟัน สะพานฟัน ต่างกันอย่างไร


รากฟันเทียม ครอบฟัน สะพานฟัน ต่างกันอย่างไร?

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • รากฟันเทียม คือ วัสดุโลหะผสมไทเทเนียมลักษณะคล้ายสกรูน็อต ใช้ยึดฟันแท้ของเราให้ติดกับเหงือก ทำให้ไม่ต้องใส่ฟันปลอม
  • ครอบฟัน คือ วัสดุสีคล้ายฟันสวมครอบลงไปบนซี่ฟันเพื่อปกปิดรอยร้าว แตก หรือบิ่น
  • สะพานฟัน คือ ฟันปลอมที่ยึดติดกับฟันแท้สองซี่ข้างๆ ทั้งซ้ายและขวา เพื่อช่วยเติมเต็มฟันตรงกลางที่หลุดออกไป
  • เช็กราคาแพ็กเกจทำฟันต่างๆ ก่อนตัดสินใจ แตะตรงนี้ หรือสอบถามแอดมินเพิ่มเติม แตะนี่เลย

เทคนิคทางทันตกรรมสมัยนี้ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก ทำให้มีรูปแบบการรักษาฟันแตกต่างกันออกไป วันนี้ HDmall จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ 3 คำสำคัญที่มักได้ยินต่อกันเสมอ นั่นก็คือ รากฟันเทียม สะพานฟัน และครอบฟัน

รากฟันเทียม สะพานฟัน ครอบฟัน คืออะไร?

เมื่อเกิดปัญหาฟันผุ ฟันแตก ฟันบิ่น หรือถอนฟัน นอกจากอุดฟันแล้ว การรักษาที่ทันตแพทย์สมัยใหม่มักเสนอก็คือ

  • รากฟันเทียม (Dental implants) เป็นวัสดุโลหะผสมกับไทเทเนียม ใช้สำหรับทดแทนฟันที่หลุดออกไป ลักษณะเป็นสกรูคล้ายน็อต ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อยึดให้ฟันติดกับเหงือกได้เหมือนเดิม ข้อดีคือสามารถเก็บฟันแท้เอาไว้ได้ ไม่ต้องใส่ฟันปลอม มีความแข็งแรงสูง อ่านบทความเต็มเกี่ยวกับรากฟันเทียมได้ที่ รู้จักรากฟันเทียม
  • ครอบฟัน (Crowns) เป็นวัสดุที่สวมทับฟันลงมาเพื่อปกปิดรอยร้าว รอยแตกของฟัน ทำให้ฟันดูเป็นปกติ อาจต้องมีการกรอฟันเล็กน้อยเพื่อให้สามารถใส่ครอบฟันได้ เหมาะกับผู้ที่ยังสามารถบูรณะฟันได้ โพรงประสาทฟันยังไม่ถูกทำลาย อ่านบทความเต็มเกี่ยวกับครอบฟันได้ที่ รู้จักครอบฟัน
  • สะพานฟัน (Dental bridge) คือฟันปลอมที่ยึดติดกับฟันแท้สองซี่ข้างๆ ทั้งซ้ายและขวา เพื่อช่วยเติมเต็มฟันตรงกลางที่หลุดออกไป เปรียบเสมือนเพื่อนสองคนช่วยพยุงเพื่อนที่เดินตรงกลาง อาจใช้ร่วมกับการทำรากฟันเทียมก็ได้ แต่ต้องมีฟันซี่ข้างๆ ที่แข็งแรงอยู่ อ่านบทความเต็มเกี่ยวกับสะพานฟันได้ที่ รู้จักสะพานฟัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวัสดุทั้งสามชนิดนี้ก็มีจุดประสงค์ และข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

อ่านต่อ การรักษารากฟัน กับ 8 คำถามที่หลายคนสงสัย

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม เป็นอย่างไร?

ขั้นตอนการรักษาด้วยรากฟันเทียมของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน เพราะทันตแพทย์ต้องประเมินจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจำนวนฟันที่รักษา ตำแหน่งใส่รากฟัน ความแข็งแรงของกระดูกขากรรไกร

แต่ขั้นตอนคร่าวๆ ของการทำรากฟันเทียม อาจมีดังนี้

  • ทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาพฟัน สภาพในช่องปาก
  • ทำการพิมพ์ช่องปากและถ่ายภาพรังสีเพื่อดูความแข็งแรงของกระดูกเพื่อประเมินการรักษา
  • จากนั้นจะแจ้งให้เราทราบถึงแผนการรักษาของแต่ละคน
  • ทันตแพทย์จะทำการใส่รากฟันเทียมให้
  • หลังจากผ่านไป 2-3 เดือน เมื่อแน่ใจแล้วว่าเนื้อเยื่อยึดติดกับรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะนัดมาเพื่อทำครอบฟันหรือสะพานฟัน ขึ้นอยู่กับแผนของทันตแพทย์

หากมีปัจจัยใดๆ ที่ทำให้แผนการรักษาแตกต่าง ทันตแพทย์ก็จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ทำรากฟันเทียมเจ็บไหม?

ขอตอบตรงๆ ว่า มีเจ็บบ้างขณะฉีดยาชาเฉพาะที่ แต่ในระหว่างที่ทำการฝังรากฟันเทียมจะไม่รู้สึกเจ็บ เพราะยาชาออกฤทธิ์แล้ว

จะมีอาการปวดและบวมอีกครั้งหลังจากทำเสร็จแล้ว ซึ่งทันตแพทย์ก็จะเตรียมยาแก้ปวดไว้ให้เราอย่างเหมาะสมอยู่แล้วล่ะ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การทำรากฟันเทียมก็เป็นการทันตกรรมอย่างนึงเท่านั้น ไม่ได้น่ากลัวกว่าทันตกรรมประเภทอื่นแต่อย่างใด

แต่ที่สำคัญคือการทำรากฟันเทียมถือเป็นการผ่าตัดเล็ก ดังนั้นควรหาคลินิกหรือโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือในการใช้บริการ เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยสูงสุด อาจเลือกดูแพ็กเกจจากโรงพยาบาลและคลินิกผ่าน HDmall ได้ที่ลิงก์นี้

ที่มาของข้อมูล

@‌hdcoth line chat