ลูกมีปัญหาช่องปาก ฟันผุ ปวดฟัน รักษาได้!


ทำฟันเด็กมีอะไรบ้าง? สภาพฟันแบบไหนควรหาหมอฟัน? ทำฟันเด็กราคาประมาณเท่าไร?

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • เด็กมีโอกาสฟันผุมากเนื่องจากการกินขนม และอาจยังรักษาความสะอาดไม่ดี ทันตแพทย์จึงแนะนำให้เคลือบหลุมร่องฟันและเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อลดโอกาสฟันผุ 
  • ในกรณีเด็กที่เกิดฟันผุเพียงเล็กน้อย อาจใช้การอุดฟันเพื่อแก้ปัญหาได้ แต่หากฟันผุลึกลงไปมาก อาจต้องถอนฟันหรือใส่รากฟันเทียมและทำครอบฟัน 
  • ส่วนมากเด็กมักไม่จำเป็นต้องขูดหินปูน นอกจากบางคนที่มีคราบหินปูนสะสมเยอะจนอาจเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากเท่านั้น
  • ดูแพ็กเกจทำฟันเด็ก เปรียบเทียบราคา สถานที่ ได้บนเว็บไซต์ HDmall หรือสอบถามแอดมิน ให้แอดมินช่วยหาแพ็กเกจดีๆ ให้ แตะตรงนี้ 

ทันตแพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูสุขภาพช่องปากและฟัน หากพบความผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทัน

ในบทความนี้จะพูดถึงวิธีรักษาช่องปากที่มักพบในคลินิกทันตกรรมเมื่อพาลูกไปหาหมอฟัน

1. อุดฟันเด็ก

การอุดฟัน (Tooth filling) เป็นการรักษาเบื้องต้นในกรณีที่เด็กเกิดฟันผุ ทันตแพทย์จะตรวจดูช่องปากว่ามีตำแหน่งใดผุบ้าง

เมื่อทราบตำแหน่งแล้ว ทันตแพทย์จะเจาะเอารอยผุออก พร้อมกับทำความสะอาดก่อนที่จะอุดฟัน ทันตแพทย์อาจให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะเด็กที่ฟันผุลึก แต่สำหรับคนที่มีรอยผุบนพื้นผิวอาจไม่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึก

วัสดุอุดฟันที่พบบ่อยอาจมีดังนี้

  • วัสดุอุดฟันเงิน (Silver color fillings) หรือหลายคนอาจคุ้นในชื่ออะมัลกัม (Amalgam fillings) เป็นส่วนผสมของเหล็ก ดีบุก ทองแดง และปรอท มีความคงทนสูง แต่สีแตกต่างจากสีฟัน สังเกตเห็นได้ชัด
  • วัสดุอุดฟันคอมโพสิต (Composites) เป็นเรซินอะคริลิกผสมกับแก้ว มีสีคล้ายฟันจริง ทำให้ดูกลมกลืนกัน
  • วัสดุอุดฟันทอง (Gold fillings) เป็นส่วนผสมระหว่างทอง ทองแดง และเหล็ก วัสดุชนิดนี้มีความคงทนสูงมาก แต่ข้อเสียคือราคาสูงและดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • วัสดุอุดฟันพอร์ซเลน (Porcelain) วัสดุนี้มีราคาสูงเทียบเท่ากับวัสดุอุดฟันทอง แต่ให้สีและพื้นผิวแวววาวคล้ายฟันจริงมากกว่า
  • วัสดุอุดฟันกลาสไอโอโนเมอร์ (Glass ionomer) เป็นวัสดุทำจากอะคริลิกและแก้วชนิดหนึ่งที่ผสมฟลูออไรด์ ช่วยป้องกันฟันผุได้ และเหมาะกับเด็กเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากอุดฟันเสร็จ เด็กอาจรู้สึกเจ็บหรือเสียวฟันเล็กน้อยหลังยาระงับความรู้สึกหมดฤทธิ์ แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง ช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มร้อนจัดและเย็นจัดไปก่อน

2. เคลือบหลุมร่องฟันเด็ก

การเคลือบหลุมร่องฟันเด็ก (Sealant) เป็นการใช้สารสังเคราะห์เคลือบหลุมที่ฟันกรามซึ่งมีลักษณะเปนแอ่งลึกลงไป ฟันกรามนั้นอยู่ลึกเข้าไปในช่องปาก ทำให้รักษาความสะอาดยาก อาหารติดได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ

การเคลือบหลุมร่องฟันเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนควรทำ เพื่อป้องกันฟันผุและต้องเสียฟันน้ำนมไปในที่สุด

หลังจากฟันกรามแท้ขึ้นมาตามปกติแล้ว ก็ยังควรเคลือบหลุมร่องฟันเช่นกัน อายุที่ฟันกรามเริ่มขึ้นอาจอยู่ที่ประมาณ

  • ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ขึ้นช่วงอายุ 6-7 ปี
  • ฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 ขึ้นช่วงอายุ 11-13 ปี

3. เคลือบฟลูออไรด์เด็ก

ฟลูออไรด์ (Fluoride treatment) เป็นวิธีป้องกันปัญหาทางทันตกรรมและเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน ลักษณะมักเป็นโฟม เจล หรือน้ำยาเคลือบ

ฟลูออไรด์ช่วยให้ฟันดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น แคลเซียม (Calcium) ฟอสเฟส (Phosphate) เพื่อให้เคลือบฟันแข็งแรง ทนต่อแบคทีเรียได้ดีขึ้น ลดโอกาสฟันผุ

ประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอาจมีดังนี้

  • ช่วยลดโอกาสเสี่ยงฟันผุหรือชะลอฟันผุ
  • ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเหงือก
  • ช่วยลดอาการปวดฟัน
  • ช่วยยืดอายุฟันน้ำนมของเด็ก
  • เป็นทางเลือกในการรักษาที่ประหยัดกว่าการทำทันตกรรมหลายประเภท

ฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์ใช้นั้นเป็นประเภทเดียวกับยาสีฟันตามท้องตลาดที่ระบุว่ามีส่วนผสมของฟลูออไรด์ แต่ฟลูออไรด์ที่ใช้ในคลินิกทันตกรรมจะมีความเข้มข้นสูงกว่า

4. ขูดหินปูนในเด็ก

การขูดหินปูน (Scaling) คือการใช้อุปกรณ์ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนจี้คราบหินปูนสะสมด้านหลังฟัน แรงสั่นสะเทือนจะทำให้คราบหินปูนหลุดออกมา หลายคนอาจคุ้นเคยกับการขูดหินปูนกับผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว

แต่เด็กก็สามารถขูดหินปูนได้เช่นกัน เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกคน ทันตแพทย์อาจพิจารณาขูดหินปูนเฉพาะเด็กที่มีคราบหินปูนเยอะผิดปกติเท่านั้น เนื่องจากคราบเหล่านี้อาจส่งผลเสียระยะยาวในต่อเหงือกและฟัน

ดังนั้นควรปรึกษาทันตแพทย์ทุกครั้งที่ไปตรวจสภาพช่องปาก ว่าลูกของคุณมีแนวโน้มจะต้องขูดหินปูนหรือไม่

5. ถอนฟันหรือฟันน้ำนม

การถอนฟัน (Tooth extraction) มักใช้ในกรณีที่ไม่สามารถบูรณะฟันได้แล้ว หรือทันตแพทย์เห็นว่าไม่ควรรักษาฟันเอาไว้ เช่น

  • ฟันผุจนเกิดการติดเชื้อ หรือผุเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน
  • เป็นโรคเกี่ยวกับเหงือก
  • เกิดความเสียหายรุนแรงกับสภาพฟัน เช่น เกิดอุบัติเหตุ
  • ฟันซ้อนหรือเกทับกันมาก

กรณีถอนฟันในเด็ก ทันตแพทย์อาจพิจารณาให้ยานอนหลับเพื่อลดอาการเจ็บปวด และใช้อุปกรณ์ขยับฟันไปมาเรื่อยๆ จนฟันหลุดออกมา

อย่างไรก็ตาม การถอนฟันน้ำนมอาจมีผลกระทบต่อการขึ้นของฟันแท้ในภายหลัง ทันตแพทย์หลายคนจึงอาจใช้วิธีรักษารากฟันแทน

6. รักษารากฟันน้ำนมเด็ก

การรักษารากฟัน (Pulpectomy) คือการนำเนื้อโพรงประสาทฟันทั้งในซี่ฟันและรากฟันออกไปจนหมด จากนั้นอาจใช้รากฟันเทียมทดแทน และปิดด้วยครอบฟัน (เป็นฟันปลอมชนิดถาวร) ทำให้เด็กสามารถใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

สัญญาณที่บอกว่าเด็กอาจต้องรักษารากฟัน ได้แก่

  • มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ เพราะฟันผุจนทะลุโพรงประสาทฟัน
  • มีประวัติเคยปวดฟัน แต่อยู่ๆ ก็หายไป เนื่องจากเส้นประสาทรากฟันถูกทำลายไปหมด

หากปล่อยทิ้งเอาไว้ อาจเกิดการติดเชื้อและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรพาไปหาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด

ทำฟันเด็กราคาเท่าไร?

ค่าบริการต่างๆ ของการทำฟันเด็กที่ HDmall รวบรวมมาให้ มีดังนี้

  • อุดฟันเด็ก ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,000-1,400 บาท
  • เคลือบหลุมร่องฟันเด็ก ราคาอยู่ที่ประมาณ 350-500 บาท
  • เคลือบฟลูออไรด์เด็กร่วมกับขูดหินปูน ราคาอยู่ที่ประมาณ 600-1,200 บาท
  • ถอนฟันน้ำนม ราคาอยู่ที่ประมาณ 700-1,000 บาท
  • รักษารากฟัน ราคาอยู่ที่ประมาณ 4,000-6,000 บาท

ราคาดังกล่าวเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น อาจมีความแตกต่างกันไปตามสถานที่ ค่าบริการอื่นๆ

เช็กราคาจริงก่อนตัดสินใจจองคิวทำฟันเด็กได้ที่ HDmall ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงาม ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สอบถามเพิ่มเติมหรือให้แอดมินหาแพ็กเกจราคาดีๆ สถานที่ใกล้ๆ ให้ แตะตรงนี้ เพื่อวาร์ปไปหาแอดมินเลย แอดมินพร้อมให้บริการตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่งทุกวัน!

ที่มาของข้อมูล

Marjorie Hecht, How Long Does It Take to Get a Filling?, (https://www.healthline.com/health/how-long-does-it-take-to-get-a-filling), 28 January 2018.

Zawn Villines, Everything you need to know about fluoride treatment, (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327168), 29 November 2019.

Dr. Tejas melkote, Do Children Need Teeth Cleaning?, (http://toothfairy.co.in/children-need-teeth-cleaning/).

Mariah Adcox, Tips for Recovering from a Tooth Extraction, (https://www.healthline.com/health/tooth-extraction-aftercare), 19 April 2018.

อ. ทพญ. ณัฎฐา สุวัณณะศรี, การเคลือบหลุมร่องฟัน Sealant, (http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/Page%20Knowledge/Text/sealant22-3-56.pdf).

@‌hdcoth line chat