อันตรายของน้ำเชื่อมข้าวโพด

รสชาติหวานถือเป็นอีกหนึ่งรสชาติที่ใครหลายคนชื่นชอบเป็นอย่างมาก ด้วยความที่รสชาติหวานเมื่อไปอยู่ในอาหารก็จะทำให้อาหารจานนั้นมีรสอร่อยกลมกล่อม เมื่ออยู่ในของหวานก็ทำให้อร่อยน่ากิน หรืออยู่ในเครื่องดื่มก็ทำให้รู้สึกสดชื่นมากยิ่งขึ้น เช่น น้ำเชื่อม น้ำตาลปี๊ป และน้ำตาลทราย

แต่ต้องยอมรับว่ารสชาติเหล่านี้มักจะส่งผลเสียมากกว่าให้ประโยชน์กับร่างกาย เพราะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะ “น้ำเชื่อมข้าวโพด” หนึ่งในส่วนประกอบที่หลายคนมักจะติดใจในรสชาติ เราไปดูกันว่าอันตรายของน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีในอาหารแปรรูปต่างๆ และเครื่องดื่มจะก่อให้เกิดโทษอย่างไรบ้าง

น้ำเชื่อมข้าวโพด คืออะไร?

น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn syrup) หรือที่เรียกกันว่า แบะแซ คือน้ำเชื่อมให้ความหวานที่ผลิตมาจากแป้งข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือมันฝรั่ง โดยส่วนมากจะถูกนำมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท

  • ประกอบอาหารเมนูต่างๆ เช่น อาหารคาว ของหวาน หรือเครื่องดื่มรสชาติหวาน
  • ใช้เป็นสารสำหรับเคลือบผิวของยาวิตามินต่างๆ
  • ใช้เป็นส่วนผสมของลูกอม
  • ใช้เป็นส่วนประกอบในนมผมทารก

นอกจากนี้แล้วในแง่ของอุตสาหกรรมอาหารยังใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดเพื่อป้องกันการตกผลึกของน้ำตาลอีกด้วย ถือว่าเป็นสารให้ความหวานที่มีประโยชน์หลายอย่างเลยทีเดียว

อันตรายจากน้ำเชื่อมข้าวโพด

ในแง่ของโภชนาการแล้ว น้ำเชื่อมข้าวโพดดูจะเป็นสิ่งที่สร้างผลเสียต่อร่างกายเป็นส่วนใหญ่ โดยอันตรายที่อาจพบได้ มีดังนี้

  • อาจทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากน้ำเชื่อมข้าวโพดมีค่าความหวานสูงมากและยังเป็นสารที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย จึงทำให้มีความเสี่ยงที่ผู้รับประทานจะเกิดโรคระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ไขมันอุดตันเส้นเลือด ปวดศีรษะ และอาจเป็นโรคเบาหวานได้
  • อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม งานวิจัยของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันที่ได้นำเอาน้ำเชื่อมข้าวโพดมาให้หนูทดลองได้กิน สาร HFCS ในน้ำเชื่อมข้าวโพด และน้ำตาลทรายในปริมาณที่เท่ากันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าหนูที่ได้รับสาร HFCS นั้นมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากกว่าหนูที่กินน้ำทราย ซึ่งยังพบไขมันสะสมในร่างกายที่บริเวณหน้าท้องมากกว่าอีกด้วย
  • อาจเกิดพิษตกค้างในตับ น้ำเชื่อมข้าวโพดมีส่วนประกอบของฟักโตสจำนวนมาก จึงต้องผ่านกระบวนการเผาผลาญโดยใช้ตับ หากตับไม่สามารถย่อยได้จนหมดก็อาจแปรเปลี่ยนกลายมาเป็นสารพิษตกข้างในร่างกายหรือที่ตับโดยตรง
  • อาจทำให้ตับแข็ง งานวิจัยของมหาวิทยาลัยตุ๊ก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับต่างๆ เช่น โรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ พบว่ากว่า 20% มีสาเหตุมาจากการรับประทานน้ำเชื่อมข้าวโพดมากจนเกินไปหรือรับประทานอย่างเป็นประจำ
  • อาจทำให้หิวบ่อย น้ำเชื่อมข้าวโพดยังมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเกรลินที่ทำหน้าที่ควบคุมการหิวไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ ส่งผลให้สมองสั่งการควบคุมความอยากอาหารไม่ได้ เราจึงรู้สึกอยากอาหาร หิวบ่อยขึ้น และกินมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้เกิดโรคเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่ม เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน ความดังสูง หรือทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียได้

อันตรายของน้ำเชื่อมข้าวโพดต่อเด็ก

ในปัจจุบันได้มีการนำน้ำเชื่อมข้าวโพดไปผสมในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็ก เช่น นมผงทารก โดยจากผลการวิจัยทางการแพทย์พบว่าน้ำเชื่อมข้าวโพดไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • เด็กอาจติดรสชาติหวานตั้งแต่เด็ก จนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในอนาคต เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ
  • เด็กอาจจะได้สารอาหารไม่เพียงพอ โดยช่วงขวยปีแรกๆ ของเด็กควรกินแต่นมแม่จึงจะได้รับสารอาหารดีที่สุด

เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงให้ลูกดื่มนมที่มีส่วนผสมจากน้ำเชื่อมข้าวโพดหรือน้ำตาลข้าวโพดอย่างเด็ดขาด เพราะถือเป็นสารให้ความหวานที่น่ากลัวสำหรับเด็กๆ เป็นอย่างยิ่ง

น้ำเชื่อมข้าวโพด เลือกรับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวโพดจะถูกบังคับให้แจ้งบนฉลากว่ามีส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวโพดในปริมาณเท่าไร และในบางแบรนด์ก็มีขึ้นเตือนไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างมั่นใจ โดยปัจจุบันมีอยู่ในน้ำอัดลม น้ำหวาน เบเกอร์รี่ อาหารแปรรูป ขนมถุงกรุงกรอบ หรือนมบางชนิด

แม้ว่าน้ำเชื่อมข้าวโพดดูจะเต็มไปด้วยข้อเสียหรือโทษกับร่างกายหลายด้าน หากก็ใช่ว่าร่างกายจะไม่สามารถรับสารที่ให้ความหวานชนิดนี้เข้าไปได้ เพราะหากเรารับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวโพดอย่างพอดีก็ย่อมช่วยให้ห่างไกลจากโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันอุตันในเส้นเลือด และลดความเสี่ยงต่างๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจได้อย่างแน่นอน


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Scroll to Top