รู้จักกับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)


ขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชาย (Circumcision) คืออะไร? ดีไหม? มีข้อดีอย่างไร? มีผลข้างเคียงไหม? เจ็บไหม?​ ทำวัยไหนดีที่สุด? ใครควรทำ? เตรียมตัวก่อน ขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร? ขั้นตอน ขลิบหนังหุ้มปลาย เป็นอย่างไร? ดูแลตัวอย่างไร? กี่วันหาย? อ่านได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) คือการผ่าตัดเอาผิวหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชายบางส่วนออก เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิดได้
  • ข้อดีของการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คือ ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งองคชาต ​ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก ลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
  • การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถทำได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดและผู้ใหญ่จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ส่วนเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไปจะใช้วิธีการดมยาสลบ 
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่อพูดถึงการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือการขลิบหนังหุ้มองคชาต คนส่วนใหญ่มักคิดว่า สามารถทำได้เฉพาะในเด็ก หรือกลุ่มคนที่มีข้อบ่งชี้ทางด้านศาสนาเท่านั้น 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถทำได้ในผู้ชายทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ นอกจากจะช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลายโรคอีกด้วย

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คืออะไร จะมีความน่าสนใจแค่ไหน มีข้อดีอย่างไร กี่วันหาย ควรทำในช่วงวัยไหนถึงจะดีที่สุด HDmall.co.th มีคำตอบมาให้แล้ว

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คืออะไร?

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) หรือที่นิยมเรียกว่า "ขลิบหนังหุ้มปลาย" คือการผ่าตัดเอาผิวหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชายบางส่วนออก เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิดได้

เช็กราคาขริบไร้เลือด

ข้อดีของการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

  • ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องการหมักหมม ช่วยลดการสะสมของขี้เปียก (Smegma) ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งองคชาต
  • ลดการนำเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกไปสู่ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย 
  • ​ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก
  • ลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ คือ การใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • ป้องกันการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ทำวัยไหนดีที่สุด?

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถทำได้ในทุกช่วงวัย แต่จะมีข้อแตกต่างในวิธีการระงับความรู้สึก ดังนี้

  • เด็กแรกเกิด ใช้ยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะที่
  • เด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป ใช้การดมยาสลบ
  • ผู้ใหญ่ ใช้ยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะที่

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายควรทำช่วงวัยไหนถึงจะดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการทำ

หากต้องการทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในเด็ก หรือลดโอกาสเกิดมะเร็งองคชาต การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตั้งแต่เด็กก็จะตอบโจทย์ที่สุดนั่นเอง

ใครควรทำการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในด้านของความต้องการส่วนบุคคลสามารถทำได้ในทุกคน แต่ในทางการแพทย์ มีข้อบ่งชี้ดังนี้

  • มีภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายปิดในเด็กแรกเกิด และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาครีมสเตียรอยด์
  • มีประวัติรูดหนังหุ้มปลายลงแล้วรูดกลับขึ้นไม่ได้
  • อายุเกินสี่ขวบแล้ว แต่ยังรูดหนังหุ้มปลายไม่ได้
  • ปัสสาวะลำบาก มีการโป่งพองของหนังหุ้มปลายขณะปัสสาวะ
  • มีการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ มักเกิดในคนที่หนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก หรือผู้ที่หลังปัสสาวะแล้ว ไม่ค่อยรูดเปิดทำความสะอาด ทำให้มีการสะสมของเชื้อโรคจนทำให้เกิดการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ โดยในบางรายอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนได้
  • มีข้อบ่งชี้ทางด้านศาสนา เช่น ศาสนายิว ศาสนาอิสลาม
  • หนังหุ้มปลายรัดองคชาติ ทำให้ปวด และบวม
  • หนังหุ้มปลายหนาเกินไปจนไม่สามารถเปิดออกเองได้ ในบางรายอาจเกิดความเจ็บปวดเวลาอวัยวะเพศแข็งตัว
เช็กราคาขริบไร้เลือด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

  • หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติการแพ้ยา จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ในผู้ที่กำลังรับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (Aspirin) จะต้องงดยาก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 7-10 วัน
  • หากเป็นไข้ ไม่สบาย หรือมีอาการไอ ควรเลื่อนการผ่าตัดไปก่อน หรือแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด
  • หากใช้ยาชา ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
  • หากใช้วิธีการดมยาสลบ จะต้องงดน้ำและอาหาร ก่อนเข้ารับการผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง

การดูแลตนเองหลังเข้ารับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

หลังเข้ารับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ดูแลตนเองด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รับประทานยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวด ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด
  • รับประทานอาหารรสอ่อน หลีกเลี่ยงการรับประทานของเผ็ด หรือของหมักดอง ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด
  • สวมกางเกงใน และจัดให้องคชาตอยู่ในแนวตั้งเพื่อป้องกันแผลบวม
  • หากมีเลือดซึม ให้ใช้ผ้าสำลี หรือผ้าก๊อซกดตรงจุดที่เลือดออก 3-5 นาที ถ้าเลือดไม่หยุดไหล ให้มาพบแพทย์ทันที
  • หลังผ่าตัด แพทย์อาจปิดแผลไว้ 1 วัน ถ้าผ้าพันแผลหลุดก็ไม่ต้องปิดแผลอีก ห้ามใส่ยาใดๆ หรือแป้งที่แผล
  • รักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัดเสมอ ไม่ปล่อยให้อับชื้น โดยใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดแผล (คราบเลือดและนำ้เหลือง) วันละ 2 ครั้ง และทุกครั้งหลังหลังปัสสาวะ หรืออุจจาระ
  • ควรมาทำแผลที่โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านทุกวัน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะแห้ง
  • หลังผ่าตัด 5 วัน สามารถอาบน้ำได้ (แต่ห้ามแช่น้ำ) และจะต้องใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้งทันที ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
  • หลังผ่าตัดไม่ต้องตัดไหม เพราะไหมเย็บจะละลาย และหลุดไปเอง ประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • ปกติแล้ว แผลจะหายภายใน 7-10 วัน และผู้ใหญ่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ภายใน 1 เดือน 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

  • หากมีอาการผิดปกติ (พบได้น้อย) ได้แก่ แผลบวมแดง ร้อน มีเลือดคั่ง ปวดแผลมาก มีไข้สูง หรือปัสสาวะไม่ออก ควรไปพบแพทย์ทันที
  • อาจลดความไวในการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ในช่วง 2 เดือนแรก
  • ผิวหนังส่วนหัวของอวัยวะเพศแห้ง
  • การม้วนตัวของหนังหุ้มปลายเปลี่ยนไปขณะมีเพศสัมพันธ์

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้การดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเกิดมะเร็งองคชาต และการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตันได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแล้ว ก็ควรที่จะป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และต้องรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ

เช็กราคาขริบไร้เลือด

สำหรับใครที่สนใจขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถ เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ได้ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ มีจิ๊บใจดีคอยให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง แอดได้เลยไม่ต้องรอ!


รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายปิดในเด็กแรกเกิด (https://www.rama.mahidol.ac.th/ped/th/infographic/23feb2021-1012), 2 สิงหาคม 2564.
  • โรงพยาบาลพะเยา, การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (http://61.7.231.171/PhayaoHospitalHealtheducation/assets/PCTSUR/DATA/Other/Circumcision.pdf), 2 สิงหาคม 2564.
  • โรงพยาบาลลำปาง, การขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ (Circumcision) (http://www.lph.go.th/inforlpng/images/or/uro/2.pdf), 2 สิงหาคม 2564.
  • โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์, การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชาย [CIRCUMCISION] (http://www.msdbangkok.go.th/webpage/03_Health/health-idea/Circumcision.pdf), 2 สิงหาคม 2564.
@‌hdcoth line chat