มาตราหน่วยนับเลือดที่ควรรู้

ในแบบรายงานแสดงค่าผลการตรวจเลือดไม่ว่าระบบใด สิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกรายการต่อจากตัวเลขนั้น ก็คือจะต้องแสดงให้เห็นว่าเป็น “หน่วย” อะไรเสมอ

ความสำคัญของหน่วยนับ

หากหน่วยไม่เหมือนกันก็ย่อมทำให้แสดงตัวเลขไม่ตรงกัน เช่น นาย ก มีส้มอยู่เต็มกระจาดพอดีจำนวน 48 ผล ในการนี้เราอาจแสดงหน่วยนับว่านาย ก เป็นเจ้าของส้มด้วย “จำนวน”และ “หน่วย” ที่ต่างกัน ดังนี้

  • นาย ก เป็นเจ้าของส้ม 48 ผล หรือ
  • นาย ก เป็นเจ้าของส้ม 4 โหล  หรือ
  • นาย ก เป็นเจ้าของส้ม 1 กระจาด

ค่าตัวเลขที่แสดงจำนวนส้ม 48 ผลกับจำนวนส้ม 4 โหลนั้นแสดงความจริงที่ไม่แตกต่างกันโดยนัย แต่เหตุที่จำนวนตัวเลขไม่ตรงกันก็เพราะว่า “หน่วยนับ” มันต่างกัน ดังนั้น หน่วยของจำนวนนับตัวเลขใดใดจึงมีความสำคัญซึ่งท่านผู้อ่านไม่ควรมองข้ามไปเป็นอันขาด

วิธีการรายงานแสดงคาดผลตรวจเลือดก็เช่นเดียวกันอาจมีหน่วยนับเกี่ยวกับเลือดที่แตกต่างกันท่านผู้อ่านและผู้นำค่าไปใช้ จึงควรจะได้มีความสังเกตุดูรู้วิธีเทียบเคียงระหว่างค่าของหน่วยที่แตกต่างกันซึ่งหนังสือนี้จะพยายามให้ความกระจ่างกับท่านผู้อ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

โดยความรู้พื้นฐานทั่วไปมาตราหน่วยนับเกี่ยวกับเลือดมักจะมี 5 มาตราดังนี้

  1. มาตราในด้านจำนวน
  2. มาตราในด้านน้ำหนัก
  3. มาตราในด้านปริมาตร
  4. มาตราในด้านความยาว
  5. มาตราอื่นๆ

มาตราในด้านจำนวน

มาตราในด้านจำนวนเกี่ยวกับเลือดมาใช้กับหน่วยนับจำนวนเซลล์ของเม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือดโดยมีข้อควรสังเกตว่าจะต้องแสดงจำนวนต่อปริมาตรใดปริมาตรหนึ่งเสมอคล้ายกับการนับจำนวนส้ม 48 ผลต่อ1 กระจาด

กรณีของหน่วยนับเม็ดเลือดในใบรายงานแสดงผลบางคลินิกหรือบางแบบอาจแสดงได้หลายวิธีเช่น

วิธีที่ 1 WBC count : 7,200 cells/cu.mm.

ย่อมหมายถึงว่าจำนวน white blood cell หรือจำนวนนับของเซลล์เม็ดเลือดขาวคือ 7,200 เซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรนับว่าเป็นการแสดงตัวเลขอย่างตรงไปตรงมา

วิธีที่ 2 WBC count : 7.2 103/cu.mm.

ย่อมหมายถึงว่า จำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ

7.2 x 10= 7.2 x 10 x 10 x10 หรือ 7,200 เซลล์/cu.mm.

นั่นคือ 7,200 เซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร

วิธีที่ 3 WBC count : 7.2 103/µL

ย่อมหมายถึงว่า จำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ 7.2 x 10 x 10 x10 หรือ 7,200 เซลล์/ µL

“µL” นั้นคือ microlitre ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 1 ในล้านของลิตร หรือเท่ากับ 0.001 millilitre (ml) หรือเท่ากับ  ลูกบาศก์มิลลิเมตร (cu.mm.) นั่นเอง

วิธีที่ 4 WBC count : 7.2 x 109/L

ย่อมหมายถึงว่า จำนวนนับเซลล์เม็ดเลือดขาว

= 7.2 x 10เซลล์ต่อเลือด 1 ลิตร

= 7.2 x 1,000,000,000 เซลล์ต่อเลือด 1,000 cu.cm.

= 7.2 x 1,000 เซลล์ต่อเลือด 1  cu.mm.

นั่นคือ 7,200 เซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร นั่นเอง

ในการนี้ จะเห็นได้ว่าจำนวนหน่วยนับเซลล์เม็ดเลือดขาว 7,200 เซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร นั้นอาจแสดงในใบแจ้งผลเลือดได้ถึง 4 วิธี ทั้งๆที่เป็นค่าเดียวกันโดยนัย กล่าวคือ 7,200 cells/cu.mm.

  • หรือเท่ากับ 7.2 103/cu.mm.
  • หรือเท่ากับ 7.2 103/ µL
  • หรือเท่ากับ 7.2 109/ L

ผมรวบรวมมาแสดงพอให้เห็นเป็นตัวอย่างตัวอย่างเพียง 4 รูปแบบ ซึ่งในความเป็นจริงสถานพยาบาลหรือห้องแล็บบางแห่งอาจแสดงผลเลือดด้วย “หน่วยนับจำนวน” ที่พิสดารผิดแผกแตกต่างไปจากนี้ก็ได้

โดยเหตุนี้ ท่านผู้อ่านจึงควรทำความเข้าใจในตารางที่ 1 ของหน้านี้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับคำอุปสรรค (prefix) ที่อาจใช้เติมลงข้างหน้าของมาตราหน่วยมาตรฐาน คือ 1) meter (เมตร) 2) gram (กรัม) และ 3) litre (ลิตร) เช่นคำที่เพิ่งผ่านตาท่านผู้อ่านในตัวอย่างของวิธีที่ 1-4 เช่น

  • milli ใน millimeter (mm)
  • micro (µ) ใน  microlitre (µL)

 

ตารางแสดงหน่วยนับในระบบเมตริก

จำนวนเลขสามัญทั่วไป

หรือเลขยกกำลัง

คำอุปสรรค

สัญลักษณ์

ศัพท์ที่ใช้เรียกกันทั่วไป

1,000,000,000,000,000

1015

peta

P

Quadrillion

1,000,000,000,000

1012

tera

T

Trillion

1,000,000,000

109

giga

G

Billion

1,000,000

106

mega

M

Million

1,000

103

kilo

K

Thousand

100

102

hecto

H

Hundred

10

101

deca

da

Ten

1

10

One

0.1

10-1

deci

d

Tenth

0.01

10-2

centi

c

Hundredth

0.001

10-3

milli

m

Thousandth

0.00.001

10-6

micro

                µ

Millionth

0.000.000.001

10-9

nano

n

Billionth

0.000.000.000.001

10-12

pico

p

Trillion

0.000.000.000.000.001

10-15

femto

f

Quadrillion

แสดงคำอุปสรรค (prefix) เพื่อใช้ประกอบเป็นคำนำหน้าหน่วยนับในมาตราหน่วยมาตรฐานในระบบเมตริก ที่อาจพบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเลือด เช่น ng หมายถึง น้ำหนัก 1 ในพันล้านกรัม (n = nano, g = gram)

เมื่อท่านผู้อ่านมีความเข้าใจและใช้ตารางที่ 1 ได้อย่างคล่องแคล่วแล้วในการนี้มีคลินิกใดแสดงหน่วยนับพิสดารอย่างใด ท่านก็ย่อมสามารถแปลงค่ามาเป็นหน่วยนับมาตรฐานที่ท่านคุ้นเคยได้อย่างเสมอ

มาตราในด้านน้ำหนัก

ในการแสดงผลใดๆ เกี่ยวกับเลือด “มาตราในด้านน้ำหนัก” มักเป็นหน่วยหลักที่จะต้องแสดงอยู่เกือบทุกค่า รูปแบบมาตรฐานของ “หน่วยน้ำหนัก” ที่คลินิกต่างๆ มักนิยมใช้กันจะมี 4 รูปแบบคือ 1) g 2) mol 3) Eq และ 4) mg% ทั้งนี้จะได้ทยอยทำความเข้าใจทั้ง 4 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 แสดงเป็น กรัม คือ gram หรือ gm และมักจะลดรูปลงเหลือเพียง g

ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อการเติมคำอุปสรรค (ในตารางที่ 1) ลงข้างหน้าเช่น ng ก็หมายถึง nanogram

รูปแบบที่ 2 แสดงเป็น โมล คือ mole หรือ mol หรือน้ำหนักโมเลกุลของธาตุใดๆ น้ำหนักโมเลกุลของธาตุแคลเซียม (Ca) คือ 40

ดังนั้น 1 mole ของแคลเซียมจะเท่ากับ 40 กรัม

เพราะฉะนั้น Ca 1 millimole = x 40 กรัม

นั่นคือ แคลเซียม 1 mmol = 0.04 กรัม

โดยเหตุที่น้ำหนักอะตอม (atomic weight) หรือน้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) ของธาตุใดๆ จะมีค่าไม่เท่ากันเลย ฉะนั้นเมื่อจะแปลงค่ามาเป็นน้ำหนักสากล เช่น ค่าทั่วไปในแบบระบบเมตริก จึงจำเป็นต้องใช้ตัวเลขคงที่มาเปรียบเทียบมาคำนวณด้วยตนเองง่ายๆ เช่น

ตัวอย่าง เมื่อไปเจาะเลือดที่คลินิก B ได้ผลเลือดมีค่าคอเลสเตอรอล (cholesterol) เท่ากับ 5.439 mmol/L แต่เมื่อ 3 เดือนที่แล้วเคยเจาะเลือดที่คลินิก A ปรากฏว่า ได้ค่าคอลเลสเตอรอลตามที่บันทึกไว้ครั้งก่อนนั้นว่า 220 mg/dL

จึงอยากทราบผลว่า ค่าคอเลสเตอรอลครั้งล่าสุดที่คลินิก B มันสูงขึ้นหรือต่ำลงจากคลินิก A มากน้อยเพียงใด?

วิธีคำนวณ

เปิดตาราง A ค้นหาคำว่า cholesterol จะพบว่า

cholesterol 1 mg/dL  =  0.0259 mmol/L

ในการนี้ เพื่อความสะดวกจึงควรจะได้แปลงค่าผลเลือดของคลินิกที่ได้จากการเจาะเลือดตรวจครั้งหลัง ให้เปลี่ยนเป็นหน่วยทั่วไปตามมาตรฐานเหมือนคลินิก A เสียก่อน ซึ่งย่อมจะเกิดความสะดวกต่อการเปรียบเทียบต่อไปจาตัวเลขในตารางที่ได้มา อาจคำนวณได้ว่า ค่าคอลเลสเตอรอลที่คลินิก จะมีค่า เท่ากับ mg/dL

มีข้อควรจำเพียงว่า หน่วย “mole” นี้เป็นหน่วยที่นานาชาติวางระบบขึ้นเรียกว่า Systeme Internationale     (SI)

รูปแบบที่ 3 แสดงเป็น Eq ซึ่งเป็นคำย่อของ “Equivalents”

จำนวน Eq คือมาตราแสดงมวลสารของธาตุใดๆ ที่สามารถรวมตัวกับธาตุอื่นได้ ทั้งี้ขนาดหน่วยที่มักใช้แสดงผล คือ mEq

นั่นคือ milliequivalents นั่นเอง

ตัวอย่าง นาย ก มีระดับ potassium ในใบแสดงผลเลือด เท่ากับ 4 mEq/L แปลว่านาย ก มีค่าโพแทสเซียมจำนวน 4 milliequivalents ต่อปริมาณเลือด 1 ลิตร

ในการนี้หากต้องการจะเปลี่ยนเป็น “SI” หรือหน่วย “mole” ก็ดูจาก

potassium  1 mEq/L = 1 mmol/L

รูปแบบที่ 4 แสดงเป็นmg%

ทั้งนี้เนื่องจากการแสดงว่าค่าว่า มีธาตุหรือสารประกอบใดๆ ในน้ำเลือดนั้นมักต้องจำกัดขนาดของปริมาณน้ำเลือดด้วยปริมาตรมาตรฐาน คือ “dL” หรือ “deciliter” นั่นคือ 1 ใน 10 ของลิตร

โดยเหตุผล คลินิกบางแห่งที่แสดงค่าผลเลือดของสารประกอบใดๆ เช่น น้ำตาล (กลูโคส) ต่อเลือด 100 mL จึงอาจแสดงได้ 2 แบบ กล่าวคือ

แบบมาตรฐาน                ค่าน้ำตาล           =          82         mg/dL

แบบ mg%                     ค่าน้ำตาล           =          82         mg/ 100 mL

หรือจะเขียนสั้นๆ ว่า        ค่าน้ำตาล           =          82         mg%

ฉะนั้น ในกรณีเห็นค่าผลเลือดซึ่งแสดงหน่วยน้ำหนักประกอบ% ณ ที่ใด ก็ให้แปลความหมายว่า นั่นคือ “ต่อ 100 mL” หรือ “ต่อ dL” หรือ “…/dL” เสมอ เช่น

Uric acid           4.2 mg%           นั่นคือ   4.2 mg/dL

Free T4             1.1 ng%                        นั่นคือ   1.1 ng/dL

มาตราในด้านปริมาตร

โดยผลของการทำความเข้าใจในสองมาตราแรกคือด้านจำนวนและด้านน้ำหนักก็คงจะได้มีส่วนช่วยสร้างความคุ้นเคยให้เห็นกันมาแล้วว่าหน่วยวัดปริมาตรเกี่ยวกับเลือดนั้นมักมีรูปแบบ ที่ไม่ซับซ้อนอะไรมากนักกล่าวคืออาจเป็นลิตร (L) เป็นเดซิลิตร (dL) หรือมิลลิลิตร (mL) เพียงแต่การใช้รูปแบบอักษรย่ออ่านมีให้เห็นแตกต่างกัน

การแสดงปริมาตรอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจไม่ใช้หน่วยปริมาตร (เช่น ลิตร) โดยตรง ก็อาจใช้แสดงด้วย “หน่วยลูกบาศก์ของหน่วยความยาว” ก็ได้ เช่น

  • cumm ก็หมายถึง cu.mm. หรือ cubic millimeter นั่นคือ ลูกบาศก์มิลลิเมตร หรือ ลบ.มม.
  • cc ก็หมายถึง cu.cm หรือ cubic centimeter นั่นคือ ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ ลบ.ซม.

โดยประการสำคัญที่สุดซึ่งท่านผู้อ่านควรต้องจดจำอีกเรื่องหนึ่งก็คือความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยวัดปริมาตรประเภทใช้ลูกปัดความยาวกับหน่วยปริมาตรแท้จริงเกี่ยวกับเลือดซึ่งทราบกันทั่วไปอยู่แล้วนั่นคือ

สูตรความสัมพันธ์มาตรฐาน

1 ลบ.ซม. = 1 มล. (มิลลิเมตร) หรือ 1 cc = 1 mL = 0.001 ลิตร นั่นเอง

มาตราในในด้านความยาว

โดยธรรมดา ค่าผลเลือดหรือรายงานแสดงผลการตรวจเลือดมักไม่ค่อยมีตัวเลขที่บอกค่าเกี่ยวกับความยาว เว้นแต่จะใช้หน่วยเป็น “ลูกบาศก์ของความยาว” เช่นลูกบาศก์เซนติเมตร (ลบ.ซม. หรือ cu.cm. หรือ cc) ที่พึ่งเอ่ยถึงมาในข้อที่แล้ว

แต่ในกรณีการแสดงรูปพรรณสัณฐานของเซลล์เม็ดเลือดหรือขนาดของหลอดเลือดหรือขนาดของมิติใดใดเกี่ยวกับเลือด ก็อาจมีหน่วยความยาวในระบบเมตริกและบางมาตราที่ใคร่ขอยกตัวอย่างขนาดของชิ้นส่วนเกี่ยวกับเลือดจากตำราเช่น

ก. หลอดเลือดแดง aorta ที่แรกพ้นออกมาจากหัวใจ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 cm

ในที่นี้ 2.5 cm ก็คือ 2.5 centimeter ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันอยู่แล้ว

ข. หลอดเลือดแดงส่วนปลาย (artiroles) อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.3 mm

ในที่นี้ 0.3 mm ก็คือ 0.3 millimeter ทำให้เรานึกภาพออกว่ารูหลอดเลือดแดงส่วนปลายนั้นมันเล็กมากจริงๆ

ค. ระหว่างผนังด้านในของหลอดเลือดแดงฝอย จะมีรูขนาด 30-40 Å ซึ่งใช้เป็นทางผ่านของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ตัด ปัญหาที่เราอยากรู้ว่าคือ ความยาวขนาด 30-40 Å จะมีค่าเท่าใดในระบบเมตริกที่มีมาตรฐานเป็น เมตร

ในที่นี้ 30-40 Å ก็คือ 30-40 angstrom นั่นคืออังสตรอมซึ่งเป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดที่อาจต้องจำก็คือมีสูตรว่า

1 Å  =  1 ในร้อยล้านของเซนติเมตร

ท่านผู้อ่านคงไม่ลืมว่า nm คือ nanometer ซึ่งมีค่าเท่ากับหนึ่งในพันล้านเมตร หรือเท่ากับ 0.000,000,001   เมตร

. เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างกลมแบนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.8 ไมครอน ทำให้มีปัญหาให้เราอยากรู้ว่า 1 ไมครอน มันยากี่เมตรในระบบเมตริก โดยมีสูตรว่า

1 micron = 1 ในล้านของเมตร

มาตราอื่นๆ

  • หน่วยนับในมาตราอื่นๆ หมายถึงการนับที่ไม่เกี่ยวกับจำนวน น้ำหนักปริมาตร หรือความยาวใดๆ เกี่ยวกับเลือด
  • ในการ จะได้กล่าวถึงเฉพาะที่ใช้นับกับ สารเคมี เกี่ยวกับเลือดที่มักพบบ่อย เช่น
  • หน่วย ในรูปของ “units” โดยตรง หรือใช้คำย่อว่า U โดยอาจแสดงจำนวนว่าน้อยในระดับ milli ก็ได้ โดยเขียนว่า “mIU”
  • หน่วยสากล ในรูปของ international units ก็ใช้คำย่อว่า IU
  • สรุปของสรุปก็อาจกล่าวได้ว่า มาตรฐานในมาตรวัดเกี่ยวกับเลือดจะไม่พ้นไปจากที่ได้เอ่ยมาทั้งหมด เว้นแต่บาง Lab ที่อาจจะใช้หน่วยพิสดารแปลกไปจากนี้ ก็ขอได้โปรดซักถามท่านเจ้าหน้าที่เทคนิคของ Lab นั้นๆ ให้แน่ชัดต่อไป

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Scroll to Top