รู้จักกับโรคผิวหนังดำ (Black Skin) ในสุนัข


โรค Black Skin ในสุนัข ในปอม คืออะไร? ผิวหนังสุนัขเป็นสีดำ เป็นโรครอยดำ แบล็กสกิน เกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? มีวิธีการรักษาอย่างไร? มีแชมพูรักษาไหม? ทำความรู้จักโรค  Black Skin ในสุนัข ได้ที่นี่

ใครหลายคนที่เลี้ยงเจ้าสุนัขพันธุ์ขนฟูไว้เป็นเพื่อนคู่ใจ ไม่ว่าจะเป็นปอมเมอเรเนียน เชาเชา หรือซามอยด์ อาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักพบในสุนัขเหล่านี้ อย่างโรคผิวหนังดำ (Black Skin) แล้วรู้สึกกังวลว่า จะเกิดกับสุนัขของตนหรือเปล่า หรือถ้าเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นอันตรายไหม

ในบทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปทำความรู้จักกับโรค Black Skin ตั้งแต่สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน เพื่อให้คุณเจ้าของสามารถดูแลเจ้าตัวน้อยได้อย่างถูกวิธี


เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ


โรค Black Skin คืออะไร?

โรคผิวหนังดำ (Black Skin) หรือที่เรียกว่า “Alopecia X” เป็นโรคผิวหนังที่พบในสุนัข ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด แต่คาดว่าเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของฮอร์โมน โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน และเพศ

ตรวจสุขภาพสุนัข ราคา

โรค Black Skin พบในสุนัขพันธุ์อะไรบ้าง?

โรค Black Skin สามารถพบได้ในสุนัขทุกสายพันธ์ุและทุกช่วงอายุ แต่พบมากในสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนฟู และเป็นเพศผู้ เช่น

  • พอเมอเรเนียน (Pomeranian) หรือที่นิยมเรียกว่า “ปอมเมอเรเนียน”
  • เชาเชา (Chow chow)
  • คีชอน (Keeshonds)
  • มิเนเจอร์ พุดเดิล (Miniature poodle)
  • อลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan malamute)
  • ซามอยด์ (Samoyed)
  • ไซบีเรียน ฮัสกี (Siberian huskies)

โรค Black Skin มีลักษณะอาการอย่างไร?

สุนัขที่เป็นโรค Black Skin เมื่อแรกเกิดจะมีขนเหมือนกับสุนัขปกติทั่วไป จะค่อยๆ เริ่มแสดงอาการในช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี อย่างช้าๆ

อย่างไรก็ตาม สุนัขบางตัวที่เป็นโรคนี้อาจแสดงอาการในช่วง 5-10 ปี ก็ได้

ลักษณะอาการของโรค Black Skin มีดังนี้

  • ขนร่วงเป็นหย่อมๆ เริ่มจากตำแหน่งที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ ก่อน เช่น บริเวณรอบก้น ต้นขาด้านหลัง หรือรอบคอ ก่อนที่จะลามไปยังบริเวณลำตัวและสะโพก โดยจะยังมีขนที่บริเวณศีรษะและขา
  • ผิวหนังบริเวณที่ขนร่วงคล้ำขึ้นจนเป็นสีดำ
  • ไม่มีขนใหม่งอกขึ้นมา หรือถ้ามีขนงอก ขนบริเวณดังกล่าวจะไม่แน่นและยาวเท่าเดิม

โรค Black Skin นั้น เป็นโรคที่ส่งผลต่อความสวยงาม ไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

หากสุนัขมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความอยากอาหารและน้ำเปลี่ยนแปลงไป หรือผิวหนังอักเสบ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรค Black Skin ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติม และเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม

โรค Black Skin ในสุนัข ในปอม คืออะไร? ผิวหนังสุนัขเป็นสีดำ เป็นโรครอยดำ แบล็กสกิน เกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? มีวิธีการรักษาอย่างไร? มีแชมพูรักษาไหม? ทำความรู้จักโรค  Black Skin ในสุนัข ได้ที่นี่

การวินิจฉัยโรค Black Skin เป็นอย่างไร?

ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรค Black Skin แน่ชัด แนวทางการวินิจฉัยโรคจึงเป็นการตรวจคัดกรองโรคขนร่วงจากสาเหตุต่างๆ ก่อน หากไม่พบสาเหตุ จึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค Black Skin เช่น

  • ซักประวัติ และตรวจร่างกายทั่วไป
  • ตรวจรากขน
  • ตรวจโรคภูมิแพ้
  • ตรวจความสมดุลของฮอร์โมน
  • ตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และดูการติดเชื้อ
  • ขูดผิวหนังบริเวณที่ขนร่วงไปตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อดูว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสหรือไม่
  • ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ เพื่อคัดกรองโรคไทรอยด์ (​​Thyroid disease) โรคคุชชิง (Cushing’s disease) และโรคปรสิตในลำไส้ (Intestinal parasites)
ตรวจสุขภาพสุนัข ราคา

โรค Black Skin มีวิธีรักษาอย่างไร มีแชมพูรักษาไหม?

ในปัจจุบัน โรค Black Skin ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำการรักษาโดยการทำหมันร่วมกับการใช้ยา มีรายละเอียดดังนี้

1. รักษา Black Skin ด้วยการทำหมัน

สุนัขส่วนใหญ่เมื่อทำหมันแล้วจะมีขนใหม่งอกกลับมาเหมือนเดิม แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป 2-3 ปี ก็อาจจะกลับมามีอาการเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม วิธีการทำหมันเป็นวิธีรักษาที่สัตวแพทย์แนะนำที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ ด้วย เช่น มะเร็งอัณฑะ หรือมดลูกอักเสบ

2. รักษา Black Skin ด้วยยา

สัตวแพทย์อาจให้ยาเมลาโทนิน (Melatonin) ติดต่อกัน 2-3 เดือน หรือฉีดยาฮอร์โมน เช่น เดสลอรีลิน (Deslorelin) หรือเมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) เพื่อกระตุ้นให้ขนงอกกลับมาเป็นเหมือนเดิม แล้วค่อยๆ ลดขนาดยาลง เพื่อกระตุ้นให้ขนงอก

อย่างไรก็ตาม การใช้ยารักษาโรค Black Skin อาจมีผลข้างเคียงต่อสัตว์ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยามาใช้ด้วยตนเองเด็ดขาด จะต้องปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

โรค Black Skin ในสุนัข ในปอม คืออะไร? ผิวหนังสุนัขเป็นสีดำ เป็นโรครอยดำ แบล็กสกิน เกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? มีวิธีการรักษาอย่างไร? มีแชมพูรักษาไหม? ทำความรู้จักโรค  Black Skin ในสุนัข ได้ที่นี่

โรค Black Skin มีวิธีป้องกันอย่างไร?

สุนัขที่เป็นโรค Black Skin มักได้รับการวินิจฉัยในช่วงอายุ 1-3 ปี เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคนี้ไปยังสุนัขในรุ่นต่อไป ทันตแพทย์จึงแนะนำให้พ่อและแม่สุนัขมีลูกตอนอายุ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากเชื่อกันว่า โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อย่างไรก็ตาม เมื่อสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นโรค Black Skin เจ้าของควรที่จะให้การดูแลเป็นพิเศษ​ โดยอาจให้สุนัขสวมใส่เสื้อผ้าเมื่อต้องออกไปที่สาธารณะ เพราะแม้ว่า โรค Black Skin จะไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะไวต่อความหนาวเย็นและแสงแดดกว่าปกติ และมีแนวโน้มจะติดเชื้อได้ง่าย

โรค Black Skin นั้น ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง แต่เป็นโรคผิวหนังที่ส่งผลกระทบต่อความสวยงาม

หากหลังจากทำหมันแล้วอาการไม่ดีขึ้น แต่อยากรักษาด้วยวิธีการรับประทานยาเพื่อให้สุนัขมีขนกลับมาเหมือนเดิม เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องประเมินความเสี่ยงร่วมกับสัตว์แพทย์ เพราะการใช้ยาอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของสุนัขในระยะยาวได้

หากสงสัยว่าน้องหมามีโรค Black Skin หรือโรคผิวหนังอื่นๆ หรือไม่ กดดูแพ็กเกจตรวจ รักษาสัตว์เลี้ยงที่นี่

ตรวจสุขภาพสุนัข ราคา

นอกจากนี้ HDmall.co.th ยังมีบริการน่าสนใจอื่นๆ สำหรับสุนัข แมว ไปจนถึง Exotic Pet คุณสามารถจองแพ็กเกจตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง อาบน้ำ ตัดขน ทำหมัน ตรวจโรคเฉพาะทาง ผ่านแพลตฟอร์มของเราได้แล้ววันนี้ กดเปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจได้ ที่นี่ เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง!


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Darlene Stott, Black Skin Disease in Dogs (https://wagwalking.com/condition/black-skin-disease), 7 November 2021.
  • Karen A. Moriello, Hyperpigmentation (Acanthosis Nigricans) in Dogs (https://www.msdvetmanual.com/dog-owners/skin-disorders-of-dogs/hyperpigmentation-acanthosis-nigricans-in-dogs), 7 November 2021.
  • Wendy Brooks, Alopecia X is a Pattern of Baldness (https://veterinarypartner.vin.com/default.aspx?pid=19239&catId=102899&id=4951938), 7 November 2021.
@‌hdcoth line chat