ปวดท้องข้างขวา ต้องพบแพทย์ไหม อันตรายหรือไม่


ปวดท้องข้างขวา


เมื่อมีอาการปวดท้อง ไม่ว่าจะปวดท้องตำแหน่งใดก็ตาม ย่อมสร้างความไม่สบายตัวกับผู้ที่ปวดได้เป็นอย่างมาก ยิ่งหากไม่รู้สาเหตุ กินยาอะไรเข้าไปก็ไม่หาย ยิ่งทำให้ทรมานหนักมากกว่าเดิม  เพื่อให้ง่ายต่อการวินิจฉัย การระบุได้ว่า ปวดท้องข้างไหน ตำแหน่งใด จะช่วยให้พบความผิดปกติหรือวินิจฉัยสาเหตุได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากภายในช่องท้องมีอวัยวะภายในหลายอย่าง

สำหรับในทางการแพทย์นั้น ได้แบ่งอาการปวดท้องออกเป็นปวดท้องข้างซ้าย และปวดท้องข้างขวา โดยในบทความนี้ จะพูดถึงอาการปวดท้องด้านขวา ใครที่มีอาการปวดท้องด้านขวาเป็นประจำ มาดูกันเลยว่า อาการเหล่านี้เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง ต่างจากปวดท้องข้างซ้ายอย่างไร


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


ปวดท้องบริเวณด้านขวาส่วนบน

บริเวณท้องด้านขวาส่วนบน หรือใต้ซี่โครงด้านขวา เป็นที่อยู่ของตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน เมื่อเกิดการปวดท้องในบริเวณนี้ อาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ

  • โรคตับ หรือโรคนิ่วในถุงน้ำดี: เป็นอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมาก หากคลำ หรือกดบริเวณที่ปวด อาจพบก้อนเนื้อแข็งๆ เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน จะสังเกตได้ว่า มีอาการตัวเหลือง และตาเหลืองมากกว่าเดิม
  • ตับอ่อนอักเสบ: โรคนี้พบได้ทั้งอาการปวดท้องส่วนบนทั้งซ้ายและขวา โดยเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป จึงส่งผลให้ตับอ่อนทำงานผิดปกติและเกิดการอักเสบได้ เมื่อเป็นโรคนี้จะพบว่า มีอาการปวดท้องส่วนบนทั้งด้านขวาและซ้าย ลามไปถึงแผ่นหลัง

ปวดท้องข้างขวา เป็นอาการปวดท้องบริเวณซีกขวาของร่างกาย รวมไปถึงส่วนบั้นเอว และใต้ซี่โครงขวา ซึ่งแต่ละบริเวณก็จะเป็นที่อยู่ของอวัยวะที่แตกต่างกัน จึงทำให้สาเหตุของอาการปวดท้องแตกต่างกันไปด้วย

ปวดท้องด้านขวาส่วนล่าง

บริเวณท้องด้านขวาส่วนล่าง เป็นที่อยู่ของไส้ติ่ง ลำไส้เล็กบางส่วน และกรวยไตด้านขวา ปกติแล้วอาการปวดท้องด้านขวาส่วนล่างมักเกิดจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร แต่หากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องในส่วนนี้ ไม่ใช่เรื่องของกรดเกินในกระเพาะอาหาร ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม

โดยสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนล่าง ได้แก่

  • ไส้ติ่งอักเสบ: หากมีอาการปวดท้องแบบเสียดแน่น ตั้งแต่สะดือไปจนถึงท้องน้อยด้านขวาจนรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มปอด และคลำดูแล้วเจอก้อนเนื้อนูนออกมา และเจ็บมาก ให้สันนิษฐานว่า คุณกำลังเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ไส้ติ่งแตกจนหนองกระจายออกมา ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้
  • ความผิดปกติของลำไส้ หรือลำไส้แปรปรวน: ความผิดปกติของอวัยวะดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณด้านขวาแบบรู้สึกมวนๆ ท้อง ไม่มีอาการรุนแรงอะไรมากนัก แค่รับประทานยาลดกรดก็สามารถหายได้เป็นปกติ
  • ความผิดปกติของกรวยไต หรือทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ: ความผิดปกตินี้อาจเกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน รวมถึงการไม่ดูแลสุขอนามัยในการเข้าห้องน้ำ บางครั้งอาจจะพบโรคนิ่วในไตอีกด้วย โดยจะรู้สึกปวดท้องด้านขวาส่วนล่างร้าวไปจนถึงบริเวณต้นขา

บริเวณท้องใต้ซี่โครงขวา ส่วนมากมักเกิดจากลำไส้เล็กโดยตรง อาการที่พบโดยทั่วไปคือ เสียดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับจุกเสียด แต่ไม่รุนแรงเท่าการเป็นไส้ติ่งอักเสบ อาการดังกล่าวเกิดจากการที่ลำไส้เล็กไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ ซึ่งเกิดจากการแพ้โปรตีนที่ชื่อว่า "กลูเตน (Gluten)"

ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะหากปล่อยไว้นานจะมีโอกาสพัฒนากลายเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบได้ ซึ่งจะทำให้อาการปวดท้องรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม และอาจถึงขั้นต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

ปวดท้องบริเวณบั้นเอวด้านขวา

บริเวณท้องบั้นเอวด้านขวา ค่อนข้างน่าเป็นห่วงไม่น้อยไปกว่าอาการปวดท้องที่เกิดจากไส้ติ่งอักเสบเลยทีเดียว เพราะตำแหน่งนี้เป็นที่อยู่ของลำไส้ใหญ่ และท่อไต หากพบว่า มีการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย อาจหมายถึงภาวะลำไส้ใหญ่มีการอักเสบ กรณีนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

หากรู้สึกปวดบั้นเอวด้านขวาแบบแปล๊บๆ แล้วหาย แต่รุนแรงมากขึ้นภายหลังจากการรับประทานอาหารเค็ม อาจเกิดจากการที่ไตทำงานหนัก และเกิดการอักเสบ คุณสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดื่มน้ำในปริมาณมาก เพื่อให้ไตขับความเค็มออกไปจากร่างกาย

อาการปวดท้องข้างขวาตำแหน่งอื่นๆ

นอกจากนี้อาจมีอาการปวดท้องซึ่งอาจปรากฎในตำแหน่งอื่นใดก็ได้ และ/หรือมีอาการปวดเฉพาะบริเวณท้องด้านขวา เช่น

  • การปวดท้องที่เกิดจากภาวะทางสูตินรีเวชอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน เนื้องอก การบิดของรังไข่ ภาวะแท้งนอกมดลูก และภาวะแท้งคุกคาม
  • การปวดจากผนังหน้าท้อง เช่น งูสวัด และกล้ามเนื้อหน้าท้องอักเสบ
  • การปวดจากโรคทางหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ถูกเซาะ
  • การปวดจากระบบประสาทโดยมีความผิดปกติจากที่ตำแหน่งอื่นไม่ใช่บริเวณที่ปวดท้องนั้นๆ
  • การปวดที่เกิดจากโรคทางเมตาบอลิค เช่น ภาวะกรดคีโตนสูงในเบาหวาน หรือการได้รับสารพิษบางชนิด
  • การปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน
  • การปวดที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น ภาวะหลอดเลือดอักเสบ

ไม่จะปวดท้องข้างไหน หรือปวดท้องส่วนใด หากรับประทานยาแก้ปวด หรือยาลดกรดที่เป็นยาสามัญประจำบ้านแล้วไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุทันที เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะบางส่วน หรือเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดได้


บทความแนะนำ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat