สาเหตุ อาการ วิธีบรรเทาปวดท้องข้างซ้าย

เมื่อเจอกับอาการปวดท้องด้านซ้ายด้านเดียว ทำให้บางคนเกิดความกังวลมาก เนื่องจากอาการปวดท้องด้านซ้าย คล้ายกับมาจากโรคที่ร้ายแรงหรือภาวะที่มีความรุนแรงเช่นเดียวกับโรคในทางเดินอาหารหรืออวัยวะอื่นๆ ในช่องท้องที่เป็นข่าวกัน ส่วน สาเหตุ อาการและวิธีการรักษาอาการปวดท้องด้านซ้ายมีอะไรบ้าง มาทำความเข้าใจกันในบทความนี้

สาเหตุของอาการปวดท้องด้านซ้าย

ปวดท้องบริเวณด้านซ้ายส่วนบน

  • ม้ามโต ม้ามเป็นอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆ หากม้ามมีความผิดปกติจากการติดเชื้อ จนทำให้มีขนาดใหญ่มากกว่าเดิม และเริ่มไปเบียดอวัยวะส่วนอื่นๆ ก็จะทำให้มีการปวดท้องซ้ายด้านบน ร่วมกับรู้สึกแน่นท้อง หายใจไม่ค่อยออก เหนื่อยง่าย และอ่อนแรง หากพบอาการเช่นนี้ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาต่อไป
  • อาหารเป็นพิษ อาหารเป็นพิษ มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะกระเพาะอาหาร จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณส่วนบนด้านซ้าย ร่วมกับอาการอาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้สูง มีปัญหาย่อยอาหาร รับประทานอาหารไม่ได้ แนะนำให้ทานน้ำเกลือ แต่ไม่ควรรับประทานทานยาอื่นด้วยตัวเอง เพราะอาจจะทำให้มีอาการรุนแรงกว่าเดิม วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
  • ปอดบวม ถึงแม้ว่าปอดจะไม่ได้อยู่รวมในส่วนนี้ แต่หากมีการติดเชื้อจนทำให้ปอดบวมขยายใหญ่ขึ้น ปอดก็จะไปเบียดอวัยวะส่วนอื่นให้ทำงานยากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ทั้งนี้หากเกิดร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก หนาวสั่น หายใจไม่ออก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • กรดและแก๊สเกินในกระเพาะอาหาร เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากเรื่องของการรับประทานอาหารบางชนิด หรือเมื่อหิวมากจนเกินไป ย่อมทำให้ร่างกายมีกรดและแก๊สในปริมาณมาก เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดจุกบริเวณท้องซ้ายด้านบนจนรู้สึกอึดอัด หายใจได้ไม่เต็มปอด สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาลดกรด ยาธาตุน้ำขาว-น้ำแดง เพื่อขับลมและแก๊สออกจากกระเพาะ
  • ตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก รวมไปถึงการรับประทานยาบางชนิด ซึ่งเป็นเหตุให้ตับอ่อนเกิดการอักเสบได้ จึงเป็นเหตุให้รู้สึกปวดท้องในบริเวณนี้ ร่วมกับอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน คล้ายกับอาการลำไส้อักเสบ หากมีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการให้แน่ชัด เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ปวดท้องบริเวณด้านซ้ายส่วนล่าง

  • ภาวะไส้เลื่อน อาการไส้เลื่อนนั้นมีความรุนแรงและน่ากลัวพอสมควร เพราะลำไส้จะเลื่อนไหลลงไปกองอยู่บริเวณขาหนีบใกล้กับอวัยวะเพศ เกิดปัญหาช่องท้องมีความอ่อนแอผิดปกติ ภาวะนี้เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อไส้เลื่อนไหลลงมาก็จะรู้สึกปวดท้องบริเวณด้านซ้ายล่างขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด หรือสวนด้วยแป้ง
  • โรคไต เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ เกิดนิ่วในไต หรือแม้กระทั่งกรวยไตอักเสบ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น ร่วมกับการปัสสาวะไม่ออก หรือปวดแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ หากมีอาการรุนแรงจะพบว่า มีไข้สูง และอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะโรคไตไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการปวดท้องเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจอย่างเด็ดขาด
  • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นอีกโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ค่อยใส่ใจดูแลสุขอนามัยในขณะเข้าห้องน้ำ จนทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กระทั่งส่งผลให้เกิดการปวดท้อง ปัสสาวะขัด หากทิ้งไว้โดยไม่ไปพบแพทย์ จะทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณไตเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรปล่อยไว้เช่นกัน
  • ซีสต์ในรังไข่ นับเป็นโรคที่พบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มากขึ้น โดยซีสต์เป็นก้อนเนื้องอกที่ไม่กลายเป็นมะเร็ง แต่เมื่อเกิดในรังไข่แล้ว จะทำให้ปวดท้องด้านซ้ายล่างอย่างหนักในช่วงเป็นประจำเดือน บางรายถึงขั้นเป็นลม วิธีรักษาที่ดีที่สุด คือ ต้องผ่าตัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก อาจวินิจฉัยการรักษาด้วยวิธีอื่นโดยที่ยังไม่ต้องผ่าตัดได้

การวินิจฉัย

เมื่อพบว่ามีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายหรือบริเวณใกล้เคียง การวินิจฉัยโรคจะต้องพิจารณาจากอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น อายุ ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรักษา และการตรวจร่างกาย

แพทย์อาจจะต้องใช้เครื่องมือการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจรังสี เป็นต้น

วิธีการรักษา

วิธีการรักษาอาการปวดท้องด้านซ้ายขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคและอาการที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งวิธีการรักษาออกเป็น 3 ประเภท คือ

การรักษาโรคด้วยยา

การรักษาโรคด้วยยาเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยอาจจะต้องใช้ยาต่างๆ เช่น ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ยารักษาโรคลำไส้ ยารักษาโรคเม็ดเลือดขาวเกินจำเป็น เป็นต้น

การผ่าตัด

การผ่าตัดอาจจะจำเป็นต้องทำหากการรักษาด้วยยาไม่เพียงพอหรือไม่สามารถรักษาได้ โดยการผ่าตัดมักจะใช้ในกรณีของโรคที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในทางเดินอาหาร และโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ

การรักษาด้วยวิธีการทางอื่น

การใช้เทคนิคการทำความสะอาดลำไส้ และการออกกำลังกาย เป็นต้น การรับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น การรับประทานผักสด ผลไม้ เป็นต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดี เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และการเคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันการเป็นโรคต่างๆ

แนวทางการป้องกันอาการปวดท้องด้านซ้าย

การป้องกันอาการปวดท้องด้านซ้ายสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนสูง

Scroll to Top